โรคพิษสุนัขบ้า การป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไข

สวัสดีครับวันนี้พบกันในเรื่อง กระแสเตือนภัยกับ รู้เท่าทันโรคพิษสุนัขบ้า หลังจากมีการแพร่ระบาดของ โรคพิษสุนัขบ้า อย่างหนัก  โดยกรมปศุสัตว์ได้กำหนดพื้นที่ประกอบด้วย

พื้นที่  A คือพื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ที่ไม่มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า และไม่พบเชื้อในพื้นที่ที่ติดต่อกันอย่างน้อย2 ปี   

พื้นที่ B คือพื้นที่สีเหลืองหรือพื้นที่ที่ยังมีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์  แต่ไม่พบผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปี

ส่วนพื้นที่ C คือ พื้นที่สีแดงหรือพื้นที่ที่ยังมีเชื้อในสัตว์และยังคงพบผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่

ดังนั้นเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า besterlife.com นานาสาระประโยชน์  ขอนำเสนอแนวทางในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า จากกรมควบคุมโรค ด้วยคาถา 5 ยอ  คือ

1 อย่าแหย่  ให้สุนัขโมโห เพราะถ้าหากพวกมันโมโหมันจะไล่กัดพวกเราได้

2 อย่าเหยียบ ให้สุนัขตกใจ เพราะการทำให้สุนัขตกใจมันจะกลับมาแว้งกัดตัวเรา

 3 อย่าเยอะ สุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่าเพราะจะทำให้พวกมันหันมากัดตัวเราเอง

4 อย่าหยิบหรือแย่ง  อาหารจากสัตว์ที่กำลังกินอาหารเพราะจะทำให้มันโมโหและ หันกลับมากัดเราได้

5 อย่ายุ่ง อย่าไปยุ่งกับสุนัขที่เราไม่ได้เลี้ยงไว้  เพราะเราไม่รู้ว่ามันมีความดุร้ายหรือมีพฤติกรรมอย่างไร

ซึ่งจากข้อมูล  สำนักงานสาธารณสุขได้เสนอมาตรการในเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในปี 2561 โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับประชาชน ให้ปฏิบัติคือ  หากโดนสุนัขหรือแมวที่เป็นสัตว์เลี้ยงกัด  ให้ล้างแผลด้วยน้ำสบู่หรือน้ำสะอาดหลายๆครั้งอย่างน้อย 15 นาที   ห้ามปิดแผลหลังจากนั้นควรไปพบแพทย์  เพื่อทำการรักษา ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและโรคบาดทะยักในทันที  

ในกรณีที่ทราบตัวสัตว์   ควรให้เจ้าของกักขังและเฝ้าดูอาการสัตว์อย่างน้อย 10 วัน  ถ้าสัตว์ตาย  ควรนำสัตว์ส่งตรวจเพื่อหาเชื้อและหากสัตว์เลี้ยงตัวนั้น  มีอาการเป็นปกติดี  เจ้าของสัตว์เลี้ยง  ก็ควรนำไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเป็นประจำทุกปี

สำหรับการสังเกตอาการโรคพิษสุนัขบ้า  มีรายละเอียดดังนี้  เชื้อพิษสุนัขบ้าเกิดจากน้ำลายของสัตว์เลี้ยง ที่อาจจะกัดควรหรือเลียตามบาดแผล   เมื่อมีเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีลักษณะเบื่ออาหาร เจ็บคอมีไข้อ่อนเพลีย มีอาการคันบริเวณที่ถูกกัด มีอาการกระสับกระส่าย กลัวแสง กลัวลม กลัวน้ำ  เมื่อมีอาการชักเกร็งอาจจะเป็นอัมพาตและอาจจะเสียชีวิตในที่สุด

ซึ่งปัจจุบันการรักษามีเพียงการฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า ที่สามารถรักษาด้วยการฉีดเพียง 4-5 เข็มเท่านั้น  ซึ่งในยุคอดีตอาจจะต้องฉีดกันถึงมากถึง 14-15 เข็มด้วยกัน

ถึงอย่างไรก็ตาม การป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไข  ดังนั้นให้ทุกๆคนควรช่วยกันสอดส่องและเฝ้าระวัง  เพื่อไม่ให้เกิดการระบาด ของโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่   หากพบเห็นสัตว์ที่ต้องสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคพิษสุนัขบ้า  ซึ่งมีอาการคือ เดินหางตกเดินโซเซ  มีน้ำลายย้อย ลิ้นห้อย  ตาขวาง  ให้รีบแจ้งไปยังโรงพยาบาลใกล้พื้นที่ทันที

เอาล่ะครับเมื่อทราบแนวทางในการป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้าแล้ว  เราควรปฏิบัติตามคำแนะนำจากกรมควบคุมโรค เพื่อไม่ให้เกิดเหตุที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นซึ่งเราสามารถป้องกันตนเองจาก โรคพิษสุนัขบ้า ได้อย่างแน่นอน

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจากกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขและ mgr. Online

บทความที่น่าสนใจ  เกิดมาทำไม เกิดมาเพื่ออะไร

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *