Karakuri Kaizen เป็นการปรับปรุงระบบอัตโนมัติที่มีต้นทุนต่ำทำได้อย่างไร

Karakuri Kaizen คืออะไร?

         Karakuri Kaizenหรือ Un-Plug Kaizen คือ การประดิษฐ์เพื่อการปรับปรุงกระบวนการ โดยใช้หลักการกลศาสตร์ เฟือง สปริง คาน คานงัด ล้อ เพลา หลักการทางธรรมชาติเช่น แสงแดด แรงลม ในอุตสาหกรรมการผลิตที่มีระบบการปรับปรุงกระบวนการต่างๆเช่น กิจกรรม 5 ส., Toyota Production System: TPS, Total Productive Maintenance: TPM และ Lean “กลไกง่ายๆ” เหล่านี้จะต้องผ่านกระบวนการคิด

KarakuriKaizen

Karakuri Kaizen

ประโยชน์Karakuri  Kaizen

เป็นการปรับปรุงระบบอัตโนมัติและการพัฒนาเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตที่มีต้นทุนต่ำ  ช่วยพัฒนาทักษะของพนักงาน ในการเผชิญกับปัญหาอปสรรคในการทำงาน ข้อบกพร่องด้านคุณภาพและข้อบกพร่องด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เป็นลบ ฯลฯ  ตรงกันข้ามกับการซื้อและติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ที่มีราคาแพงเป็นนวัตฏรรมใหม่ๆที่มีราคาแพง และใช้เงินลงทุนในระดับที่สูงมาก

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการทำKarakuri  Kaizen

  1. ออกแบบและจัดซื้ออุปกรณ์และวิธีคิดแบบ Lean Thinking อย่าใช้เงินมาก

  2. ใช้กำลังของอุปกรณ์แทนแรงงานคน อย่าใช้มือมนุษย์ในการย้ายวัตถุ ต้องทำได้โดยอัตโนมัติ

  3. สิ่งประดิษฐิ์ต้องอาศัยความคิดสร้างขึ้นด้วยภูมิปัญญาและความคิดสร้างสรรค์

  4. อย่ามุ่งความสนใจเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพเพียงอย่างเดียว ต้องไม่ลืมที่จะให้ความสนใจกับความปลอดภัย หากมีมาตรการความปลอดภัยที่ดี อุปกรณ์ที่ได้จะต้องหยุดโดยอัตโนมัติ  หรือการใช้เครื่องมือช่วยในการผ่อนแรงและปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ Ergonomic  ในวิชา Work Study ของวิศวกรรมอุตสาหการ

  5. เป็นเรื่องที่เรียบง่าย ง่ายต่อการสร้าง ราคาไม่แพง เรื่องสำคัญต้องง่ายต่อการใช้และการดูแลรักษา

ตัวอย่างKarakuri  Kaizen

 gravity KarakuriKaizen

จากภาพเป็นอุปกรณ์แทนการยกของหนักจากที่สูงลงมายังพื้น โดยการใช้ทางราดเอียงแล้วให้กล่องบรรจุภัณฑ์ไหลจากบนลงล่าง ผ่าน Roller ที่ให้ตัวได้  แทนการยกของหนักๆจากที่สูง

Karakuri Kaizen

จากภาพเป็นการขนส่ง Part จากหนึ่งเพื่อส่งไปกระบวนการถัดไปโดยสามารถลดการเดินทาง ซึ่งเหมาะกับกระบวนการที่มีการผลิตอบ่างต่อเนื่อง โดยอาศัยระบบรอกและรางแบบ

Karakuri Kaizen

จากภาพเป็นการขนส่ง Part เพื่อจัดเรียงให้กับผู้ใช้งาน โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงจากตัวชิ้นงานให้ไหลตามที่ลาดเอียง เพื่อให้ชิ้นไปอยู่ในระยะที่ผู้ใช้งานทำงานได้อย่างสะดวก โดยไม่จำเป็นต้องคอยจัดเรียง

Value KarakuriKaizen

จากภาพด้านซ้ายไม่สามารถทราบสถานะการปิด-เปิดวาล์วได้เลย ว่าปัจจุบันวาล์วนั้นอยู่ในสถานะใด นอกเสียจากเว่าจะใช้มือไปสัมผัสหรือทำการขันด้วยมือเท่านั้นถึงจะรู้ได้ปิด-เปิด  ส่วนภาพด้านขวามือทำป้ายบอกสถานะ โดยมีป้าย Cover ผูกกับเชือกร้อยผ่านรูผ่านรอก ไปมัดติดกับก้านวาล์ว  หากหมุนวาล์วทวนเข็มนาฬิกา  ป้าย Cover  ก็จะปิดป้ายสถานะปิด แล้วโชว์คำว่าเปิดที่เป็นป้ายสีส้ม  หากหมุนวาล์วตามเข็มนาฬิกาป้าย Cover ก็จะปิดป้ายสถานะเปิด แล้วโชว์ป้ายสถานะปิด

บทความน่าสนใจ ไคเซ็น คืออะไร ทำอย่างไร เพื่อสร้างสิ่งต่างๆ ให้เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีพได้

คลิปหนูนาพาโชค  https://www.youtube.com/watch?v=Xq_k0nWQPAc&t=3s

You may also like...

2 Responses

  1. กันยายน 28, 2019

    […] Download Image More @ besterlife.com […]

  2. พฤศจิกายน 23, 2019

    […] Download Image More @ besterlife.com […]

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *