ใช้ ความต้องการผู้บริโภค เพื่อวัดและการพยากรณ์อุปสงค์

                ความต้องการผู้บริโภค เป็นวิธีการวัดหรือการพยากรณ์อุปสงค์หรือความต้องการซื้อ เพื่อคาดการณ์ถึงขนาด การเติบโต และศักยภาพที่จะทำกำไรของแต่ละอุตสาหกรรมและของแต่ละตลาด การพยากรณ์ที่ผิดพลาดจะนำมาซึ่งความสูญเสีย เช่น การพยากรณ์ความต้องการซื้อที่สูงเกินไป นำไปสู่การผลิตที่มากเกินไปหรือการมีสิ้นคาคงเหลือสูง  หรือการพยากรณ์ที่ต่ำไปก็จะทำให้สูญเสียโอกาสในการทำกำไร

ความต้องการผู้บริโภค

ความต้องการผู้บริโภค

การประมาณความต้องการผู้บริโภค ทางการตลาดในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ

  1. ศักยภาพตลาดทั้งหมด คือ จำนวนยอดขายสูงที่สุดที่กิจการทั้งหมดในอุตสาหกรรมหนึ่งๆจะทำได้

  2. ศักยภาพตลาดในแต่ละพื้นที่ นักการตลาดจะต้องมีการประมาณการความต้องการของแต่ละเขตพื้นที่ ซึ่งแยกออกไปตามภูมิภาค ประเทศ เมือง จังหวัดหรืออาณาเขตการขายอาณาเขตใดเขตหนึ่ง ซึ่งวิธีการประมาณศักยภาพทางการตลาดในแต่ละพื้นที่จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

    • วิธีการรวมตลาด เป็นการประมาณศักยภาพของการซื้อของกลุ่มผู้ซื้อที่มีศักยภาพทั้งหมดที่ได้กำหนดขึ้น

    • วิธีพิจารณาจากหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการประมาณการศักยภาพของการขายโดยดูจากปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง

  3. ยอดขายรวมของอุตสาหกรรมและส่วนแบ่งทางการตลาด กิจการจำเป็นต้องรู้ยอดขายรวมของทั้งอุตสาหกรรมและส่วนแบ่งทางการตลาดของทั้งตนเองและคู่แข่งขันด้วย ซึ่งข้อมูลนั้นสามารถนำมาเป็นฐานในการคำนวณส่วนแบ่งทางการตลาดของกิจการ

การพยากรณ์ ความต้องการผู้บริโภค ในอนาคต เป็นการคาดการณ์ถึงสิ่งที่ผู้บริโภคจะกระทำภายใต้เงื่อนไขต่างๆในอนาคตที่กำหนดขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นการมองอนาคตโดยอาศัยข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีตมาเป็นพื้นฐานในการพยากรณ์

สภาพแวดล้อมทางการตลาดที่มีผลต่อความต้องการผู้บริโภค

การวิเคราะห์แนวโน้มและความต้องการสภาพแวดล้อมทางการตลาด  สิ่งเเวดล้อมต่างๆที่อยู่รอบธุรกิจจะมีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการบริหารทางด้านการตลาด  สิ่งแวดล้อมภายนอกนั้นเป็นสิ่งที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นกิจการต้องดำเนินการตรวจสอบสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ตลอดเวลา จะสามารถหยั่งรู้และตอบสนองต่อแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อกิจการ

ประเภทของสิ่งแวดล้อมต่อความต้องการผู้บริโภค

  • สิ่งแวดล้อมทางประชากรศาสตร์ ค่าเฉลี่ย อายุ เพศ กลุ่มประชากรย่อมมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป

  • สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สภาวะเศรษฐกิจผลต่อความต้องการซื้อของผู้บริโภค ในภาวะเศรษฐกิจไม่ดีสินค้าฟุ่มเฟือยก็มัจจะได้รับความนิยมน้อยลง

  • สิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมและสังคม วัฒนธรรมจะเป็นตัวกำหนดเอกลักษณ์ในตัวสินค้าและบริการได้เช่นกัน เช่นคนญี่ปุ่นมักจะ

  • สิ่งแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย

  • สิ่งแวดล้อมทางเทคโนโลยี

  • สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ

พฤติกรรมผู้บริโภค คือ การกระทำที่ผู้บริโภคแสดงออก ได้แก่ หารค้นหา การเลือกซื้อ การเลือกใช้ การประเมินการใช้สอยผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการบริการที่ผู้บิโภคได้รับหรือพึงจะได้รับ

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมการซื้อตามความต้องการผู้บริโภค

  • ปัจจัยทางด้านวัฒธรรม จะประกอบด้วย วัฒนธรรมหลัก วัฒนธรรมย่อย และชนชั้นทางสังคม

  • ปัจจัยทางด้านสังคม ได้แก่ กลุ่มอ้างอิง ครอบครัว และ บทบาทสถานะ

  • ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ วงจรชีวิต ครอบครัว อาชีพ สถานภาพทางเศรษฐกิจ รูปแบบการดำเนินชีวิต รวมถึง บุคลิกภาพและแนวความคิดเกี่ยวกับตนเอง

  • ปัจจัยทางจิตวิทยา ได้แก่ แรงจูงใจ การรับรู้ การเรียนรู้ ความเชื่อ ทัศนคติ

 กระบวนการตัดสินใจซื้อ

บุคคลแต่ละคนสามารถแสดงบทบาทของการซื้อได้เป็น 5 ประเภท คือ

  • ผู้ริเริ่ม คือ ผู้เสนอความคิดที่จะซื้อผลิตภัณฑ์เป็นคนแรก

  • ผู้มีอิทธิพล คือ ผู้มีอิทธิพลต่อความคิดเห็นว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ

  • ผู้ตัดสินใจ เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่ ถ้าซื้อ จะซื้ออะไร ซื้ออย่างไร ซื้อที่ไหน และซื้อเมื่อใด

  • ผู้ซื้อ คือ ผู้ที่ทำการไปซื้อผลิตภัณฑ์นั้น

  • ผู้ใช้ คือ ผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับความเกี่ยวโยงของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ต่างๆ

  • ความสำคัญต่อผู้บริโภค มีความจำเป็นต่อการดำรงชีพ

  • มีแรงจูงใจทางด้านอารมณ์สูง

  • ความสนใจ สงสัยใคร่รู้ในตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์

  • ความเสี่ยงภัย เพื่อทำให้ตนเองรู้สึกปลอดภัยเมื่อมีสินค้าประเภทนั้นๆ คอยปกป้อง

  • การแสดงถึงบรรทัดฐานของกลุ่ม ฐานะ

ขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจซื้อตาม ความต้องการผู้บริโภค

  1. การรับรู้ปัญหา ความต้องการหรือปัญหาของผู้บริโภคเกิดจากแรงกระตุ้นภายใน

  2. การค้นหาข้อมูล ถ้าความต้องการของผู้บริโภคถูกกระตุ้นมากพอ หรือมีข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นมากพอและมีความเสี่ยงน้อย ผู้บริโภคก็อาจตัดสินใจซื้อได้ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องหาข้อมูลก่อน แต่ในกรณีที่ความต้องการนั้นไม่สามารถถูกตอบสนองได้ทันที ผู้บริโภคก็จะจำความต้องการนั้นไว้ เพื่อหาข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจซื้อ

  3. การประเมินผลทางเลือก เมื่อผู้บริโภคได้ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่างๆแล้ว ก็จะนำมาประเมินว่าสินค้าใดดีกว่ากันในแง่ใด

  4. การตัดสินใจซื้อ ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อตามการประเมินผลทางเลือกที่ผู้บริโภคชอบมากที่สุด

  5. พฤติกรรมหลังการซื้อ ภายหลังจากการซื้อและการใช้ผลิตภัณฑ์แล้ว ผู้บริโภคจะมีประสบการณ์ตามระดับความพอใจหรือไม่พอใจภายหลัง และระดับความพอใจนั้นก็ขึ้นอยู่กับความคาดหวังที่พวกเขาคาดว่าจะได้รับจากผลิตภัณฑ์นั้นด้วย

บทความที่น่าสนใจการวางแผนกลยุทธ์ ทางการตลาดเพื่อสร้างการเจริญเติบโตของบริษัทและมีกำไร

คลิป เครื่องหยอดเหรียญ ลงทุนหลักหมื่น กำไรเป็นแสน https://www.youtube.com/watch?v=-evN8YoIS8E&t=101s

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *