Work Life Balance คือสมดุลชีวิต การทํางานและจัดสรรเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ

         ขยัน อดทน มุงมานะ พยายาม ทำงานหนัก ถึงจะก้าวหน้าในอาชีพ แต่ก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จในชีวิต บางคนทำงานหามรุ่งหามค่ำ ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการทำงาน ก็หวังว่าจะได้เงิน เพราะคิดว่าเมื่อมีเงินมากๆ จะได้ใช้เป็นเหตุผล ถึงจะสามารถดูแลเลี้ยงชีวิตและครอบครัวให้กินอยู่ดีมีความสุขได้ แต่การทำงานหนักเป็นประจำ จนไม่ได้แบ่งเวลาให้กับสิ่งสำคัญอื่นๆ จึงกลายเป็นตัวการสร้างปัญหาให้แก่ชีวิต เพราะการทำอะไรที่สุดโต่ง ถึงจะได้รับผลดีบางอย่าง แต่อาจจะต้องแลกกับการสูญเสียบางอย่าง เช่นการทำงานเยอะอาจจะได้เงินเพิ่ม แต่จะไม่มีเวลาดูแลตนเอง ร่างกายก็จะอ่อนแอ เจ็บป่วยเป็นโรคได้ง่าย การทำงานหนักโดยไม่ได้แบ่งเวลาเพื่อการดูแลครอบครัวๆ ก็จะขาดความอบอุ่น ดังนั้นการมีเงินเพียงอย่างเดียว จึงไม่ใช่คำตอบของคำว่า ประความสำเร็จ  และยังมีรูปแบบชีวิตไลฟ์สไตย์อย่างอีกมากมายที่ทำให้การใช้ชีวิตไม่ความสมดุลเช่น กลุ่มที่มีเวลามาก เพราะไม่มีงานทำ แต่ก็ไม่มีเงินใช้ในการเลี้ยงชีพให้อยู่รอดได้เช่นกัน ดังนั้นทั้งสองรูปแบบของชีวิตคือ ไม่สมดุลชีวิต Not Work Life Balance

Work Life Balance

Work Life Balance

         ข้อเสียการใช้ชีวิตอย่างสุดโต่งเหล่านี้ ก็ได้รับการพิสูจน์จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเช่น การบำเพ็ญทุกข์กิริยา ด้วยวิธีอดข้าวอดน้ำจนร่างกายชูปผอนจนเหลือแต่กระดูกนั้น ก็ไม่สามารถสำเร็จมรรคผลได้ ต่อมาพระองค์จึงทรงกลับไปบำเพ็ญตนสายกลาง จนสามารถค้นพบแนวทางบรรลุอรหันต์และปรินิพพานได้ในเวลาต่อมา  การดำเนินชีวิตของคนทั่วไปอย่างเราก็เช่นเดียวกัน จะประสบความสำเร็จในชีวิตและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ ต้องสร้างไลฟ์สไตย์ที่สร้างความสมดุลชีวิต สร้างความสุขจากการแบ่งเวลา ด้วยการดูแลสุขภาพร่างกายและการสร้างความสุขสนุกให้ตัวเอง นอกจากนี้แล้ว ยังต้องแบ่งปันเวลาให้กับครอบครัว เพื่อนและงานได้อย่างลงตัว เรียกสั้นๆว่าการบริหารงานและบริหารเวลาให้สมดุล หรือWork Life Balance

ผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นจากการบริหารทรัพยากรที่ไม่ถูกต้อง

       แน่นอนทุกคนย่อมมองผลประโยชน์ตนเองเป็นอันดับแรก เพราะนั้นหมายถึงความสุขเพื่อตัวเอง แต่การแบ่งเวลาไม่ดี จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากจนเกินไป ทุ่มเทให้กับงานจนลืมดูแลตนเอง ใช้ร่างกายหนักเกินไป จะเกิดผลเสียต่อร่างกายต่างๆมากมายตามมาเช่น ทำงานหนักนอนดึกเป็นประจำ จนไม่มีเวลาผักผ่อน เซลล์ไม่ได้รับการซ่อมแซม ร่างกายก็จะเสื่อมเร็ว แก่เร็ว  เมื่อร่างกายเสื่อมเร็วขึ้นสุขภาพอ่อนเกิดเป็นโรคต่างๆรุมเร้าเช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคเครียดเป็นต้น

       หรือจะเป็น การมีความสุขกับการกินมากจนเกินไป จนทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารบางอย่างที่เกินความจำเป็นต่อความต้องการของร่างกาย สารอาหารที่เหลือร่างกายก็จะเก็บไว้ตามอวัยวะต่างๆจนกลายเป็นโรคตามมาเช่น ไขมันพอกตับ ไขมันอุดตันหัวใจหรือสมองเป็นต้น   อีกอย่างหนึ่งคือ การไม่แบ่งเวลาสำหรับออกกำลังกาย ภูมิต้านทานโรคต่ำ ร่างกายก็จะอ่อนแอ ในที่สุดสุขภาพก็จะแย่  การเกิดโรคต่างๆก็จะเกิดได้ง่ายขึ้น ทำให้มีการสูญเสียเงินที่ได้มาจากการทำงาน

         จากการทำอะไรแบบสุดโต่งมักจะส่งผลกระทบต่อชีวิตครอบครัว ซึ่งเกิดจากความเห็นแก่ตัวของตนเอง ซึ่งอาจจะไม่ได้เกิดจากความตั้งใจ แต่คงลืมคิดถึงประโยชน์ของคนอื่นๆดูบ้าง มัวแต่คิดถึงความรู้สึกของตนเองฝ่ายเดียว  ก็มักจะทำสิ่งที่ผิดได้เช่น การให้เหตุผลว่าต้องการหาเงินมาให้ได้มากๆแล้วคนในครอบครัวจะมีความสุขเอง เพราะช่วยทำให้พวกเขามีกำลังซื้อความสุขอย่างอื่นได้  จึงไม่เคยใส่ใจคนอื่น ไม่เคยแบ่งเวลาหรือพาครอบครัวไปเที่ยว บวกกับการไม่มีเวลาดูแลและให้ความอบอุ่น ด้วยการใส่ใจลูกๆ เช่นในกรณีที่พวกเขามีปัญหาก็ไม่เคยใส่ใจ  การเลี้ยงลูกด้วยเงิน หากลูกๆอยากได้อะไรก็ให้เพียงแค่เงิน แล้วมันก็จะกลายเป็นพ่อ-แม่รังแกฉัน เพราะไม่เคยอบรม ไม่เคยสอนให้พวกเขาเป็นคนดี ปล่อยให้พวกเขาเรียนรู้จากเกมส์ ดูทีวีและจากสื่อออนไลน์ จนพวกเขาไม่สามารถคิดวิเคราะห์สิ่งผิด-ถูกเองได้ ทำให้พวกเขาหลงทาง ไม่สามารถเผชิญชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงได้

         ผลกระทบต่อสังคม การไม่แบ่งเวลาให้กับสังคม ไม่สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อน การไม่รู้จักพบปะผู้คนที่ประสบความสำเร็จ กลายเป็นชีวิตที่ขาดที่พึงอาศัย กราฟชีวิตของเรามีขึ้น ก็ย่อมมีขาลง  แล้วในขณะที่ชีวิตตกอยู่บนช่วงลำบากก็จะไม่มีคนอื่นๆมาช่วยเหลือ สังคมที่ไม่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ขาดความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ขาดความสามัคคี ก็จะกลายเป็นสังคมของคนเห็นแก่ตัว ต่างคนต่างอยู่คนในสังคม เป็นคนไร้ซึ่งน้ำใจ ก็จะมองเห็นประโยชน์เฉพาะตนเอง เป็นสังคมที่ไม่น่าอยู่ เมื่อตกทุกข์ได้ยาก ก็จะอับจนทางแก้ไข  กลายเป็นปัญหาอาชญากรรมในสังคม

การสร้างสมดุลชีวิตกับการทํางาน Work Life Balance คือ อะไร

                สมดุลชีวิตกับการทํางาน Life Balance / Work Life Balance คือ ความสามารถในบริหารทรัพยากรของตนเองมีอย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการบริหารหรือจัดสรรเวลาการแบ่งเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข ครอบครัวมีความอบอุ่น มีสังคมที่น่าอยู่อาศัย

             ทรัพยากรอันได้แก่ เงินทอง อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งกายซึ่งเรียกว่า ปัจจัย 4 แต่ที่สำคัญนั้นคือ เวลา เพราะเวลาจัดเป็นทรัพยากรที่สำคัญอย่างยิ่ง  ขณะที่เวลากำลังเดินผ่านไป และเราก็ไม่สามารถย้อนกลับไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งใดๆในอดีตให้ดีขึ้นได้ จะมีเพียงก็เพียงแค่ทำตอนนี้ให้ดีที่สุด แล้วเราก็ไม่รู้ว่าเวลาข้างหน้าหรือพรุ่งนี้จะมีเวลาให้แก่เราหรือไม่

             ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านได้ทรงตรัสไว้ว่า จงอย่าประมาท ให้เรารีบทำความเพียรเหมือนกับไฟใหม้ผม ชีวิตมนุษย์เรานั้นสั้นนัก ซึ่งไม่สามารถทำนายได้ว่า ตนเองมีเวลาเหลือในการดำเนินชีวิตบนโลกนี้ได้อีกกี่วัน กี่เดือน กี่ปี จงเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตให้เกิดความสมดุล ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ก็จะถือได้ว่า ถึงตายก็ไม่เสียดายชาติเกิด

Work Life Balance

วิธีสร้างสมดุลชีวิตกับการทํางาน Work Life Balance มีดังนี้

  1. การเดินทางสายกลาง ตามหลักคำสอนของศาสดาในศาสนาพุทธ คือ การเดินทางสายกลาง ไม่ตึงเกินไปและไม่หย่อนจนเกินไป เหมือนกับการตั้งสายกีต้าร์ การตั้งสายพินหรือการตั้งสานคันธนู หากตึงเกินก็จะทำให้ขาด ดังนั้นทุกกิจกรรมที่เราทำเช่น การดำเนินชีวิต การทำงาน ต้องอาศัยหลักแห่งความยืดหยุ่น คนที่ประสบความสำเร็จถึงไม่สามารถได้รับชัยชนะทุกเรื่อง แต่เมื่อเกิดปัญหาพวกเขาก็จะไม่จมอยู่กับตัวปัญหา แล้วพวกเขาจะได้เรียนรู้ทุกเรื่องจากการลงมือทำ เพราะความเพียรคือ วิธีการไปสู่เป้าหมายของชีวิต อย่ากังวลมากจนเกินไป

  2. การจัดสรรเวลา 8 -8- 8 เป็นการสร้างสมดุลด้วยการใช้เวลาอย่างมีคุณภาพเช่น แบ่งเวลา 8 ชั่วโมงสำหรับการทำงาน ด้วยความมุ่งมั่นด้วยความเพียรพยายาม เอาใจใส่ในหน้าที่ ใช้ทักษะความสามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพดี   ให้เวลาอีก 8 ชั่วโมง เพื่อตนเองสำหรับการปรับความสมดุลให้ร่างกายได้รับการนอนหลับพักผ่อน ร่างกายก็จะได้รับการฟื้นฟูซ่อมแซ่มและปรับสมดุลฮอร์โมนต่างๆ หลังจากการถูกทำร้ายอันมาจากการใช้งานระหว่างวัน เพราะในช่วงเวลาที่เราหลับสนิทร่างกายจะได้รับการทำให้มาแข็งแรง Refresh แล้วกลับมาสดชื่นในตอนเช้า ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับวันใหม่  ส่วนอีก 8 ชั่วโมงสำหรับ การทำกิจกรรมนันทนาการ การท่องเที่ยว การออกกำลังกาย การดูแลครอบครัว การเอาใส่ใจและดูแลคนที่เรารัก และแบ่งเวลาเพื่อตอบแทนผู้มีพระคุณ พ่อ แม่ นอกจากนี้เวลาส่วนหนึ่งต้องแบ่งให้กับการพัฒนาตนเอง เพราะคนเราต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพราะทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ถึงจะเป็นคนสำเร็จในชีวิตได้

  3. การสร้างสมดุลทรัพยากรที่มี ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นทฤษฎีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ท่านทรงพระราชทานในการจัดสรรทรัพยากรให้เป็นสัดส่วน สำหรับการแบ่งที่ดินที่มีอยู่เพื่อทำการเกษตรยุคใหม่เป็นการดำรงแบบพอเพียง รู้จักพอประมาณและสร้างภูมิคุ้มกัน ทฤษฏีนี้ได้รับการยอมรับว่าสามารถเลี้ยงชีวิตตนเองได้โดยที่ไม่เดือดร้อน เป็นการพึ่งพาตนเอง เพราะการแบ่งปันทรัพยากรให้เป็นสัดส่วนจะสามารถสร้างความหลากหลายจึงสามารถลดความเสี่ยงจากทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงสิ่งเดียว ซึ่งพระองค์ท่านให้ทำการแบ่งที่ดินออกเป็นสัดส่วน 30-30-30-10 โดย 30% สำหรับปลูกข้าว 30% สำหรับการปลูกพืชไร่ พืชสวนและเลี้ยงสัตว์ 30% สำหรับการขุดบ่อกักเก็บน้ำ และ10% สำหรับสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งหลักการนี้ เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดสรรทรัพยากรให้เกิดความสมดุลได้เช่น การแบ่งเงินออกเป็นตระกล้าหลายๆใบ ใบแรกสำหรับลงทุน ใบที่สองสำหรับค่าใช้จ่าย อีกใบอาจจะเป็นการซื้อประกันภัยต่างๆเป็นต้น

  4. การสร้างสมดุลด้านการเงิน เงินถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากขาดเงิน ก็จะส่งผลกระทบต่อด้านอื่นๆและเมื่อการบริหารจัดการเงินพังทั้งระบบ สมดุลชีวิตก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นนำเงินออกไปแบ่งสรรปันส่วนออกเป็นก้อนๆ แยกกันอย่างชัดเจนเช่น เงินสำหรับลงทุน เงินสำหรับค่าใช้จ่ายประจำ ค่าน้ำ ค่าไฟ   เงินสำหรับค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน สำหรับกรณีเจ็บป่วย เงินสำหรับทำบุญหรือสำหรับทดแทนผู้มีพระคุณ

  5. ถึงงานจะต้องทำ แต่เมื่อทำงานที่ไม่สามารถสร้างความสมดุลในการใช้ชีวิตได้ การดำเนินชีวิตก็จะไม่มีความสุข ฉะนั้นต้องค้นหางานที่สามารถสร้างความสมดุลชีวิตได้ ความกล้าเท่านั้นถึงจะเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น จงค้นหางานที่ใช่คือ งานที่ทำให้เราได้ใช้ชีวิต เป็นงานที่ไม่ใช่ให้ได้เพียงแค่ได้เงิน แต่ต้องได้ทั้งเวลาและได้ทั้งเงินเช่น งานที่สามารถให้รายได้แบบ Passive Income ได้ ซึ่งช่วงเริ่มต้นของการสร้างรายได้แบบ Passive Income ก็เหมือนกับคนที่ทำงานทั่วไปคือ ใช้แรงงานเพื่อแลกกับเงิน แต่หลังจากนั้นพวกเขาก็จะนำเงินที่ได้ไปซื้อทรัพย์สิน เพื่อให้ทรัพย์สินทำงานเพื่อสร้างเงิน แทนการแรงทำงานหนักเพียงอย่างเดียวไปตลอดชีวิต

  6. เมื่อชีวิตเป็น วัฏจักร เกิด แก่ เจ็บ แล้วก็ตาย ทุกช่วงชีวิตจึงถือได้ว่าสำคัญทุกๆช่วง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องวางแผนการใช้ชีวิตในแต่ละช่วงอายุขัยให้ดี เพราะการมีแผนจะจะช่วยทำให้เราสามารถเตรียมความพร้อมและลดความเสี่ยงด้านต่างๆได้เสมอ แผนที่ดีจะต้องรู้ได้ว่า เมื่อลงมือทำจนประสบความสำเร็จแล้ว  จะได้อะไรเป็นสิ่งตอบแทน  และแผนที่ชีวิตสำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือ แผนการพัฒนาอารมณ์และจิตใจ เพราะมันจะสร้างสมาธิและสติปัญญาในการเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ ให้มันผ่านไปได้

  7. ความยุติธรรม ความเสมอภาคถือเป็นเรื่องที่ละเลยไม่ได้ การแบ่งปัน การเสียสละ หลังจากประสบความสำเร็จในชีวิตแล้ว มนุษย์เราต้องรู้จักคำว่า “ให้และการเสียสละ”  พึงระลึกไว้เสมอว่า ยังมีสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเรา  ที่ยังคงต้องการความช่วยเหลือ ก่อนการลงมือทำสิ่งใดๆ ขอให้คิดจนมันมั่นใจว่า สิ่งที่เราได้ตรึกตรองดีแล้วนั้น ได้ให้ความยุติธรรมแล้ว กับคนที่เรารัก พ่อแม่ เพื่อน สังคมที่เราอาศัยอยู่

          สรุปแนวทางการสร้างสมดุลแห่งชีวิต เป็นเพียงแค่แนวคิด สมดุลชีวิต การทํางานกับการจัดสรรเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สามารถสร้างแทนใครๆได้ ชีวิตของใครคนนั้นๆต้องรับผิดชอบ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงชีวิต จะเริ่มขึ้นจากวิธีคิด ความคิดเปลี่ยน ชีวิตเปลี่ยน  Work Life Balanceคือ การบริหารชีวิตให้สมดุลและมีความสุขกับชีวิต

บทความที่น่าสนใจ ประสบความสำเร็จ

You may also like...

1 Response

  1. มีนาคม 6, 2020

    viagra

    WALCOME

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *