ผู้นำในดวงใจ คือผู้นำที่ได้รับการยอมรับและเคารพรักศรัทธาจากลูกน้อง

     ความสำเร็จของการเป็นผู้นำคือ การได้รับการยอมรับ เป็นที่เคารพรักและศรัทธา ได้รับความไว้ใจจากลูกน้อง เรียกว่าได้เป็น ผู้นำในดวงใจ  ซึ่งการที่จะเป็น ผู้นำในดวงใจ ได้นั้นผู้นำต้องมีทักษะ มีความสามารถ มีภาวะผู้นำ สามารถบริหารงานและบริหารคน สามารถโน้มน้าวลูกน้องให้มีความมุ่งมั่น มีกำลังใจในการต่อสู่กับปัญหาอุปสรรค เพื่อการทำงานร่วมกัน  ไปจุดมุ่งหมายร่วมกัน จนประสบความสำเร็จและช่วยให้ลูกน้องมีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้

ผู้นำในดวงใจ

ผู้นำในดวงใจ

          ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่ลูกน้องทุกคนจะยอมรับในบทบาทของผู้นำ มีความเชื่อมั่น ให้ความเคารพและศรัทธาในตัวผู้นำ  แต่การที่จะทำให้งานสำเร็จได้นั้น ผู้นำจำเป็นต้องมีลูกน้องช่วยทำงานด้วยความเต็มใจ ทุมเทความรู้ความสามารถในการทำงานให้งานประสบความสำเร็จได้ ซึ่งลูกน้องเองก็ต้องมีความเจริญก้าวหน้าในอาชีพเช่นกัน ดังนั้นนอกจากผู้นำต้องวางแผนพัฒนาทักษะ ความสามารถและความเจริญก้าวหน้าในสายอาชีพของตัวเองแล้ว ยังต้องวางแผนเพื่อลูกน้อง  ซึ่งความสำเร็จของการเป็นผู้นำในดวงใจนั้น  ดูได้จาก คือความสามารถ ในการสร้างตัวแทน ในการสืบทอดความเป็นผู้นำได้กี่คน

  ผู้นำในดวงใจ

               นิยามผู้นำในดวงใจคือ คนที่รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง เพื่อการบริหารงาน สามารถวางแผนงานและแจกจ่ายงานให้แก่ลูกน้องตามทักษะและความสามารถ โดยโน้มน้าว จูงใจและสามารถกระตุ้นลูกน้องหรือผู้ตาม ให้เข้าใจในหน้าที่ของตน รวมถึงมีพร้อมด้วยคุณสมบัติของการเป็นผู้นำที่ดี ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนทั้งทีม ให้ช่วยกันทำงานจนสามารถบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายได้

              การทำงานให้ประสบความสำเร็จได้อย่างมั่นคง ไม่สามารถทำได้เพียงแค่กำลังของผู้นำคนเดียวได้  ผู้นำต้องอาศัยทีมต้องอาศัยลูกน้อง เพราะงานเต็มไปด้วยอุปสรรคปัญหามากมาย การมีลูกน้องและทีมที่ดี ซึ่งมีความรักสามัคคี คนในทีมมีความรู้ความสามารถ มีทักษะสูง เป็นทีมที่ศักยภาพและประสิทธิภาพ จะช่วยทำให้งานที่กำลังทำอยู่บรรลุความสำเร็จได้ง่ายขึ้น ดังนั้นบทบาทของผู้นำจะต้องเก่งเรื่องคนและเก่งเรื่องงาน

    ผู้นำต้องเก่งเรื่องคน

      ผู้นำที่ดีมีความสามารถในการจูงใจและโน้มน้าวลูกน้อง ให้ทำงานด้วยความเต็มใจ ซึ่งจะช่วยทำให้งานที่ทำมีทั้งคุณภาพ ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

     ผู้นำต้องเป็นนักสื่อสารที่ดี  สามารถชี้แจงให้ลูกน้องตระหนักถึงสิ่งที่เป็นจุดมุ่งหมายที่ได้ตกลงร่วมกัน การสื่อสารให้ลูกน้องได้รู้ถึงบทบาทและหน้าที่ ด้วยสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสื่อต้องมีองค์ประกอบครบถ้วน ทั้งเนื้อหาและมีความชัดเจน แต่ต้องสื่อสารให้กระชับ ให้ผู้รับสารเข้าใจได้ง่าย ไม่กำกวมและตรงไปตรงมา  นอกจากนี้ต้องเป็นการสื่อสาร 2 ทาง โดยต้องต้องเปิดโอกาสให้ลูกน้องสามารถแสดงความคิดเห็นได้

    เน้นทีมที่มีวินัยและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะต้องสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม โดยใช้เทคนิคระดมสมองและการแสดงความคิดเห็น เพื่อให้พวกเขารู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของทีม ข้อดีของระดมสมองคือ สามารถขจัดความไม่ละเอียดรอบคอบ ในการแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้ยังได้วิธีและการตัดสินใจในการแก้ปัญหาที่ดีกว่าอีกด้วย

     ผู้ต้องสอนคนเป็น เพราะการสอนงานเป็น นอกจากจะทำให้สำเร็จตามเป้าหมายแล้ว จะทำให้งานมีทั้งคุณภาพและประสิทธิภาพประกอบไปด้วยกัน ดังนั้นต้องทำให้ทีมมีความรู้ในงานที่ทำ มีทักษะ มีศักยภาพมากขึ้น การสอนงานที่ดีอาจจะต้องประเมินความสามารถและทักษะของลูกน้อง และมีการปรับปรุงวิธีการสอนงานให้ดียิ่งขึ้น

   ผู้นำต้องเก่งเรื่องงาน

     ผู้นำต้องวางแผนงานเป็น ต้องมองภาพรวมของงานได้ ซึ่งเป็นหน้าที่ผู้นำต้องรับผิดชอบ ผู้นำที่ดีต้องสามารถมองอนาคตได้ว่า จะต้องทำอะไรให้เกิดขึ้นบ้าง การวางแผนงานที่ดีจะต้อง รู้กิจกรรมที่ ต้องทำทั้งหมดและต้องสามารถกำหนดขอบเขตหรือกำหนดกรอบของงานได้  ผู้นำจึงต้องประเมินให้ได้ว่าในแต่ละกิจกรรมที่ทำนั้น เมื่อทำสำเร็จจะได้อะไร และสามารถกำหนดผู้รับผิดชอบได้อย่างชัดเจน รวมทั้งการกำหนดระยะเวลาในงานที่ลงมือทำให้แล้วสำเร็จ

     ผู้นำต้องมอบหมาย ควบคุมและติดตามงานเป็น แผนงานที่นำไปปฏิบัติ ต้องแจกแจงงานให้กับลูกน้องแต่ละคนได้อย่างชัดเจน คอยตรวจสอบติดตามวิธีการทำงานที่ลูกน้องทำ ว่ายังอยู่ในขอบเขตและมีแนวทางที่ถูกต้องในการทำงาน และที่สำคัญต้องติตามความคืบหน้าในการทำงานได้ เพื่อประเมินว่างานที่กำลังทำอยู่ จะสำเร็จได้ตามแผนงานหรือไม่ เพราะจะได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานใหม่ได้ทันการ

    เป็นผู้นำแห่งการปรับปรุง มีการตรวจติดตาม จะช่วยทำให้ผู้นำได้รู้ปัญหาระหว่างการปฏิบัติงาน เมื่อรู้ปัญหาการทำงาน จะต้องไม่จมอยู่กับตัวปัญหา อย่าปล่อยปัญหานั้นผ่านไปโดยไม่ได้ทำอะไร มันจะกลายเป็นความเคยชินของตนเองและลูกน้อง อย่าปล่อยให้การแก้ไขปัญหาเป็นหน้าที่ของลูกน้องแต่เพียงผู้เดียว จะต้องร่วมกับลูกน้อง เพื่อวิเคราะห์ให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหาอย่างแท้จริง แล้วทำการแก้ไขปรับปรุงพัฒนาวิธีการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

   ผู้นำต้องบริหารเวลาให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะเวลาถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก  เนื่องจากเวลาที่สูญเสียไปแล้ว จะไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขใหม่ได้ ดังนั้นเมื่อต้องลงมือทำการใดๆ จะต้องทำให้ดีที่สุด คิดเอาแบบชั้นหนึ่ง ทุกครั้งที่ต้องลงมือทำสิ่งใดๆ ให้คิดว่าไม่มีใครทำได้ดีเท่าที่เราทำ  แต่อย่าเปรียบเทียบสิ่งที่ตนเองทำ กับสิ่งที่คนอื่นทำ ถึงแม้ว่าเรื่องที่กำลังลงมือทำอยู่ เป็นเรื่องเดียวกับสิ่งที่คนอื่นทำก็ตาม

ผู้นำในดวงใจควรมีภาวะผู้นำดังนี้

   ผู้นำที่มีภาวะผู้นำ LEADERSHIP คือ ผู้นำที่อาศัยการทำงานในรูปแบบการทำงานเป็นทีม โดยต้องทำให้คนในทีมมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ผู้นำต้องไม่อาศัยอำนาจอันเกิดขึ้น จากการแต่งตั้งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นผู้นำที่มีคุณสมบัติ เหมาะสมกับความเป็นผู้นำ

LEADERSHIP มีดังต่อไปนี้

   L – Lively : มีชีวิตชีวา มีมุมร่าเริงบ้าง เพื่อให้ไม่เป็นที่น่าเกรงกลัวของลูกน้อง ทำตัวให้ลูกน้องเข้าหาได้ง่าย

   E – Encourage : บำรุงนํ้าใจลูกน้อง ใจเขาใจเรา หากทำดีย่อมได้ดี หากลูกน้องทำงานสำเร็จและพนักงานทำงานดี ต้องได้รับรางวัล ได้รับคำชม แต่หากทำผิดต้องสามารถชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องได้

   A – Active : คล่องแคล่วว่องไว ทำงานให้แล้วเสร็จตามที่กำหนดโดยเร็ว ทำให้คนอื่นสามารถมองได้ว่า เป็นคนกระตือรือร้น มีความมุ่งมั่นที่จะเอาชนะปัญหา โดยไม่จำเป็นต้องบอกคนอื่นให้รู้ ซึ่งความสามารถกระตุ้นและสร้างกำลังใจให้ตนเองได้ มันสามารถพลังไปยังคนรอบข้างหรือลูกน้องได้

   D – Decisive : เด็ดขาด ยึดหลักการที่ถูกต้อง เมื่อลูกน้องทำผิด การลงโทษต้องตัดสินใจอยู่บนหลักข้อเท็จจริง กฏระเบียบขององค์กร

   E – Endurance : อดทน/อดกลั้น การทำงานย่อมอาศัยเวลา และการทำงานย่อมมีข้อขัดแย้งกันบ้าง แต่ต้องอดทน ต้องตัดสินใจอยู่บนหลักฐานข้อเท็จจริง เจตนา กฏระเบียบขององค์กร และไม่ขัดแย้งกับกฏหมาย

   R – Responsibility: รับผิดชอบ เมื่อตัดสินใจทำอะไรแล้ว ต่อให้สิ่งที่กำลังทำอยู่ไม่ถูกต้อง ต้องยอมรับและแก้ไขให้ถูกต้อง

   S – Smart : เฉลียวฉลาด ความฉลาดไม่ได้เกิดขึ้น จากพรสวรรค์ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น  แต่ความฉลาดสามารถเกิดขึ้นได้จากการฝึกฝน มีความขยันหมั่นเพียร ความฉลาดเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง  การแก้ปัญหาจงมองหาสาเหตุของความล้มเหลวจากการลงมือทำ เพื่อเป็นการพัฒนามีความละเอียดรอบคอบในการทำงานมากยิ่งขึ้น

   H – Healthy : สุขภาพดีทั้งกายและใจ สุขภาพจะส่งผลถึงศักยภาพและการทำงาน การมีสุขภาพดีจะทำให้เป็นคนคิดบวก มีความพร้อมในการต่อสู่กับปัญหา

   I – Information : มีข่าวสารข้อมูลพร้อม ปัจจุบันข้อมูลถือว่ามีความสำคัญมาก สำหรับผู้นำยุคไอที ต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องและมีความทันสมัย

   P – Polite : สุภาพอ่อนน้อม การอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ จะเป็นที่น่ารักของผู้คนที่พบเห็น และได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น

ผู้นำในดวงใจ

8 พฤติกรรมของ ผู้นำในดวงใจ มีดังนี้

 1. ให้เกียรติและศักดิ์ศรี มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะยากดีมีจน ทุกคนย่อมมีเกียรติและศักดิศรีในตนเอง ดังนั้นการแสดงออกต่อลูกน้องถือว่าเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการ การพูด การเขียนหรือพฤติกรรมที่แสดงต่อหน้าลูกน้อง ผู้นำควรตระหนักอยู่เสมอว่า หากตัวเราเองเป็นลูกน้องๆอยากได้ผู้นำแบบไหน…และเราก็ควรปฏิบัติต่อลูกน้องอย่างนั้นเช่นนั้น

2. การรับฟังความคิดเห็น ผู้นำที่ต้องมีทักษะในการเป็นนักฟังที่ดี เป็นนักฟังแบบเข้าอกเข้าใจ ต้องทำความเข้าใจ หากข้อเสนอแนะจากลูกน้อง ให้แสดงออกถึงความห่วงใยและลูกน้องสามารถรับรู้ได้ถึงความรู้สึกนั้น นอกจากนี้ต้องแสดงการเห็นอกเห็นใจเมื่อลูกน้องประสบกับปัญหาต่าง ๆ

3. ให้ข้อมูลข่าวสาร ผู้นำที่ดีต้องมีทักษะเป็นนักสื่อสารที่ดี สามารถวิเคราะห์ได้ว่ามีข้อมูลใดบ้างที่สำคัญและจำเป็นต่อลูกน้อง ต้องนำไปปฏิบัติให้เกิดความสำเร็จ มีการสื่อสารให้ลูกน้องได้รับทราบอย่างถูกต้องครบถ้วนอย่างเร่งด่วน จะทำให้ลูกน้องสามารถทำงานอย่างเข้าใจและปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ได้

4. การกระตุ้นให้มีส่วนร่วมในทีม การทำงานเป็นทีมถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะผู้นำที่ดี จำเป็นต้องสร้างแรงจูงใจและแรงกระตุ้นลูกน้องทุกคนให้มีส่วนร่วมในทีมและสร้างความรู้สึกในการเป็นเจ้าขององค์กรร่วมกัน

5.ให้การส่งเสริมและสนับสนุนทีม ทุกคนที่ทำงานมักต้องการความก้าวหน้าและมีความก้าวหน้าในชีวิตการทำงาน ดังนั้นหากคนใดมีผลการปฏิบัติงานที่สูงกว่ามาตรฐาน ผู้นำจะต้องมีการส่งเสริมและคอยให้การสนับสนุนให้ลูกน้องคนนั้นได้มีโอกาสเจริญเติบโต ส่วนคนใดมีคุณสมบัติต่ำกว่ามาตรฐานในทีม ก็สมควรต้องเร่งดำเนินการดูแลให้การช่วยเหลือและทำการแก้ไขร่วมกัน

6. มีวินัยและเป็นแบบอย่างที่ดี วินัยถือเป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกัน คนที่ทำงานอย่างมีวินัยมักจะเป็นผู้รู้ผิดชอบชั่วดี ผู้นำที่มีวินัยมักจะนำพาลูกน้องไปในทางที่ถูกต้องเสมอ การเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งต่อหน้าและลับหลังไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน การใช้ชีวิต การบริหารเวลา การดูแลครอบครัว การดูแลสุขภาพฯ จะทำให้ลูกน้องมีความมั่นใจในความเป็นผู้นำ และมีความพร้อมที่จะเดินตามผู้นำทุกอย่างโดยไม่มีข้อกังขา

7. เป็นที่พึ่งและเก่งจริงเรื่องงาน งานคือเป้าหมายสำคัญของทีมงาน ทีมส่วนใหญ่อยากให้งานออกมาดี มีประสิทธิภาพ บางครั้งทีมต้องหมดแรงล่าถอย เพราะผู้นำไม่สามารถช่วยเหลือให้คำแนะนำ หรือมักที่จะสอนในสิ่งที่ผิด ๆ อยู่เสมอ ขาดความรู้ ความชำนาญในงานอย่างแท้จริง รวมถึงสิ่งที่จำเป็นและสำคัญคือต้องมีความพยายามในการหาทางออก ด้วยการค้นหาวิธีทำงานใหม่ ๆให้ลูกน้อง

8. การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ Trust การวางใจได้ เป็นการรวมทุกสิ่งทุกอย่างมาไว้ด้วยกัน หล่อหลอมใจเข้าด้วยกัน ใช้คำพูดกิริยาท่าทางที่สร้างความน่าเชื่อถือ น่าไว้ใจ ให้ลูกน้องรับรู้ว่าเป็นความจริงใจ ซึ่งกันและกัน ผู้นำในดวงใจ ต้องเป็นคนที่ คอยดูแลใส่ใจผลประโยชน์ขององค์กร และต้องไม่ให้องค์กรเอาเปรียบลูกน้อง

บทความน่าสนใจ คิดสร้างสรรค์

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *