เทียนมหาลาภ ต้นไม้มหาเฮง สว่างโชติช่วง เสริมฮวงจุ้ยให้โชคลาภ คนปลูกเฮง
by
besterlife
·
Published
· Updated
ประวัติเทียนพรรษา เทียนมหาลาภ
ในฤดูฝน ซึ่งเป็นฤดูกาลเพาะปลูกของชาวบ้านเกษตรกร หากพระสงฆ์ต้องเดินทาง ไปเผยแผ่พระธรรมหรือธุดงค์ไปสถานที่ต่างๆ อาจจะไปสร้างความเดือดร้อน เหยียบย่ำ ต้นกล้า ต้นข้าว พืชผักและผลไม้ของชาวบ้าน ได้รับความเสียหาย ต่อมาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติ ให้เหล่าพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ต้องอยู่กับสถานที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันนั้นคือการจำพรรษาในวัดต่างๆ เป็นเวลาถึง ๓ เดือน ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เพื่อให้ชาวบ้านได้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วเสร็จก่อน ถึงจะสามารถออกธุดงค์หรือเดินทางไปเผยแพร่หลักธรรมได้อีกครั้ง
ในสมัยพุทธกาลก่อนถึงยุคปัจจุบันนี้ ไม่มีความเจริญก้าวหน้า การที่ไม่มีไฟฟ้าและการที่ไม่สามารถออกไปหาเศษผ้าต่างๆ “การขอผ้าจากผ้าห่มศพ” มาเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่ม เป็นสบงหรือจีวรได้ จึงสร้างความลำบากให้แก่พระสงฆ์ในช่วงจำพรรษา เพราะไม่มีแสงสว่างในการเจริญภาวนา การปฏิบัติกิจของสงฆ์ต่างๆ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ในช่วงเวลากลางคืนได้ รวมทั้งหากเครื่องนุ่งห่มขาด ก็จะไม่มีเครื่องนุ่งห่มใหม่เปลี่ยน จากปัญหาดังกล่าวจึงเกิดประเพณีสำคัญถึง 2 ประเพณีก่อนเข้าพรรษา คือ ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน และ ประเพณีถวายเทียนพรรษา เนื่องจากเป็นประเพณีที่เกิดขึ้นในอดีตกาล จึงไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่า มีประวัติความเป็นมาอย่างไรจนแน่ชัด แต่มีความเชื่อและการเล่าสู่กันฟัง จากรุ่นต่อรุ่นที่ว่า
-
1. ความเชื่อจากผลบุญในชาติปางก่อนของพระอนุรุทธะ ที่เคยให้แสงประทีปเป็นทาน ก่อนที่จะเกิดมาเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลม และได้บวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า จนสำเร็จมรรคผลที่มีความฉลาดรอบรู้ ในพระธรรมวินัยอย่างแตกฉาน
-
2. ความเชื่อในผลแห่งกรรมดีของหญิงคนหนึ่ง ที่มีโอกาสได้ฟังธรรมที่เชตวนาราม เมืองสาวัตถี นางได้เข้าถึงแห่งหลักธรรม พอถึงเวลาพลบค่ำ นางจึงให้คนรับใช้ นำเอาประทีปที่ของบ้านตน มาจุดไว้ตามถนนเพื่อให้แสงสว่างแก่ชาวบ้าน ที่มาฟังธรรมในวัด ได้อย่างสะดวกและมีความปลอดภัยมากขึ้น ครั้งเมื่อนางตายไป จึงได้เกิดเป็นเทพธิดามีรัศมี เปล่งแสงสว่างสวยงาม
ต่อมาการถวายเทียนพรรษาดังกล่าวถูกถ่ายทอดไปยังพุทธศาสนิกชนที่มีพลังศรัทธา จึงมีการหล่อเทียนแล้วนำเทียนไปถวายให้แก่พระภิกษุสงฆ์ โดยมีการจัดขบวนแห่กันอย่างเอิกเกริกสนุกสนาน ประเพณีที่ เรียกกันว่า “เทียนจำนำพรรษา” หรือ “เทียนพรรษา” ซึ่งเป็นประเพณีที่ได้ถือปฏิบัติในทุกๆจังหวัดทั่วไปประเทศไทย
แต่ที่โดดเด่น การมีส่วนร่วมและมีความยิ่งใหญ่จนทุกภูมิภาคให้การยอมรับ คือ ประเพณีการแห่เทียนพรรษาของ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีการประกวดการแข่งขันของหน่วยงานภาครัฐเอกชน ในการแกะสลักต้นเทียน ให้เป็นรูปร่างต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาได้อย่างสวยงามอันได้แก่ รูปสัตว์ต่างๆในตำนาน รูปหงส์ รูปมังกร รูปพญานาคและรูปพระพุทธรูป พอถึงวัดเข้าพรรษาก็จะจัดขบวนอย่างสวยงามที่มีนางฟ้า เทพี แห่ไปตามสถานที่สำคัญๆ ก่อนที่จะนำไปถวายตามวัดต่างๆ
ประเพณีการแห่เทียนมหามงคล เป็นแสดงออกถึงความศรัทธาและความเชื่อในศาสนาพุทธของคนไทยที่เป็นเอกลักษณ์ที่สวยงาม เป็นประเพณีที่ทำให้เกิดความสามัคคีของคนในชุมชน และเป็นการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมให้ธำรงอยู่คู่ประเทศไทยต่อไป
ต้นกำเนิดประเพณีแห่เทียนมหาพรรษา ของจังหวัดอุบลราชธานี
จังหวัดอุบลราชธานี ถือได้ว่าเป็นถิ่นของพระเถระสายวิปัสสนากรรมฐานที่สำคัญๆหลายรูปเช่น พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลเป็นต้น จึงถือได้ว่าจังหวัดอุบลราชธานีเป็นเมืองที่เพิ่มพลังแห่งศรัทธาของพุทธศาสนาอย่างไม่มีข้อสงสัยในหลักแห่งธรรม จนพลังแห่งศรัทธานี้ได้แพร่ขยายไปยังเมืองต่างๆ ทั้งในภาคอีสานและยังมีตามหัวเมืองในภูมิภาคต่างๆ จึงทำให้เกิดการสร้างวัดวาอารามสาขามากมาย
เดิมประเพณีเข้าพรรษาในจังหวัดภาคอีสาน โดยส่วนใหญ่จะจัดงานบุญบั้งไฟ ซึ่งในปี พ.ศ. 2444 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานบุญบั้งไฟอย่างยิ่งใหญ่ โดยให้ทุกคุ้มต่างๆ นำบั้งไฟมารวมกันที่วัดหลวงริมแม่น้ำมูล แล้วจะมีการแห่ขบวนบั้งไฟไปรอบๆเมือง ก่อนที่จะจุดขึ้นไปบนท้องฟ้า แต่กิจกรรมที่ยิ่งใหญ่ในครั้งนั้น ไม่ได้บรรลุความสำเร็จในทุกด้าน เพราะเกิดอุบัติเหตุและความวุ่นวายไปทั่วงานเช่น บั้งไฟแตกและบั้งไฟตกไปถูกชาวบ้านตาย เกิดการชกต่อย ตีรันฟันแทงกันของผู้ร่วมชุมนุม จึงกลายเป็นจุดเปลี่ยนเป็นเหตุให้ กรมหลวง สรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งผู้สำเร็จราชการจังหวัดอุบลราชธานีในสมัยนั้น สั่งให้ยกเลิกประเพณีงานบุญบั้งไฟ แล้วให้หันไปจัดประเพณีแห่เทียนมหาพรรษาแทน ซึ่งสมัยแรกๆ ประเพณีแห่เทียนมหาพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีนั้น เดิมจะจัดแยกเฉพาะตามหมู่บ้านหรือตามคุ้มในวัดต่างๆและไม่มีการประกวดแข่งขัน
ต่อมาเกิดการร่ำลือของชาวบ้านตามคุ้มต่างๆ ว่า เทียนพรรษาและการแห่เทียนของคุ้มนั้น คุ้มนี้สวยงาม จึงทำให้ ผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ เห็นควร ให้มีการจัดการประกวดเทียนพรรษา โดยการแห่ขบวนเทียนพรรษาไปรอบๆเมือง ก่อนที่จะนำไปถวายพระตามวัดต่างๆ
จากประวัติเทียนพรรษา กับความเชื่อ ต้นไม้มงคล เทียนมหาลาภ
ต้นเทียนมหาลาภ เป็นไม้ทรงพุ่ม เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดี ในแสงร่ำไร มีความชื้นเล็กน้อยและสามารถปลูกไปทุกพื้นที่ในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่จะปลูกไว้ตามบ้าน หน้าบ้าน ห้างสรรพสินค้า สวนต้นไม้ในอาคาร ในโรงแรม วัดวาอาราม หรือการปลูกในกระถาง เพราะไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เพาะปลูกมาก จึงสามารถนำต้นไม้มงคลในกระถางไปวางไว้ที่โต๊ะทำงาน ตู้โชว์ เป็นต้นไม้มงคลเป็นต้นไม้ประดับ เพื่อเสริมฮวงจุ้ยได้เช่นเดียวกัน ซึ่งเชื่อกันว่า การปลูก การเลี้ยงต้นเทียนมหามงคล จะเป็น การสร้างความสว่างโชติช่วง ที่เปรียบเสมือนสถานที่ศักดิ์ สิทธิหรือสถานที่ค้าขายในค่ำคืนมืดสนิท แต่ได้รับแสงสว่างสาดส่อง จนสร้างความโดดเด่น ซึ่งสามารถดึงดูดความสนใจจากผู้คนได้ดี เชื่อกันว่า บ้านใดมีการปลูกไว้ จะไม่อับจนหนทางทำมาหากิน ช่วยเสริมโชคลาภ เสริมฮวงจุ้ยในบ้าน
ลักษณะใบของต้น เทียนมหาลาภ เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบที่แก่จะมีสีเขียวเข้มปนม่วง ส่วนใบแก่เต็มที่ จะเหลืองออกน้ำตาลค่อยๆตายจากปลายใบไปถึงก้านใบ ก่อนที่จะร่วงโรยไป แต่ก็ไม่ร่วงโรยได้ง่ายๆ ส่วนใบอ่อนบริเวณปลายยอด จะมีสีม่วงอ่อนอมแดง เหมือนกับเทียนพรรษาที่กำลังถูกจุดให้ติดไฟ เพื่อให้แสงสว่าง
ลำต้น เทียนมหาลาภ มีลำต้นตรง ลำต้นแก่จะมีสำน้ำตาลอมขาว ลำต้นอ่อนจะมีสีม่วง
รากต้นเทียนมหาลาภ จะยาวไม่มากนัก โดยส่วนมากแล้วเป็นรากฝอย และเมื่อเจริญเติบโตได้ดีจะแตกหน่อไปเรื่อยๆ จึงมีลักษณะเป็นพุ่ม เหมือนเทียนมหามงคลหลายๆต้นมากองรวมกัน
การปลูกและขยายพันธุ์เทียนมหาลาภ สามารถปลูกได้ง่ายๆ ดูแลง่าย สามารถปลูกได้ทั้งนำลงบนดินหรือการปลูกในกระถาง วิธีการขยายพันธุ์สามารถทำได้ทั้งการแบ่งหน่อที่มีรากไปปลูก หรือวิธีที่ 2 จะทำการเพาะชำโดยการตัดลำต้นแก่แล้วนำไปปักชำในถุงเพาะ ก่อนนำไปปลูกก็ได้
เทียนมหาลาภ ต้นไม้มงคลยอดนิยมหรือไม้มงคลยอดฮิต เป็นต้นไม้ประดับ เป็นต้นไม้มหาเฮง ให้สว่างโชติช่วง เสริมฮวงจุ้ยให้โชคลาภ คนปลูกเฮง คนค้าขายรวย
Related
Tags: ต้นไม้ประดับประวัติเทียนพรรษาเทียนมหามงคลเทียนมหาลาภไม้มงคล
You may also like...