การบริหารโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพมีกระบวนอย่างไร

การบริหารโครงการ

ความแตกต่างระหว่างงานประจำ กับ การทำงานในรูปแบบโครงการ

งานประจำ (Operations or Routine management) เป็นงานที่มีความสำคัญ ต่อการดำาเนินงานขององค์กรเป็นอย่างมาก แต่ต้องดำเนินการภายใต้เงื่อนไขหรือ สภาพแวดล้อมที่ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหรือไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป และมักใช้ทักษะในการดำาเนินการเพียงด้านเดียวในการทำงานให้สำเร็จ หากเปรียบงานประจำกับกิจวัตรประจำวันของเราคือ ตั้งแต่ตื่นเช้า ยันเข้านอน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ชีวิตปกติของเราดำเนินต่อไปได้ เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน ทานข้าว ไปทำางาน เดินทาง เข้านอน

ความหมายของโครงการ

โครงการ (Project) เป็นงานประเภทหนึ่งที่ถูกกำหนดขึ้นในองค์กร เพื่อที่จะแปลงเจตนารมณ์เชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารระดับสูง ให้กลายเป็นกลวิธีที่จะนำไปสู่ การจัดการในระดับปฏิบัติการ ให้ได้ผล ตรงตามความต้องการของลูกค้าหรือผู้รับบริการ   ยกตัวอย่างงานโครงการในชีวิตเราคือ กิจกรรมพิเศษที่เกิดขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น เช่น การเรียนต่อปริญญาโท การเข้าคอร์สลดน้ำหนัก การเข้าคอร์สเจ้าสาวก่อนแต่งงานเป็นต้น

            โครงการ มีระยะเริ่มต้นและสิ้นสุดอย่างชัดเจน ต้องมีทีมงานที่มาจากส่วนงาน  ข้ามสายงาน มีนวัตกรรม ซึ่งนวัฒกรรมจะชี้นำให้เกิดโครงการต่างๆ  เพราะการทำธุรกิจต้องมีการแข่งขัน  มีข้อกำหนดอย่างชัดเจน มีการคาดการณ์ของยอดขาย การโฟกัส มีการบริหารโครงการเพื่อทำให้ฝันนั้นเป็นจริง

ทำไมต้องมีโครงการ

1. ปัญหาที่เกิดขึ้นซับซ้อนมากเกินกว่าที่หน่วยงานประจำหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะสามารถรับผิดชอบได้

2. ความต้องการของลูกค้าและผู้รับบริการมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นและเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

3. การแข่งขันระหว่างกิจการต่างๆ มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น

4. ทรัพยากรต่างๆ มีมูลค่าสูงมากยิ่งขึ้น การตัดสินใจจัดสรรทรัพยากร จึงต้องคิดเป็นโครงการ เพื่อสามารถพิจารณาความคุ้มค่าและความคุ้มทุนของทรัพยากรได้

5. การเผชิญกับภาวะวิกฤตและความเสี่ยงต่างๆ ไม่สามารถใช้หน่วยงานประจำรับมือได้

ชนิดของโครงการ

1. โครงการปรับปรุงหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ (Improvement Project) เช่นการแก้ไขปัญหาการทำางานที่ล่าช้า การปรับปรุงสถานที่ทำางาน

2. โครงการริเริ่มหรือนวัตกรรม (Innovative Project) มุ่งเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงวิธีการทำางานใหม่ เช่น โครงการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำาหรับ ให้บริการลูกค้าทางสมาร์ทโฟน

3. โครงการวิจัยและพัฒนา (Research and Development Project) เป็นโครงการนำร่อง (Pilot Project) ที่มุ่งหวังให้เกิดการสะสมข้อมูลความรู้และประสบการณ์จนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดจนทั่วทั้งองค์กรได้

คุณลักษณะเฉพาะของโครงการ

1. ขอบข่ายของงานมีลักษณะเป็นเอกเทศหรือมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากงานประจำ มีวัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific objective) มีการกำาหนดผลลัพธ์ (Outcomes) ที่คาดหวัง และผลงาน (Outputs) ที่มีเป้าหมายวัดได้ชัดเจน   เพราะการกำหนดเป้าหมายที่ไม่ถูกต้องจะทำให้โครงการไม่สามารถวัดความสำเร็จได้ ยกตัวอย่างเช่น การสร้างเส้นทางรถจักรยาน  แท้จริงแล้วต้องการ (Outcome) คืออะไร เช่น ต้องการลดมลพิษ ลดปัญหารถติด ลดการใช้พลังงานของประเทศ ประชาชนมีความปลอดภัย ลดอุบัติเหตุที่รุนแรง  ซึ่งไม่ใช่การนำ Outputs มาตั้งเป้าหมาย  เช่น ได้เส้นทางเดินจักรยาน ระยะเวลาในการดำเนินงานก่อสร้าง  การใช้งบประมาณต่ำกว่าที่คาดการ  มีจักรยานให้เช่าหรือให้บริการการเป็นต้น  หากการตั้งเป้าหมายผิดจะก่อให้เกิดความเสียหาย เสียเงิน เสียเวลาและแรงงาน   ซึ่งความสำเร็จของโครงการต้องวัดที่ Outcome เป็นหลัก

2. มีทีมงานรับผิดชอบในการจัดการโดยเฉพาะ และทำหน้าที่เป็นการชั่วคราว มีการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนตายตัว เมื่อเสร็จภารกิจ จึงส่งมอบโครงการต่อให้กับหน่วยงานประจำไปรับผิดชอบต่อ ซึ่งทีมงานนั้นมาจากส่วนงานที่หลากหลายหน้าที่

3. เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์ โดยผลลัพธ์ของโครงการตอบสนองต่อ กลุ่มเป้าหมาย ผลประโยชน์ในที่นี้ครอบคลุมทั้งผลประโยชน์ที่คิดเป็นตัวเงินได้หรือ จับต้องได้ (Tangible benefits) และผลประโยชน์ที่คิดเป็นตัวเงินไม่ได้หรือไม่อาจ จับต้องได้ (Intangible benefits)

4. ในการจัดการโครงการ ผู้บริหารและทีมงานโครงการต้องพร้อมที่จะเผชิญกับ ความไม่แน่นอน การเปลี่ยนแปลง และความเสี่ยงต่างๆ เสมอ เนื่องจากโครงการที่เกิดขึ้นจะมีผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียมากมาย

5. ในการจัดการโครงการ ผู้บริหารโครงการต้องคำนึงถึงข้อจำกัดด้านเวลาค่าใช้จ่าย และคุณภาพ ตามที่กำาหนดไว้ในเงื่อนไขของโครงการ เนื่องจากโครงการจะมีกิจกรรม มีลำดับในการทำกิจกรรม มีข้อจำกัดด้านเวลาและงบประมาณ

6. ในการจัดการโครงการ จำเป็นต้องเน้นความสำคัญของการบูรณาการกับกลยุทธ์หลักของบริษัท หรือเป้าหมายของหน่วยงานเจ้าของโครงการ

การบริหารโครงการ

บทสรุปในการกระบวน การบริหารโครงการ Project Management Processes

  1. Initiating ช่วงเริ่มต้นในการทำโครงการ

1.1 Project Charter คือ เอกสารที่บอกถึงการเกิดขึ้นของโครงการและการมอบหมายอำนาจอย่างเป็นทางการ  พร้อมกำหนดจุดประสงค์ของโครงการ โดยโครงสร้าง Project Charter ที่มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

-การอธิบายที่มาของโครงการหรือปัญหาที่เกิดขึ้น

– การอธิบายคุณลักษณะของโครงการโดยย่อ เพื่อสร้างความเข้าใจและส่งมอบความคาดหวังให้ทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ให้เข้าใจได้ตรงกัน

– การอธิบายผลลัพธ์ของโครงการที่คาดหวัง เน้นที่ Outcome ไม่ใช่ Output ของโครงการ

– การอธิบายขอบเขตของการดำเนินโครงการ เพื่อให้ทราบกิจกรรมหลักๆที่จะเกิดขึ้น

– การอธิบายข้อจำกัดต่างๆในการทำโครงการ เป็นการประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และเพื่อให้มั่นใจว่ามีแผนรองรับ ซึ่งจะทำให้โครงการมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง

– การอธิบายปัจจัยความสำเร็จของโครงการ เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดเตรียมทรัพยากรที่จำเป็นและการขอการสนับสนุนจากผู้บริหาร

– การกำหนดงานหรือกิจกรรมหลักสำหรับการส่งมอบโครงการ ที่จำทำให้เห็นถึงการวางแผนโครงการโดยย่อ

– การอนุมัติจากผู้บริหาร เป็นการยืนยันว่า โครงการจะได้รับการสนันสนุนและได้รับทรัพยากรที่เพียงพอ ที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จ

1.2 Identify Stakeholder การระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อการบริหารความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นการรวบรวมข้อมูลผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกๆด้าน ซึ่งอาจจะใช้รูปแบบของการตั้งคำถามเช่น ขอทราบความคิดเห็นของคุณต่อโครงการนี้ครับ อยากจะถามถึงความคาดหวังของคุณที่ต้องการให้โครงการนี้ส่งมอบครับ คุณมีความกังวนในประเด็นใดเกี่ยวกับโครงการนี้บ้าง ผมอยากจะรบกวน ขอคำแนะนำถึงประเด็นที่อาจจะเป็นปัญหาในโครงการในความคิดเห็นของคุณครับ

2) Planning ระยะการวางแผน ประกอบด้วย

            2.1 Collect Requirements รวบรวมข้อกำหนดต่างๆ เริ่มจากความคาดหวังสิ่งแรกที่ต้องคำนึงคือ ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับ โดยผู้คนที่จะสามารถให้ข้อมูลคือ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งมีเทคนิคดังนี้ เช่น การระดมสมอง การสัมภาษณ์ การส่งแบบสอบถาม การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญหรือคนใช้งาน ฯลฯ การตั้งข้อกำหนดที่ดี ต้องมีความ สมบูรณ์ ครบถ้วน ถูกต้อง ชัดเจน ทวนสอบได้ ทดสอบได้ สิ่งสำคัญคือลูกค้าหรือผู้ใช้งานต้องเข้าใจ

            2.2 Create WBS ( Work Breakdown Structure) การกำหนดงานหรือกิจกรรม เป็นการวางแผนงาน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ WBS คือ การทำให้ทีมเห็นเป้าหมายตรงกัน ป้องกันการเลื่อนเวลา  ทำให้ทีมมองที่ภาพรวมเดียวกัน เพราะปกติแล้วทีมที่เข้ามามีส่วนร่วมในการทำ Project มักจะมาจากผู้ที่ทำหน้าที่หลัก จากหลากหลายส่วนงาน จึงมักจะทำงานเฉพาะที่ตนเองรับผิดชอบ และมักจะพูดว่างานอื่นๆไม่เกี่ยวกับผม  แต่การที่จะทำให้โครงการประสบความสำเร็จได้  คนทั้งทีมจะต้องรับรู้งานอื่นๆที่ไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง ต้องช่วยเหลือและสนันสนุนกันทั้งทีม มองภาพรวมเป็นหลัก   

 WBS ประกอบไปด้วย รายชื่อกิจกรรม การจัดลำดับของกิจกรรม การวางคนที่รับผิดชอบ การประมาณการ การกำหนดระยะเวลา การกำหนดงบประมาณ การบริหารความเสี่ยง การควบคุมงาน เทคนิควิธีคิดในการสร้าง WBS ในขั้นตอนคิด ให้แตกงานชิ้นใหญ่ๆเป็นงานย่อย ส่วนขั้นลงมือมือทำ ให้ทำจากงานย่อยๆขยายไปถึงงานใหญ่ๆ

            2.3 Develop Schedule การกำหนดระยะเวลาในการทำโครงการ เริ่มจากการกำหนดลำดับการทำงานและ การกำหนดระยะเวลาในการทำกิจกรรม ซึ่งในตารางการทำกิจกรรมต่างๆ (WBS) จะกำหนดความสำพันธ์ในการดำเนินกิจกรรม ซึ่งมีรูปแบบ 4 อย่าง

SS- Start to Start คือ การเริ่มทำกิจกรรมได้พร้อมๆกัน

SF- Start to Finish คือ เริ่มไปเสร็จ ทำกิจกรรมก่อนหน้าให้แล้วเสร็จก่อนถึงจะเริ่มกิจกรรมใหม่ได้

FS- Finish to Star คือ เสร็จถึงเริ่ม จะเริ่มทำกิจกรรมถัดไปได้ก็ต่อเมื่อกิจกรรมก่อนหน้าแล้วเสร็จ

FF – Finish to Finish คือ การทำกิจกรรมให้แล้วเสร็จพร้อมๆกับ ไม่จำเป็นว่าจะเริ่มกิจกรรมพร้อมกัน

การกำหนดระยะเวลาในการทำโครงการโดยส่วนมากจะนิยมใช้ เครื่องมือต่างๆ เช่น Gantt Chart  การวิเคราะห์กิจกรรมวิกฤติ CPM เพื่อค้นหากิจกรรม ที่ส่งผลกระทบในด้านเวลาในการทำโครงการ หากทำกิจกรรมเหล่านั้นล่าช้าก็จะทำให้โครงการล่าช้า ในขณะเดี่ยวกันหากต้องการเร่งโครงการก็จะได้รู้ว่าจะต้องไปย่นเวลาในการกิจกรรมใด

             2.4 Determine Budget การประมาณงบประมาณที่ใช้ โดยคิดจากกิจกรรมที่ได้จาก WBS และการสำรวจราคาตลาด ซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้ง่ายขึ้น จากเว็ปไซด์อินเตอร์เน็ท

            2.5 Perform Risk Analysis การประเมินความเสี่ยง คำถามคือ มีเรื่องน่ากังวนอะไรบ้าง ที่เกิดขึ้นแล้วทำให้โครงการเสียหาย ลักษณะโดยทั้วๆไปที่ทำให้เกิดความเสี่ยง 

– ความเป็นเอกลักษณ์ หมายถึงส่วนประกอบ รูปร่างของส่วนประกอบ ธรรมชาติของวัสดุเหล่านั้น

– ความซับซ้อนโครงการ โดยโครงการที่มีความซับซ้อนมาก โอกาสที่จะทำให้โครงการสำเร็จได้ง่ายๆก็น้อยลง

– สิ่งที่ยังไม่รู้และสิ่งที่รู้ แต่มีข้อจำกัด อะไรที่ทำได้และอะไรที่ห้ามทำ

– เรื่องคน/บุคคลเฉพาะเจาะจง คนในทีมงาน ผู้ใช้งาน Supplier และผู้รับเหมาช่วง ที่มีส่วนร่วมในการทำโครงการ

– ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วัตถุประสงค์ ความคาดหวังและความต้องการของโครงการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับผลประโยชน์ลงตัวหรือไม่ ความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น

– การเปลี่ยนแปลง การทำโครงการย่อมมีการเปลี่ยนแปลง

การบริหารความเสี่ยง 1) การวางแผนการจัดการทำความเสี่ยง 2) การระบุความเสี่ยง 3) การวิเคราะห์ความเสี่ยง 4) การวางแผนโต้ตอบแต่ละความเสี่ยง 5) การติดตามและการความคุมความเสี่ยง  วิธีการที่ใช้ในการระบุความเสี่ยงเช่น การระดมสมอง วิธีการคาดการณ์ผลลัพธ์ซึ่งอาศัยผู้เชี่ยวชาญ  การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์สาเหตุ  การใช้เทคนิคการวิเคราะห์ SWOT  : จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและความเสี่ยงหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่มีต่อการดำเนินการ

            2.6 Develop PM Plan เป็นการวางแผนเพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินโครงการ นิยมใช้การคิด % ความสำเร็จ เทียบกับแผนที่กำหนดใน WBS 

 3.Executing การดำเนินโครงการ

     คุณลัษณะบุคลิกภาพหรือนิสัยของผู้บริหารโครงการ (PM) ที่ประสบความสำเร็จใน การบริหารโครงการ

3.1 Direct & Manage Work การบริหารและการสั่งการ

  • มีการตั้งเป้าหมายที่ดี SMART และมีวิธีการหรือกิจกรรมที่จะไปสู่เป้าหมาย
  • มีน้ำใจ พร้อมช่วยเหลือคนอื่น เพราะคนที่ทำหน้าที่ PM ต้องอาศัยคนอื่นทำงาน พึ่งคนอื่นทำงานให้ ต้องเข้าใจคนอื่น และ Manage ความคิดคนอื่น
  • มีอิทธิพล เพื่อใช้ในการสร้างแรงจูงใจคน ซึ่งมักจะมาพร้อมกับทักษะในการสื่อสาร เป็นทักษะระหว่างมนุษย์ ซึ่งประสบการณ์เหล่านี้มักเกิดขึ้นกับเด็กแนวกิจกรรม  
  • มีนิสัยนักบริหารชีวิตที่ดี 1)บริหารเวลา  2) มีการทบทวนเอกสารความถูกต้อง  3) การแบ่งเวลา
  • เรียนรู้ความเป็นผู้ใหญ่ได้เร็ว มีทัศนคติไม่ต่อต้านเรื่องใหม่ เจอผู้เชี่ยวชาญต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตน อย่าถือตนหากไม่เข้าใจ ต้องทำใจ ลดความเป็นตัวตน เป็นคนคิดเชิงระบบ
  • ควบคุมตนเองได้ดี สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้  

3.2 Manage Stakeholder Engagement จัดการการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

การจูงใจทีมในการทำโครงการ

  • มีตัวชี้วัดมีเป้าหมายอย่างชัดเจน มั่นใจว่าทุกๆคนในทีมตระหนักในเป้าหมายร่วมกัน
  • ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีในการทำงาน ทำตนเป็นตัวอย่าง
  • เห็นความดีเล็กน้อยให้ให้รีบแจ้ง พูดจาเป็นมิตรและมีวัฒนธรรมในการปกครอง
  • มีความสามารถในการสื่อสารกับทีม เป็นนักสื่อสารที่ดี
  • หาบุคลต้นแบบของคนในทีม แล้วดูตำแหน่งที่บุคคลนั้นว่า อยากเป็นแบบไหน นำความสามารถของเขาเหล่านั้นออกมาใช้  ทำให้เขาเป็นเหมือนกับคนต้นแบบของเขา
  • มีเครื่องมือในการทำงาน
  • โฟกัสจุดที่สร้างความสุข

3.3 Manage Communication การบริหารการสื่อสาร

นักบริหารโครงการต้องมีทักษะ Soft Skill

  • Communications Skill มีทักษะการสื่อสาร สื่อสารเก่ง
  • Present Skill เพราะทักษะในการนำเสนอ จะถูกนำไปใช้ในหลากหลายโอกาสเช่น การนำเสนอของบประมาณ การรายงานความคืบหน้า เป็นต้น
  • Motivation Skill การจูงใจการโน้มน้าว ทำให้เกิดโดยใช้เทคนิค 3 ช. เชื่อ: ชอบ:  ช่วยเรา การทำให้ทีมเชื่อมั่นในโครงการและตัวเรา   การทำให้คนสนใจ เพื่อให้ผู้บริหารเปิดทางให้ เพื่อให้ลูกน้องขับเคลื่อนงานให้
  • Negotiate Skill ทักษะการเจรจาต่อรอง เป็นเรื่องยาก เพราะเราต้องไปเอาผลประโยชน์ของคนอื่น ซึ่งเป็น Skill ที่ต้องรวมเอา 3 ทักษะข้างต้นไปใช้ร่วมด้วย

3.4 Develop Team การบริหารทีม

            วิธีการใช้เครื่องมือในการควบคุมหรือสไตย์การบริหาร ในการลดความขัดแย้ง

– การครอบงำ หากใช้วิธีนี้เป็นสถานการณ์ที่รีบร้อน

– ยังไม่ต้องฟันธง เป็นการเอาน้ำเย็นเข้ารูป บางที ถึงขั้นลดขั้นเป้าหมายชั่วคราว เพื่อรักษาความสัมพันธ์

– การประณีประนอม

– ทำเป็นไม่สนใจ เรื่องเล็กน้อย

– ลดการเผชิญหน้า ด้วยการให้แสดงความคิดเห็น

– การประสานงานกัน ให้มีส่วนร่วมในการทำงาน

3.5 Manage Quality   การบริหารงานต้นทุนด้านคุณภาพ

การบริหารต้นทุนด้านคุณภาพที่ดี

– จะเน้นต้นทุนด้านการป้องกัน การสร้างคุณภาพภาพให้กับตัวสินค้า เช่น การฝึกอบรมให้ความรู้ การสร้างระบบเอกสาร เป็นแบบแผนที่ชัดเจน การสร้างอุปกรณ์เครื่องมือช่วยป้องกันความผิดพลาด และการทำให้ถูกต้องตั้งแต่แรก

                        – เน้นต้นทุนด้านการตรวจสอบ (การประเมินด้านคุณภาพ) มีการทดสอบ การตรวจสอบ การทวนสอบ

                        ตรงกันข้ามกับการจัดการด้านคุณภาพที่ไม่ดี

            –  มีจะเป็นต้นทุนเพื่อค้นหาความล้มเหลว เจอก่อนถึงมือลูกค้า เช่น ต้นทุนในการ Rework งาน และการทำลายชิ้นงาน

                        – ต้นทุนที่ลูกค้าเจอปัญหาจะส่งผลต่อ ต้นทุนด้านแรงงาน ต้นทุนการรับประกันสินค้าและการสูญเสียลูกค้า

นิยาม ความแตกต่างระหว่าง QA กับ QC

QA เป็นการรับประกันคุณภาพ คือหน่วยงานสำหรับการอนุญาติหรือยืนยันกระบวนการ ผลิตภัณฑ์ห้ได้ตามมาตรฐาน ปรับปรุงกระบวนการ มองหาสาเหตุที่เป็นรากของปัญหา

QC เป็น การเน้นการตรวจสอบ การรายงานผลและการค้นหาความผิดพลาด

4. Monitoring & Controlling การติดตามและการควบคุม เป็นการทวบสอบขอบเขตในการทำงาน การติดตามการควบคุมโครงการ

ตัวอย่างในการสร้าง Check List ในการตรวจสอบโครงการ

เช่น  Check List ของ WBS  ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

  1. การเขียนรายชื่อกิจกรรมอ่านออกชัดเจน
  2. การกำหนดส่งมอบชัดเจนและสอดคล้อง
  3. กิจกรรมมีความสัมพันธ์กันสิ่งส่งมอบตามที่กำหนด
  4. กำหนดส่งมอบตาม TOR หรือ Requirement
  5. การแบ่งงานออกเป็นกลุ่ม ให้เข้าใจง่าย
  6. กิจกรรมในโครงการมีความครบถ้วน

การบริหารการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้จากประสบการณ์ Lessons Learned Contents 

-อะไรที่ทำได้ดี ให้เก็บบันทึกเอาไว้

– อะไรหรือหัวข้อใดที่ทำแล้วแต่มันน่าจะปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ ให้นำไปใช้กับการทำโครงการใหม่

– งานอะไรที่ทำแล้ว แต่ไม่เกิดประโยชน์ต้องหลีกเลี่ยง

– สิ่งที่น่าจะทำต้องระบุ เพื่อสร้างความสำเร็จให้มากกว่าเดิม

            การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ ผู้บริหารโครงการ ( PM)  ต้องเป็นผู้กระตือรือร้นในการทำงาน ต้องรู้ว่าอะไรต้องทำล่วงหน้า ต้องมีการบ้าน  ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบที่จะคอยเตือนให้เราต้องบริหารความเสี่ยงให้ดี  เริ่มต้นที่ตัวเรา

            5.Closing จบโครงการ

สรุปผลลัพธ์ (Outcomes) ที่คาดหวัง กับผลงาน

บทความที่น่าสนใจ PDCA กับการควบคุมคุณภาพอย่างต่อเนื่องคิวซีสตอรี่ QC Story

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *