(1)
|
ดัชนียอดขาย
|
เป็นการพิจารณาการเติบโตของยอดขายในระยะเวลา 3 ปี โดยให้ปีแรกสุดเป็นปีฐาน คือ ให้มีค่าเท่ากับ 100
|
เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
|
– ยอดขายเพิ่มขึ้น
|
(2)
|
อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อหนี้สินรวมและส่วนของเจ้าของ
|
เป็นการพิจารณาว่าสถานประกอบการได้ใช้สินทรัพย์ที่ลงทุนเพื่อกิจกรรมการประกอบการตามเป้าหมายดั้งเดิมไปเท่าใด หรือกิจกรรมจากเงินลงทุนสุทธิของการประกอบการ ได้สร้างผลกำไรขึ้นเพียงใด
|
อัตราส่วนสูง
|
– เงินทุนประกอบการต่ำ
– กำไรประกอบการสูง
|
(3)
|
อัตราส่วนยอดขายต่อหนี้สินรวมและส่วนของเจ้าของ
|
เป็นการวัดความเร็วในการหมุนเวียนของทุนที่ใช้ในการประกอบการ หมายถึง วัดจำนวนรอบของยอดขายที่ทุน 1 หน่วย ก่อให้เกิดในแต่ละปี
|
อัตราส่วนสูง
|
– เงินทุนประกอบการต่ำ
– ยอดขายสูง
|
(4)
|
อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อยอดขาย
|
เป็นอัตราส่วนสำคัญที่แสดงผลกำไรหรือประสิทธิภาพการบริหารงานของสถานประกอบการ แสดงระดับช่วงผลกำไรของบริษัท
|
อัตราส่วนสูง
|
– ยอดขายต่ำเมื่อเทียบกับผลกำไร
– ต้นทุนการผลิตต่ำ
– ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่ำ
|
(5)
|
อัตราส่วนกำไรก่อนหักภาษีต่อเงินทุนส่วนของเจ้าของ
|
เป็นการวัดดูว่าทุนส่วนของเจ้าของได้สร้างกำไรสุทธิขึ้นเท่าใด ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั้น ผู้บริหารมักเป็นเจ้าของกิจการเอง จึงต้องตัดสินความเหมาะสมพร้อมกับอัตราส่วนกำไรก่อนหักภาษีต่อหนี้สินรวม และส่วนของเจ้าของ
|
อัตราส่วนสูง
|
– ทุนส่วนของเจ้าของต่ำ
– กำไรก่อนหักภาษี (กำไรสุทธิ) สูง
– กำไรนอกการประกอบการสูง
– ส่วนขาดทุนนอกการประกอบการต่ำ
|
(6)
|
อัตราส่วนกำไรก่อนหักภาษีต่อหนี้สินรวม และส่วนของเจ้าของ
|
เป็นการวัดกิจการได้สร้างกำไรสุทธิขึ้นเท่าใด เมื่อเทียบกับเงินทุนสุทธิที่ใช้ไป
|
อัตราส่วนสูง
|
– ทุนส่วนของเจ้าของต่ำ
– หนี้สินรวมต่ำ
– กำไรก่อนหักภาษี (กำไรสุทธิ) สูง
– กำไรนอกการประกอบการสูง
– ส่วนขาดทุนนอกการประกอบการต่ำ
|
(7)
|
อัตราส่วนของสินทรัพย์ถาวรต่อเงินทุนส่วนของเจ้าของ
|
เป็นเกณฑ์วัดว่ากิจการได้ใช้ทุนส่วนของเจ้าของเป็นสินทรัพย์ถาวร เช่น อาคารหรือเครื่องจักร อุปกรณ์มากเท่าใด ค่านี้ไม่ควรเกิน 100%
|
อัตราส่วนต่ำ
(ไม่ควรเกิน 100%)
|
– ทุนส่วนของเจ้าของสูง
– สินทรัพย์ถาวรต่ำ
|
(8)
|
อัตราส่วนของสินทรัพย์ถาวรต่อเงินทุนระยะยาว
|
เป็นการแสดงว่ากิจการได้ใช้ทุนระยะยาว (ทุนส่วนของเจ้าของกับเงินกู้ระยะยาวรวมกัน) ในการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมากน้อยเพียงใด กล่าวคือระดับสภาพถาวรของทุนระยะยาวนั่นเอง
|
อัตราส่วนต่ำ
|
– ทุนส่วนของเจ้าของหรือเงินกู้ระยะยาวสูง
– สินทรัพย์ถาวรน้อย
|
(9)
|
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน
|
เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างหนี้สิน และเงินกู้ระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) กับสินทรัพย์ที่ใช้คืนเงินกู้จำนวนนี้ ถ้าอัตราส่วนสูงแล้วจะมีขีดความสามารถในการชำระหนี้สูงและการบริหารธุรกิจมีความมั่นคง กล่าวคือแสดงระดับเครดิตของสถานประกอบการ
|
อัตราส่วนสูง
(ไม่ควรต่ำกว่า 150%)
|
– หนี้สินสภาพคล่องเมื่อปลายงวด (ตั๋วเงินจ่าย เงินซื้อเชื่อ เงินกู้ระยะสั้น) และอื่น ๆ มีจำนวนน้อย
– สินทรัพย์สภาพคล่อง (เงินฝากปลายงวด ตั๋วเงินรับ ขายเชื่อ และอื่น ๆ) รวมถึงวัตถุดิบคงคลัง, งานระหว่างผลิต, และสินค้าสำเร็จรูป มีค่ามาก
|
(10)
|
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว หรืออัตราส่วนสภาพคล่อง
|
อัตราส่วนสภาพคล่องเป็นตัววัดอัตราส่วนหนี้สินสภาพคล่องกับสินทรัพย์สภาพคล่องที่มีสภาพคล่องสูง คือ เงินสด เงินขายเชื่อและอื่น ๆ (ไม่รวมวัตถุดิบคงคลัง, งานระหว่างผลิต, และสินค้าสำเร็จรูป)
|
อัตราส่วนสูง
|
– หนี้สินสภาพคล่องเมื่อปลายงวด (ตั๋วเงินจ่าย เงินซื้อเชื่อ เงินกู้ระยะสั้น) และอื่นๆ มีจำนวนน้อย
– สินทรัพย์สภาพคล่อง (เงินฝากปลายงวด ตั๋วเงินรับ ขายเชื่อและอื่นๆ) มีค่ามาก
|
(11)
|
อัตราส่วนของเงินทุนส่วนของเจ้าของต่อหนี้สินรวมและส่วนของเจ้าของ
|
เป็นอัตราส่วนระหว่างเงินทุนที่สถานประกอบการกู้มากับเงินทุนส่วนของเจ้าของ
|
อัตราส่วนสูง
|
– เงินทุนรวมต่ำ
– ทุนส่วนของเจ้าของสูง เมื่อปลายงวด
|
(12)
|
อัตราส่วนค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสุทธิต่อยอดขาย
|
แสดงระดับของภาระดอกเบี้ยจ่ายต่อยอดขาย ถ้าอัตราส่วนนี้สูงหรือต่ำแล้วจะมีผลกระทบต่อกำไรประกอบการ
|
อัตราส่วนต่ำ
|
– ยอดขายสูง
– ดอกเบี้ยจ่าย และส่วนลดต่ำ
– ดอกเบี้ยรับสูง
|
(13)
|
อัตราส่วนสินทรัพย์ถาวรหมุนเวียน
|
เป็นค่าแสดงระดับการใช้สินทรัพย์ถาวรในการก่อให้เกิดยอดขาย แสดงถึงประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์ เครื่องจักรอุปกรณ์ให้ก่อรายได้
|
อัตราส่วนสูง
|
– สินทรัพย์ถาวรต่ำ
– ยอดขายสูง
|
(14)
|
อัตราส่วนลูกหนี้หมุนเวียน
|
แสดงความเร็วในการหมุนเวียนของยอดขายใน 1 ปี
ถ้าอัตราส่วนนี้สูงแล้วจะหมายถึง การเก็บเงินยอดขายที่เร็ว หากต่ำแล้วแสดงว่าการเก็บเงินยอดขายที่ช้า
ถ้านำจำนวนเดือน 12 เดือน มาหารด้วยอัตราส่วนลูกหนี้หมุนเวียน จะได้ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ยต่อปี โดยมีหน่วยเป็นเดือน
|
อัตราส่วนสูง
|
– ยอดของเงินขายเชื่อ ตั๋วเงินรับ และความเป็นเจ้าหนี้ขายนั้นต่ำ
– ยอดขายสูง
|
(15)
|
อัตราส่วนเจ้าหนี้หมุนเวียน
|
ใช้เพื่อพิจารณาสถานการณ์การจ่ายเงินของสถานประกอบการ
ค่าสูงแสดงว่าสถานประกอบการมีเงื่อนไขการซื้อที่ดี เมื่อพิจารณาร่วมกับอัตราการหมุนเวียนของบัญชีรับแล้วจะรู้สภาพการใช้ทุนได้ดี
ถ้านำจำนวนเดือน 12 เดือน มาหารด้วยอัตราส่วนลูกหนี้หมุนเวียน จะได้ระยะเวลาจ่ายหนี้เฉลี่ยต่อปี โดยมีหน่วยเป็นเดือน
|
ไม่อาจกล่าวได้ว่าอัตราใดเหมาะสม
|
ไม่อาจกล่าวได้ว่าอัตราใดเหมาะสม
|
(16)
|
อัตราส่วนของมูลค่ากระบวนการผลิตต่อมูลค่าของการผลิต
|
แสดงอัตราส่วนของมูลค่าการแปรรูป (มูลค่าการผลิต – (ค่าวัสดุทางตรง + ค่าชิ้นส่วน + ค่าว่าจ้าง + ค่าวัสดุประกอบ) ในมูลค่าการผลิต
|
อัตราส่วนของมูลค่ากระบวนการผลิตต่อมูลค่าของการผลิต
|
– มีมูลค่าเพิ่ม โดยการแปรรูปในกระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นภายในบริษัทสูง
|
(17)
|
อัตราส่วนค่าใช้จ่ายบุคลากร ต่อมูลค่ากระบวนการผลิต
|
แสดงอัตราส่วนค่าใช้จ่ายบุคลากรในมูลค่าแปรรูป ใช้อ้างอิงเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของค่าจ้างแรงงานกับประสิทธิภาพการผลิต
|
|
|
(18)
|
ประสิทธิภาพการลงทุนด้านเครื่องจักร
|
แสดงอัตราส่วนของสินทรัพย์เครื่องจักรอุปกรณ์ (ไม่รวมที่ดินและอาคาร) ในมูลค่าการแปรรูปและแสดงผลิตภาพ (Productivity) ของทุน
|
อัตราส่วนสูง
|
– เครื่องจักรอุปกรณ์ 1 หน่วย ก่อให้เกิดมูลค่าการแปรรูปได้สูง เป็นการใช้ทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
|
(19)
|
อัตราส่วนการหมุนเวียนของวัตถุดิบ
|
เป็นอัตราส่วนแสดงความเหมาะสมของประสิทธิภาพการผลิตของสถานประกอบการ
|
อัตราส่วนสูง
|
– วัตถุดิบคงคลังปลายงวดลดลง
– ประสิทธิภาพการผลิตสูงขึ้น
|
(20)
|
อัตราส่วนการหมุนเวียนของงานระหว่างทำ
|
ค่าเฉลี่ยของงานระหว่างผลิตเมื่อสิ้นงวดก่อนกับเมื่อสิ้นงวดนี้ ทำให้ทราบระยะเวลาผลิตและระยะเวลาคงคลังของสินค้าได้ กล่าวคือ เป็นอัตราส่วนเบื้องต้นอย่างหนึ่งที่ตัดสินความเหมาะสมของความประหยัดในการใช้ทุนและประสิทธิภาพการขาย
|
อัตราส่วนสูง
|
– งานระหว่างทำต่ำ
– ยอดขายสูงเมื่อสิ้นงวด
|
(21)
|
อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินค้าสำเร็จรูป
|
ค่าเฉลี่ยของสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเมื่อสิ้นงวดก่อนกับเมื่อสิ้นงวดนี้ ทำให้ทราบระยะเวลาผลิตและระยะเวลาคงคลังของสินค้าได้ กล่าวคือ เป็นอัตราส่วนเบื้องต้นอย่างหนึ่งที่ตัดสินความเหมาะสมของความประหยัดในการใช้ทุนและประสิทธิภาพการขาย
|
อัตราส่วนสูง
|
– สินค้าสำเร็จรูปคงคลังต่ำ
– ยอดขายสูงเมื่อสิ้นงวด
|
(22)
|
อัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขาย
|
อัตราส่วนนี้แสดงผลกำไรต่อยอดขาย ผลกำไรเป็นสิ่งที่สนใจขั้นสุดท้ายของการบริหารธุรกิจ เป็นอัตราส่วนเบื้องต้นอย่างหนึ่งที่ตัดสินผลกำไร
|
อัตราส่วนสูง
|
– ยอดขายสูง
– ต้นทุนการผลิตต่ำ
|
(23)
|
อัตราส่วนกำไรก่อนหักภาษีต่อยอดขาย
|
เป็นอัตราส่วนแสดงสภาพของกำไรสุทธิจากผลของกิจกรรมทางธุรกิจ อัตราส่วนนี้จะเปลี่ยนแปลงตามส่วนกำไรขาดทุนนอกการประกอบการ
|
อัตราส่วนสูง
|
– กำไรประกอบการสูง
– กำไรนอกการประกอบการสูง
|
(24)
|
อัตราส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขาย
|
เป็นอัตราส่วนที่แสดงว่ามีค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการผลิตเท่าใดในยอดขายหนึ่งหน่วย ถ้าอัตราส่วนนั้นต่ำแล้ว ต้นทุนขายหรือประสิทธิภาพค่าใช้จ่ายจะสูง
|
อัตราส่วนต่ำ
|
– ค่าใช้จ่ายในการขายต่ำ
– ค่าใช้จ่ายในการบริหารต่ำ
– ยอดขายสูง
|