การนำเสนอ  วิธีการทำงานและการนำเสนอผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ

             คนทำงานเก่ง ถึงแม้จะทำงานอย่างทุมเททั้งแรงกายแรงใจอย่างหนัก  แล้วไม่สามารถทำให้คนอื่น  สามารถรับรู้ถึงผลงานที่ตนเองทำได้ หรือถึงแม้ว่าจะมีสินค้าดีๆในมือหรือการลงมือทำ Project โครงการต่างๆ จนประสบความสำเร็จได้ แต่ไม่สามารถนำเสนอผลงานที่ทำให้คนอื่นเข้าใจถึงคุณค่าในชิ้นงานนั้นได้  ก็เท่ากับว่าผลิตภัณฑ์ที่ดีเหล่านั้นก็จะด้อยค่าลงได้เช่นกัน  หากเราเป็นนักเรียนนักศึกษาแทนที่จะได้คะแนนดีๆ ก็ได้คะแนนแย่กว่าผลงาน หากเป็นพนักงานก็ทำให้โอกาสในการเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งน้อยลง เทคการนำเสนอ  ที่มีประสิทธิภาพ  จะสร้างเพิ่มคุณค่าของผลงานที่ตนเองได้สร้างไว้  ช่วยทำให้ประโยชน์เกิดขึ้นกับตนเองที่ควรจะได้ จากการลงมือทำจนประสบความสำเร็จจริง  หากเป็นนักเรียนก็จะได้คะแนนดีๆ หากเป็นมนุษย์เงินเดือนก็อาจจะได้เลื่อนตำแหน่ง หากเป็นนักเจรจาต่อรองธุรกิจ ก็จะได้รับประโยชน์จากการนำเสนอที่ดี

เทคนิคการนำเสนอ

เทคนิคการนำเสนอ

        20  เทคนิคการนำเสนอ  ผลงานจากการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทำให้คนได้รับฟังเข้าใจและรู้สึกประทับใจ มีดังต่อไปนี้

1 การหาจังหวะการพูด เพราะการพูดเร็วเกินไป จะทำให้ผู้ฟังไม่รู้เรื่องและไม่สามารถจับใจความสำคัญได้

 2 ในระหว่างการนำเสนอ จะต้องใช้กิริยาท่าทางให้พอดีเช่น ไม่เดินมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้ผู้อบรมหรือผู้ฟังเวียนหัวได้ แต่การไม่เดินเลยก็ไม่ดีเหมือนกัน

3  ใช้ประโยชน์ในการถามตอบจากผู้ฟังหรือผู้ฝึกอบรม เพราะมันจะช่วยทำให้ผู้ฟังรู้สึกมีส่วนร่วมและสามารถใช้ประโยชน์จากคำถามที่ผู้ฟังตอบได้เช่น กรณีที่เขาตอบได้อย่างถูกต้อง ควรจะแสดงคำขอบคุณหรือไม่ก็ให้ของรางวัล เพื่อเป็นสิ่งจูงใจทำให้ผู้ร่วมฟังอื่นๆอยากมีส่วนร่วมด้วย

4 การเตรียมตัวและการทำสไลด์ต้องมั่นใจได้ว่า มีเนื้อหาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับเวลา ที่เราจะนำเสนอ และเหมาะสมกับพื้นฐานความรู้ของผู้รับฟังหรือผู้เข้าร่วมอบรม และที่สำคัญผู้นำเสนอควรทำความเข้าใจกับตัวสไลด์ก่อนการนำเสนอทุกครั้ง เพราะจะสามารถลดความตื่นเต้นในการเสนอลงได้

 การเตรียมตัวนำเสนอไม่ดีอาจทำให้ การนำเสนอ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการเช่น ทำให้เกิดความตื่นเต้นระหว่างการนำเสนอได้เช่น เสียงสั่น พูดผิดถูก เป็นต้น

5 สร้างกิจกรรมการมีส่วนร่วมเช่น ให้ผู้ฟังออกกำลังกายเล็กน้อยหรือให้ทำท่าทาง เพื่อกระตุ้นให้ผู้ฝึกอบรมตื่นตัวและพร้อมเข้าร่วมรับฟังการอบรม

6 การนำเสนอควรที่มีการเชื่อมโยงสไลด์กับหัวข้อในการสอน แต่ต้องตรงกับเนื้อหาที่ตนเองกำลังสอนเช่น การยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดในอดีตหรือสิ่งที่กำลังเป็นที่สนใจของคนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ตื่นเต้นและสามารถดึงความสนใจของผู้ฟังได้

7 เนื้อหาในการนำเสนอจะต้องถูกต้อง ครบถ้วนและมีหลักฐานอ้างอิง ไม่ว่าจะเป็นหลักทางวิทยาศาสตร์หรือคู่มือเอกสารต่างๆ หากเป็นไปได้ให้ใช้รูปภาพที่เกิดขึ้นจริงที่สามารถหาได้

8 ในการทำสไลด์เปรียบเทียบ จะต้องทำให้เห็นตัวอย่าง ได้อย่างชัดเจนเช่น รูปภาพก่อน-หลัง และรูปภาพที่เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กับยี่ห้ออื่นๆ

การนำเสนอ 

9 ใช้หลักการแรงจูงใจ Motivation เพื่อให้ผู้ร่วมอบรม รบฟังอย่างตั้งใจ ด้วยเทคนิคต่างๆเช่น เทคนิคการตั้งคำถาม-การถามตอบระหว่างการฝึกอบรม การใช้กิจกรรมมีส่วนร่วมอื่นๆเช่น เล่าเรื่องราวเนื้อหาที่กำลังนำเสนอหลังจากทำกิจกรรม

10 น้ำเสียงที่ใช้ในการนำเสนอ จะต้องเสียงดังฟังชัด พูดจาฉะฉาน ชัดถ้อยชัดคำ

11 ลำดับในการนำเสนอ จะต้องระวัง  ต้องเรียงลำดับได้อย่างต่อเนื่อง ระวังอย่าให้การนำเสนอไปข้างหน้าแล้วต้องย้อนกลับมาหลัง เพราะจะทำให้ผู้ฟังเกิดความสับสนในเนื้อหา

12 ต้องใช้ความเป็นธรรมชาติหมายความว่า นำเอาหลักการหรือทฤษฎีการนำเสนอไปประยุกต์ใช้แต่ต้องมีความเป็นตัวของตัวเอง ไม่ใช่ลักษณะของการท่องจำหรือเรียนแบบคนอื่นอย่างร้อยเปอร์เซ็นต์

 13 การใช้พ้อยเตอร์ เพื่อชี้ไปบนสไลด์ จะต้องสัมพันธ์กับสิ่งที่ตนเองกำลังนำเสนอ

14 ผู้นำเสนอ ควรเป็นคนควบคุมคนฟัง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการเดินการนั่ง จะต้องไม่รวดเร็วอย่างก้าวกระโดด

15 ใช้คำพูดที่มั่นใจในตนเอง

16 การนำเสนอควรเน้นจุดสำคัญ โฟกัสไปที่ประเด็นหลัก ไม่ควรลงรายละเอียดย่อยจนทำให้ผู้ฟัง ไม่สามารถจับใจความสำคัญได้

17 การพูดตามสไลด์ ไม่เร็วและไม่ช้าจนเกินไป

18 การวางตัวในการนำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นท่าในการยืน การเดินการนั่งและการวางตัวต่างๆควรทำให้ผู้ฟัง ดูแล้ว สง่า น่าเชื่อถือ

19 ควรมีการสอดแทรกมุขต่างๆ ในระหว่างการนำเสนอ เพื่อไม่ให้ผู้รับฟัง เบื่อกับเนื้อหาสาระมากจนเกินไป อาจจะมีการสอดแทรกกิจกรรมเช่น การให้ผู้รับฟังปรบมือตามจังหวะ

20 เพื่อลดความน่าเบื่อในการนำเสนอ ต้องทำให้ผู้ฟังรู้สึกได้ว่า กำลังฟังเรื่องที่น่าสนใจ เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น ซึ่งอาจจะสอดแทรกวีดีโอที่สอดคล้อง ในสิ่งที่ตนเองกำลังนำเสนอ

 21 ในระหว่าง การนำเสนอ ต้องมีความยุติธรรมกับผู้รับฟังทั้งห้อง ไม่ควรโฟกัสไปยังกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง

 22 สไลด์ต้องมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจนและอธิบายส่วนที่เข้าใจยากได้ แต่ไม่ควรทำให้สไลด์มันรกจนเกินไปเพราะมีเนื้อหาคำพูดมากจนเกินไป และที่สำคัญพื้นหลังที่ทำสไลด์ จะต้องทำให้เนื้อหาเด่นชัดออกมา

23 การนำเสนอบางครั้ง จะต้องพูดถึงวิธีว่าทำอย่างไร  ไม่ใช่เพียงแค่เนื้อหาผลลัพธ์ ดังนั้นจำเป็นต้องออกแบบคำพูดให้ตรงกับสไลด์ ยกตัวอย่างเช่น บอกว่าเมื่อทำเสร็จเค้กจะต้องนิ่ม  แต่ไม่บอกว่าจะทำอย่างไร ถึงทำให้เค้กนิ่มได้

 24 หาอุปกรณ์ช่วยในการสอน ที่ทำให้ผู้เรียนหรือผู้ฟังสามารถมองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน เพราะจะทำให้การสอนทำได้ง่ายขึ้น

บทความที่น่าสนใจ เทคนิคสร้างความมั่นใจ ในตนเองให้กลายเป็นกล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าทำ

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *