พลังงานหมายถึง อะไร การอนุรักษ์และจัดการพลังงานช่วยชาติได้อย่างไร

พลังงาน

พลังงานหมายถึง

พลังงานหมายถึง

                พลังงานคืออนุภาคที่มีอยู่ในสิ่งต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ในร่างกายของเราก็ยังมีพลังงานแฝงมากมายเช่น เซลล์เมื่อมันได้รับสารอาหารมันก็จะเผาผลานก็จะมีพลังงานเกิดขึ้น หากเซลล์นั้นอยู่ที่บริเวณสมองมันก็เกิดการตื่นตัว  ทำให้สารสื่อประสาทในสมองทำงานสัมพันธ์กัน สมองมีประสิทธิภาพดีขึ้นทำให้เราฉลาดขึ้น หรือเมื่อเซลล์ทำงานร่างกายเราก็จะอบอุ่น นอกจากนี้ความคิดของเราก็ยังมีพลังงาน เราสามารถส่งคลื่นพลังแห่งความคิดบวกไปจับคู่กับสิ่งที่เป็นพลังบวกได้เช่นกัน คนคิดดีย่อมได้พบกับคิดดี  ความหมายของพลังงานมีดังต่อไปนี้

พลังงานหมายถึง  ความสามารถซึ่งมีอยู่ ในตัวของสิ่งที่ อาจให้แรงงานได้

พลังงานหมายถึง ประสิทธิภาพในการทํางานได้ หรือความสามารถที่ จะทํางานได้

พลังงานหมายถึง ความสามารถในการทํางาน ซึ่งมีอยู่ในตัวของสิ่งที่ อาจให้ได้งานโดยการทําให้วัตถุ หรือธาตุเกิดการเคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนรูปแบบไปได้การที่วัตถุเคลื่อนที่ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ ก็เพราะมีแรงหรือพลังงานเข้าไปกระทํา

พลังงานหมายถึง สิ่งที่ทําให้สิ่งต่างๆเคลื่อนที่ได้ ถ้าไม่มีพลังงาน ก็ไม่มี อะไรเกิดขึ้นสิ่งใดก็ตามที่ เคลื่อนไหวเติบโตหรือทํางานในทางใดทางหนึ่ง

พลังงานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

                พลังงานสิ้นเปลือง เป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไปไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือสามารถสร้างทดแทนได้ โดยส่วนมากแล้ว พลังงานสิ้นเปลืองเป็นพลังงานที่เกิดจากอินทรีย์สาร เช่น ซากพืชซากสัตว์ที่ตายทับถมกันในยุคดึกดำบรรพ์เป็นชั้นๆ  ซึ่งนิยมเรียกชื่อกันว่า พลังงานจากฟอสซิล (Fossil Energy)  อันได้แก่ ก๊าชธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมัน

พลังงานหมุนเวียน เป็นพลังงานที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ใช้ไปแล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือสามารถสร้างขั้นมาทดแทนของเดิมได้ จำกัดความง่ายๆ  “ มีอยู่ไม่จำกัดและใช้แล้วไม่หมดไป” ส่วนใหญ่มักเป็นพลังงานที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ พลังงานน้ำ พลังงานก๊าชชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล พลังงานจากพืชพลังงาน พลังลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Energy)

 

ความสำคัญของพลังงาน

เราสามารถมองเห็นถึงความสำคัญของพลังงานได้จากคำถามต่อไปนี้

ตั้งแต่ตื่นนอนเราใช้พลังงานหรือไม่? อะไรบ้าง?

พลังงานมีความสำคัญต่อความสะดวกสบายของเราไหม?

จะทำอย่างไรถ้าน้ำมันเชื้อเพลิงราคาลิตรละ 50 บาท?

พลังงานส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนหรือไม่?

พลังงานจะหมดไปจากโลกนี้ในไม่ช้าจริงๆ หรือ?

เราทั้งหลายดำรงชีวิตอยู่ได้หรือไม่ ? ถ้าไม่มีพลังงาน

 

ประโยชน์ของพลังงาน

  1. ด้านการผลิต ทั้งทางด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเช่น ในเรื่องของการเพาะปลูกการเตรียมดินการว่ายปุ๋ย การเก็บเกี่ยว ตลอดจนการเคลื่อนย้ายผลผลิตไปยังโรงงานแปรรูปต่างๆ โรงงานผลิตโดยส่วนใหญ่ต้องใช้เครื่องจักร ซึ่งเครื่องจักรเกือบทุกชนิดก็จำเป็นต้องต้องอาศัยพลังงาน ซึ่งเป็นต้นกำลังที่ทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้

  2. ด้านการสาธารณูปโภค การผลิตไฟฟ้าก็ต้องใช้พลังงาน หรือแม้แต่ประปาในปัจจุบันก็จะต้องใช้พลังงาน พลังงานในรูปแบบต่างๆ มีดังต่อไปนี้  การผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันใช้พลังงานจากน้ำมัน  ก๊าชธรรมชาติ ถ่านหินลิกไนต์  ไฟฟ้าทำให้บ้านบ้านเรือน ถนนสว่าง ดังนั้นพลังงานจึงเปรียบเสมือนหัวใจของการผลิตสาธารณูปโภคในประเทศที่พัฒนาแล้ว

  3. การอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ในยุกต์ปัจจุบันมนุษย์ได้สร้างอุปกรณ์ เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิต ให้สามารถทำสิ่งต่างๆได้รวดเร็วขึ้น มีคุณภาพมากขึ้นเช่น ผลิตหม้อหุงข้าวไฟฟ้าแทนการใช้หม้อธรรมดา การรีดผ้าที่ใช้ไฟฟ้าแทนเต่าที่ใช้ถ่านหุงต้ม และยังมีอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ อีกมากมาย

  4. ภาคการขนส่งและการสื่อสาร ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ต้องใช้พลังงานทั้งหมด ในยุคอดีตรถไฟก็ใช้พลังไอน้ำไปปั่นเทอร์บายเพื่อให้รถไฟเคลื่อนที่ไปได้ ต่อมารถไฟถูกพัฒนาให้มีความทันสมัยขึ้นจนกลายเป็นรถไฟหัวกระสุนแต่มันก็ยังต้องใช้พลังงาน  หรือแม้แต่เครื่องบินหรือเรือต่างๆก็ใช้พลังงาน

  5. ทางด้านการแพทย์ ยังต้องอาศัยพลังงานในการรักษาการผ่าตัด หรือการจ่ายพลังงานให้เครื่องมืออื่นๆ นอกจากนี้ยังใช้ในการวิจัยพัฒนายาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  6. สินค้าต่างๆ เกิดขึ้นเพราะมีการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การแปรรูป จากข้าวกลายเป็นแป้งจากแป้งกลายเป็นขนมปัง กว่าจะเป็นสินค้าให้คนเราบริโภคต้องใช้พลังงานมากมาย ยิ่งสินค้าที่ผ่านกระบวนการหรือขันตอนมากยิ่งใช้พลังงานมาก นอกจากนี้ปริมาณการใช้พลังงานยังขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้า

  7. การทหาร อาวุธที่ใช้ในการทำสงคราม ที่อาศัยความรู้ด้านพลังงาน มาสร้างอาวุธที่มีพลานุภาพทำลายล้างได้สูงขึ้น จากขีปนาวุธเป็นระเบิดปรมาณูเป็นต้น

นโยบายพลังงานของประเทศชาติ

  1. เสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน

  2. การพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นวาระแห่งชาติ

  3. ส่งเสริมการอนุรักษ์และประหยัดพลังงานอย่างต่อเนื่อง

  4. กำกับดูแลราคาพลังงานให้เหมาะสมเป็นธรรม และมีเสถียรภาพ

  5. ใส่ใจดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนาและการใช้พลังงานสะอาด

กลยุทธ์แผนเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานแห่งชาติ

  • สร้างองค์ความรู้ ด้วยการพัฒนางานวิจัย / การศึกษา /การสร้างศูนย์รวบรวมข้อมูล และองค์ความรู้

  • ในด้านบริหาร อาทิเช่น การสนับสนุนเงินหมุนเวียน หรือการให้สินเชื่อพลังงาน ESCO Fund  การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี  สิทธิประโยชน์ด้าน BOI  โดยส่งเสริมให้องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน  มีการการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้การใช้พลังงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • การออกกฎหมาย โดยกำหนดมาตรฐานด้านการจัดการพลังงาน สำหรับโรงานควบคุมและอาคารควบคุม Building Code  นอกจากนี้ยังกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานหรือเครื่องหมายประหยัดพลังงานเบอร์ 5 สำหรับ เครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆเช่น  หลอดประหยัดพลังงานเบอร์ 5 เป็นต้น

  • ด้านสังคม   ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ จัดทำคู่ มือและเอกสารเผยแพร่ต่างๆ  จัดเวธีให้เกิดการแข่งขันและการนำเสนอการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ :Thailand Energy Awards  ,  การให้ความรู้และการพัฒนาบุคคลากร EE Display Center , การสร้างเครือข่ายพลังงาน Voluntary Agreement  โดยสร้างความร่วมมือกันในบ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน ทหาร ,  การอนุรักษ์พลังงานในกระบวนการผลิต/แบบมีส่วนร่วมด้วยการอบรมสัมมนาสร้างความตระหนักและให้ความสำคัญกับพลังงาน

 

การจัดการพลังงาน

      การจัดการพลังงานประกอบด้วยคำนิยามอันได้แก่  ใช้พลังงานเท่าที่จำเป็น ใช้พลังงานอย่างเหมาะสม ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  สูญเสียน้อยที่สุด

         การอนุรักษ์พลังงาน คือการใช้พลังงานให้น้อยที่สุด เช่น การปรับอุณหภูมิของเครื่องปรับอากาศให้สูงขึ้น เครื่องปรับอากาศจะใช้พลังงานน้อยลงร้อยละ 10

        การประหยัดพลังงาน คือการไม่ใช้พลังงานเมื่อไม่จำเป็นต้องใช้หรือการใช้พลังงานเท่าที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น เช่น การปิดหลอดไฟทางเดินในจุดที่ไม่ใช้งานหรือยังไม่ถึงเวลาต้องใช้การดึงปลั๊กไฟกาต้มน้ำร้อนออกเมื่อไม่ใช้งาน

        ดังนั้นการจัดการพลังงานหมายถึง การจัดการพลังงานการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยไม่กระทบต่อการผลิตหรือการบริการ

เหตุผลที่ทำให้คนทั่วไปละเลยการประหยัดพลังงาน

ทำไมต้องประหยัดพลังงานเมื่อตนเองไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ

ไม่คิดว่าเรื่องพลังงานเป็นเรื่องสำคัญ

ไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของตนเอง

คิดว่ามีคนอื่นกำลังจัดการในเรื่องค่าใช้จ่ายนี้อยู่

การจัดการด้านพลังงานจะเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายซ่อมบำรุง

งานยุ่งจนเกินไปแต่อาจจะทำหากมีเวลา

ทำไมต้องอนุรักษ์พลังงาน

               ลดค่าใช้จ่าย ในบ้านใครที่ออกแบบได้ดี มีอากาศถ่ายเท มีแสงสว่างเข้าถึงอย่างเพียงพอ  สามารถเลือกซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีประสิทธิภาพสูง เมื่อใช้ไฟฟ้าน้อยลง เราก็จ่ายไฟฟ้าน้อยลง

              ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น  ถึงแม้พลังงานจะมีคุณอนันต์แต่มันก็ยังมีด้านมืดของมันที่พวกเราไม่ค่อยได้ตระหนักถึง เพราะมันดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องไกลตัว แต่มันติดตัวเราทุกไปทุกวินาทีนั้นคืออากาศ  จากการใช้พลังงานอย่างมากในชีวิตประจำของพวกเรา ก๊าซพิษต่างๆได้ถูกปล่อยให้ลอยไปกับอากาศเช่น ควันท่อไอเสียรถยนต์  ควันจากการเผ่าไหม้ของโรงงานผลิตต่างๆ

                ผลผลิตดีขึ้น  ปริมาณผลผลิตมากขึ้น การมีการจัดการด้านพลังงาน วิธีการที่ง่ายสุดก็คือการเพิ่มผลผลิต  เมื่อมีการปรับปรุงวิธีการทำงาน ลดขั้นตอน เพิ่มประสิทธิภาพ  ในเวลาผลิตที่เท่าๆกัน แต่ได้ผลผลิตมาก นั้นหมายถึงการอนุรักษ์พลังงาน

                 ด้านคุณภาพ  สินค้าที่ได้จากการผลิตที่มีคุณภาพดีกว่าย่อมสูญเสียพลังงานน้อยกว่า  เพราะการผลิตที่ด้อยคุณภาพต้องกลายเป็นของเสียหรือต้องนำสิ้นค้าไป แก้ไขใหม่ ก็จะเสียพลังงานมากขึ้น

เพื่อความปลอดภัย โรงานที่มีความปลอดภัยในการทำงานสูงจึงเท่ากับว่ามีการจัดการมีการบริหารที่ดีโรงงานก็ใช้พลังงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่หากโรงงานใดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งต้องหยุดการผลิตหยุดการทำงานของเครื่องจักร คนมีประสิทธิภาพลดลงการใช้พลังงานก็จะเพิ่มมากขึ้นนั้นเอง

                แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม  การใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงนั้นหมายถึงเราสามารถลดการปลดปล่อยของเสีย การปลดปล่อยควันพิษที่อาจจะไปมีผลต่อบรรยากาศของโลก  ทำให้โลกร้อนขึ้นอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

ปัจจัยที่มีผลต่อการสูญเสียพลังงาน

  1. พฤติกรรมของการใช้เช่น การใช้พลังงานไม่เหมาะสม ใช้ผิดวัตถุประสงค์ ขนาดไม่เหมาะสม ประเภทพลังงานที่ใช้ใช้เกินความจำเป็น หรือแม้แต่การขาดการบำรุงรักษาที่ดี ก็สิ้นเปลืองพลังงาน

  2. ประสิทธิภาพของเครื่องจักร ลดลงเพราะ ขาดการบำรุงรักษา เครื่องจักรหมดอายุการใช้งาน หรือเป็นเครื่องจักรล้าสมัยจึงเกิดการสูญเสียพลังงานมาก

การบริหารจัดการพลังงาน

ทรัพยากร ต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอ

บุคลากร ทุกคนต้องรับทราบนโยบายอย่างทั่วถึง

ขั้นตอนการดำเนินการ ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย

นโยบาย มีเป้าหมาย ต้องมีนโยบายหลักขององค์กร และต้องมีแผนงานที่ชัดเจน

ปัญหาของการอนุรักษ์พลังงาน

โดยส่วนมากแล้วจะมุ่งเน้นการแก้ปัญหา โดยเฉพาะมาตรการทางวิศวกรรม (Engineering Solution)  มากกว่าที่จะพยายาม แก้… “ นิสัย จิตสำนึก และระบบการจัดการพลังงาน ” (Management Solution) ซึ่งการขาดจิตสำนึกด้านพลังงานต่อให้มีอุปกรณ์และเครื่องจักรดี แต่คนไม่ปฏิบัติตาม การอนุรักษ์พลังงานก็ไม่ประสบความสำเร็จ  ดังนั้นต้องทำให้ทั้งด้านคนและเครื่องจักรเดินหน้าการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพไปด้วยกัน

เป้าหมายของการจัดการพลังงาน

การควบคุมการใช้พลังงานขององค์กรต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ และเป็นระบบแบบยั่งยืน เช่นการประยุกต์ใช้มาตรฐานต่างๆ ที่เป็นสากล ได้แก่ • ISO 9001 :2000 ,  ISO 14001,  มอก.18001,  ANSI/MSE 2000 (Management System for  Energy),   DS 2403 E :2001  (Energy Management Specification)

เพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการพลังงาน และให้องค์กรต่างๆแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ก็จะช่วยทำให้ประเทศชาติมีต้นทุนการใช้พลังงานที่ถูกลง และมีความมั่นคงด้านพลังงานมากยิ่งขึ้น

บทความน่าสนใจ วิสัยทัศน์ (Vision) บริษัทแห่งวิสัยทัศน์ที่มั่งคั่ง มั่นคงและยั่งยืน

คลิปเครื่องหยอดเหรียญ ลงทุนหลักหมื่น กำไรเป็นแสน https://www.youtube.com/watch?v=-evN8YoIS8E&t=250s

You may also like...

1 Response

  1. เมษายน 3, 2020

    viagra

    WALCOME

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *