พืชเศรษฐกิจ พืชอินเทรนด์ ที่กำลังจะกลายเป็นยอดนิยมของเกษตรไทย

          เป้าหมายของการปลูก พืชเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นพืชผักหรือผลไม้ ความหวังของเกษตรกรคือ ความต้องการให้ได้ผลผลิตออกมากที่สุด แต่ก็ใช่ว่าเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้น เพราะเกษตรกรเองไม่สามารถกำหนดราคาขายผลผลิตของตนเองได้  เพราะราคาที่รับซื้อนั้น ถูกกำหนดขึ้นตามกลไกลทางการตลาด ซึ่งเป็นราคาของพ่อค้าคนกลาง คือผู้กำหนดขึ้น แล้วยิ่งปีไหนมีปริมาณผลผลิตมาก ราคาที่รับซื้อจากไร่สวนก็จะยิ่งตกต่ำ เกษตรกรก็มักจะขาดทุน

พืชเศรษฐกิจ

พืชเศรษฐกิจ

         จากกลไกลการตลาดทำให้ชีวิตของชาวนา ชาวไร่และชาวสวน ตกอยู่ภายใต้ในวัฎจักรเป็นวงเวียน  โดยเมื่อเริ่มต้นฤดูเพาะปลูกใหม่ ก็ต้องไปกู้ยืมเงินจากธนาคารที่นิยมของเกษตรกรคือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)   เพื่อซื้อปัจจัยการผลิตเช่น เมล็ดพันธุ์  ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง สารเคมีและเครื่องมือทางการเกษตร พอหลังจากฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต เงินรายได้ที่ได้รับจากการขายผลผลิต ก็ต้องนำไปใช้หนี้สินที่ยืมมา บางฤดูกาลที่มีปัญหาภัยธรรมชาติ นอกจากไม่มีเงินใช้หนี้แล้ว ยังต้องก่อหนี้สินเพิ่มเติม

      และเพื่อต้องให้เกษตรกรอยู่รอดได้ ต้องอาศัยองค์ความรู้มากยิ่งขึ้น  เพราะการปลูกพืชเศรษฐกิจแบบเดิมนอกจากราคาตกต่ำแล้ว การปลูกพืชเดิมแบซ้ำๆ จะทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ต้นทุนในการปลูกพืชเศรษฐกิจก็จะสูงขึ้น เกษตรกรยุคใหม่ต้องเปลี่ยนการผลิตการปลูก พืชเศรษฐกิจ พืชอินเทรนด์ใหม่ๆที่กำลังเป็นที่นิยมของตลาดและความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ เพราะจะทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นและ สามารถเลี้ยงชีพได้ มีเงินใช้ที่สอดคล้องกับรายจ่าย ที่จำเป็นต้องจ่ายทุกวัน

     เกษตรกรยุคใหม่ที่ข้าใจและวิเคราะห์ตลาดจนรู้เท่าทันความต้องการของผู้บริโภคได้  เกษตรกรที่สามารถปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดใหม่ๆ ปลูกพืชอินเทรนด์สำหรับตลาดเปิดใหม่ หรือเป็นลำดับต้นๆของความนิยมของผู้บริโภคได้ก่อนใครๆ จะสามารถสร้างความได้เปรียบและสามารถกอบโกยกำไรเป็นกอบเป็นกำได้  ส่วนเกษตรกรที่ยังคงมีความคิดแบเดิมๆ อยู่กับพืชเศรษฐกิจยุคเดิมๆ เช่น ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง เป็นต้น  ซึ่งทุกๆปีมีปริมาณล้นตลาด ผู้บริโภคกำลังหมดความสนใจ บวกกับยังมีผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจเหล่านี้เพิ่มขึ้นทุกๆปี  ในที่สุดราคาพืชเศรษฐกิจเหล่านี้ ก็มีราคาตกต่ำเป็นอย่างมาก เกิดภาวะขาดทุน แล้วก็บ่นกับตัวเองว่า ทำการเกษตรทีไรก็จนทุกที นอกจากนี้ยังเกิดการประท้วงการเรียกร้องขอความช่วยเหลือจากทุกๆรัฐบาล

    นักเกษตรรูปแบบใหม่ต้องมองเทรนด์ ความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภคให้ได้ว่า พืชเศรษฐกิจ อะไรเป็นพืชชนิดไหนที่กำลังเป็นนิยมของผู้บริโภค   พืชผลทางการเกษตรก็เหมือนกับการตลาดสินค้าทั่วไป  มีรุ่งเรืองมีถดถอย โดยเฉพาะความต้องผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว  รวมทั้งที่สำคัญอีกอย่างคือการกระจายสินค้าที่เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงเพื่อตัดตอนพ่อค้าคนกลาง  จึงจำเป็นต้องสร้างทางเลือกช่องทางการขายให้เกิดหลากหลายมากยิ่งขึ้น ดังนั้นนักเกษตรยุคใหม่ จำเป็นต้องขยายช่องทางให้ได้มากยิ่งขึ้นเช่น การขายออนไลน์ ขายผ่านเพจ Face Book เป็นต้น

พืชเศรษฐกิจ

     เมื่อลักษณะประชากรในประเทศเปลี่ยนไป การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ  ผู้คนจึงหันมาให้ความใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพกันมากยิ่งขึ้น จึงทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพได้รับความนิยมและได้การตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้ความต้องการพืชสมุนไพรในการรักษาโรค หรือพืชที่ให้คุณค่าทางอาหารเพื่อส่งเสริมสุขภาพ  ซึ่งทำให้พืชเศษรฐกิจเหล่านี้มีแนวโน้มความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด นอกจากนี้ในปัจจุบันยังเกิดเส้นทางการค้าที่หลากหลายทั้งในภูมิภาคตะแข็บชายแดนหรือนานาประเทศข้ามทวีป จึงทำให้พืชผักผลไม้ไทยบางอย่าง มีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

     พืชเศรษฐกิจ ที่จะกล่าวต่อไปนี้ ไม่ได้อ้างอิงเชิงตัวเลขของกระทรวงเศรษฐกิจเช่น อ้อย ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ถั่วเหลือง ซึ่งกลายเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยแบบเดิม แต่เป็นพืชเศรษฐกิจยุคใหม่ ที่อยู่ภายใต้ เทรนด์แนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคด้านสุขภาพ มีดังนี้

พืชเศรษฐกิจ

  1. หม่อนหรือ มัลเบอร์รี่ เนื่องจากผลหม่อนอยู่ในพืชตระกูลเบอร์รี่ ที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหาร มีวิตามิน เบต้าเคโรทีนสูง ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ช่วยทำให้ผิวมีสุขภาพดี ผิวเนียนสวย ผลของหม่อนสามารถนำมาทำอาหารเพื่อสุขภาพ สำหรับคนเร่งรีบสำหรับคนเมืองกรุงได้เช่น ทำเป็นแยมทานคู่กับขนมปัง ทำน้ำมัลเบอร์รี่สดดื่มในช่วงเช้าก่อนไปทำงาน ใบหม่อนสามารถนำมาใช้เลี้ยงตัวไหม สำหรับปั่นนำเอาเส้นใยไหมมาทำเป็นผ้าที่มีคุณภาพสูง ใบหม่อนเองมีกลิ่นหอมเหมือนใบชา จึงสามารถนำมาทำเป็นชาใบหม่อนได้อีกด้วย การขยายพันธุ์ของต้นหม่อนทำได้ง่ายๆ ด้วยการเตรียมดินเพาะปลูกลงในถุง แล้วจึงนำกิ่งพันธุ์ปักชำ ซึ่งกิ่งพันธุ์ช่วงนี้ราคาสูงมาก

    พืชเศรษฐกิจ

  2. สตรอเบอร์รี่ มีวิตามินซีสูงช่วยปรับสภาพผิวให้ดูสวยสดใส พันธุ์สตรอเบอร์รี่ที่สามารถปลูกได้ในเมืองไทย จึงได้รับการพัฒนา ให้ผลผลิตได้มากขึ้น ผลมีขนาดโตขึ้น รสชาติอร่อยมากขึ้น บวกกับการสนับสนุนการท่องเที่ยวของภาครัฐ การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์จึงได้ความนิยมของคนไทย จึงช่วยทำให้ราคาของสตรอเบอร์รี่มีราคาสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ปัจจุบันราคาสูงถึง 200 บาทต่อกิโลกรัม แต่ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่สตรอเบอร์รี่ยังต้องการอากาศที่ค่อยข้างเย็นถึงหนาวเลยก็ว่าได้ จึงทำให้โดยส่วนใหญ่แล้วจะปลูกและให้ผลผลิตดีในช่วงฤดูหนาว

    พืชเศรษฐกิจ

  3. ผักหวานป่า เป็นผักธรรมชาติที่มีรสชาติดี มีความหวานในตัว มีสารต้านอนุมูลอิสระ ชาวบ้านนิยมนำมาทำแกง ลวกจิ้มน้ำพริก กำลังเป็นที่นิยมของคนรักสุขภาพ เพราะเป็นผักปลอดสารเคมี เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ลำต้นสูง อายุยืน ผลอ่อนสามารถรับประทานได้ ในช่วงใบไม้กำลังผลัดใบหรือต้นฤดูหนาว ยอดผักหวานป่าจะมีความอร่อยเป็นอย่างมาก จึงทำให้ราคาในช่วงนี้พุ่งสูงถึง 300 บาทต่อกิโลกรัม

    พืชเศรษฐกิจ

  4. กล้วย ถือได้ว่าเป็น พืชเศรษฐกิจ ที่มีความต้องการสูงขึ้น เพราะประโยชน์ของกล้วยมีมาก อุดมไปด้วยวิตามินแร่ธาตุ มีวิตามิน A, เบต้า-แคโรทีน, อัลฟา-แคโรทีน มีโพแทสเซี่ยมที่เป็นสารสื่อประสาทช่วยป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ กล้วยสามารถแปรรูปให้อยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้มากเช่น กล้วยฉาบ กล้วยตาก กล้วยกวน ฯลฯ จึงยังเป็นที่ต้องการของตลาดภายในประเทศ และนอกจากนี้แล้ว กล้วยหอมทองของไทย ยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศอย่าง ญี่ปุ่นอีกด้วย และที่สำคัญคือความต้องการกล้วยตากของประเทศจีนเริ่มมีตัวเลขเพิ่มมากขึ้น

    พืชเศรษฐกิจ

  5. มะละกอ เมื่อสมุนไพรไทยได้รับความนิยมมากขึ้น ผลไม้ พืชผักต่างๆที่มีคุณค่าสารอาหารจำพวกวิตามินต่างๆ ในปริมาณที่สูง จึงถูกป้อนเข้าโรงงานหรือ SME เพื่อทำการแปรรูปให้อยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์สมุนไพร เนื่องจากมะละกอ มีเบต้าแคโรทีนสูง ซึ่งเบต้าเคโรทีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีผลดีต่อผิวในร่างกาย ช่วยบำรุงผิวให้เนียนนุ่ม ไม่หยาบกร้าน นอกจากนี้แล้วมะละกอดิบ ยังได้รับความนิยมในการบริโภคของคนไทย สามารถใช้เป็นส่วนประกอบในการทำแกง แต่ที่สร้างความต้องการในการบริโภคสูงสุดคือ ใช้ทำส้มตำ ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทยเลยก็ว่าได้

    พืชเศรษฐกิจ

  6. ทุเรียน เมื่อรสชาติของทุเรียนแสนอร่อย และเป็นที่นิยมของชาวจีน ทำให้ความต้องการบริโภคทุเรียนเพิ่มสูงขึ้น จึงมีผลกระทบต่อราคาทุเรียนในไทย ปัจจุบันผลผลิตทุเรียนในไทย มีราคาสูง นอกจากนี้ทุเรียนที่กำลังจะสุกสามารถนำมาแปรรูปเป็นขนมขบเคี้ยวได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าทุเรียนจะมีไขมันมากแต่เป็นไขมันที่ไม่มีโทษต่อร่างกาย  นพ.กฤษดา ศิรามพุช กล่าวว่าทุเรียนมีสารโพลีฟีนอล ( Pholyphenols )  ทุเรียนมีเส้นใยที่ช่วยลดไขมันและช่วยทำให้การขับถ่ายได้ง่ายขึ้น แต่ว่าต้องรับประทานแต่น้อยแค่ 1 พูต่อวัน

    พืชเศรษฐกิจ

  7. มังคุด เมื่อมังคุดมีสารต้านอนุมูลอิสระและจับอนุมูลอิสระต่าง ๆได้ดีกว่าผลไม้อย่างอื่น การสกัดสารเคมีทางธรรมชาติจากมังคุดช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดขาวชนิด  ทีเอช 1 และทีเอช 17 จะมีฤทธิ์ช่วยป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง ช่วยบำบัดและป้องกันโรคบางอย่างเช่น โรคเกี่ยวกับระบบประสาท อัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม มังคุดเป็นสมุนไพร ช่วยชะลอการเกิด สิว ฝ้า กระ และรอยหมองคล้ำได้ แต่ยังมีข้อจำกัดของเรื่องของพื้นที่เพาะปลูก โดยส่วนมากแล้ว พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกมังคุดคือภาคตะวันออกและภาคใต้ของไทย

    งาพืชเศรษฐกิจ

  8. งา ถึงแม้ว่าการเพาะปลูกจะทำค่อนข้างลำบากให้ผลผลิตต่ำ แต่ราคาเริ่มถีบตัวสูงมากยิ่งขึ้น เพราะงามีคุณค่าสารอาหารมากมาย มีวิตามินอีสูง มีผลการวิจัยที่สนับสนุนคุณประโยชน์ จึงทำให้งา กลายเป็นพระเอกในวงการพืชเพื่อสุขภาพ งาดำช่วยสลายไขมัน เผาผลาญไขมัน ลดการดูดซึมและลดการสังเคราะห์คอเลสเตอรอล จึงเป็นพืชช่วยลดความอ้วนได้ งาดำมีธาตุเหล็กซึ่งช่วยบำรุงเลือด ช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว จึงสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจและโรคเส้นเลือดแตกในสมองได้ ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่นำเสนอคุณค่าของงาดำ มาเสนอในท้องตลาดในปัจจุบันมากมายหลายยี่ห้อ

    ฝรั่งพืชเศรษฐกิจ

  9. ฝรั่ง นับได้ว่าเป็นผลไม้ ที่อุดมไปด้วยวิตามินซีที่สูงมาก ซึ่งมีประโยชน์ ช่วยล้างสารพิษในร่างกายและสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรงไม่เจ็บป่วยง่าย ช่วยสร้างคอลาเจนที่ทำให้หลอดเลือดแข็งแรงจึงช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงได้ คนที่รักสุขภาพทุกคนที่รู้ประโยชน์จึงหันมาบริโภคฝรั่งกันมากยิ่งขึ้น นอกจากความอุดมไปด้วยวิตามินแล้วยังเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานต่ำมีเส้นใยสูง จึงผลไม้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการการลดน้ำหนักและลดความอ้วน น้ำฝรั่งจึงถูกบรรจุขวดและส่งขายไปยัง สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหารต่างๆ ในประเทศไทย

    กาแฟพืชเศรษฐกิจ

  10. กาแฟ เมื่อคนมีอายุมากขึ้น อาการหลงๆลืมๆมักจะเกิดได้ง่ายหรือที่เรียกว่า โรคอัลไซเมอร์ กาแฟมีสารคาเฟอีนที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองให้เกิดการตื่นตัว จึงช่วยชะลอการเกิดโรคไซเมอร์ได้ เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฏรในพื้นที่ภาคเหนือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่9 ได้นำเมล็ดกาแฟมาให้ลูกของพระองค์ปลูกเพื่อทดแทนไร่ฝิ่น จึงสามารถขจัดปัญหาความยากจนลงได้ กาแฟจึงกลายเป็น พืชเศรษฐกิจ พอเพียงตามแนวพระราชดําริ ปัจจุบันกาแฟได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยตลาดกาแฟมีมูลค่าเป็นหมื่นๆล้านต่อปี

    ปัจจัยความสำเร็จในการทำการเกษตรนั้นมีมากมาย ถึงแม้ว่าพืชเศรษฐกิจที่กล่าวมาข้างต้น เป็นพืชเศรษฐกิจ ที่น่าปลูกในอนาคตกำลังเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ดังนั้นคนที่กำลังจะเลือกปลูกพืชเศรษฐกิจ จำเป็นต้องอาศัยความเหมาะสมของดิน น้ำ ปุ๋ยและอากาศ ของพื้นที่ที่ตนเองอาศัยด้วย

บทความที่น่าสนใจ  10 ปีข้างหน้า 5เทรนด์ธุรกิจ ดิจิตอล เครือข่าย อินเตอร์เน็ต ทำงานที่บ้าน สุขภาพจะเติบโต

คลิปเครื่องหยอดเหรียญ ลงทุนหลักหมื่น กำไรเป็นแสน https://www.youtube.com/watch?v=-evN8YoIS8E

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *