วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ Product’s life cycle กับแนวความคิดกลยุทธ์การตลาด

               กลยุทธ์การตลาด  แนวความคิดเกี่ยวกับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์  เทคนิคด้านการตลาดถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักของการแย่งพื้นที่ทางการค้าให้เหนือคู่แข่งขัน ทุกๆกิจการจะให้ความใส่ใจด้านการขายสินเป็นอันดับต้น เพราะหากขายสินค้าได้นั้นหมายถึงการได้รับผลตอบแทนและกำไร แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับต้นทุนของตัวสินค้ากับราคาขาย สิ่งที่เป็นต้นทุนสินค้าอย่างหนึ่งนั้นคือ ต้นทุนด้านการตลาด ดังนั้นกลยุทธ์ทางการตลาดต้องถูกใช้อย่างเหมาะสมกับ วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์  ที่แตกต่างกันออกไปเพื่อสร้างกำไร

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์

             วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์สามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอนดังนี้

       1) ขั้นแนะนำตลาด เป็นช่วงที่ยอดขายมีน้อยและไม่มีกำไร เนื่องจากพึ่งออกสู่ตลาดและค่าใช้จ่ายในการแนะนำตลาดสูง

กลยุทธ์ในขั้นแนะนำ ในขั้นนี้บริษัทสามารถตั้งราคาในระดับสูงหรือต่ำก็ได้ขึ้นอยู่กับตัวแปรทางการตลาด

  • การฉกฉวยอย่างรวดเร็ว เป็นการตลาดด้วยกลยุทธ์การตั้งราคาสูงและใช้การส่งเสริมการตลาดมาก เพื่อต้องการผลตอบแทนกลับมาเร็วและมากที่สุด เหมาะสำหรับตลาดที่ผู้บริโภคยังไม่รู้จักผลิตภัณฑ์ แต่เมื่อรู้จักแล้วยินดีที่จะจ่ายในราคาสูง และเหมาะกับตลาดที่มีภาวะการแข่งขันสูง

  • การฉกฉวยอย่างช้าๆ เป็นการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดโดยการตั้งราคาสูงและการส่งเสริมทางการตลาดต่ำ ใช้ไดผลดีเมื่อตลาดมีขนาดเล็ก ตลาดส่วนใหญ่รู้จักผลิตภัณฑ์และยินดีจ่ายในราคาสูง

  • การเจาะตลาดอย่างรวดเร็ว เป็นการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดโดยการตั้งราคาต่ำและการส่งเสริมทางการมาก ใช้ได้ผลกับตลาดที่มีขนาดใหญ่ ผู้บริโภคไม่รู้จักและไวต่อราคา มีการแข่งขันกันสูง บริษัทมีต้นทุนในการผลิตต่ำ เนื่องจากขนาดของการผลิตและมีประสบการณ์ในการผลิต

  • การเจาะตลาดอย่างช้าๆ เป็นการนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดโดยการตั้งราคาต่ำและการส่งเสริมทางการตลาดต่ำใช้ได้ผลกับตลาดที่มีขนาดใหญ่ ผู้บริโภครู้จักและไวต่อราคา มีการแข่งขันกันสูง

    2) ขั้นเติบโต เป็นช่วงที่ผู้บริโภครู้จักและยอมรับผลิตภัณฑ์ ทำให้ยอดขายเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและเริ่มมีกำไร แต่ในขณะเดียวกันคู่แข่งขันก็เพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์คงที่หรือมีแนวโน้มที่จะลดลง ส่วนระดับของค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมการตลาดจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

กลยุทธ์การตลาดในขั้นเติบโต

  • การปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการเพิ่มคุณลักษณะใหม่ๆของผลิตภัณฑ์

  • การเพิ่มรูปแบบหรือรุ่นใหม่ๆของผลิตภัณฑ์

  • การเข้าสู่ตลาดเป้าหมายกลุ่มใหม่

  • การเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ๆ

  • การลดราคาลงมาเพื่อดึงดูดลูกค้าที่มีความไวต่อราคา

    3) ขั้นเติบโตเต็มที่ เป็นขั้นที่ยอดขายและกำไรเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่ลดลง เนื่องจากผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์เกือบหมดแล้ว และค่าใช้จ่ายในการต่อสู้กับคู่แข่งขันเพิ่มขึ้น

กลยุทธ์การตลาดในขั้นเติบโตเต็มที่

  • การปรับปรุงตลาด กิจการต้องพยายามขยายตลาดเพื่อให้ยอดขายคงที่หรือเพิ่มขึ้น

  • การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้ให้มากขึ้น โดย 1) การเปลี่ยนผู้ใช้ที่ไม่เคยใช้ให้มาเป็นลูกค้าของเรา 2) เข้าสู่ตลาดส่วนใหม่ 3) การเอาชนะใจลูกค้าของคู่แข่งขัน

  • การเพิ่มอัตราการใช้ โดย 1) การเพิ่มความถี่ในการใช้ 2) การเพิ่มการใช้ในแต่ละโอกาสให้มากขึ้น 3) การเพิ่มวิธีการใช้ใหม่ๆมากขึ้น

  • การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ โดยการ 1) ปรับปรุงคุณภาพ 2) ปรับปรุงลักษณะ 3)ปรับปรุงแบบ

  • การปรับปรุงส่วนผสมทางการตลาด โดยการ ลดราคา หาช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้น การเพิ่มงบประมาณในการโฆษณา มีการส่งเสริมการขายใหม่ๆมากขึ้น เพิ่มจำนวนพนักงานขาย เพิ่มบริการจัดส่งหริบริการหลังการขาย

    4) ขั้นถดถอย เป็นช่วงที่ยอดขายและกำไรลดลง และเมื่อถึงจุดหนึ่งก็เริ่มที่จะขาดทุน เป้าหมายของกลยุทธ์ในช่วงนี้คือ การทำให้กิจการอยู่รอดโดยลดความสูญเสียให้มากที่สุด

  • การตัดทอน คือ การยอมทิ้งตลาดบางส่วน เพื่อนำทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมดมุ่มให้กับตลาดส่วนที่มีความแข็งแกร่งเพียงพอ

  • การเก็บเกี่ยว คือ การค่อยๆถอนตัวออกจากอุตสาหกรรม โดยเริ่มถอนตัวจากตลาดที่มีความอ่อนด้อยก่อน แล้วค่อยๆเก็บเกี่ยวผลกำไรที่เหลืออยู่ในตลาดให้มากที่สุด

  • การทำให้มั่นคงขึ้น คือ การที่ผู้ประกอบการพยายามสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันขึ้น ในขณะที่เกิดการถดถอยในอุตสาหกรรม เหมาะสำหรับกิจการที่มีความแข็งแกร่งด้านการเงินสูง

    บทความที่แนะนำ กลยุทธ์การแข่งขัน เพื่อความได้เปรียบทางการตลาด

    คลิป ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด  https://www.youtube.com/watch?v=tOqiWKVDcTE&t=50s

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *