วิธีเลือกหุ้น ทำนายกิจการด้วยการวิเคราะห์งบทางการเงิน

 วิธีเลือกหุ้น มีความจำเป็นต้องอาศัยตัวเลขทางการเงิน เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนกับกิจการ โดยมีเทคนิคในการด้วยการวิเคราะห์งบทางการเงิน ดังนี้

วิธีเลือกหุ้น

วิธีเลือกหุ้น

วิธีเลือกหุ้น จากการตรวจสอบงบดุล

Balance Sheet Equations: สูตรคำนวณงบดุล

  • เงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน= รวมหนี้สิน – สินทรัพย์หมุนเวียน – สินทรัพย์ถาวรสุทธิ
  • สินทรัพย์หมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน/ยอดขาย * ยอดขาย
  • สินทรัพย์ถาวรสุทธิ = สินทรัพย์ถาวรสุทธิ /ยอดขาย * ยอดขาย
  • ค่าเสื่อมราคาสะสม = (ค่าเสื่อมราคาสะสมปีก่อนหน้า +อัตราคาเสื่อมราคา) *ค่าเฉลี่ยของสินทรัพย์ถาวรตลอดปี
  • สินทรัพย์ถาวรราคา ณ วันที่ซื้อสินทรัพย์มา = สินทรัพย์ถาวรสุทธิ + ค่าเสื่อมราคาสะสม
  • หนี้สินหมุนเวียน = หนี้สินหมุนเวียน/ยอดขาย * ยอดขาย
  • Debt (หนี้สินระยะยาว) : สมมติว่าคงที่
  • Stock (ทุนเรือนหุ้น) : คงที่หากไม่มีการเพิ่มหุ้น
  • กำไรสะสม = กำไรสะสมปีก่อนหน้า + กำไรสะสมปีปัจจุบัน

วิธีตรวจสอบงบดุล

สินทรัพย์     =     หนี้สิน + ทุน

  1. ให้ตรวจสอบงบดุลของกิจการว่า สมดุลหรือไม่  เพื่อดูความถูกต้องของงบดุล
  1. ให้ตรวจสอบจำนวนทรัพย์สิน และตรวจสอบกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ว่าเป็นของใคร ถ้าเป็นของบุคคลอื่นที่ไม่ใช่บริษัทนั้นๆ ก็ต้องนำรายการสินทรัพย์นั้นออกจากงบดุล
  2. มูลค่าสุทธิของสินทรัพย์ที่ปรากฏค่าเสื่อม เช่น รถยนต์ อาคาร อุปกรณ์ ในปีล่าสุดเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้าจะลดลง ทั้งนี้ต้องตรวจสอบว่ามูลค่าที่ลดลงต้องลดลงเท่ากับค่าเสื่อมราคาที่ปรากฏในงบกำไรขาดทุนในช่วงหลังนี้ เช่น งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม ปรากฏมูลค่าสินทรัพย์ (รถยนต์ อาคาร อุปกรณ์) ลดลงจะต้องดูค่าเสื่อมราคาในงบดุลงวด 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ว่าสินทรัพย์มีมูลค่าลดลงเท่ากับค่าเสื่อมราคาหรือไม่
  3. สินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นในรายการใหม่ให้ตรวจสอบกรรมสิทธิ์ตามข้อ 2) และตรวจสอบหลักฐานการซื้อ เพื่อดูว่าการลงมูลค่าได้ลงถูกต้องตรงกับหลักฐานการซื้อหรือไม่
  4. ให้ตรวจสอบภาระหนี้สินทั้งหมดว่าถูกต้องตรงกับข้อเท็จจริงหรือไม่ โดยภาระหนี้สินจะต้องเป็นภาระที่ผูกพันกันเฉพาะในนามของบริษัทเท่านั้น หากเป็นภาระหนี้สินในนามอื่นๆ ก็ให้เอาออกจากงบดุล การตรวจสอบภาระหนี้สินให้ทำการตรวจสอบสัญญาเงินกู้ ใบวางบิล ใบสั่งซื้อ ตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นต้น
  5. ให้ตรวจสอบทุนจดทะเบียนในหนังสือรับรองของบริษัทที่จดทะเบียนไว้กับกระทรวงพาณิชย์ แต่อย่าเพิ่งเชื่อในจำนวนเงินที่จดทะเบียนที่แจ้งไว้นั้น
  6. วิธีการที่ดีที่สุดขอให้ตรวจสอบส่วนทุนของกิจการ และเมื่อได้ส่วนทุนแล้ว ขอให้หักทุนจดทะเบียนตามหนังสือรับรองออก ก็จะได้กำไรสะสมหรือขาดทุนสะสม
  7. การตรวจสอบทุนจดทะเบียนที่ถูกต้องตามหนังสือรับรอง ให้ทำการตรวจสอบโดยการประมาณการเอาจากกำไรสะสม หรือขาดทุนสะสม ทั้งนี้เพราะธุรกิจส่วนใหญ่มีทุนจะทะเบียนไม่ตรงกับความเป็นจริง

วิธีเลือกหุ้น จากการตรวจสอบงบกำไรขาดทุน  (ง่ายกว่าการตรวจสอบงบดุล)

Income statement equations: สูตรคำนวณงบกำไรขาดทุน

  • ยอดขาย = ยอดขายเริ่มต้น * (1+ อัตราการเติบโตของยอดขาย)ปี
  • ต้นทุนขาย = ยอดขาย * ต้นทุนขาย/ยอดขาย
  • ดอกเบี้ยจ่าย = อัตราดอกเบี้ย * ค่าเฉลี่ยของดอกเบี้ยทั้งปี
  • ดอกเบี้ยรับจากเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน= อัตราดอกเบี้ย * ค่าเฉลี่ยของดอกเบี้ยทั้งปี
  • ค่าเสื่อมราคา = อัตราคาเสื่อมราคา * ค่าเฉลี่ยของสินทรัพย์ถาวรทั้งปี
  • Profit before taxes = กำไรก่อนหักภาษีเงินได้ = ยอดขาย – ต้นทุนขาย – ดอกเบี้ยจ่าย + ดอกเบี้ยรับ – ค่าเสื่อมราคา
  • ภาษี = อัตราภาษี  * กำไรขั้นต้น
  • กำไรสุทธิหลังหักภาษี = กำไรขั้นต้น – ภาษี
  • เงินปันผล = อัตราส่วนเงินปันผล * กำไรสุทธิหลังหักภาษี
  • กำไรสะสม = กำไรสุทธิหลังหักภาษี – เงินปันผล

วิธีตรวจสอบงบกำไรขาดทุน

  1. การตรวจสอบกำไรเบื้องต้นของกิจการ โดยใช้หลักการที่ว่า ขายได้เท่าไรนำมาเทียบเคียงกับต้นทุนสินค้า โดยไม่ต้องคิดค่าแรง หรือค่าโสหุ้ยอื่นๆ ตรงนี้เรียกว่า กำไรเบื้องต้นต่อยอดขาย
  2. ตรวจสอบกำไรสุทธิต่อยอดขาย โดยใช้เกณฑ์กำไรสุทธิ ในธุรกิจปกติมีเกณฑ์ดังนี้
    • ธุรกิจที่ให้เครดิตลูกหนี้การค้าสั้น ได้แก่ ธุรกิจซื้อมาขายไป  ซึ่งจะให้เครดิตลูกค้าประมาณ 30 วัน และได้รับกำไรสุทธิประมาณร้อยละ 2-10 ของยอดขาย
    • ธุรกิจที่ให้เครดิตลูกหนี้การค้านาน ได้แก่ ธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ จะให้เครดิตลูกค้า 60-90 วัน  และต้องได้รับกำไรสุทธิประมาณร้อยละ 15-35 ของยอดขาย

ข้อพึงระวังในการตรวจสอบงบกำไรขาดทุน

  • งบกำไรขาดทุนสะท้อนภาพเท็จในธุรกิจ โดยเฉพาะงบกำไรขาดทุนที่ผ่านการตรวจสอบบัญชีโดยผู้ตรวจบัญชีรับอนุญาติ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจสอบว่างบกำไรขาดทุนที่ปรากฏมีรายการที่เสียภาษีถูกต้อง รายการค่าใช้จ่ายนั้นเกินความจำเป็นของธุรกิจหรือไม่
  • หากมีคนชวนลงทุนและนำเสนอประมาณการกำไรขาดทุนในโครงการซึ่งปรากฏว่าอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขายสูงจนผิดปกติ ขอให้ตรวจสอบค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารตรงประเด็นเงินเดือนพนักงานและผู้บริหารว่า หากเกิดโครงการขึ้นจริง จำนวนเงินเดือนตามประมาณการจะหาคนงานปฏิบัติงานได้จริงหรือไม่
  • จากข้อ 2) หากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารถูกตรวจสอบและไม่พบรายการผิดปกติ ขอให้ตรวจสอบรายการของต้นทุนสินค้าขาย เพราะรายการนี้มีความเชื่อมโยงกับรายการสินค้าคงเหลือในงบดุลและสองรายการนี้มีความสัมพันธ์กัน โดยสามารถอธิบายธรรมชาติของระบบการผลิตในโรงงานได้ว่า ใช้ระยะเวลาเท่าไรในการผลิต ซึ่งเกี่ยวพันกับอัตราส่วนทางการเงินที่ว่า อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover)
  • การตรวจสอบงบกำไรขาดทุนในแต่ละช่วงเวลามีความแตกต่างกัน ดังนั้นหากปรากฏว่ากำไรสุทธิติดลบ อย่าเพิ่งตกใจ จะต้องตรวจสอบและหาสาเหตุแห่งการขาดทุนให้ได้ และต้องพิจารณางบดุล ณ ขณะนั้นประกอบกันด้วย และการดูขอให้ดูส่วนทุนตรงกำไรสะสมหรือขาดทุนสะสม เพื่อจะได้รู้ถึงอดีตตลอดจนความเป็นมาและความเป็นไปของกิจการทั้งหมด เพื่อนำข้อมูลมาตัดสินใจดูว่าธุรกิจนั้นมีปัญหาอยู่จริงหรือไม่

วิธีเลือกหุ้น จากอัตราส่วนทางการเงินที่หยิบใช้ได้ทันที

ปัญหาลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือ เป็นปัญหาที่นำไปสู่การแก้ไขและจัดการธุรกิจ  อัตราส่วนทางการเงินอีกหลายตัว จึงมีความสำคัญขึ้นมา

ลูกหนี้การค้าและสินค้าคงเหลือปรากฏในงบดุลด้านสินทรัพย์หมุนเวียน ซึ่งโดยความหมายของทั้งสองรายการ คือ รายการที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลา 1 ปี  และรายการดังกล่าวโดยเฉพาะลูกหนี้การค้าน่าจะเป็นรายการที่มีเสถียรภาพ หรือมีความแม่นยำมากที่สุด เพราะเราได้ขายสินค้าให้กับลูกค้าไปแล้ว ดังนั้นสิทธิของเราคือการได้รับชำระหนี้  แต่ในส่วนของสินค้าคงเหลือ ยังอาจมีปัญหาอยู่ตรงที่สินค้าคงเหลืออาจขายไม่ได้ เนื่องจากการล้าสมัย ดังนั้นเมื่อลูกหนี้และสินค้าคงเหลือเกิดปัญหา จึงกระทบถึงกิจการและเกิดผลโยงใยไปสู่การปรับตัวเพื่อแก้ปัญหาในกิจการมากมาย

สรุปสูตรอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อเลือกหุ้นและทำนายกิจการที่ดี

  • อัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงิน (Current Ratio)

Current Ratio     =     สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินหมุนเวียน

Quick Ratio      =     (สินทรัพย์หมุนเวียน  – สินค้าคงคลัง) / หนี้สินหมุนเวียน

  • อัตราส่วนการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)

Account Receivable Turnover     =     ยอดขายเชื่อ / ลูกหนี้การค้า

Days Receive     =        365/Account Receivable Turnover

  • อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคลัง (Inventory Turnover)

Inventory Turnover     =     ต้นทุนสินค้าขาย / สินค้าคงคลัง

Inventory Days     =                 365/Inventory Turnover

  • อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Depts to Equity Ratio)

Depts to Equity Ratio     =     หนี้สิน / ทุน

  • อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage Ratio)

Interest Coverage Ratio     =     กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงิน / ดอกเบี้ยจ่าย

  • อัตราส่วนกำไรเบื้องต้นต่อยอดขาย (Gross Profit Margin)

Gross Profit Margin     =     กำไรเบื้องต้น / ยอดขาย

  • อัตราส่วนกำไรลุทธิต่อยอดขาย (Net Profit Margin)

Net Profit Margin     =     กำไรสุทธิ / ยอดขาย

สรุปขั้นตอนของ วิธีเลือกหุ้น จากการทำนายกิจการ

  • ให้พิจารณา Current Ratio  และ  Quick Ratio  ว่ามีอัตราเกินกว่า 1 หรือไม่ ถ้าเกินกว่า 1 มากๆ กิจการนี้มีสภาพคล่องทางการเงินใช้ได้ในเบื้องต้น
  • ทำการตรวจสอบรายการทุกรายการในสินทรัพย์หมุนเวียน โดยรายการใดพบว่าเป็นรายการแปลงเป็นเงินสดได้ยาก และเป็นรายการที่ถูกนำมาปรับปรุงบัญชีให้เกิดความถูกต้องทางกฎหมาย ขอให้นำรายการเหล่านั้นออกจากสินทรัพย์หมุนเวียน
  • เมื่อทำตามข้อ 2) แล้ว ให้หา Current Ratio และ  Quick Ratio  อีกครั้งหนึ่ง หากผลลัพธ์ออกมาเกินหนึ่ง แสดงว่ากิจการใช้ได้ในเรื่องสภาพคล่องในเชิงมหภาค
  • เป็นขั้นตอนการยืนยันว่า กิจการมีสภาพคล่องในเชิงจุลภาคจริงหรือไม่ โดยดูจากอัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า (Account Receivable Turnover)  หากอัตราส่วนนี้หมุนรอบสูง แสดงให้เห็นว่าสภาพคล่องของกิจการมีมาก เพราะว่ารายการลูกหนี้การค้าถือเป็นรายการหลักในการที่กิจการจะแปลงรายการมาเป็นเงินสด
  • การยืนยันสภาพคล่องทางการเงินด้วย Account Receivable Turnover ยังไม่เพียงพอ ยังจำเป็นที่จะต้องยืนยันสภาพคล่องทางการเงินอีกชั้นหนึ่งด้วย อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลัง เพื่อดูว่าสินค้าคงเหลือนั้นมีสินค้าบางส่วนหรือส่วนใหญ่ที่อาจเป็นสินค้าเก่า หากอัตราส่วนนี้หมุนรอบสูง และให้ผลลัพธ์ตรงตามนโยบายของกิจการ แสดงว่ากิจการมีสภาพคล่องทางการเงินค่อนข้างแน่นอน
  • หลังจากตรวจสอบสภาพคล่องแล้ว ต้องทำการตรวจสอบโครงสร้างการลงทุนของกิจการว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ โดยทำการตรวจสอบหนี้สินส่วนทุน (Depts to Equity Ratio) ว่าเป็นเท่าไร ถ้าอัตราส่วนนี้มีค่าสูงแสดงว่ากิจการมีการก่อหนี้ระยะยาวเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ ซึ่งอาจเป็นอันตราย ดังนั้นจึงควรปรับอัตราส่วนนี้ให้อยู่ในระดับไม่เกิน 2:1
  • ให้ทำการพิจารณาการเติบโตของกิจการ โดยดูจากอัตรากำไรสุทธิต่อยอดขาย (Net Profit Margin) ถ้าอัตราส่วนนี้มีค่าสูงแสดงว่า กิจการจะมีการเจริญเติบโตของสินทรัพย์สูงตามไปด้วย เพราะกำไรสุทธิที่ปรากฏในงบกำไรขาดทุน จะถูกโยกไปสู่กำไรสะสมในงบดุล ทำให้สินทรัพย์ตัวเงินสดและลูกหนี้การค่าสูงขึ้นเท่ากับกำไรสุทธิที่สูงขึ้น

บทความที่น่าสนใจ อสังหาริมทรัพย์  วิธีหาเงินจากสินทรัพย์ สร้างรายได้ สร้างกำไร รวยได้ไม่รู้จบ

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *