ทักษะผู้นำ ผู้นําที่ดี เก่งคน เก่งงาน มีความก้าวหน้าในอาชีพนักบริหาร

              ถึงแม้ว่าการได้รับตำแหน่งให้เป็นหัวหน้าคนใหม่หรือจะได้เลื่อนตำแหน่งให้ผู้นำนั้นเป็นเรื่องยาก แต่สิ่งที่ยากกว่าคือการเป็นผู้นำที่มี  ทักษะผู้นำ ที่เก่งในการบริหารคน เก่งงานและสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าในอาชีพนักบริหารได้

             ปกติผู้นำจะต้องมีความสามารถมากกว่าผู้ตามเสมอ ถึงจะได้รับการยอมรับและได้รับความศรัทธาจากผู้ตาม  ดังนั้นผู้นำที่ดีควรพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง หมั่นศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ  รวมทั้งปรับปรุงภาวะความเป็นผู้นำให้ดียิ่งขึ้น ทักษะผู้นำที่ดีต้องสามารถโน้มน้าวผู้ตาม ให้ลงมือทำงานจนบรรลุผลสำเร็จได้ตามเป้าหมาย ที่ได้ตกลงร่วมกันด้วยความเต็มใจ ซึ่งอาศัยเทคนิคการมีส่วนร่วมของคนในทีมเป็นสำคัญ

            ผู้นำที่ดีต้องคอยอบรมชี้แนะและพัฒนาลูกน้อง ให้สามารถเจริญก้าวหน้าในสายอาชีพได้ การเป็นผู้นำนั้นย่อมไม่มีใครสามารถทำหน้าที่ได้ดี 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ผู้นำที่ดีย่อมปรับปรุงตัวเอง เมื่อรู้ว่าสิ่งที่กำลังลงมือทำยังไม่ถูกต้อง ผู้นำที่ฉลาด จะอาศัยที่ปรึกษาและปราชญ์ที่ดีไว้คอยช่วยชี้แนะ

             ภาวะความเป็นผู้นำไม่ได้เพียงแค่จดจำในหนังสือหรือตำราเรียน แล้วนำไปบริหารทีมจนเป็นผลสำเร็จได้ แต่ต้องเรียนรู้และการประยุกต์เทคนิคจากหนังสือหรือผู้เชี่ยวชาญต่างๆคอยชี้แนะ ใช้เป็นไกด์นำทางสำหรับอาชีพนักบริหารที่ดีได้ เป็นการนำทฤษฎีในห้องเรียนไปลงมือปฏิบัติจริง เรียนรู้จากสถานการณ์และปรับปรุงพัฒนาความเป็นผู้นำอยู่เสมอ

ทักษะผู้นำ

ทักษะผู้นำ

ทักษะผู้นำ 8 ประการ

          ผู้นำที่ดีควร 8 ทักษะ ที่จะเป็นผู้นำในดวงใจของลูกน้อง และเป็นนักบริหารมืออาชีพ

เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการบริหารงานและทีมมีดังนี้

  1) ทักษะบริหารคนให้มีประสิทธิภาพ

           คนหรือทรัพยากรมนุษย์ ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินอันล้ำค่าสำหรับการพัฒนาองค์กร คนซึ่งถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางในการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด เพราะถึงแม้ว่าจะมีทรัพยากรอย่างอื่นดี แต่ถ้าคนไม่ดี ของที่ดีก็จะกลายเป็นของเสีย ถึงมีระบบดีแต่ถ้าลูกน้องไม่มีความรู้ ขาดจริยธรรมก็จะทำให้ระบบล้มได้  ดังนั้นการดำเนินงานที่บรรลุผลสำเร็จได้ ต้องประกอบไปด้วยคนดีและคนเก่ง มีความเฉลียวฉลาด มีความละเอียดรอบคอบในการทำงาน มีความเป็นมืออาชีพ รู้หน้าที่ มีความรับผิดชอบในบทบาทของตนเองเป็นอย่างดี

            ซึ่งการจะได้คนดีในทีมเพื่อให้งานสำเร็จนั้นก็มักขึ้นอยู่ที่ผู้นำ ผู้นำย่อมต้องมีหน้าที่ในการสอนลูกทีมให้ รู้บทบาท มีวินัย มีความรับผิดชอบ เทคนิคในการบริหารคนให้ประสบความสำเร็จ มีดังนี้

  • ความมุ่งมั่นและการตั้งใจมอบหมายงานที่สำคัญให้แก่ลูกทีม (แต่งานดังกล่าวไม่ใช่งาน ที่ตนเองไม่อยากทำเสียเอง)

  • ในขณะทำการตรวจผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานลูกน้อง ให้ข้อมูลป้อนกลับทั้งในเชิงบวกและลบอย่างทันท่วงที  อย่าปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปนาน แล้วจึงจะให้การแนะนำ

  • สร้างการมีส่วนร่วม ให้โอกาสทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เพราะจะทำให้ลูกน้องมีความภาคภูมิใจ  และเข้าใจได้ ว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของทีม

  • ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน  มีความเสมอภาคและความยุติธรรม จะช่วยทำให้ลูกน้องเกิดสามัคคี ไม่เกิดความขัดแย้งในการทำงาน

  • ให้คำแนะนำสั่งสอนลูกทีม  ได้ทราบถึงวิธีว่าจะบรรลุความคาดหวังได้  เมื่อลูกน้องกำลังปฏิบัติงานอยู่นอกเส้นทางแห่งความสำเร็จ ต้องสามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องได้

  • การวิเคราะห์ทักษะการทำงานของลูกน้อง ส่งเสริมสิ่งดีที่เขามี และพัฒนาบางทักษะที่เขาขาด

2) ทักษะด้านความฉลาดหลักแหลม ความเก่งจะช่วยให้การทำงานง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น

            การเป็นเผู้นำแม้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่เรื่องยากคือการเป็นผู้นำที่ดี เก่งและฉลาดหลักแหลม ซึ่งทักษะความฉลาดไม่ได้เกิดขึ้น จากพรสรรค์อย่างเดียวเท่านั้น แต่ทักษะความฉลาดเกิดขึ้นได้จากความขยัน ความเพียรพยายาม ลงมือปฏิบัติทำแบบซ้ำๆ  ทักษะผู้นำนั้นเกิดขึ้นจากความเชื่อและความศรัทธาในความสามารถของตนเอง และคนฉลาดจะสามารถกระตุ้นและให้กำลังใจตนเองได้  ผู้นำจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีขึ้นได้  คิดสร้างสรรค์ ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ดีขึ้น ความฉลาดในสายอาชีพบริหาร มีดังต่อไปนี้

  • ต้องผู้นำที่ฉลาดสามารถทำนายการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะขึ้นในอนาคต แล้วเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือ เตรียมข้อมูล ทำการบ้านมาอย่างดีก่อน ที่จะนำเสนอข้อมูล

  • สามารถเชื่อมโยงความรับผิดชอบ กับภาระหน้าที่ได้ รู้บทบาทของตนเองในสถานการณ์ต่างๆ

  • เข้าใจคุณค่าและค่านิยมในการประพฤติปฏิบัติอย่างไรถึงจะดี สามารถมองเห็นเรื่องราวต่างๆ ได้ทุกมิติ  เชื่อมโยงข้อมูลข้อเท็จจริง เพื่อสร้างความฉลาดในการตัดสินใจ

  • รู้จักเรียนรู้ข้อผิดพลาดจากตนเองและผู้อื่น

  • ผู้นำควรทราบถึง เวลาไหนควรทำอะไร และทำอย่างไร

3) ทักษะความกล้าตัดสินใจ  ผู้นำต้องมีทักษะลงมือทำภายหลังจากการตัดสินใจ 

         ถึงแม้ผลลัพธ์ที่เกิดภายหลังของการตัดสินใจ จะประสบความล้มเหลวก็ตาม ผู้นำที่ดีและมีภาวะผู้นำต้องลุกขึ้นให้เร็ว  แล้วนำบทเรียนที่ได้จากความล้มเหลวนั้นๆ ไปเตรียมความพร้อม เพื่อรับมืบกับโอกาสที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ผู้นำต้องสามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ หรือแม้แต่ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการทำงานได้  ซึ่งผู้นำควรมีทักษะความกล้าและการตัดสินใจมีดังนี้

  • ไม่รีรอ  เมื่อต้องมีการตัดสินใจ  แต่การตัดสินใจต้องอยู่บนฐานข้อมูลที่ถูกต้อง และต้องยืนอยู่บนหลักการของเหตุและผล มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้ยิ่งดี

  • ไม่คิดมากเมื่อต้องตัดสินใจ  การตัดสินใจอย่าลังเล  เพราะงานบางอย่างไม่สามารถรอเวลาได้  ถึงแม้ว่าการตัดสินใจครั้งนั้นจะผิดพลาดก็ตาม  เรายังจะได้ประโยชน์การตัดสินใจ  เพราะเราสามารถเรียนรู้ประสบการณ์ได้จากการตัดสินใจที่ล้มเหลว

  • ไม่เครียดหรือไม่กังวลกับสิ่งที่กำลังเผชิญ  เป็น ผู้จัดการการเปลี่ยนแปลง สามารถเข้าใจได้ว่า ทุกอย่างสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งหมดขึ้นอยู่ที่ตัวเราเป็นผู้เลือกเอง และหมั่นเรียนรู้ผลประโยชน์จากการตัดสินใจอยู่เสมอ

4) ทักษะการเป็นนักปฏิบัติ

            คนที่รู้มาก แต่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ ก็เท่ากับคนไม่มีความรู้ เพราะความรู้จะยังคงไร้ค่า ถ้าไม่ถูกนำไปสร้างประโยชน์ได้  เพราะความรู้จะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อ ความรู้นั้นถูกนำไปใช้งาน การเป็นคนเก่งที่ไร้ค่า เหมือนกับนักวิชาการที่ดีแต่เรียนรู้ทฤษฎี พอถึงขั้นตอนลงมือปฏิบัติไม่สามารถทำได้ ขาดความน่าเชื่อถือ การเป็นผู้นำก็เช่นเดี่ยวกัน ต้องการฝึกฝนและใช้ความรู้บ่อยๆ ถึงจะสามารถพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำที่ดีได้ ทักษะนักปฏิบัติสามารถสร้างได้ดังต่อไปนี้

  1. บริหารหรือพัฒนาบุคลากรด้วยการแสดงตัวอย่างให้ดู  เป็นแบบอย่างที่ดีทั้งต่อหน้าและลับหลัง  การเป็นผู้นำไม่ได้เพียงแค่สั่งเป็น  แต่ต้องพาลูกน้องปฏิบัติได้ เพื่อสร้างความศรัทธาให้กับลูกน้อง  เป็นผู้นำในดวงใจของลูกน้อง

  2. ยอมรับการเปลี่ยนแปลงในมุมมองที่เป็นบวก  ซึ่งการเปลี่ยนต่างๆย่อมจะส่งผลได้ทั้งที่เป็นบวกและเป็นลบ แต่ถึงแม้การเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นลบเราต้องค้นหามุมมองที่เป็นบวกได้

  3. ปรับปรุงแผนตามความจำเป็นอย่างสม่ำเสมอ   แผนในการดำเนิน ถ้าไม่มีการติดตามก็จะไม่รู้  ว่างานที่ลงมือทำจะสำเร็จได้ตามแผนอยู่หรือไม่  ถ้าไม่สำเร็จตามแผน จะได้คนหาวิธีการดำเนินการใหม่

  4. ทำงานร่วมกับบุคลากรเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่สำคัญอย่างมีประสิทธิภาพ  วางแผนก่อนการปฏิบัติที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

  5. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานของตน  เพื่อเปลี่ยนสถานการณ์โดยรวม

  6. ผู้นำต้องแสดงความตรงไปตรงมาต่อองค์กร  เกี่ยวกับผลลัพธ์ของการกระทำและการตัดสินใจที่คาดหวัง

5) ผู้นำต้องมีทักษะตรงไปตรงมาและใจเย็น

       การทำอะไรที่อ้อมค้อมมักจะทำให้เกิดความไม่เข้าใจกัน และเสียเวลาในการสื่อสาร คนที่มีสติดีมีสมาธิมากกว่าคนอื่น ย่อมเป็นผู้ชนะเสมอ การตรงไปตรงมาจะแสดงออกถึงความจริงใจ ความใจเย็นในระหว่างการเจรจา จะทำให้สถาการณ์ที่รุ่นแรง เย็นลงมาได้จะช่วยทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และให้ระลึกอยู่เสมอว่า การเจรจาที่มองถึงผลประโยชน์ ได้ทั่้งสองฝ่าย Win-Win จะสามารถสร้างความราบรื่นในการเจรจาได้  ทักษะผู้นำที่มีความตรงไปตรงมาและใจเย็นได้ดังนี้

  • ไม่เป็นคนเย่อหยิ่ง เยาะเย้ยถากถางผู้อื่น และไม่ฉุนเฉียวง่าย  สามารถควบคุมสติอารมณ์ของตนเองได้

  • สามารถรับมือกับสถานการณ์ที่นอกเหนือการควบคุม   ให้เป็นไปตามทิศทางที่วางไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • รับผิดชอบต่อความผิดพลาดที่ตนเองทำ  เพราะจะทำให้เราเกิดการเรีนรู้จาความผิดพลาดได้

  • ให้การสนับสนุนมากกว่า  การบ่นหรือว่ากล่าวลูกทีมต่อการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะการบ่นไม่ทำให้ลูกน้องรู้สึกดี  ช่วยการคิดค้นวิธีการแก้ไขปัญหาจะดีกว่า

6) ทักษะการสร้างความสัมพันธ์และพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

       ผู้นำกับหัวหน้าต่างกันที่ความสัมพันธ์ เพราะผู้นำที่ดีจะต้องได้รับความศรัทธาจากลูกน้อง ลูกน้องและผู้นำจะต้องมองเห็นถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกัน เมื่อลงมือทำจนเกิดความสำเร็จ การพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดี การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ทำให้เกิดความผูกพันธ์ต่อกันและเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ ทักษะผู้นำที่ดีต้องสามารถปรับปรุงความสัมพันธ์กับลูกน้องได้ ดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นปรปักษ์ต่อกัน ข้ดแย้งกัน ให้มองผลลัพธ์ของเป้าหมายส่วนรวมเป็นที่ยึดเหนียว

  • ใช้จังหวะเวลาที่เหมาะสมในการเจรจาต่อรอง  เพราะหากเจรจาช่วงที่เรามีความเสียเปรียบ จะทำให้ผลปรโยชน์ที่ควรจะได้ลดลง

  • ทำงานให้สาเร็จลุล่วง  อย่างานปล่อยทิ้งไว้ โดยที่ไม่ทำอะไรเลย

  • สามารถรับมือกับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม จากคนรอบข้างได้อย่างมีสติ

  • ให้ความสำคัญกับทุกๆ คนอย่างเท่าเทียมกัน และเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ กับทุกๆ คน ตั้งแต่ระดับบนจนถึงระดับล่างได้อย่างแนบเนียน

  • สามารถที่จะทำงานกับพนักงานที่อายุมากกว่า หรือมีประสบการณ์ มากกว่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7) ทักษะทำสิ่งต่างๆ ให้สาเร็จลุล่วง

      การทำอะไรที่ครึ่งๆกลางๆย่อมไม่ดีแน่นอน  เพราะไม่มีหวังที่จะพาทีมไปถึงเป้าหมายได้ ทักษะผู้นำคือ ไม่ย่อท้อไม่ลดละความพยายาม จนกว่าจะได้รับชัยชนะ ผู้นำที่ดีต้องสามารถโน้มน้าวลูกทีมและสามารถให้กำลังใจลูกทีมเมื่อเขาพบกับความผิดหวัง  ซึ่งผู้นำย่อมต้องเรียนรู้การเป็นนักสื่อสารที่ดีและมีความสามารถตอบโต้ต่อปัญหาได้ทันที เพื่อทำให้งานที่กำลังดำเนินการอยู่นั้นไปถึงเป้าหมาย ผู้นำสามารถฝึกทักษะทำสิ่งต่างๆ ให้สาเร็จลุล่วง  ได้ดังนี้

  • เราไม่สามารถที่จะยืนอยู่บนลำแข้งของตนเองโดยลำพังได้    แต่ยังคงเปิดรับที่จะเรียนรู้จากผู้อื่น

  • สามารถที่จะทำให้บุคลากรทำงานได้อย่างเต็มกำลังและความสามารถ

  • เตรียมพร้อมที่จะหยิบฉวยเมื่อโอกาสมาถึง

  • สร้างแรงจูงใจให้กับตนเองอย่างสม่ำเสมอ ทำงานอย่างหนัก และชอบที่ จะพัฒนาทักษะของตนอยู่ตลอดเวลา

  • มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อยู่เสมอ

  • สามารถที่จะนำทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ตั้งแต่จุดเริ่มต้น (inception) จนถึงจุดสุดท้าย (completion)

8)  ทักษะการใช้รูปแบบการจัดการแบบมีส่วนร่วม

        การคิดว่าสามารถทำอะไรทุกอย่างได้ด้วยตัวเองและเชื่อมั่นว่าทุกเรื่อง  ตัวเองเจ๋ง เก่งที่สุด มักจะทำให้เราเสียโอกาสที่จะได้รับข้อเสนอวิธีการที่ดีกว่า การทำงานที่มีการระดมสมอง จะทำให้เกิดความรอบคอบในการทำงาน สามารถลดความเสี่ยงได้ และสามารถเลือกวิธีการที่ดีกว่าได้ ผู้บริหารที่มีรูปแบบจัดการแบบมีส่วนร่วม มีดังนี้

  • รับฟังบุคลากรทุกระดับในองค์กร

  • ได้รับคำมั่นสัญญาจากลูกทีมทุกคนก่อนนาไปสู่การเปลี่ยนแปลง

  • กระตุ้นให้มีการแลกเปลี่ยนหรือแบ่งปันข้อมูลกันโดยตรง

  • เข้าไปมีส่วนร่วมกับบุคคลอื่น  ในขั้นเริ่มต้นของการคิดริเริ่มในการทำงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

  • บอกกล่าวลูกทีมถึงผลกระทบที่เขาอาจได้รับจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

  • จดจำไว้เสมอว่า การตัดสินใจทุกๆ เรื่องมีเรื่องของผลประโยชน์ ทับซ้อนและความเป็นพวกพ้องแอบแฝงอยู่

  • รับฟังลูกทีมทั้งข้อมูลทางบวกและทางลบ

บทสรุป ทักษะผู้นำ

        การเป็นผู้นำมืออาชีพกับ มีอาชีพเป็นผู้นำ มันแตกต่างกัน การเป็นผู้นำมืออาชีพ ซึ่งต้องเป็นผู้นำที่ดีและเก่งมี ทักษะผู้นำ มีความสามารถในการบริหารและมีภาวะความเป็นผู้นำ นอกจากจะต้องจัดการงานให้ประสบความสำเร็จแล้ว ยังต้องคอยปกป้องชี้แนะช่วยเหลือและอบรมลูกน้อง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและเพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่พวกเขาได้

อ่านต่อ ผู้นำหรือภาวะผู้นำ ตอนที่3

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *