การสร้างระบบ แฟรนไชส์ เพื่อทําธุรกิจแฟรนไชส์ ให้เจริญเติบโตเข้มแข็งมั่นคงมั่งคั่ง

             การสร้างระบบ แฟรนไชส์  เพื่อให้ธุรกิจมีความมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนและเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง การสร้างธุรกิจแฟรนไชส์จะช่วยสร้างรายได้แบบ   Passive Income เมื่อผลตอบแทนที่มากขึ้นจนสามารถเอาชนะค่าใช้จ่าย จะทำให้ชีวิตมีอิสภาพทางด้านการเงินได้ เอกภาพทางการเงินที่ใครๆก็อยากมี

การสร้างระบบ แฟรนไชส์

การสร้างระบบ แฟรนไชส์

ความหมายธุรกิจ แฟรนไชส์

                แฟรนไชส์ คือ ระบบธุรกิจที่ประกอบด้วยบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า ผู้ขายแฟรนไชส์ ได้อนุญาตให้อีกบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ได้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือบริการ  ตราสินค้าตลอดจนสูตรลับ  กรรมวิธีต่างๆ เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการส่งมอบให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ผู้ขายแฟรนไชส์จะให้ความช่วยเหลือกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ในด้านต่างๆ อีก เช่น   ด้านระบบการบัญชี  การเงิน  การวางแผนการตลาด  กิจกรรมส่งเสริมการตลาด การฝึกอบรมพนักงาน เป็นต้น

              เพื่อให้ผลิตสินค้าหรือบริการ มีวิธีและรูปแบบการดำเนินธุรกิจในทุกๆ สาขาให้อยู่ในระดับมาตรฐานเดียวกัน ตามต้นแบบที่บริษัทเจ้าของแฟรนไชส์กำหนด  ซึ่งผู้ขายแฟรนไชส์มักจะได้ค่าตอบบแทนอย่างน้อย 2 อย่าง คือ ค่าแรกเข้าในการใช้เครื่องหมายการค้า และค่าตอบแทนจากผลดำเนินการ  เมื่อสามารถขยายสาขาได้เป็นจำนวนมาก จะทำให้ผู้ขายแฟรนไชส์ ยิ่งมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นวิธีสร้างรายได้แบบ Passive Income รูปแบบหนึ่ง

ประวัติ การสร้างระบบ แฟรนไชส์

            ปี ค.ศ.1850’ธุรกิจแฟรนไชส์ เริ่มต้นจากบริษัทซิงเกอร์  ได้ทำการวางระบบเพื่อการกระจายสินค้า ให้แก่ร้านลูกข่ายของตนสำหรับการค้าปลีก หลังจากนั้นบริษัทแมคโดนัลด์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ที่สามารถนำเอาระบบ แฟรนไชส์ ไปพัฒนาและประยุกต์ใช้  ในการกระจายร้านค้าแฟรนไชส์ของตนเอง จนสามารถขยายร้านสาขาไปยังต่างประเทศได้  ส่วนประเทศไทยเอง ได้นำเอาระบบรูปแบบแฟรนไชส์มาใช้กับการทำธุรกิจตั้งแต่ ปีพ .ศ. 2526 โดยธุรกิจที่มีระบบแฟรนไชส์ ยุคแรกๆคือ ธุรกิจแฟรนไชส์ด้านอาหาร เครื่องดื่มและร้านค้าแบบมินิมาร์ท

     

        การสร้างระบบ แฟรนไชส์ จะสมบูรณ์จะประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบด้วยกันคือ  1. มีผู้ซื้อและผู้ขายแฟรนไชส์  2. เครื่องหมายการค้าและแบรนด์ค้าหรือบริการ  3. การจ่ายค่าตอบแทนอย่างน้อย 2 รายการคือ ค่าแรกเข้าในการใช้เครื่องหมายการค้า และค่าตอบแทนจากกำไรของผลดำเนินการ

ธุรกิจในไทยที่ใช้ การสร้างระบบ แฟรนไชส์ จนประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมสูงสุด 5 ลำดับแรกคือ *

  1. บริษัทเซเว่น-อีเลฟเว่น ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้า 7-Eleven ที่ใครๆก็รู้จัก ตั้งแต่เด็กเล็กๆ จนถึงคนมีอายุ  7-11 Conception ” หิวอะไรก็แวะมา 7-Eleven ” เป็นกิจการค้าปลีกในลักษณะร้านอิ่มสะดวก ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค มีสาขาเป็นจำนวนมากในไทย จนทำให้ร้านโชห่วยบางพื้นที่ไม่สามารถอยู่ได้ เพราะ 7-11 มีทุกซอยที่มีผู้คนพลุกพล่าน ทุกจังหวัดในประเทศไทย หัวเมืองใหญ่ๆในไทย

  2. แฟรนไชส์ร้านปังสด ขนมปัง-นมสด : คอนเช็ปร้านปังสด สร้างอนาคต ลดความเสี่ยง

  3. แฟรนไชส์นมสด เอ็มมิลค์ นมสดแท้ 100% เป็นธุรกิจร้านนม ใช้จุดขายคือ นมสดแท้ๆ อาศัยความหลากหลายเมนู ใช้เงินลงทุนต่ำ เพียงแค่ 15,000 เท่านั้นก็เป็นเจ้าของร้านได้ สร้างรายได้เป็นหมื่นๆบาท

  4. แฟรนไชส์ ร้านไอศกรีมเกล็ดหิมะ หรือ น้ำแข็งไสปุยหิมะ  เจ้าของแบรนด์เนม  ไอซ์ เบบี้  แฟรนไชส์ คอนเช็ปไอศกรีมเกล็ดหิมะ ความอร่อยอินเทรนด์สุดๆ

  5. เชสเตอร์ – อ่าเชสเตอร์ เป็นที่รู้จัก สำหรับคนที่ชื่นชอบเอกลักษณ์เมนูไก่ย่าง เลิศรส รายการอาหารหลากหลายที่คัดสรรคุณภาพอย่างพิถีพิถันการสร้างระบบ แฟรนไชส์

ขันตอนการสร้างระบบ แฟรนไชส์ ให้เจริญเติบโตเข้มแข็งมั่นคงมั่งคั่ง

         “ การสร้างธุรกิจไม่ใช่เรื่องยาก แต่จะทำธุรกิจอย่างไรไม่ให้ล้มเหลวและเจริญเติบโตแบบยั่งยืนได้ ”  เพราะการทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้ประสบความสำเร็จได้ ก็ย่อมมีหลากหลายปัจจัยด้วยกันที่จะสร้างความสำเร็จได้เช่น “การตั้งเป้าหมาย” ความมุ่งมั่น ความพยายาม ความอดทน มีทัศนคติคิด ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะบริหารคนและทีมงาน แหล่งทุน ความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องผู้บริโภค ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย

            นอกจากนี้ยังต้องอาศัยทักษะการเรียนรู้ การแก้ไขปัญหา การลองผิดลองถูก มีความสามารถที่จะสร้างกลยุทธ์เพื่อเอาการแข่งขันได้ เพราะในระหว่างดำเนินธุรกิจ มักมีคู่แข่งขันทางธุรกิจทั้งรายเก่าที่อาศัยความเก๋า  แล้วยังจะมีคู่แข่งขันรายใหม่ที่ไฟกำลังแรง  ดังนั้นเพื่อให้ธุรกิจมีความแข็งแกร่งจะต้องมีระบบการบริหารและการจัดการที่ดี การสร้างระบบ แฟรนไชส์ มีขั้นตอนดังนี้

          1. ศึกษาแนวโน้มธุรกิจและการเลือกประเภทสินค้าหรือบริการที่จะสร้างระบบแฟรนไซส์  ในโลกธุรกิจยุคปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการสื่อสาร เศรษฐกิจสังคม  จึงส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้บริโภค ดังนั้นการสร้างธุรกิจด้วยระบบ แฟรนไชส์ ต้องรู้ว่าสิ่งที่ตนเองกำลังสนใจนั้น จะยังสามารถตอบสนองความต้องการ  ของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อยู่หรือไม่ ซึ่งสินค้าหรือบริการที่เรากำลังเลือกทำควรอยู่ในเทรนด์ของตลาด

           การศึกษาความเป็นไปได้ จำเป็นต้องทำการวิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยงให้ครบทุกๆด้านเช่น การส่งเสริมจากรัฐบาล นโยบายการเมือง กฏหมายกฏระเบียบต่างๆ เศรษฐกิจสังคม วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของผู้บริโภค

            การเลือกประเภทสินค้าหรือบริการได้ชัดเจน จะช่วยชี้แนวทางในการลงมือทำจริงได้ สามารถวัดความสำเร็จและที่มาของรายได้ ได้อย่างชัดเจนได้มากยิ่งขึ้น

         2. สร้างร้านต้นแบบ ต้องเป็นร้านที่มีความยืดหยุ่น ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขและปรับปรุงให้เกิดการลงตัวทุกๆด้านได้ก่อนเสมอ ขั้นตอนในการสร้างร้านต้นแบบ   1) การรู้ว่าสินค้าหรือบริการของเราคืออะไร    2) ลูกค้าเราเป็นคนกลุ่มไหน 3) กำหนดราคาต้องเท่าไร จึงจะเหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า, เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า, เหมาะสมกับกำลังซื้อของลูกค้า 4) หลังจากนั้นก็ทำการทำการออกแบบ วางแผนงาน เลือกสถานที่ที่เหมาะสม ออกแบบโครงสร้างอาคารหรือโครงสร้างของร้าน การตกแต่งภายในร้าน การวางตำแหน่งสินค้าก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ 5) ลงมือสร้างร้านต้นแบบและให้บริการกับลูกค้า

        3. ประเมิน ปรับปรุงและพัฒนาร้านต้นแบบ เมื่อเราให้บริการสำหรับร้านต้นแบบไปสักระยะเวลาหนึ่ง เราจะสามารถวัดได้ว่า ธุรกิจสินค้าหรือบริการที่ทำอยู่ มีแนวโน้มเป็นเช่นไร สามารถตอบสนองและสร้างความพึงพอใจลูกค้าได้ดีหรือไม่ โดยอาศัยการประเมินเช่น การทำแบบประเมินจากคนที่เข้ามารับบริการ การใช้สินค้าซ้ำ ดูจำนวนคนที่ใช้บริการต่อวันเพิ่มขึ้น ปริมาณคำชมได้รับจากลูกค้า

           แต่ถ้าผลออกมาตรงกันข้าม เราคงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ตามข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสังเกตหรือแบบประเมินที่เราได้รับ เมื่อรู้ในสิ่งที่ต้องแก้ไขปรับเปลี่ยนก็คงต้องพัฒนาให้ดีกว่าเดิมที่เป็นอยู่ เช่นการปรับเปลี่ยนวิธีการการให้บริการ แก้ไขตัวสินค้าหรือบริการ เปลี่ยนสไตล์การตกแต่งร้านให้ดีขึ้น แล้วทำซ้ำไปเรื่อยๆจนกว่า  ข้อมูลทางสถิติด้านต่างๆจะดีขึ้น เมื่อประเมินแล้วพบว่าร้านต้นแบบสามารถสร้างกำไรได้ ดูแล้วว่าแฟรนไชส์ที่กำลังทำอยู่ สามารถที่จะขยายเครือข่ายได้ ก็ดำเนินการขั้นถัดไป

        4. พัฒนารูปแบบแฟรนไชส์ (Franchise Package) หากร้านต้นแบบไปได้สวย รวมถึงขนาดธุรกิจที่ทำ  มีน้ำหนักเพียงพอที่จะสร้างความมั่นคง มีรายได้ยืนยาว คุณต้องสร้างองค์ประกอบธุรกิจแฟรนไชส์

                 4.1 สร้างเงื่อนไขหรือสัญญา การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ให้กับนักลงทุน ควรสามารถอธิบายให้นักลงทุนได้มองเห็นความคุ้มค่าที่จะร่วมทำธุรกิจ เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่สามารถสร้างกำไรได้  มีความเป็นไปได้ มีรายได้ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการลงทุน ต้องนำเสนอตัวเลขระยะเวลาในการคืนทุนและการสร้างผลกำไร เป็นการตอบแทนให้กับแฟรนไชส์ซีมีโอกาสประสบความสำเร็จในดำเนินสร้างธุรกิจได้จริง และที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การกำหนดรายได้ค่าตอบแทนจากการขายแฟรนไชส์ของเราเอง

                 4.2 การกำหนดบทบาทหน้าที่ของแฟรนไชส์ซี สร้างคู่มือการทำงานที่แฟรนไชส์ซีสามารถนำไปใช้ได้ ดูดี มีการฝึกอบรมหรือสร้างวิธีการถ่ายทอดความรู้ได้อย่างเหมาะสม มีการวัดทดสอบความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งการค้นหาแนวทางการประเมินศักยภาพของแฟรนไชส์ซี เพื่อส่งเสริมจุดแข็งและขจัดจุดอ่อนที่เขามี ด้วยการวางแนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

      5. นำเสนอการลงทุน  เราสามารถนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ให้กับผู้สนใจ  ในการร่วมลงทุนทางธุรกิจที่เราค้นพบ ซึ่งแนวทางในการนำเสนอธุรกิจสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบเช่น การโฆษณา การออกบู๊ท การเข้าร่วมแสดงนิทรรศการในโอกาสต่างๆ ตอนนี้สื่อที่มาแรงที่สุดคือ การนำเสนอผ่านทางโลกออนไลน์ไม่ว่า จะเป็นแอพพลิเคชั่น, ไลน์, เฟสบุ๊คหรือเว็บไซต์

      6. วางแผนด้านการตลาด เป็นหัวใจในการเข้าถึงผู้บริโภค สร้างความยอมรับจากลูกค้าและจดจำสินค้าได้ดี ด้วยการสร้างตราสินค้า สร้างแบรนด์ในการทำธุรกิจ สร้างโอกาสเพื่อรองรับการขยายของธุรกิจ ที่ต้องการเพิ่มสาขามากขึ้น การวางแผนการตลาด สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ การนำเสนอธุรกิจให้มีความน่าสนใจ นำเสนอจุดเด่นต่างๆ เพื่อให้นักลงทุน มั่นใจได้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ ที่พวกเค้ากำลังทำอยู่มีโอกาสเจริญก้าวหน้า มั่นคง

      7. เลือกแฟรนไชส์ซี ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก เพราะการทำธุรกิจไม่สามารถเลือกใครก็ได้มาร่วมลงทุน แล้วประสบความสำเร็จ  ทำการประเมินและพิจารณาเแฟรนไชส์ซี ด้วยวิธีสร้างเกณฑ์และตัวชี้วัดศักยภาพ ว่าคนร่วมลงทุนมีความสามารถเพียงพอหรือไม่ มีคุณสมบัติเหมาะกับลักษณะกิจการหรือไม่เช่น ความพร้อมด้านความรู้ ความสามารถ และเงินทุน

      8. พัฒนาองค์กร เพื่อให้ธุรกิจมีความยั่งยืน ต้องมีการวางระบบและการคัดเลือกคนงานที่เป็นส่วนหนึ่งของทีมที่ดี คนในทีมงานต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เข้าใจต่อลักษณะงาน สามารถสนับสนุนช่วยให้แฟรนไชส์ซีประสบความสำเร็จได้ คอยสนับสนุน ให้กำลังใจตลอดจนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้กับแฟรนไชส์ซีได้อย่างเป็นระบบ พร้อมทั้งมีการพัฒนาจริงจังอย่างต่อเนื่อง

          ความรู้ที่ตกผลึก จะทำให้ชีวิตเปลี่ยน การสร้างระบบ แฟรนไชส์ ที่ดีจะสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น เปิดโอกาส  แต่ถ้าคำตอบยังไม่ใช่ ยังมีรูปแบบธุรกิจอื่นๆ ที่สามารถสร้างรายได้ Passive Income อีกมากมาย ชีวิตเรา…สร้างได้

ขอขอบคุณ (ข้อมูลวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)และไทยแฟรนไชส์เช็นเตอร์*

บทความที่น่าสนใจ การตลาดกับชีวิตประจําวัน ข้อคิดการจัดการการตลาดสมัยใหม่

You may also like...