เรียนแบบไหนดี ที่ทำให้เราได้ประโยชน์สูงสุด

เรียนแบบไหนดี ที่ทำให้เราได้ประโยชน์สูงสุด

                เชื่อหรือไม่ว่าคนไทยเราเข้าเรียนตั้งแต่เด็ก 3ขวบ จนถึงเรียนจบปริญญาตรี ใช้เวลาในโรงเรียนและสถานที่ศึกษามากถึง  20 ปี แต่ยังไม่สามารถทำนายได้ว่า จะได้รับอะไรบ้างจากการเรียน  เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มเรียนถึงหลังจากการเรียนหนังสือจบ คือ ไม่ได้กำหนดจุดหมาย จึงกลายเป็นปัญหาว่า เรียนจบแล้วจะไปทำอะไร  ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนที่จบปริญญาตรีหลายๆ คน ทำงานไม่สามารถทำงานให้ตรงกับสายงานที่ตนเองได้ร่ำเรียนมา บ้างก็ไม่ประสบความสำเร็จ บ้างก็ต้องไปเรียนรู้ไปเข้าคอสฝึกอบรม เพื่อต้องการความรู้เพิ่มเติมไปใช้ในงาน จนกลายเป็นปัญหาระดับชาติ  หากลองย้อนเวลากลับไปจะรู้สึกได้ว่า เราเสียต้นทุนจากการเรียนหนังสือมากมาย  แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นไม่เป็นอย่างที่คิด ถึงแม้ว่าการศึกษาจะเป็นการลงทุนที่ต่ำที่สุดก็ตามเถอะ

เรียนแบบไหนดี

เรียนแบบไหนดี

                แม้แต่การฝึกอบรมหลักสูตรจากสถาบันดังๆ เปิดคอสหลายๆหลักสูตรสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนกิจกรรมของโรงงาน ธุรกิจต่างๆ  แต่ก็ยังพบปัญหาเพราะพอผู้เข้าอบรมออกจากห้องเรียน ก็พบว่าความรู้จากห้องเรียนนั้นได้ส่งคืนให้คุณครูจนหมดแล้ว ทำให้ประโยชน์ที่แท้จริงของการอบรมครั้งนั้น กลับตกอยู่ที่ตัวคุณครูหรือวิทยากรเป็นหลัก  ซึ่งทำให้ผู้สอนเหล่านั้นสามารถเพิ่มทักษะการสอนได้ดีมากขึ้น  มีความรู้ทางวิชาการแน่นมากขึ้น

                ปัญหาอุปรรคการเรียนการศึกษายังมีอีกมากมาย  ซึ่งทำให้ เด็กๆ และผู้เรียนผู้เข้ารับการฝึกอบไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควรจะได้ จากการเสียสละเวลา เงิน เพื่อเข้ารับการอบรมในแต่ละหลักสูตร

                ซึ่งผลงานวิจัยของสถาบันดังในต่างประเทศพบว่า  การเรียนรู้ ความรู้นั้น จะเกิดขึ้นกับตัวผู้เรียนได้ 100เปอร์เซนต์ต้องประกอบไปด้วยดังนี้

                10 % เกิดขึ้นจากการเรียนอย่างเป็นทางการ ในห้องเรียน การฟังบรรยาย การอ่านให้ฟัง

                20 % เกิดจาการแนะนำโดยผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญ ที่ให้ข้อเสนอแนะ

                70 % เกิดขึ้นจริงจากประสบการณ์ที่ได้ใช้ความรู้นั้นๆ ไปลงมือปฏิบัติจริง

         แล้วจะมีหลักสูตรใด ลักษณะการเรียน: เรียนแบบไหนดี  ที่ทำให้เราได้ประโยชน์สูงสุด  ที่ทำให้เราได้ความรู้ครบทั้ง 3 องค์ประกอบ หรือคำในภาษาอังกฤษที่นิยมใช้กันมากคือ อินทิเกรท “ Integrate” เข้าด้วยกัน

ความรู้ 10% จาก Formal Training

การเรียนอย่างเป็นทางการในห้องเรียน การอบรมภายในและการอบรมภายนอกสถานที่ทำงานต่างๆ   Classroom  / In house / Public training การเข้าห้องเรียนที่มีครูผู้เชี่ยวชาญสอน  โดยใช้เทคนิคต่างๆ การอธิบายตามเครื่องมือช่วยสอนเช่น สไลด์ แผ่นซีสเอกสารประกอบการเรียนการสอน  หนังสือคู่มือ ฯลฯ

ความรู้ 70% จากการประยุกต์ใช้กับชีวิตจริง ลงมือทำจริง (Experience) อันได้แก่หลักสูตร

 เทคนิค On the job training (OJT)

การฝึกอบรมแบบ On the Job Training (OJT) คือ การฝึกการปฏิบัติงานจริง โดยมีผู้ชำนาญงานนั้นเป็นครูฝึก คอยดูแลการฝึกงานของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งการฝึกอบรมแบบ On the Job Training จะไม่เน้นการเรียนทฤษฎีมากนัก แต่มุ่งเน้นไปในทางฝึกปฏิบัติ ทำให้การฝึกอบรมแบบนี้ มีความสามารถในการสร้างความรู้ความเข้าใจ เหมาะกับการปฏิบัติงานโดยตรงเพราะเห็นผลในระยะสั้นค่อนข้างชัดเจน ต้นทุนตํ่า แต่ก็ไม่ควรที่จะให้มีจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้เกิดการดูแลของผู้ฝึกสอนไม่ทั่วถึง เกิดการบกพร่องในการปฏิบัติงาน ทำให้ Cost of Quality สูงขึ้น และ Productivity ตํ่าลงได้ ด้วยขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของผู้สอน

1)เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ สถานที่ ข้อมูลเนื้อหาที่ต้องสอน สื่อและอุปกรณ์ต่างๆ

2) ในการสอนต้องสร้างความเป็นกันเอง แจ้งวัตถุสงค์ แจ้งงานให้ทราบ อย่างชัดเจน

3) สอบถามความรู้/ประสบการณ์ เพื่อการเลือกใช้เทคนิคการเรียนการสอนต่างๆได้เหมาะสมกับผู้เรียน

4) เทคนิคการบอกให้เห็นถึงความสำคัญของหลักสูตร ทำให้เกิดความสนใจ

การสอนจริงให้ลงมือทำจริง ด้วยเทคนิคการสอนแบบที่ละขั้นตอน

1) บอก-แสดงขั้นตอนสำคัญทีละขั้นตอน อาจจะให้ไปดูหน้างาน ดูคนอื่นทำ

2) เน้นจุดสำคัญ ในระหว่างที่ทำการสาธิตนั้นต้องอธิบายถึงความสำคัญในแต่ละขั้นตอน

3) สอนให้ชัดเจน ในระหว่างการสอนนั้นต้องถามผู้เรียนหรือให้เขาอธิบายในสิ่งที่สอนเพื่อทบทวนความเข้าใจ

4) สอนให้ครบถ้วน  ไม่กั๊ก เพราะคนที่ได้รับการอบรมนั้นจะได้ไม่ทำผิด

5) ทำให้ดู – ให้ทดลองทำ หากผู้เรียนยังไม่เข้าใจต้องให้ผู้เชี่ยวชาญลงมือปฏิบัติให้เห็นกับตา แล้วให้ผู้เรียนได้ทดลองทำด้วยตนเอง

6)  ให้ทำซ้ำจนกว่าจะมั่นใจว่าผู้เรียนเข้าใจและทำงานได้

การติดตามและประเมินผล

1) การมอบหมายงานให้ลงมือทำจริงแล้วประเมินผลการทำงาน ด้วยการสังเกตุขั้นตอนการปฏิบัติและคุณภาพของชิ้นงาน

2) การคอยเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำเพิ่มเติม

3) การประเมินและการให้ Feedback

เทคนิค  Small Group activity (SGA) 

                จัดตั้งกลุ่มให้มีจำนวนสมาชิกกลุ่ม: 5 ~ 6 คน ดีที่สุด  และต้องมีผู้ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือเช่น ผู้บริหารระดับสูง, ผู้จัดการ, Supervisor คอยชี้แนะให้คำแนะนำ ค่อยสอนหลักการที่ถูกต้อง มีการกำหนดระยะเวลาและผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน มีการกำหนดหัวข้อในการประชุมอย่างชัดเจนเช่ การปรับปรุงด้านคุณภาพ การปรับปรุงการทำงาน การเพิ่มผลผลิตเป็นต้น

  ความรู้อีก 20 % จากปัจจัยอื่นๆ Others การแนะนำโดยผู้รู้/ Feedback จากบุคคลอื่น ด้วยเทคนิคดังนี้

 

    วิธีการฝึกแบบสอนงาน (Coaching)

           Coaching Technique คือ เทคนิค วิธีการฝึกขณะปฏิบัติงานหรือระหว่างการทำงาน หรือมักเรียกว่า “การสอนงาน” โดยมีพนักงานที่ชำนาญงาน หรือผู้บังคับบัญชา เช่น หัวหน้างาน เป็นพี่เลี้ยงสอนงานให้อย่างมีขั้นตอน แล้วให้พนักงานหรือผู้ฝึกงาน (trainee) ลงมือปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่สอน มีการติดตามและประเมินผล เพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของบริษัทหรือหน่วยงาน

ซึ่งวิธีการฝึกขณะปฏิบัติงาน หรือการสอนงาน เป็นวิธีการหนึ่งในหลาย ๆ วิธีของการฝึกแบบ On the Job Training : OJT ที่เป็นวิธีการฝึกอบรมที่ทำให้เกิดความสามารถตามมาตรฐานความสามารถหรือมาตรฐานสมรรถนะ (Competency Standard) ที่มีประสิทธิภาพรูปแบบหนึ่งภายใต้ระบบการฝึก ที่เรียกว่า ระบบการฝึกตามความสามารถ (Competency Based Training: CBT)

      เทคนิคการสอนงาน (Coaching Technique)

เทคนิคการสอนงานอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปยังผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างาน ที่มีหน้าที่ในการสอนงาน ดังนี้

  1. ผู้สอนงานต้องมีความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ (Comprehension) สามารถตอบคำถามของผู้ฝึกงานได้ และเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายในการทำงาน เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายของบริษัท

  2. ผู้สอนงานต้องเต็มใจ ที่จะให้ความรู้แก่ผู้ฝึกงาน

  3. ผู้สอนงานต้องเสียสละเวลาบางส่วนเพื่อการสอนงานแก่พนักงานหรือผู้ฝึกงาน (trainee) ซึ่งในบางครั้งอาจใช้เวลานานพอสมควร

  4. ผู้สอนงานและผู้ฝึกงานต้องมีความเชื่อใจซึ้งกันและกัน และมั่นใจในแนวทางการสอนงาน

        ข้อควรระวัง

ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานทุกคนอาจจะไม่ใช่ผู้สอนงานที่ดี บางคนทำงานเก่งแต่สอนคนอื่นไม่เป็น หรือไม่ต้องการส่งต่อความรู้ของตนเองให้กับคนอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาสำคัญคือ ความรู้ (K) และทักษะ(S) ในการทำงานที่ผู้บังคับบัญชามีอยู่อาจจะล้าสมัยไปแล้ว เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความรู้ ก็ไม่อยู่นิ่งเช่นกัน ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานที่อายุมากและทำงานมานานอาจจะไล่ตามเทคนิคใหม่ ๆ ในการทำงานไม่ทัน บางหน่วยงานแก้ปัญหานี้ ด้วยการจัดฝึกอบรมเทคนิคการสอนงาน ให้กับผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างาน เพื่อที่จะนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับลูกน้องได้อีกเป็นจำนวนมาก   กลุ่มงานพัฒนาระบบการฝึก  สำนักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก  กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

         Mentoring (พี่เลี้ยง) พี่เลี้ยง หมายถึง หัวหน้าแผนก, หัวหน้าส่วน, ผู้ช่วยผู้จัดการ และผู้จัดการฝ่ายผลิต ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นพี่เลี้ยง รวมถึงพนักงานในแผนกนั้น ๆ

 การสนทนากลุ่ม Group discussion

       การออกแบบและดำเนินการสนทนากลุ่ม ดังนี้

  1. กลุ่มผู้เข้าร่วมสนทนา ผู้วิจัยจะต้องคัดเลือกอย่างรอบคอบจานวน 5-10 คนต่อกลุ่ม โดยต้องมีลักษณะที่เป็นองค์ประกอบที่เหมือนกัน เป็นกลุ่มคนประเภทที่คล้ายคลึงกัน

  2. บรรยากาศในการสนทนากลุ่มมีความสบาย ผ่อนคลาย กาหนดที่นั่งเป็นวงกลม การจัดให้มีการบันทึกเสียง

  3. ผู้ดำเนินการสนทนากลุ่มมีความชานาญในการดาเนินการ โดยกาหนดประเด็นคำถามล่วงหน้า เอื้ออำนวยให้เกิดสภาพแวดล้อมในขณะสนทนาที่เปิดใจตามสมควร

  4. กำหนดให้มีการวิเคราะห์เชิงระบบ กระบวนการที่สามารถพิสูจน์ได้และการรายงานอย่างเหมาะสม

         สิ่งสำคัญคือ การมีเป้าหมายของผู้เรียน การเรียนรู้ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ ที่จะนำความรู้นั้นๆไปประยุกต์ใช้ในชีวิต ดังนั้น  เรียนแบบไหนดี  คือเรียนแล้วสามารถนำไปปฏบัติได้

บทความที่น่าสนใจ เทคนิคสร้างความมั่นใจ ในตนเองให้กลายเป็นกล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าทำ

คลิป พัฒนาตนเองในการทำงาน https://www.youtube.com/watch?v=hc8YBTu7vVM&t=303s

You may also like...

1 Response

  1. เมษายน 1, 2020

    buy viagra

    WALCOME

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *