ทำงานกับบริษัทต่างชาติ ให้เข้าใจในความแตกต่างรูปแบบการจัดการและวัฒนธรรม

 

         หากต้องการสมัครงานกับบริษัทต่างชาติ จะเตรียมตัวอย่างไรให้พร้อม หรือหากได้ ทำงานกับบริษัทต่างชาติ ควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรให้ประสบความสำเร็จในการทำงานร่วมกับชาวต่างชาติได้ เพราะความแตกต่างทางวัฒนธรรม ย่อมส่งผลต่อรูปแบบการจัดการ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจ รูปแบบวัฒนธรรมการจัดการของผู้นำแต่ละประเทศ

ทำงานกับบริษัทต่างชาติ

ทำงานกับบริษัทต่างชาติ

                  ผลกระทบของวัฒนธรรมที่มีต่อรูปแบบการจัดการและภาวะผู้นำ เป็นอิทธิพลที่สำคัญ ถึงแม้ว่าปัจจัยทางบุคลิกภาพ จะมีส่วนสำคัญต่อรูปแบบการจัดการ แต่วัฒนธรรมก็สำคัญเช่นกัน เพราะจะเป็นแนวทางให้มีการยอมรับพฤติกรรม วัฒนธรรมและค่านิยมที่นำทางพฤติกรรมเช่น บุคคลที่เติบโตมาในวัฒนธรรมที่เป็นอนุรักษ์นิยม จะเป็นผู้จัดการหรือผู้นำแบบที่ใช้ฉันทามติเห็นพร้องร่วมกัน ดังนั้นหากเราต้องร่วมงานผู้นำชาวต่างชาติ จำเป็นต้องยอมรับในภาพลักษณ์ของผู้นำของแต่ละประเทศผู้จัดการที่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้

 

ภาพลักษณ์ของผู้นำที่มาจากประเทศต่างกันมักเป็นดังนี้

                  1)   เยอรมัน ผู้บริหารชาวเยอรมันมักจะเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิค ที่มักจะมอบหมายงานและช่วยแก้ปัญหาที่ยากๆ ให้ด้วย ค่านิยมของชาวเยอรมัน จะนิยมเน้น ประสิทธิภาพในการทำงานสูง strong performance

                  2)   ญี่ปุ่น ผู้บริหารชาวญี่ปุ่น การตัดสินใจจะยึดมั่นในฉันทามติ (consensus) และใช้กลุ่มเพื่อควบคุมพฤติกรรมของแต่ละคน ผู้บริหารชาวญี่ปุ่น จะถูกมองว่ามีความเป็นทางการเชิงธุรกิจ พูดน้อย ไม่ค่อยใช้อารมณ์ เมื่อเทียบกับชาวอเมริกัน ผู้บริหารชาวญี่ปุ่นในบริษัทใหญ่ๆ ที่ประสบความสำเร็จ จะเข้ากันได้ดีกับภาพลักษณ์ที่เป็นฉันทามติ ผู้จัดการชาวญี่ปุ่น จะมีทัศนคติและพฤติกรรมในทางแผ่อำนาจ และมีความคิดว่าผู้หญิงอ่อนแอกว่าผู้ชาย

                  3)   ฝรั่งเศส ผู้บริหารชาวฝรั่งเศส โดยเฉพาะในบริษัทที่สำคัญๆ จะเป็นพวกชนชั้นสูง (elite class) ซึ่งเคยเรียนมาใน business school ที่ดีๆ เพราะฉะนั้น จึงมีกิริยาท่าทางเป็นใหญ่และใช้อำนาจ ผู้บริหารระดับสูง จะมองว่าตนเองเหนือกว่าผู้บริหารในระดับที่ต่ำกว่า

                  4)  เนเธอร์แลนด์ ผู้จัดการชาวเนเธอร์แลนด์เน้นคุณภาพและฉันทามติ และไม่คิดจะสร้างความประทับใจให้สมาชิกในกลุ่ม ด้วยสถานภาพของเขา ผู้บริหารชาวเนเธอร์แลนด์ จะให้โอกาสแก่สมาชิกในกลุ่ม ให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและใช้ธรรมเนียมฉันทามติ ดังนั้น ปัญหาส่วนใหญ่ กว่าจะแก้ได้ก็จะใช้เวลาอภิปรายถกเถียงกันนาน

                  5)  จีน ผู้บริหารชาวจีนหลายคนที่ทำงานในประเทศแถบ Pacific Rim เช่น ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ในบริษัทที่จัดการโดยคนจีน การตัดสินใจส่วนใหญ่ จะทำโดยบุคคลที่เป็นใหญ่ที่มักมีอายุมากกว่า

 

         ทักษะและทัศนคติ การรับรู้และการยอมรับด้วยความเต็มใจทางวัฒนธรรม จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนที่มาจากภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันกับของตนเอง ช่วยให้ ทำงานกับบริษัทต่างชาติ ได้ง่ายยิ่งขึ้นยกตัวอย่างเช่น อะไรควรทำ ไม่ควรทำกับคนต่างวัฒนธรรม

อังกฤษ

 –  ให้พูด please กับ Thank you บ่อยๆ

 –  ให้มาถึงเวลานัดอย่างรวดเร็ว

 –  ไม่ถามคำถามเรื่องส่วนตัว เพราะคนอังกฤษจะชอบสงวนเรื่องส่วนตัว

– ไม่ซุบซิบนินทาเกี่ยวกับราชวงษ์อังกฤษ

ฝรั่งเศส

– เวลาแนะนำตัวให้shake hand ถ้าเป็นเพื่อนสนิทเท่านั้นจึง จะหอมแก้มเบาๆ

– แต่งตัวให้เป็นทางการ (กว่าในอเมริกา) ใช้ชุดที่ดูสง่าจะชื่นชมมาก

–  ไม่ทำงานอะไร ระหว่างเวลาอาหารกลางวัน 2 ชั่วโมง

– ไม่เคี้ยวหมากฝรั่งในที่ทำงาน

อิตาลี

–  ในเบื้องต้น ให้เขียนจดหมายด้วยภาษาอิตาเลียน เพื่อให้ได้รับความสนใจ

–   ทำการนัดหมายระหว่าง 10.00 น.-11.00 น. (a.m.) หรือหลังบ่าย 3 โมง

–  อย่ากินพาสต้ามากเกินไป เพราะมันไม่ใช่ main course

–  อย่าแจกนามบัตร เพราะคนอิตาลีไม่ใช้นามบัตรพร่ำเพรื่อ

ญี่ปุ่น

–   แจกนามบัตรโดยใช้ 2 มือ และโค้งนิดๆ ซึ่งเป็นท่าทางแสดงความเคารพ

–  ให้ของขวัญ ห่ออย่างดี และไม่ให้ของขวัญอย่างเดียวกันกับทุกคน นอกเสียจากว่าทุกคนจะมีระดับเดียวกัน

 

              ทำงานกับบริษัทต่างชาติ การทำงานร่วมกับผู้นำที่เป็นชาวต่างชาติ จะทำงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น หากเข้าใจพื้นฐานทางวัฒนธรรม ลักษณะนิสัย ทัศนคติในการทำงานเพราะหน้าที่ของผู้ตามที่สำคัญอย่างหนึ่งคือสนับสนุนเจ้านาย แล้วเจ้านายจะกลับมาสนับสนุนเราในภายหลัง

 

บทความที่น่าสนใจ ขวัญกําลังใจในการทํางาน รวมทั้งแนวความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

คลิป สินสมรส ระหว่างไม่จดทะเบียนกับจดทะเบียนสมรสแตกต่างกันหรือไม่ https://www.youtube.com/watch?v=-tCcxu2zWC0&t=66s

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *