โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่เราไม่รู้ แต่ทำให้ กระดูกไม่แข็งแรง กระดูกบาง แตกหักง่าย

        โรคกระดูกพรุน  ภัยเงียบที่เราไม่รู้  แต่เมื่อร่างกายเป็นปัญหานี้ ความร้ายกาจของมันคือ จะไม่ส่งสัญญาณเตือนหรือแสดงอาการใดๆ ให้เรารู้ได้เลย  ซึ่งจะรู้ก็ต่อเมื่อ ต้องผ่านการตรวจประเมินทางการแพทย์เท่านั้น ความรุนแรงของการเป็นโรคนี้คือ มันเริ่มเกิดอาการเจ็บปวดเมื่อเราเคลื่อนไหว จนถึงขั้นร้ายแรงคือ ความพิการจากการเป็นโรคกระดูกหัก

โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน

                ความหมายของโรคกระดูกพรุน คือ โรคหรือภาวะที่เนื้อกระดูกมีปริมาณลดลง เพราะมีความหนาแน่นของมวลกระดูกที่เบาบางลง มีผลทำให้กระดูกไม่แข็งแรง กระดูกแตก ร้าวหรือหักได้ง่ายขึ้น

                สาเหตุที่เกิดปัญหาโรคกระดูกพรุนคือ ภาวะที่ร่างกายมีการสูญเสียแคลเซียมหรือ การได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

เรื่องของกระดูก

                กระดูกมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้  1. แคลเซียม  2.ฟอสฟอรัส  3. แร่ธาตุอื่นๆ ประกอบด้วย ทองแดง โซเดียม แมงกานีสและสังกะสี  4.โปรตีน เช่นคอลลาเจน

                กระดูกทำหน้าที่ เป็นโครงสร้างหลักให้กับร่างกาย เป็นที่ยึดของเอ็นและกล้ามเนื้อต่างๆ และทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้กับอวัยวะต่างๆ เพราะกระดูกคือ อวัยวะที่แข็งแรงที่สุดในร่างกายมนุษย์

                จริงหรือไม่ ที่ผู้หญิงมีโอกาสเป็น โรคกระดูกพรุน มากกว่าผู้ชาย โรคกระดูกพรุนมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย  เพียงแต่ผู้หญิง มักจะมีปัญหาฮอร์โมนแปรปรวน เมื่อช่วงที่เข้าสู่วัยทอง มีผลทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมได้ง่ายกว่า นอกจากนี้แล้วในช่วงวัยเด็กและช่วงวัยเจริญเติบโต ผู้หญิงมักทำกิจกรรมน ที่ทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวน้อยกว่ากว่าผู้ชายที่ทำกิจกรรมโลดโผนมากกว่า จึงทำให้ปริมาณการสร้างมวลกระดูกที่ต่ำกว่า เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยสูงอายุ ร่างกายจะสูญมวลกระดูก จึงทำให้อัตราการสูญเสียมีมากกว่าผู้ชาย

ปัจจัยและโอกาสที่เสี่ยงต่อการเป็น โรคกระดูกพรุน

  1. พฤติกรรมการดำเนินชีวิต ที่ทำให้ปริมาณแคลเซียมในร่างกายลดลง เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การดื่มชา กาแฟและน้ำอัดลมในปริมาณมาก

  2. พฤติกรรมการบริโภคอาหาร รับประทานอาหารแล้ว ไม่ได้รับสารอาหารครบถ้วน โดยเฉพาะแร่ธาตุสำคัญต่อกระดูกคือ แคลเซียม แมกนีเซียม และแร่ธาตุที่สำคัญอื่นๆ ประกอบด้วย ทองแดง แมงกานีสและสังกะสี สำคัญมากคือ ในช่วงวัยเด็กและวัยเจริญเติบโตที่ อยู่ในช่วงเวลาสร้างมวลกระดูก จะต้องรับประทานอาหารที่ได้รับ โปรตีนอย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อช่วยเพิ่มอัตรา สร้างคอลลาเจนในกระดูกได้อย่าง เหมาะสมกับวัย

  3. ลักษณะการทำงาน ที่อยู่เฉพาะในร่ม ไม่มีโอกาสได้สัมผัสแสงแดด เพราะทำให้ร่างกายไม่ได้รับวิตามินดี ที่เพียงพอต่อความต้องของร่างกาย

  4. ขาดการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกาย เป็นปัจจัยช่วยทำให้มวลกระดูก มีการเจริญเติบโตและแข็งแรง เมื่อไม่มีการออกกำลังกาย เมื่ออายุเพิ่มขึ้นก็เหมือนกับว่า ทำให้การสูญเสียมวลกระดูกเร็วกว่า คนที่ออกกำลังกาย เพราะคนที่ออกกำลังกาย จะมีโครงสร้างกระดูกที่หนาแน่นกว่า มวลกระดูกมีมากกว่า อัตราการสลายของมวลกระดูกจึงน้อยกว่า

  5. เครือญาติและคนในครอบครัว มีประวัติเคยเป็น โรคกระดูกพรุน

  6. การเกิดโรคบางอย่างที่เกี่ยวข้องเช่น มีปัญหาระบบกระเพาะและระบบลำไส้  แล้วส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหารของร่างกายทำได้ไม่ดี จึงทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือมีปัญหาเป็นโรคตับหรือโรคไต

  7. การรับประทานยา บางชนิดแล้ว ส่งผลต่อการดูดซึมแคลเซียมเช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์ ยากันชัก ยาลดกรดที่มีฤทธิ์จับกับฟอสเฟต

  8. ความพกพร่องของร่างกายเช่น ผู้หญิงที่มีระบบฮอร์โมนแปรปรวน เมื่อเข้าสู่วัยทอง แต่โรคนี้ก็ยังสามารถเกิดกับผู้ชาย ที่มีความพกพร่องของฮอร์โมนได้ด้วยเช่นกัน

โรคกระดูกพรุน

        การดูแลสุขภาพของกระดูก ด้วยการสร้างปัจจัยเพื่อทำให้กระดูกแข็งแรง เพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก ด้วยการดูแลสุขภาพตนเองให้สมบูรณ์ จะช่วยให้ห่างไกลต่อการเกิด โรคกระดูกพรุน

 1.การรับประทานอาหาร ที่มีโภชนาการและได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย ด้วยการรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารและแร่ธาตุที่มี ต่อการสร้างมวลกระดูกดังต่อไปนี้

        1.1) ทานอาหาร ให้ได้แคลเซียมในแต่ละวัน  ให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละวัย ปกติแล้วกระดูกจะมีการสร้างและสลายตามช่วงวัย  โดยช่วงแรกเกิดจนถึง 30 ปี อัตราการสร้าง จะมากกว่าอัตราการสลาย แต่เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป อัตราการสร้าง จะน้อยกว่าอัตรา การสลายของมวลกระดูก ดังนั้นควรบริโภคแคลเซียม เพื่อให้ร่างกายนำแคลเซียม ไปสร้างความหนาแน่นของมวลกระดูดเพิ่มขึ้น และช่วยลดการสลายของมวลกระดูก

          ปริมาณแคลเซียม ที่ควรบริโภคในแต่ละวันตามวัย ตามข้อมูลจากกองโภชนาการ  กรมอานามัย กระทรวงสาธารณสุขไทย  ที่แนะนำสำหรับคนไทยดังนี้  วัยเด็ก 1-3 ขวบ 500 มิลลิกรัม, วัยเด็ก 4-8 ปี 800 มิลลิกรัม, วัยรุ่น 9-18 ปี 1,000 มิลลิกรัม, วัยทำงาน 19-50 ปี 800 มิลลิกรัม, สูงวัย 50 ปีขึ้นไป 1,000 มิลลิกรัม ส่วนหญิงตั้งครรภ์ให้รับประทานเท่ากับวัยทำงาน อาหารที่มีแคลเซียมสูงได้แก่  นม  โยเกิร์ต เนย ถั่วเหลือง  ปลาตัวเล็กที่สามารถทานได้ทั้งกระดูก  ไข่ เมล็ดถั่ว  ธัญพืช บร๊อคโคลี่  แตงกวา  ผักขึ้นฉ่าย เป็นต้น

      1.2) ทานอาหารให้ได้ แมกนีเซียมที่เพียงพอ โดยแมกนีเซียมทำหน้าที่ ช่วยสร้างเนื้อกระดูกร่วมกับแคลเซียม และช่วยสร้างวิตามินดี เพื่อช่วยชะลอความเสื่อมของกระดูก นอกจากนี้แล้ว แมกนีเซียม ยังช่วยควบคุมกล้ามเนื้อและระบบประสาท ลดอาการซึมเศร้า ช่วยควบคุมสมดุลกรด ด่าง ปริมาณที่แนะนำ ในการทานแมกนีเซียมคือ ลดลงครึ่งหนึ่งของปริมาณแคลเซียม ดังนั้นในช่วงวัยทำงานควรทาน แมกนีเซียม 400 มิลลิกรัมต่อวัน อาหารที่แมกนีเซียม สูงได้แก่ ผักโขม ปลาทะเลเช่น แมคเคอเรล ผลอะโวคาโดและถั่วต่างๆ

      1.3 ทำให้ร่างกายได้รับวิตามินดีเพียงพอ เพราะวิตามินดีช่วยดูดซึมแคลเซียม สร้างกระดูดและฟัน นอกจากนี้ยังช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ ปัจจัยที่มีผลต่อการรับวิตามินดี ไม่เพียงพอได้แก่ คนทำงานในร่ม ถูกแสงแดดน้อย ผู้ที่มีสีผิวคล้ำ คนที่มีปัญหาเป็นโรค เกี่ยวกับการดูดซึมสารอาหาร และผู้สูงอายุ  ร่างกายของคนเราสามารถรับวิตามินดีได้ 2 รูปแบบคือ การได้รับจากแสงแดดและ ได้รับจากการทานอาหารที่มีวิตามินดี เช่น ปลาแซลมอล ไข่และเห็ดเป็นต้น

     1.4 ทานอาหารให้ได้แร่ธาตุอื่นๆ ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกอันได้แก่ ทองแดง แมงกานีสและสังกะสี

โรคกระดูกพรุน

   2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้กระดูกแข็งแรง การออกกำลังกายช่วยทำให้กระดูก เพราะการได้รับน้ำหนักบ่อยๆ จะทำให้ร่างกายสร้างระบบ ในการซ่อมแซมและสร้างกระดูกให้มีความหนาแน่นมากยิ่งขึ้น และกระดูกมีมวลมากขึ้น นอกจากนี้แล้วการออกกำลังกายยังช่วย ให้ร่างกายสร้างกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น เพราะกล้ามเนื้อเป็นตัวช่วยในการลดการบาดเจ็บของกระดูก ได้อีกทางหนึ่ง รูปแบบการออกกำลังกาย ช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้น มี 2 รูปแบบคือ การออกกำลังกายที่ใช้น้ำหนัก จากร่างกายด้วยการเคลื่อนไหว ได้แก่การเดิน  การวิ่ง  การกระโดด  และการออกกำลังกายแบบ การใช้แรงต้านหรือการใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น การเล่นเวต ยกดัมเบล

 3. ปรับปรุง ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต การสร้างสมดุลการใช้ชีวิต การแบ่งเวลาในการใช้ชีวิตให้เหมาะสม แบ่งเวลาทำงาน  เวลาพักผ่อน และมีเวลาในการออกกำลังกาย ลด ละ เลิกพฤติกรรม ที่กลายเป็นปัจจัยเสี่ยง ต่อการสูญเสียแคลเซียม และเพิ่มอัตราการสูญสลายของมวลกระดูก ขจัดพฤติกรรมบริโภคอาหารบาง ที่ไม่มีประโยชน์ต่อกระดูกอันได้แก่ เลิกการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่ ลดการดื่มชา กาแฟและน้ำอัดลมให้น้อยลง และที่สำคัญคือ ไม่ทำให้ตนเองอ้วนจนเกินไป ซึ่งจะทำให้กระดูกรับน้ำหนักมากจนเกินไป

บทความที่น่าสนใจ โรคข้อเสื่อม

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *