คิดสร้างสรรค์ หมายถึงกระบวนการพัฒนาความคิดดีๆ ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ ให้ดีขึ้น

       ความคิดถือได้ว่า เป็นต้นกำเนิดแห่งความเจริญเติบโต คิดสร้างสรรค์ เป็นต้นกำเนิดสิ่งก่อสร้างอันน่าอัศจรรย์ต่างๆ บนโลกที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น อันเกิดขึ้นจากจินตนาการ ความเชื่อ หรือการเลียนแบบธรรมชาติเช่น 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ปราสาท วิหารต่างๆ ล้วนเกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ทั้งสิ้น คิดสร้างสรรค์ช่วยทำให้งานทางด้านวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโลโลยีมีความเจริญก้าวหน้า ศิลปวัฒนธรรม การสืบทอดประเพณีทางสังคมมนุษยชาติจะยังคงอยู่และถูกพัฒนาให้ดีขึ้นควบคู่ไปกับโลกแห่งเปลี่ยนแปลง

คิดสร้างสรรค์

คิดสร้างสรรค์

      ประโยนช์คิดเชิงสร้างสรรค์ดีต่อตัวเรา ใช้ในชีวิตประจำวัน การพัฒนาความคิด วิธีการทำงาน การทำธุรกิจ  การสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่ พลังแห่งความคิดสร้างสรรค์มีคุณค่ามากกว่าเป็นวิธีคิดแบบธรรมดา ยังสามารถสร้างทางเลือกให้หลากหลาย ช่วยทำให้การตัดสินใจทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ประหยัดเวลาและลดความเสี่ยงจากการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ นอกจากนี้ นวัตกรรม ต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน ล้วนเป็นผลลัพธ์อันเกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามความ คิดสร้างสรรค์  ตัวอย่างเช่น แปรงสีฟันแบตเตอรี่ช่วยสร้างยอดขายได้สูง เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากนวัตกรรมที่สร้างสรรค์

       คิดสร้างสรรค์กับการแก้ไขปัญหา ช่วยค้นหาและระบุรากเหง้าสาเหตุ ทำให้การวินิจฉัยปัญหาทำได้ดีมากขึ้น มีทางเลือกที่ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติ  คิดแบบสร้างสรรค์ จึงมีความสำคัญต่อการปรับปรุ่งสิ่งต่างๆ  ประการแรก  ช่วยทำให้การเปลี่ยนแปลงทำได้ได้รวดเร็วขึ้น การแก้ไขปัญหาต่างๆ ทำได้ง่ายยิ่งขึ้นแต่ได้ประโยชน์ มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ประการที่สอง คิดสร้างสรรค์จะสร้างความมั่นคงทางใจ พลังแห่งความคิดสร้างสรรค์เชื่อมั่นในความคิดดี จะเป็นเกาะป้องกันความคิดไม่ดี ความคิดด้านลบ เมื่อรู้สึกว่าต้นเองพ่ายแพ้ พลังแห่งความคิดเชิงสร้างสรรค์จะกระตุ้นเราให้กลับมาต่อสู่กับปัญหาอุปสรรคได้  เทคนิคคิดสร้างสรรค์มีจุดเริ่มต้นคือ จินตนาการ การเรียนรู้สิ่งใหม่ การฝึกลับสมองบ่อยๆ คิดสิ่งที่มีอยู่แบบเดิมให้แปลกใหม่เชิงสร้างสรรค์ ซึ่งวิธีคิดธรรมดาๆ ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้

          คิดสร้างสรรค์ อาจนิยามได้ว่า เป็นกระบวนการพัฒนาความคิดดีๆ ด้วยความรู้ สติปัญญา ความสามารถ บุคลิกภาพที่เกิดขึ้นได้จากตนเอง นอกจากสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่แล้วยังสามารถทำสิ่งต่างๆให้แตกต่างและดีขึ้นกว่าสิ่งเดิมๆ

          พลังแห่งความคิดนับได้ว่าเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อกระบวนการถัดไป ความคิดคือจุดเริ่มแห่งการกระทำ การกระทำจนทำให้เกิดความเคยชิน จะกลายเป็นนิสัย นิสัยที่กระทำอย่างต่อเนื่องในขั้นของการฝังรากที่เรียกว่าสันดาน  นั้นคือผลลัพธ์ แห่งพฤติกรรม ดังนั้นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ จะได้รับการพัฒนาทางความคิดสร้างสรรค์เชิงระบบ คิดเป็น เพื่อใช้เป็นเข็มทิศชีวิตชี้นำการกระทำ ให้ไปสู่เป้าหมายอย่างที่ตั้งใจ

การประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์

     ความคิดสร้างสรรค์นับได้ว่าเหมาะสำหรับทุกๆ โอกาสทุกกิจกรรม ที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำเช่น การตกแต่งอยู่อาศัย กิจวัฒน์ที่ทำทุกๆวันเช่น การแปรงฟันทำอย่างไร ถึงจะแล้วเสร็จได้เร็วและสะอาด ไม่มีกลิ่นปากระหว่างวัน หรือแม้แต่ในที่ทำงานที่มีปัญหา ต้องได้รับการแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น ย่อมอาศัยความคิดสร้างสรรค์เชิงระบบมาช่วยในการแก้ไขปัญหาทั้งสิ้น

ขั้นตอนของกระบวนการวิธี คิดสร้างสรรค์

          ขั้นตอนที่ 1 การยอมรับว่าเป็นโอกาส เพื่อค้นพบว่ามีโอกาสใหม่ๆ หรือการยอมรับว่าเป็นปัญหา เพื่อค้นหาสิ่งต้องการทางแก้ไข

          ขั้นตอนที่ 2 การมุ่งความสนใจไปที่ปัญหาอย่างทุ่มเท โดยอาจรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมด คิดทางเลือกต่างๆ โดยไม่ต้องมีการประเมิน

          ขั้นตอนที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ในใจระยะหนึ่ง ไม่แสดงออกว่ากำลังทำงานอยู่กับปัญหา แต่จิตใต้สำนึกกำลังทำงาน เมื่อข้อมูลอิ่มตัวก็จะนำมาเรียบเรียง วิธีการหนึ่งที่จะใช้ขั้นตอนนี้ให้เกิดประโยชน์คือ อาจหยุดพักจากการคิดสร้างสรรค์ชั่วครู่ แล้วหันไปทำงานประจำอื่นๆบ้าง การกระทำดังนี้อาจทำให้ความคิดสร้างสรรค์ผุดขึ้นมาได้

           ขั้นตอนที่ 4   Insight หรือการเข้าใจลึกซึ้ง การมองเห็นอย่างทะลุปรุโปร่ง ในขั้นตอนนี้ทางออกในการแก้ปัญหา ที่แวบเข้ามาในใจ ในเวลาที่ไม่คาดคิดเช่น เกิดขึ้นในระหว่างเวลาจะนอนหลับ กำลังอาบน้ำ หรือกำลังวิ่ง การมองเห็นนี้จะเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดว่า “ใช่แล้ว”

           ขั้นตอนที่ 5 Verification and Application คือขั้นการสอบความจริงและการประยุกต์ใช้   ขั้นตอนนี้ผู้คิดจะพิสูจน์ว่าทางออกที่สร้างสรรค์นั้นเป็นทางออกที่ดี วิธีการสอบทวนความจริงคือการรวบรวมหลักฐานสนับสนุนต่างๆ การชี้ชวนที่มีเหตุผล และการทดลองความคิดใหม่ต่างๆ การนำไปประยุกต์ใช้ต้องการความหนักแน่น   เพราะความคิดแปลกใหม่ส่วนใหญ่จะถูกปฏิเสธ ในช่วงแรกมักคิดว่าไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้

           คุณลักษณะของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงผู้นำที่สร้างสรรค์ สามารถจัดออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆคือ ความรู้ ความสามารถทางสติปัญญา และบุคลิกภาพ

  1. ความรู้ Knowledge การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ จำเป็นต้องมีพื้นฐานของข้อมูลที่กว้าง รวมถึงข้อเท็จจริงและการสังเกตการณ์ เพราะความคิดสร้างสรรค์มักจะอยู่ในรูปของการผสาน สิ่งที่มีอยู่สองสิ่งหรือมากกว่า ใช้แนวทางใหม่ๆหรือแตกต่างจากเดิม เช่น  การสร้างเสริช์จ เอ็นจิ้นเช่น Google เบื้องหลังแนวคิดคือ สมุดหน้าเหลือ Yellow Pages

  2. ความสามารถทางสติปัญญา Intellectual Abilities นักแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มักจะเป็นคนฉลาด  สติปัญญากับความคิดสร้างสรรค์ มีแนวโน้มที่มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง  การมีอารมณ์ขันและชอบเล่นอย่างฉลาดเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นของนักแก้ปัญหา  คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ จะมีความอยากรู้อยากเห็นอย่างเด็กๆ ตลอดชีวิตของเขา  ซึ่งไม่อยู่เพียงแต่ในสาขาความเชี่ยวชาญของเขาเท่านั้น  แต่เขาจะกระตือรือร้นในการแก้ปริศนาต่างๆ  นอกจากนั้นยังเปิดรับ แล้วตอบสนองต่อความรู้สึกและอารมณ์ของผู้อื่น สามารถคิดในสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิม สามารถขยายทางเลือกหลายๆ ทางของปัญหาหนึ่งๆ ทำให้มีทางออกหลายทาง

  3. บุคลิกภาพ Personality คนที่มีความคิดสร้างสรรค์มีแนวโน้ม ที่จะมีภาพพจน์ที่ดีต่อตนเอง แต่ไม่ใช่เชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป ดังนั้นจึงสามารถรับมือกับการวิจารณ์ความคิดของตนได้ รูปแบบความเชื่อมั่นในตนเองที่มีประโยชน์ต่อความคิดสร้างสรรค์เรียกว่า creative self-efficacy ( ความขลังในตนเองเชิงสร้างสรรค์ ) ซึ่งเป็นความเชื่อว่าคนจะมีความคิดสร้างสรรค์ในงานของตน ประสบการณ์การทำงาน และหัวหน้างานอาจเป็นแบบอย่างและชักชวนคนงานให้คิดฝันค้นหาทางออกในการแก้ปัญหาต่างๆ

เทคนิคในการคิดสร้างสรรค์

          คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ อาจชอบอยู่โดดเดี่ยวเพื่อคิดสิ่งต่างๆ  แต่การได้พูดคุยกับคนอื่น อาจช่วยเป็นแหล่งความคิด แต่ในบางจุดก็จะต้องการทำงานคนเดียวและสำรวมความคิด  คนที่คิดสร้างสรรค์ มักจะไม่ใช่คนที่คล้อยตามคนอื่นและก็ไม่ต้องการการสนับสนุนจากกลุ่ม  บางคนเป็นคนที่ชอบความตื่นเต้น และคิดว่าการคิดหาทางออกของปัญหานั้น เป็นเรื่องตื่นเต้น  คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ มักจะเป็นคนที่มีความเพียร มักสนุกจะชอบเกี่ยวข้องกับความคลุมเครือและความยุ่งเหยิง  คนที่มีความสร้างสรรค์ส่วนน้อย จะเป็นคนที่หงุดหงิดง่าย  เพียงแค่พบว่าคำอธิบายงานของเขาไม่ชัดเจนและไม่เป็นระเบียบ

บทความที่น่าสนใจ คิดบวก

คลิป พัฒนาตนเองในการทำงาน https://www.youtube.com/watch?v=hc8YBTu7vVM&t=348s

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *