นอนดึกอย่างไรให้ดูดี วิธีแก้ปัญหาหากจำเป็นต้องนอนดึก

       การนอนนับเป็นช่วงสำคัญของการใช้ชีวิตให้ยั่งยืน เพราะการนอนเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายของคนเราได้พักผ่อน ซึ่งในขณะที่อวัยวะและระบบการทำงานส่วนต่างๆ ของร่างกายพักผ่อนอยู่นั้น ยังคงมีระบบของร่างกายบางส่วน ยังคงทำงานหนักคล้ายๆกับ รถไฟลอยฟ้าในช่วงเวลาที่หยุดให้บริการ  แต่จำเป็นต้องมีทีมวิศวะกรซ่อมบำรุง เข้าไปซ่อมแซมแก้ไขส่วนที่สึกหรอของระบบรางต่างๆ  เพื่อให้มันสามารถกลับมาพร้อมที่จะเปิดบริการในตอนเช้า ได้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยอีกครั้ง

นอนดึกอย่างไรให้ดูดี

นอนดึกอย่างไรให้ดูดี

     ร่างกายเราก็เช่นเดียวกัน มันต้องการที่จะได้รับการซ่อมแซมหลังจากที่เราใช้งานมาทั้งวัน  ซึ่งร่างกายของเราก็มีความมหัศจรรย์ เพราะร่างกายก็มีหน่วยงานเหมื่อนกับทีมวิศวะกรซ่อมระบบรางรถไฟฟ้า ซึ่งขณะที่เรานอนหลับ สมองจะสั่งให้ ฮอร์โมนชนิดหนึ่งออกไปทำหน้าที่ควบคุมสั่งการและกระตุ้นทำงานของเหล่าโปรตีน เพื่อไปฟื้นฟูซ่อมแซมเซลล์ของอวัยวะระบบต่างๆของร่างกายที่อ่อนแอหรือได้รับบาดเจ็บ เพื่อให้กลับมามีสภาพเป็นปกติอีกครั้ง

      หากเซลล์ได้รับการฟื้นฟู ก็จะกลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ภายหลังจากการตื่นนอนเราก็จะสดซื่น  ซึ่งเจ้าฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ได้กล่าวมาข้างต้นคือ   โกรท ฮอร์โมน   โดยเจ้าโกรทฮอร์โมนมันจะทำงานทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อมีโปรตีน และเจ้าโกรทฮอร์โมนจะมีปริมาณมากในช่วงเวลาที่เรานอนหลับสนิทหรือการหลับลึก ในช่วงเวลา 22.00 น. ถึง 3.00 น.โดยประมาณ

      แต่ในชีวิตจริงของเราไม่สามารถนอนในช่วงเวลาดังกล่าวได้ทุกๆคน เพราะปกติคนเรามีเหตุจำเป็นบางที่จะต้องนอนดึก  แล้วจะทำอย่างไร หากต้องให้ร่างกายกลับมาทำงานอย่างมีคุณภาพได้อีกครั้ง

นอนดึกอย่างไรให้ดูดี

         ความฉลาดของร่างกายมนุษย์กับการทำงานของโกรทฮอร์โมน (โทษของการนอนดึก) โกรทฮอร์โมนจะทำหน้าที่ ปลุกระดมเหล่าโปรตีนให้เกิดความฮึกเฮิมในการทำงาน เพื่อซ่อมแซมอวัยวะต่างๆที่ได้รับความบอบซ้ำ นอกจากนี้แล้วมันยังทำให้เรามีร่างกายที่สมสัดส่วนร่าง เพราะมันช่วยในการเสริมสร้างเนื้อเยื้อต่างๆ เช่น อก เอว สะโพกและส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ขยายให้ใหญ่ขึ้นเมื่อเรามีสุขภาพแข็งแรงขึ้น

           เคยประสบเหตุการณ์เหล่านี้กับตนเองหรือไม่ ในบางครั้งถึงนอนเยอะ แต่ทำไมร่างกายยังอ่อนล้า ขี้เกลียด อ่อนเพลียภายหลังจากการตื่นนอน ถึงแม้จะตื่นแล้ว แต่ก็ไม่อยากลุกจากที่นอน  รู้ไหมว่ามันเกิดจากระบบการซ่อมแซมของร่างกายมีประสิทธิภาพต่ำ ก็เพราะองค์ประกอบไม่สมดุล ซึ่งเราอาจจะตกอยู่ในภาวะต่างเช่น ป่วยเป็นไข้ นอนไม่หลับ ชีวิตกำลังตกอยู่ในภาวะเครียด

           ซึ่งการทำงานของระบบซ่อมแซมของร่างกายอันประกอบไปด้วย 1)โกรทฮอร์โมน แล้วโกรทฮอร์โมนมันจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อมีโปรตีน  2)ปริมาณของเจ้าโกรทฮอร์โมนเอง ซึ่งตัวมันเองก็จะต้องได้รับคำสั่งจากสมอง 3)สมองจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อเรามีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง  4) การมีสุขภาพแข็งแรงก็มาจากพฤติกรรมการกินอาหารแล้ว ได้สารอาหาร 5 หมู่ และการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อให้เรามีความยืดหยุ่น 5) และองค์ประกอบที่สำคัญคือ การนอนหลับอย่างเพียงพอ  เพราะเจ้าโกรทฮอร์โมนจะมีปริมาณมาก ก็ต่อเมื่อเรานอนหลับสนิทและอยู่ในช่วงเวลา ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น

          ดังนั้นการนอนดึกจะทำให้ร่างกายไม่ได้รับการซ่อมแซม

100 เหตุผลที่นอนดึก สาเหตุของการนอนดึก

       พฤติกรรมการนอนดึก จากเหตุการณ์ต่างๆของการดำรงชีวิตที่เรามักใช้เป็นข้ออ้างสำหรับการนอนดึกเช่น ใกล้สอบ ออกไปสังสรรค์กับเพื่อนๆ เร่งปั่นงานส่ง ทำงาน เพลิดเพลินกับการเล่นเกมส์ จำเป็นต้องทำงานในช่วงกลางคืนเท่านั้น อาจจะเป็นเพราะลักษณะของการประกอบอาชีพ เช่นร้องเพลงกลางคืน ทำงานอยู่ในผับบาร์ หรืออาจจะเป็นเหตุผลเฉพาะบุคคล เช่นทำงานช่วงกลางคืนได้ดีกว่ากลางวันเช่น มีสมาธิมากกว่ากลางวัน เพราะไม่มีเสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อมภายนอกอื่นๆ เข้ามาสร้างความรำคาญ  ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาล้วนเป็นเหตุผลนานาจิตตัง

    เมื่อนอนดึกบ่อยๆ มันก็ดิตกลายเป็นนิสัย เป็นคนชอบนอนดึก  ต่อให้นอนเร็วขึ้นก็ไม่หลับหลับไม่ลง ซึ่งเหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ เมื่อได้สิ่งหนึ่งย่อมต้องเสียสละอีกสิ่งหนึ่ง มองเหรียญด้านหนึ่ง ก็จะมองไม่เห็นอีกด้านของเหรียญ ดังนั้นเมื่อเรานอนดึกก็ย่อมมีผลกระทบต่อร่างกาย

นอนดึกอย่างไรให้ดูดี

โทษของการนอนดึกกับระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย

        ในขณะที่เรานอนดึก นอนน้อย นอนไม่เพียงพอ อดหลับอดนอน นอนไม่เต็มอิ่ม โกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมาได้น้อยมาก ถึงแม้ว่าจะกินอาหารเข้าไปเพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีนมากขึ้นก็ตาม ก็ไม่มีประโยชน์  เพราะเมื่อขาดโกรทฮอร์โมน โปรตีนก็เหมือนกับการขาดที่พึ่งทางใจ จึงส่งผลทำให้โปรตีนทำงานไม่เต็มที่  ไม่อยากทำงาน ถึงแม้โปรตีนจะทำหน้าที่สร้างกล้ามเนื้อ แต่กล้ามเนื้อก็ไม่เพิ่มขึ้น เช่น การออกกำลังกายด้วยการยกเวท แต่กล้ามไม่ขึ้น วิ่งเป็นพันๆเมตร แต่รูปร่างก็ไม่ดี ว่ายน้ำทุกวันๆแต่กล้ามเนื้อหน้าอกไม่มี

       ในเมื่อโปรตีนทำงานไม่เต็มที่ จึงทำให้การซ่อมแซมเซลล์ตามส่วนต่างๆของร่างกายไม่มีประสิทธิภาพ เมื่ออวัยวะเซลล์ต่างๆได้รับบาดเจ็บเรื่อยๆ แต่ไม่ได้รับการปรับปรุง ร่างกายมันก็จะพัง การที่ร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูได้ ร่างกายของเราก็จะเสื่อมลงๆ ส่งผลทำให้เราแก่เร็วขึ้นนั้นเอง นอกจากนี้โทษการนอนน้อย ยังทำให้ฮอร์โมนต่างๆ แปรปรวน

       เมื่อฮอร์โมนต่างๆ แปรปรวน ส่งผลทำให้สมองทำงานผิดปกติ แทนที่สมองจะสั่งให้หลั่งโกรทฮอร์โมน แต่กลับสั่งให้หลั่ง ฮอร์โมน Cortisol ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดเพิ่มขึ้น  ทำให้เราอารมณ์เสียหรือหงุดหงิดง่ายขึ้น  นอกจากนี้แล้วยังทำให้อยากของหวานเพิ่มมากขึ้น เพราะสมองสั่งให้ ฮอร์โมนแห่งความหิว Ghrelin ออกมาเพิ่มขึ้น จนสร้างความรู้สึกหิว ที่รุนแรงขึ้น แต่กลับทำให้ฮอร์โมนแห่งความอิ่ม Leptin ลดลง  จึงทำให้เรากินเยอะ แต่ไม่รู้สึกอิ่ม จึงเข้าสู่วงจรอ้วนอย่างสมบูรณ์

เบาหวาน

        เมื่ออ้วนขึ้น จะทำให้ฮอร์โมนชนิดหนึ่งเพิ่มสูงขึ้น เจ้าฮอร์โมนนั่นคือ ฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นอีกสารหนึ่งที่ทำให้ โกรทฮอร์โมน หลั่งได้น้อยลงอีกด้วย  เพราะโกรทฮอร์โมนและฮอร์โมนอินซูลินไม่ชอบขี้หน้ากัน

        อินซูลินหลั่งออกมามากเมื่อเรากินอาหาร โดยเฉพาะแป้งและน้ำตาลต่างๆ  ซึ่งหากเรากินแป้งในปริมาณมากๆ แล้วเข้านอนทันที และในขณะที่เราหลับ จะมีอินซูลินอยู่เต็มร่างกาย เมื่อถึงเวลาที่สมองจะสั่งให้โกรทฮอร์โมนหลั่ง แต่พบว่ามีฮอร์โมนอินซูลินมาก  สมองก็สั่งให้หลั่งโกรทฮอร์โมนออกมาได้น้อยลง ดังนั้นควรเว้นระยะ การกินอาหารก่อนนอน  3-4 ชั่วโมง เพื่อให้โกรทฮอร์โมน หลั่งเต็มที่นั้นเอง

     แล้วจริงไหมครับที่ว่า นอนดึกสมองจะไม่สั่งให้หลั่ง โกรทฮอร์โมน โกรทฮอร์โมนจะสามารถหลั่งได้ตลอดเวลา แม้แต่ที่เราตื่นนอน แต่จะหลั่งออกมาน้อยมาก เมื่อเทียบกับเวลาที่เราหลับลึก ดังนั้นการหลับลึกถือว่าเป็นสิ่งดี

  นอนดึกอย่างไรให้ดูดี เป็นการฝืนกฏธรรมชาติของมนุษย์

     อย่างไรก็ดีมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ตื่นตอนกลางวันและหลับตอนกลางคืน เราจึงง่วงนอน เมื่ออยู่ในที่มืดและหลังระยะเวลาที่เรากินข้าวอิ่ม ยกเว้นเวลาอยู่ในห้องเรียน ถึงแม้จะมีแสงสว่างจ้า แต่เราก็ง่วงนอนได้ทันที ซึ่งร่างกายจะมีปฏิกิริยากับแสงต่างๆ หากมีความจำเป็นต้องนอนกลางวัน  จึงควรทำให้ห้องนอนมืดที่สุด  และควรนอนให้เพียงพอเป็นเวลาประมาณ  6-9 ชั่วโมง

      สรุป นอนดึก อย่างไรให้ได้ประโยชน์ คงยังไม่มีเคล็ดลับที่ดีมากมาย  ดังนั้นการดำรงชีวิตประจำวัน พยายามอย่าฝืนกฎของธรรมชาติจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด คือ การกินอาหารให้หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะการกินอาหารแล้วให้ได้โปรตีนเท่ากับน้ำหนักตัวของร่างกายเช่น มีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม การรับประทานอาหารในแต่ละวันต้องได้สารอาหารประเภทโปรตรีน 60 กรัม

       วิธีการนอนที่ดี ควรนอนให้หลับลึกช่วงเวลา 22.00 น. ถึงเวลา 3.00 น.  ควรนอนในห้องที่มืด และมีเวลานอนพักผ่อนให้เพียงพอเป็นเวลาประมาณ  6-9 ชั่วโมง เพื่อให้สมองสั้งให้โกรทฮอร์โมนหลั่งออกมามากๆ เพื่อให้โปรตีนขยันทำงาน การทำงานด้วยความขยันขันแข็งและมีประสิทธิภาพ ก็จะทำให้ร่างกายได้รับการฟื้นฟู สดชื่นและแข็งแรง

      เมื่อร่างกายได้รับซ่อมแซม เราก็จะไม่แก่เร็ว โรคเสื่อมต่างๆของร่างกายก็จะเกิดขึ้นได้ช้าลง สุขภาพดี ร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่างๆได้ ไม่เจ็บป่วยง่าย การมีสุภาพดีเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ ยังจำคำพูดนี้ได้ดีคือ การมีสุขภาพดี เป็นลาภอันประเสริฐ

นอนดึก

นอนดึก ยังทำร้ายร่างกายน้อยไป

       การทำลายสุขภาพจากการนอนดึกอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังมีมีพฤติกรรมที่ทำลายร่างกายมากกว่านั้นคือ การเปลี่ยนแปลงเวลานอนบ่อยๆ อันเนื่องมาจากความจำเป็น จากการประกอบอาชีพ เพื่อหาเงิน เพราะเงิน จึงมีความจำเป็นต้องเข้าเวร ต้องบินต่างประเทศ ต้องทำงาน Freelance ต้องรับจ้างเต้น ร้องเพลงรอบดึก

     ความจำเหล่านี้ทำร้ายร่างกาย เพราะในขณะที่ร่างกายกำลังปรับตัว แต่เจ้าฮอร์โมนต่างๆ ไม่สามารถปรับให้เกิดความสมดุลได้ จึงทำงานผิดปกติ และส่งผลเสียต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยร่างกายโทรมเร็ว เจ็บป่วยได้ง่ายกว่าคนที่นอนปกติหรือแม้แต่คน นอนดึก ดังนั้นหากจะทำงานประกอบอาชีพด้านนี้ ต้องดูแลสุขภาพด้านอื่นๆ เพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ

นอนดึก อย่างไรให้ได้ประโยชน์

เช่น การรับประทานทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้ได้สารอาหารครบ 5 หมู่  โดยเน้นการรับประทานอาหารที่มี กาบาและอาร์จินิน เช่น มะเขือเทศ ข้าวกล้องงอก ไข่แดง ธัญพืช อัลมอนด์ ทูน่า แบ่งเวลาออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้หลับสบายและช่วยกระตุ้น การหลั่งโกรทฮอร์โมนได้มากยิ่งขึ้น

สรุป นอนดึกอย่างไรให้ดูดี ไม่มีอยู่จริง

     สุดท้ายควรนั่งสมาธิก่อนนอน ซึ่งเป็นไปตามหลักการนอนอย่างไรให้มีสุขภาพดี เพื่อปรับคลื่นสมองให้เป็น Delta จะช่วยทำให้เรามีจิตใจสงบ หลับสนิท  เพื่อให้การทำงานของ สารสื่อประสาททำงานได้ดีและสามารถหลั่งโกรทฮอร์โมนได้ดีขึ้นนั่นเอง

 บทความที่น่าสนใจ  6 สัญญาณที่กำลังแสดงให้รู้ว่าคุณกำลังอยู่ใน ภาวะขาดโปรตีน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก face book เพจ Jones Salad
ขอขอบคุณ ภาพจากเว็บไซด์ในอินเทอร์เน็ต

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *