การผลิตชาเขียว ในประเทศที่ส่งสามารถออกไปยังต่างประเทศได้โดยไม่แพ้ใคร

 

        ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับชา ชาผลิตมาจากใบของต้นชา Camellia sinensis สายพันธุ์ของต้นชาที่ปลูกในเมืองไทยได้แก่ ชาอัสสัม ชาอู่หลง เจียว กู่ หลาน ( ดอกหอมหมื่นลี้ ) เป็นต้น  พื้นที่การปลูกชาโดยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมปลูกกันในภาคเหนือของไทยเช่น เชียงราย

การผลิตชาเขียว

การผลิตชาเขียว

ชาอัสสัม – เกิดเองตามธรรมชาติ ขยายพันธ์ ด้วยเมล็ด หรือ ปักชำ ลักษณะใบใหญ่ ยาว ต้นสูงใหญ่

ชาอัสสัม

ชาอัสสัม

ชาอู่หลง – ขยายพันธ์ ด้วยการปักกิ่ง ลักษณะใบเรียวเล็ก เป็นพุ่มเล็ก

ชาอู่หลง

ชาอู่หลง

  เจียว กู่ หลาน ( ดอกหอมหมื่นลี้ )

 

 

การปลูกชาออร์แกนิค

  • พืชคลุมดินเพื่อป้องกันวัชพืชโดยใช้ต้นถั่วรัสเซียปลูกจะแผ่คลุมดินได้เร็วหญ้าจะไม่ขึ้น และเพิ่มไนโตรเจนในดินอีกด้วย แต่อาจจะเกิดผลกระทบ เช่น ในฤดูฝนต้นถั่วจะอุ้มน้ำไว้มากเกินไปจนทำให้ต้นชาเน่าหรือไม่ เป็นต้นเนื่องจากเป็นพืชที่โตเร็ว และอาจจะปลูกตะไคร้ในแปลงชา เพื่อป้องกันแปลงได้เป็นต้น

  • การใส่ปุ๋ยนมสดหมัก (นมสด+โมลาด+ไข่ไก่สด+หัวเชื้อ)

  • ใช้ยาธรรมชาติเช่น หมักยาฆ่าแมลงแบบธรรมชาติ โดยการใช้ต้นหางไหล หรือ ต้นสาบเสือ ตะไคร้หอม เป็นต้น แต่ไม่สามารถจะใช้ชนิดเดียวได้อย่างต่อเนื่องเพราะแมลงต่างๆ จะดื้อยาได้ต้องสับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ

 

ฤดูกาลที่เหมาะสำหรับการเก็บใบชา

  • ในการเก็บเกี่ยวใบชาช่วงที่เหมาะสมคือ เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน และในช่วง ธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ จะหมดช่วงการเก็บเกี่ยวเป็นช่วงตัดแต่งดูแลต้นใบชาเขียวให้สมบูรณ์เพื่อรอการเก็บเกี่ยวในครั้งต่อไป

  • ใบชาเขียวคุณภาพดีที่สุดจะเป็นช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนมีนาคม

  • ใบชาเขียวช่วงที่คุณภาพไม่ค่อยดีจะอยู่ในช่วงหน้าฝน โดยมีผลกระทบต่อการควบคุมคุณภาพของใบชาสด รวมถึงกระบวนการผลิตที่ควบคุมได้ยาก จึงทำให้เกิดปัญหาเรื่อง %ความชื้น, การเก็บรักษา

 

 3 ประเภท การผลิตชาเขียว ในประเทศไทยมีดังนี้

  1. ชาเขียว เป็นชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก

  2. ชาอู่หลง เป็นชาที่ผ่านกระบวนการหมักเพียงบางส่วน

  3. ชาดำ เป็นชาที่ผ่านกระบวนการหมักอย่างสมบูรณ์

การผลิตชาเขียว

ขั้นตอน การผลิตชาเขียว

      ขั้นตอนแรก วิธีการเก็บใบชาคือ การเก็บใบชาที่ต้องอาศัยความละเอียดและการใส่ใจของแรงงานคนในการเก็บ  ถึงจะได้ใบชายอดอ่อนที่มีคุณภาพดี ซึ่งการเก็บในชานั้น จะต้องเก็บเฉพาะยอดตูมและใบชาที่ต่ำจากยอดตูมลงมาจากยอดตูม 2-3 ใบ

     ขั้นตอนที่ 1 นำใบชาสดจาการเก็บ นำไปตากลมไว้ 2 ชั่วโมงประมาณ

     ขั้นตอนที่2 นำไปผึ่งในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิ เพื่อไล่ความชื้นให้เหลือ 65-70 % โดยประมาณ

     ขั้นตอนที่3 นำเข้าเครื่องจักรเพื่อทำให้ปากใบชาเปิดคายน้ำ

     ขั้นตอนที่4 หลังจากนั้นทำคั่วในอุณหภูมิ 280-300 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5-10 นาที เพื่อหยุดการทำงานของเอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดส (polyphenol oxidase) ที่อยู่ในใบชาสด ซึ่งทำให้เอนไซม์พอลิฟีนอลออกซิเดสไม่สามารถเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชันของสารประกอบฟีนอลที่อยู่ในใบชาได้

     ขั้นตอนที่5 หลังจากนั้นก็นำไปเข้าเครื่องนวดชาให้เป็นเส้นยาวซึ่งใช้เวลาประมาณ10 นาที ซึ่งการนวดเป็นการทำให้เซลล์แตก  เมื่อเซลล์แตกจะทำให้สารประกอบต่างๆ ที่อยู่ในเซลล์ไหลออกมานอกเซลล์และเคลือบอยู่บนส่วนต่างๆของใบชา

      ขั้นตอนที่6 แล้วนำไปอบแห้งอีกครั้ง เพื่อลดปริมาณความชื้นในผลิตภัณฑ์ให้เหลือประมาณ 5%   ตามด้วยการคัดขนาด (sorting) คัดเกรด (grading) และบรรจุ (packaging) เพื่อส่งขาย

 การผลิตชาอู่หลง  ขั้นตอนการผลิตจะคล้ายกับ การผลิตชาเขียว แต่จะแตกต่างกันที่กระบวนการนวดชาให้เป็นเม็ด ซึ่งใช้เวลามากกว่าการผลิตชาเขียว 48-72 เท่า

 การผลิตชาดำ    ขั้นตอนการผลิตจะเหมือนกับ การผลิตชาเขียว แต่จะแตกต่างกันที่กระบวนการนวดชา โดยใช้เวลามากที่สุดถึง 36 ชั่วโมง เพื่อให้เซลล์ของชาแตกตัวอย่างสมบูรณ์

 

การควบคุมคุณภาพใน  การผลิตชาเขียว

  1. การควบคุมความชื้น < 7 % โดยเครื่องวัดความชื้น , ตู้อบลมร้อน

  2. การควบคุมปริมาณของก้านใบชาให้น้อยกว่า 7 % โดยการชั่งใบชา 30 กรัม หลังจากนั้นทำการคัดเฉพาะก้านที่ไม่ใช่ยอด แล้วนำก้านชาไปชั่งน้ำหนัก แล้วนำไปคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เทียบกับน้ำหนักทั้งหมด

  3. การทดสอบด้วยการชิมชา Sensory นำชา 3 กรัม แช่ในน้ำเดือด 75 องศา ปริมาตร 150 มล. ทิ้งไว้เป็น ระยะเวลา 5 นาที  การชิมต้องชดน้ำชาเสียงดัง  เพื่อให้สามารถรับรสชา ได้ชัดเจน

 

การชงน้ำชา

  • การชงชาเขียว ใช้ชาเขียว 3 กรัม ต้มในน้ำเดือด 75 องศา ปริมาตร 150 มล. ทิ้งไว้เป็น ระยะเวลา 5 นาที น้ำชาที่ได้จากการชงใบชาที่มีลักษณะขุ่นมาก  ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากขนของใบชา  ซึ่งจะเกิดมากในช่วงแรกของการเก็บเกี่ยว ดังนั้นการชงชาเขียวจึงนิยมรินน้ำแรกทิ้ง

การผลิตชาเขียว

  • การชงชาอู่หลง การรินน้ำชาใส่แล้วทรงยาวแล้วค่อยคว่ำแก้วลง ตามรูปซ้ายมือ เมื่อจะชิมจึงค่อย  ดึงแก้วด้านบนออกแล้วนำแก้วที่ดึงออก (แก้วทรงยาว) มาดม

 

ประโยชน์ของการดื่มชา

1. ช่วยให้ผ่อนคลาย ลดภาวะเครียด สดชื่น แจ่มใส
2. ช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น
3. ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
4. ช่วยลดคลอเรสเตอรอล ช่วยละลายไขมัน ลดไขมันส่วนเกิน
5. ช่วยลดความเครียด และช่วยชะลอความชรา
6. ช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน

บทความที่น่าสนใจ สารอาหารสำคัญ สรรพคุณและประโยชน์ของชาเขียว

คลิป กรงตั๊กแตน หญ้าแห้วหมู https://www.youtube.com/watch?v=bXW7sAHUhlc

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *