แหล่งโปรตีน ของคนพื้นบ้านกำลังจะหายไป
แหล่งโปรตีน ของคนพื้นบ้านกำลังจะหายไป
โปรตีนนับได้ว่าเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นอย่างมากต่อการดำรงชีวิตและการสืบพันธุ์ของมนุษย์เรา ร่างกายมนุษย์จำเป็นต้องได้รับโปรตีน ซึ่งประโยชน์ของโปรตีนหลักๆที่เรารู้กัน มันจะทำหน้าที่ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและเสริมสร้างกล้ามเนื้อต่างๆ และโปรตีนยังทำหน้าที่หลากหลายกว่านั้น
เพราะโปรตีนมีความสัมพันธ์และทำงานร่วมกับสารอาหารอื่นๆ เพื่อให้เซลล์ที่ประกอบอยู่ในส่วนต่างๆของร่างกายของคนเราสามารถนำไปใช้สำหรับการพัฒนา การเสริมสร้าง ให้การทำงานของระบบต่างๆทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่น การที่เซลล์สมองได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ สมองก็จะทำหน้าที่ในการสื่อสาร ระบบประสาทต่างๆก็จะทำงานได้ดี
เซลล์ผิวเซลล์และผนังหลอดเลือด หากได้โปรตีนเหมาะสม โดยโปรตีนจะทำงานร่วมกับวิตามินซี เพื่อทำหน้าที่ในการสร้างคอลลาเจน ผิวของมนุษย์เราก็จะมีสุขภาพดี มีความยืดหยุ่น ซึ่งคุณค่าของโปรตีนมีมากมายที่จะกล่าว ถึงแต่ในบทความนี้เราไม่ได้มาเล่าถึงประโยชน์ของโปรตีน แต่กำลังจะมาพูดถึง แหล่งโปรตีน ของคนพื้นบ้าน ได้จากอาหารต่างๆที่หาได้ในท้องถิ่น แต่แหล่งโปรตีนเหล่านั้นกำลังจะหายไปดังนี้
1.เห็ด เห็ดนับได้ว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่ให้พลังงานน้อย มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ การรับประทานแหล่งโปรตีนจากเห็ดจึงไม่อ้วนเพราะไม่มีสารอาหารแป้งและไขมันแฝงในแหล่งอาหารประเภทนี้ เห็ดประเภทต่างๆที่เกิดขึ้นตามป่าเขาเช่น เห็ดระโงก เห็ดถอบหรือเห็ดเผาะ เห็ดไค เห็ดผึ้ง เห็ดโคน หรือจะเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจากกากของผลผลิตทางการเกษตรเช่น เห็ดฟาง เห็ดเปลือกถั่วเหลือง เห็ดชานอ้อยเป็นต้น
สำหรับคนพื้นบ้านหรือหมู่บ้านที่มีป่าอุดมสมบูรณ์ สามารถไปเก็บเห็ดบนป่าเขาได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อการบริโภค แต่ปัจจุบันเนื่องจากการเข้าถึงป่าเขา การเดินทางที่สะดวกมากขึ้น จึงทำให้การเก็บเห็ดในป่าเขาไม่ลำบาก และชาวบ้านก็ไม่ได้เก็บนำมาเพื่อการบริโภคในชุมชนเท่านั้น แต่ยังมีการเก็บเห็ดเพื่อนำมาขายสร้างรายได้เสริมอีกหนึ่งวิธี จึงส่งผลกระทบต่อการหลงเหลือของเชื้อสปอร์เห็ดลดลง เมื่อปริมาณสปอร์ของเห็ดลดลงก็จะกลายเป็นต้นเหตุ ของจำนวนเห็นในปีถัดไปลดลง นอกจากนี้ป่าเขาถูกทำลายมากยิ่งขึ้น มีการเผาป่าเพื่อหาของป่า การทำลายป่าเพื่อการเพาะปลูก จึงทำให้ปริมาณของเห็ดลดลงอย่างรวดเร็ว
2. กบ เขียด อึ่งอ่าง เป็นโปรตีนชั้นดี แต่ด้วยความเจริญก้าวหน้าในด้านเครื่องมือทำมาหากิน การสร้างอุปกรณ์ในการจับสัตว์ที่ใช้งานง่ายแถมยังสามารถจับสัตว์ได้ในปริมาณที่มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการจับลูกอ๊อด ซึ่งเป็นลูกๆของกบ เขียด มากิน จึงเป็นสาเหตุต้นๆที่ลดโอกาสการเจริญเติบโตและการแพร่พันธุ์ของแหล่งโปรตีนเหล่านี้
เมื่อรูปแบบในการทำการเกษตรที่เปลี่ยไปและแหล่งธรรมชาติถูกทำลาย ในสมัยอดีต คนรุ่นปู่ย่าตายาย อาศัยการไถ การตัดหญ้าการถอนวัชพืชด้วยจอบเสียม แต่ปัจจุบันการทำการเกษตรได้หันไปพึ่งพิงสารเคมีกำจัดวัชพืช เครื่องจักรกล จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กระทบ ต่อจำนวน กบ เขียด ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น พวกมันจะได้รับสารพิษและในที่สุดมันก็จะตายไป
ที่สำคัญเมื่อรูปแบบวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวบ้าน ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา การดำรงชีพของคนเปลี่ยนจากการพึ่งพาอาศัยกัน มีแลกเปลี่ยนและแบ่งปันกันกิน กลายเป็นสังคมแห่งการแข่งขัน จากการจับกบเขียดในจำนวนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการบริโภคของคนในครอบครัวหรือเครือญาติ แต่เปลี่ยนไปเป็นการจับ กบ เขียด อึ่งอ่าง เพื่อเอาไปขายแลกกับเงิน มาใช้เลี้ยงชีวิตตนเองให้อยู่รอดต่อไป
3.ปลา นับได้ว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่หาได้ง่าย แล้วยังมีโอเมก้า อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารอื่นๆ อีกมากมาย ปลานับได้ว่า เป็นแหล่งโปรตีนที่ร่างกายสามารถนำไปใช้งานได้ง่าย ในสมัยอดีต เรามักได้ยินคำเล่าขานกันว่า “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” แต่ปัจจุบันแหล่งน้ำทางธรรมชาติลดลง ห้วหนอง คลองบึง กลายเป็นพื้นที่นาเป็นพื้นที่ทําการเกษตร หรือเกิดจากดินที่ถูกน้ำฝนชะล้างดินที่ชาวไร่ไถ่พวนแล้วไหลลงสู่ที่ต่ำ ไปกลบแม่น้ำลำคลองให้ตื้นเขิน เมื่อไม่มีแหล่งน้ำก็ไม่มีปลา
ภัยธรรมชาติก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้จำนวนปลาลดลง เนื่องพวกมันไม่สามารภปรับสภาพวงจรชีวิตของมันได้เช่น หน้าแล้งปลาสามารถจำศีลหรือหมกอยู่ในโคลนตมโดยที่พวกมันไม่ตาย เพราะในสมัยอดีต ความร้อนของดวงอาทิตย์ไม่สามารถเข้าถึงชั้นดินที่ปลาจำศีล พวกมันจึงไม่ตาย แต่ในปัจจุบันอำนาจทะลุทะลวงของแสงแดด เข้าสู่ชั้นใต้ดินได้มากขึ้น โลกร้อนขึ้น ฤดูร้อนมีระยะเวลายาวนานขึ้น จนทำให้สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในใต้พื้นดินไม่สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้
รูปแบบการทำนาข้าวที่เปลี่ยนไป จากการทำนาดำกลายเป็นแบบนาหว่าน ก็มีผลต่อการดำรงชีวิตของปลาได้เช่นกัน เพราะแหล่งอาหารของปลาลดลง เนื่องจากต้นข้าวในนาหว่านซึ่งมีลำต้นขึ้นอยู่ติดกัน ทำให้ปลาไม่สามารถแหวกว่ายเข้าไปหาอาหารในกลางทุ่งนาได้ นอกจากนี้การทำนาหว่านยังทำให้เกิดวัชพืชได้ง่าย จึงต้องอาศัยวิธีพ่นสารเคมีกำจัดวัชพืชแทนการถอนวัชพืชในนาข้าว ที่ทำได้ง่ายเหมือนกับนาดำได้ ดังนั้นสารเคมีที่กำจัดวัชพืชเหล่านั้น จึงเป็นตัวทำลายสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทุ่งนาบริเวณนั้น และสารเคมีที่ละลายในน้ำ ก็จะไหลไปตามกระแสน้ำไปเกาะกับตัวปลา ปลาในบริเวณใกล้เคียงก็จะตาย
4. แมลงต่างๆ ด้วงไม้ไผ่ ดวงแมลง มักจะอุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันดี แต่เมื่อผืนป่าถูกทำลาย จากแปลงสภาพกลายไปเป็นผืนดินที่ใช้ในการเพาะปลูกทำกินของเกษตรกร จึงทำให้ปริมาณต้นไผ่ลดลงอย่างรวดเร็ว ในสมัยอดีตป่าเขาในเขตป่าสงวนอำเภอชาติตระจังหวัดพิษณุโลก การต้นไม้ไผ่เป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันผืนป่ากลายเป็นพื้นที่ทำสวนยางพารา จึงทำให้ด้วงไผ่ลดลงอย่างรวดเร็ว จนในปัจจุบันการหาด้วงไม้ไผ่มารับประทานเป็นอาหารนั้น ก็หาได้ยากยิ่งนัก
5. ตั๊กแตน ตั๊กแตนเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่ให้โปรตีนสูงมาก แมลงที่บริโภคได้ 100 กรัม จะให้โปรตีน 9.2 – 27.6 กรัมเลยทีเดียวเช่น
ตั๊กแตนปาทังก้าทอด 100 กรัมจะให้โปรตีน 27.6 กรัม ซึ่งสูงกว่าแมลงชนิดอื่น
แมลงมันคั่ว 100 กรัมจะให้โปรตีน 24.1 กรัม
ตั๊กแตนตัวเล็ก 100 กรัมจะให้โปรตีนสูงถึง 20.6 กรัม
จิ้งหรีด 100 กรัมจะให้โปรตีน 18.6 กรัม
สำหรับคนพื้นบ้านไทยในปัจจุบัน การหาแมลงเหล่านี้มาทำเป็นอาการรับประทานทำได้ยากมากขึ้น การลดลงของแมงต่างๆ ก็คงหนีไม่พ้นรูปแบบของการทำการเกษตรที่ใช้สารเคมีกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูของพืชไร่พืชสวน ทำให้ประเทศไทย ถึงขั้นนำเข้าแมลงต่างๆ ที่รับประทานได้มาจากประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว กัมพูชา เป็นต้น
6. หนูนา หนูนาในสมัยก่อนนับได้ว่าเป็นศัตรู ที่กัดกินต้นข้าว สร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก จำนวนหนูนาในสมัยอดีตนั้นมีมากและเป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี ส่วนแหล่งอาหารของหนูนานั่นก็คือ ลำต้น ปลายยอดอ่อนของพืชต่างๆ เมล็ดธัญพืชและยังกินสัตว์อื่นๆเป็นอาหารเช่น หอย ปู เป็นต้น
หนูน่าจะอาศัยอยู่ในรู ในโพรงดิน พวกมันจะสร้างรูไว้ใกล้ๆกับแหล่งอาหาร ชาวพื้นบ้านดักหนูนา เพื่อนำมาประกอบเป็นอาหารในรูปแบบต่างๆเช่น ปิ้งย่าง ผัดกระเพรา แกงคั่วเป็นต้น
แต่ปัจจุบันจำนวนหนูนาลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากจำนวนคนบริโภคเพิ่มมากขึ้น มีการใช้อุปกรณ์ในการดับจับที่ทันสมัย รวมทั้งเกษตรกรได้ใช้สารเคมีในการกำจัดหนูนาที่เป็นศัตรูกับพืชผลทางการเกษตร ทำให้ทุกวันนี้มีการเลี้ยงหนูนาเพื่อการบริโภค ในบ่อซีเมนต์ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ที่ดีไดีอีกหนึ่งอาชีพ
7.หอยขม หอยขมนับได้ว่าเป็นแหล่งโปรตีนสูงอีกอย่างหนึ่ง เพราะหอยขม 100 กรัม จะให้โปรตีนสูงถึง 12.1 กรัม แถมหอยขมยังมีไขมันต่ำ นอกจากนี้หอยขมยังอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนถึง 432 ไมโครกรัม หอยขมจะเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ดีตามหนองคลองบึง ปัจจุบันจำนวนหอยขมลดลงอย่างน่าเป็นห่วง เพราะน้ำที่อยู่ตามห้วยหนองคลองบึง ปนเปื้อนไปด้วยสารเคมีที่เกษตรกรใช้สำหรับการเพาะปลูกเช่น ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง จึงทำให้หอยขมลดลงอย่างรวดเร็ว
โดยรวมแล้ว แหล่งโปรตีน ของคนพื้นบ้านนั้นอาจจะมีมากมาย หากทุกๆอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างมีเหตุมีผล อาศัยการพึ่งพาอาศัยกัน คนรักป่า รักน้ำ ใช้พื้นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการใช้สารเคมีหันไปทำการเกษตรแบบอินทรีย์ การทำมาหากินอย่างเหมาะสมและพอเพียง ตามรอยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชกาลที่ 9 ก็จะทำให้ชาวพื้นบ้านเรามี แหล่งโปรตีน ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตและดำรงเผ่าพันธ์ุของมนุษย์เราไปอีกแสนนาน
บทความที่น่าสนใจ 6 สัญญาณที่กำลังแสดงให้รู้ว่าคุณกำลังอยู่ใน ภาวะขาดโปรตีน,