โอโซน คือ อะไร สูดโอโซนแล้วสดชื่นจริงหรือไม่

โอโซน คือ ก๊าซที่มีโครงสร้างไม่เสถียร ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของออกซิเจน 3 อะตอม  โอโซนถูกสร้างขึ้นได้  โดยการแยกอะตอมของออกซิเจน 2 อะตอมออกจากกัน  ( O2 to 2O ) อะตอมหนึ่งที่แยกออกไป จะไปรวมตัวกับโมเลกุลของออกซิเจน O2(g) กลายเป็นก๊าซโอโซน O3(g)  (OZONE)

โอโซนถูกค้นพบโดยนักเคมี ชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1840   ชื่อ คริสเตียน ฟรีดริช เชินไบน์

โอโซน คือ
โอโซน คือ

โอโซนเกิดขึ้นได้อย่างไร

              การเกิดขึ้นของโอโซนแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

1.โอโซนตามธรรมชาติ พบได้บนพื้นผิวโลกและในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นไป จะสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีออกซิเจนถูกกระตุ้นด้วยรังสี UV ในชั้นบรรยากาศ ระดับความสูง 10- 50 กิโลเมตร จากพื้นพิวโลกเรียกว่า สตาโตสเฟีย ( Stratosphere) เกิดจากการเกิดฟ้าผ่า ฟ้าแลบตอนที่เกิดพายุ หรือ แสงจากดวงอาทิตย์ที่มีรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) ไปเปลี่ยนโครงสร้างของออกซิเจนจาก O2 ให้กลายเป็นก๊าชโอโซน O3    ก๊าซโอโซนที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวโลกนั้นจะมีปริมาณเพียงเล็กน้อย โดยมีระดับความเข้มข้น 0.01-0.05  ppm โดยประมาณ แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้อากาศในปริมาณนั้นสดชื่นได้ ซึ่งในบางพื้นที่มีโอโซนเกิดขึ้นจากความผิดปกติ มีความเข้มข้นสูงและจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

2. โอโซนที่มนุษย์เราสามารถสร้างขึ้นได้ ด้วยเครื่องกำเนิดโอโซน (Ozone Generator) ใช้หลักวิธีเลียนแบบธรรมชาติ ด้วยการเป่าก๊าซออกซิเจน ผ่านสนามไฟฟ้าแรงสูง (Corona discharge)

โอโซน คือ
แหล่งกำเนิดโอโซนพื้นโลก

  สูดโอโซนแล้วสดชื่นจริงหรือไม่ 
        หลายๆคนคงเคยได้ยินคำกล่าว “สูดโอโซนแล้วทำให้สดชื่น” คำกล่าวนี้คงทำให้หลายคนเข้าใจผิด
คิดว่า โอโซน เป็นก๊าชที่มีประโยชน์ต่อระบบหายใจ  แท้จริงแล้วก๊าชโอโซนไม่มีสีและมีกลิ่นเหม็นคาว เป็นพิษต่อระบบหายใจของสิ่งมีชีวิต  

 ความเป็นจริงก็คือ คุณสมบัติของก๊าชโอโซนที่มีความว่องไว ในการเกิดปฏิกิริยา แต่หลังจากเกิดปฏิกิริยา โอโซนจะแปรสภาพกลับเป็นก๊าซออกซิเจน ทำให้รู้สึกที่ว่าโอโซนดับกลิ่น และอากาศสดชื่น ซึ่งไม่ใช่เป็นเพราะ ก๊าชโอโซนอย่างที่คนเราเข้าใจกัน   

ข้อดีและคุณสมบัติของโอโซน

โอโซน สามารถทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับสารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์ได้เกือบทุกชนิด ทั้งในน้ำและในอากาศ  โดยโอโซนจะไปจับโมเลกุลของสารปนเปื้อนหรือเชื้อโรคต่างๆ แล้วทำการย่อยสลายสารปนเปื้อนนั้น โอโซนสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส สปอร์ ราเมือก ราน้ำค้าง เชื้อรา อะมีบา ตามปริมาณความเข้มข้นของโอโซนและระยะเวลาที่ใช้ต่างกัน คุณสมบัติของโอโซน มีดังต่อไปนี้

1.โอโซน คือ สารออกซิไดซ์ (Oxidizing agent) มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อที่ ทะลุทะลวง มีประสิทธิภาพและมีความรุนแรงเร็วกว่าคลอรีน โดยโอโซนมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรคได้ดีกว่าคลอรีนถึง 3000 เท่า สามารถฆ่าเชื้อโรคแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคอย่างรุนแรงรวดเร็ว 

3.สามารถทำลายกลิ่นเหม็นของสารเคมีและก๊าซพิษได้เช่น กลิ่นน้ำหอม กลิ่นบุหรี่ กลิ่นอาหาร เป็นต้น

4. ไม่มีพิษตกค้าง โอโซนหลังทำปฏิกิริยา จะแปรสภาพกลับไปเป็นก๊าซออกซิเจน จึงไม่ทำให้เป็นอันตรายหรือ ส่งผลกระทบใดๆ ต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม เนื่องจากโอโซนมีความเสถียรต่ำสามารถละลายอยู่ในน้ำที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสได้ นานไม่เกิน 2 นาที และ สลาย ไปเมื่ออุณหภูมิ ของน้ำสูงขึ้นไปถึง 40 องศาเซลเซียส   

5. สามารถผลิตขึ้นได้ในบริเวณที่มีไฟฟ้า

6. ก๊าศโอโซนสามารถกำจัดสีที่ละลายในน้ำหรือสีที่ตกบนเนื้อผ้าให้จางหายไป ได้แก่ สีหมึก สีผสมอาหาร สีเลือด สีชากาแฟ และสีย้อมผ้าต่างๆ

โอโซน คือ
ประโยชน์ของก๊าซโอโซน

ก๊าซโอโซน สามารถประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ดังนี้

1. โอโซนในระบบบำบัดคอนเดนเซอร์   สามารถนำไปใช้กับน้ำประปา ในหอผึ่งเย็น (Cooling Tower) ได้โดยตรง โอโซนสามารถนำไปใช้ในการบำบัดน้ำซึ่งประสิทธิภาพสูง จะไม่ทำให้เกิดไบโอฟิล์มอันเป็นสาเหตุของตะกรันในท่อคอนเดนเซอร์   โดยจะรักษาการเพิ่มของอุณหภูมิคอนเดนเซอร์ Approach temperature ไม่เกิน 2 องศาฟาเรนไฮต์จากค่าเริ่มต้น ซึ่งทำให้เครื่องทำน้ำเย็นชิลเลอร์คงประสิทธิภาพที่ดีอยู่ตลอดเวลา

2.ใช้ในการบำบัดน้ำทะเล สำหรับตู้กระจกโชว์ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทะเลหรือในอควาเรียมแทนสารเคมีเพื่อฆ่าเชื้อที่มากับน้ำทะเล  และยังสามารถปล่อยโอโซนผสมลงในทะเล  เพื่อป้องกันการเกิดเพียงที่เข้ามาเกาะฝัง ตัวติดอยู่กับท่อ ในน้ำทะเล   โอโซนจะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและไม่ทำให้คุณภาพน้ำทะเลเปลี่ยนแปลง

3. โอโซนสามารถใช้ในการบำบัดหรือฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำ ระบบโอโซนสามารถบำบัดน้ำในสระว่ายน้ำต่างๆ แทนการใช้คลอรีนได้อย่างเด็ดขาด เนื่องจากโอโซนสามารถฆ่าเชื้อและสลายในน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะไม่มีกลิ่นคลอรีนหรือทำให้เกิดการระคายเคืองต่อดวงตาและระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้จึงไม่ทำให้มีสารตกค้างในสระว่ายน้ำและสามารถประหยัดการเปลี่ยนน้ำได้มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์

4. ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร น้ำที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารที่นับได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะน้ำใช้ในอุตสาหกรรมนี้ ต้องได้รับความมั่นใจว่าเป็นน้ำที่สะอาด และจะไม่เกิดการปนเปื้อนข้ามหรือนำเชื้อโรคปนไปกับผลิตภัณฑ์ ดังนั้นการใช้โอโซนในระบบการผลิตน้ำ จึงสามารถสร้างความมั่นใจว่า จะไม่มีสารคลอรีนหรือสารฆ่าเชื้ออื่น หลงเหลือในน้ำ   จากคุณสมบัติของโอโซนซึ่งมันสามารถจะสลายตัวได้

5. ใช้กับระบบบำบัดน้ำเสียหรือระบบการรีไซเคิลน้ำ ระบบโอโซนในระบบน้ำเสียสามารถลดค่า BOD ได้มากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าระบบเติมอากาศแบบดั้งเดิมมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์   ทั้งนี้ระบบโอโซนในการบำบัดน้ำ เป็นการยกเลิกการปล่อยน้ำเสียลงสู่คูคลอง นอกจากนี้ยังสามารถขจัดสีและกลิ่นขั้นตอนระบบน้ำเสียสุดท้ายได้ 100%

6. โอโซนในสำนักงาน/ ห้องนอน/ ห้องครัว/ รถยนต์ จะใช้โอโซนในความเข้มข้นเพียงแค่กำจัดกลิ่นและควันมากกว่า เพราะถ้าหากใช้ความเข้มข้นของโอโซนที่สูงมากพอที่จะฆ่าเชื้อโรคให้ตายได้ มันก็จะเป็นอันตรายต่อคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นๆได้ อาจถึงขั้นเสียชีวิตถ้าสูดดมเข้าไปในปริมาณมาก

โอโซน คือ
การบริโภคของเหลวที่มีก๊าซโอโซนหลงเหลือ

อันตรายที่เกิดจากก๊าซโอโซน

  1. ก๊าซโอโซนจัดเป็นก๊าซพิษ โอโซนจะมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มีกลิ่นคาว  หากสูดดมก๊าซโอโซนที่มีความเข้มข้นสูง  ในระดับความเข้มข้นที่ 0.25 ppm  จะเป็นอันตราย ก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อตา จมูก และระบบทางเดินหายใจ  แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ ป่วยและอาเจียน  ถ้าได้รับในปริมาณมากจะทำให้ตายได้  การนำก๊าชโอโซนมาประยุกต์ใช้  ควรระมัดระวัง เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
  2. การบริโภคน้ำหรือของเหลวที่ปนเปื้อนโอโซน  จะมีอาการท้องเสีย แน่นท้อง
  3. ผิวหนังที่สัมผัสกับน้ำหรือของเหลวที่ปนเปื้อนโอโซนที่มีความเข้มข้นสูง  ผิวจะไหม้รุนแรง ปวดแสบปวดร้อน

ถึงแม้โอโซน จะมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมและสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมให้สะอาดขึ้น  แต่โอโซนก็  “จัดเป็นก๊าซพิษ”  การได้รับโอโซนในปริมาณที่สูงมาก จะเป็นผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่จะเป็นผลดี

บทความที่น่าสนใจ อินทผาลัม ผลไม้คนท้อง คุณแม่ตั้งครรภ์และคุณแม่ให้นมบุตร

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *