ส่วนแบ่งทางการตลาด การกำหนดตลาดเป้าหมาย และการวางตำแหน่งทางการตลาด

           ในการแข่งขันด้านการตลาด ก็หวังให้สินค้าของตนเองสามารถตอบสนองกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายหลักได้ และสามารถครอบครอบ ส่วนแบ่งทางการตลาด ที่ตนเองถนัดได้ เพื่อรักษาและการขยายปริมาณจำนวนผู้บริโภคและผู้ซื้อผลิตภัณฑ์ให้ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจัยและขั้นตอนในการกำหนดส่วนแบ่งทางการตลาด จะคำนึงถึงตลาดเป้าหมาย รู้กลไกล กฎเกณฑ์ข้อกำหนด และการวางตำแหน่งทางการตลาด

ส่วนแบ่งทางการตลาด

ส่วนแบ่งทางการตลาด

           การแข่งขันในกลุ่มตลาดเป้าหมาย ต้องผ่านวิเคราะห์ส่วนแบ่งทางการตลาดและกำหนดตลาดเป้าหมายให้ชัดเจน ถึงจะกำหนดเทคนิคสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันและกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขันในลำดับถัดไปได้

การตลาดตามเป้าหมาย

  • การตลาดแบบมวลชน เป็นการตลาดที่มุ่งในการผลิตครั้งละจำนวนมากๆ ทำการจัดจำหน่ายและส่งเสริมการตลาดครั้งละมากๆ สำหรับผลิตภัณฑ์เพียงแบบเดียวหรือน้อยแบบให้กับผู้ซื้อทั้งหมด เช่น โค้ก

  • การตลาดตามเป้าหมาย ผู้ขายจะเน้นที่การแบ่งกลุ่มเป้าหมาย และทำการเลือกกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่ม แล้วจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่วนผสมทางการตลาดให้เหมาะสมกับเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ในการทำตลาดเป้าหมาย ทำได้ 3 ขั้นตอน

    1. การระบุหรือกำหนดโครงร่างของกลุ่มผู้ซื้อ ที่ต้องการผลิตภัณฑ์หรือส่วนผสมทางการตลาดที่แยกต่างหากจากกันอย่างชัดเจน (การแบ่งส่วนตลาด)

    2. การเลือกหนึ่งส่วนตลาดหรือมากกว่าเพื่อทำการเข้าถึง (การกำหนดตลาดเป้าหมาย)

    3. การวางตำแหน่งการแข่งขันที่ได้เปรียบ (การวางตำแหน่งทางการตลาด)

การแบ่ง ส่วนแบ่งทางการตลาด

              ส่วนแบ่งทางการตลาด คือ การแบ่งตลาดออกเป็นผู้ซื้อกลุ่มเฉพาะที่แตกต่างกัน ในเรื่องของความต้องการ ลักษณะ หรือพฤติกรรม ซึ่งมีความต้องการในผลิตภัณฑ์หรือส่วนผสมทางการตลาดแยกออกจากกัน

ระดับของการแบ่งส่วนทางการตลาด

  • การตลาดแบบแบ่งส่วน (Segment Marketing) เป็นการแบ่งส่วนตลาดให้ประกอบด้วย กลุ่มลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่มีลักษณะเหมือนกัน รวบรวมเอาลูกค้าที่มีความต้องการที่คล้ายคลึงกัน เพื่อง่ายต่อการวางแผนทางการตลาด

  • การตลาดส่วนเล็ก (Niche Market) เป็นการกำหนดวงให้แคบขึ้นโดยมุ่งที่ลูกค้ากลุ่มเล็ก ที่ความต้องการยังไม่ได้รับการตอบสนอง ซึ่งกลุ่มเหล่านี้ ต้องการส่วนผสมทางการตลาดหรือผลประโยชน์พิเศษ กลุ่มลูกค้าในตลาดนี้มักจะมีความต้องการที่เด่นเฉพาะ และยินดีที่จะจ่ายในราคามี่สูงขึ้นสำหรับธุรกิจ ที่สามารถตอบสนองความพึงพอใจได้มากที่สุด

  • การตลาดระดับท้องถิ่น (Local Marketing) ตลาดท้องถิ่นได้รับความสนใจมากขึ้นในปัจจุบัน การกำหนดแผนการตลาดจะต้องทำให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นแต่ละกลุ่ม ส่วนมากมักนิยมทำการตลาดให้แตกต่างกันไปตามแต่ละภูมิภาค

  • การตลาดส่วนบุคคล (Individual Marketing) ระดับสุดท้ายของการตลาดตามเป้าหมาย คือ การตลาดที่มุ่งลูกค้าแต่ละคน ธุรกิจที่มุ่งการตลาดส่วนบุคคล จะมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของคอมพิวเตอร์ ที่นำมาทำฐานข้อมูลของลูกค้าแต่ละคน

เกณฑ์สำหรับการแบ่งส่วนทางการตลาดผู้บริโภค

  1. การแบ่งส่วนทางภูมิศาสตร์ (Geographic Segmentation) ใช้เกณฑ์นี้ในกรณีที่ความต้องการของผู้บริโภคหรือลักษณะการใช้ของผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับลักษณะต่างๆ โดยนักการตลาดต้องมีการวางแผนให้สอดคล้องกับแต่ละภูมิภาค

  2. การแบ่งส่วนตามประชากรศาสตร์ (Demographic Segmentation) เป็นการแบ่งตาม อายุ เพศ รายได้ ชนชั้นทางสังคม

  3. การแบ่งส่วนตามจิตวิทยา (Psychographic Segmentation) เป็นการแบ่งตาม บุคลิกภาพ และเกณฑ์การดำเนินชีวิต

  4. เกณฑ์ทางด้านพฤติกรรม (Behavioral Segmentation) การแบ่งส่วนตลาดโดยใช้เกณฑ์ทางด้านพฤติกรรมจะเป็นการแบ่งกลุ่ม ของผู้บริโภคโดยยึดหลักของความรู้ ทัศนคติ หรือปฏิกิริยาตอบสนองที่มีต่อผิตภัณฑ์ นิยมแบ่งเป็น โอกาสในการซื้อ ผลประโยชน์ สถานภาพของผู้ซื้อ อัตราการใช้ สถานภาพของความซื่อสัตย์ ขั้นตอนของความพร้อม และทัศนคติที่มีต่อผลิตภัณฑ์

เกณฑ์สำหรับการแบ่งส่วนทางการตลาดธุรกิจ

                ตลาดธุรกิจและตลาดผู้บริโภคสามารถใช้เกณฑ์หลายๆเกณฑ์ ในการแบ่งส่วนทางการตลาด เช่นการแบ่งส่วนทางภูมิศาสตร์  การแบ่งส่วนตามประชากรศาสตร์  การแบ่งส่วนตามจิตวิทยา  เกณฑ์ทางด้านพฤติกรรม โดย ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของหน่วยธุรกิจ คือ การพิจารณาประเภทของอุตสาหกรรม ขนาดธุรกิจ และทำเลที่ตั้งของโรงงาน  การพิจารณาตัวแปรในการดำเนินงานโดยดูจากเทคโนโลยีที่ใช้ สถานภาพของลูกค้า และความสามารถของลูกค้า เป็นต้น

การกำหนดตลาดเป้าหมาย

จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการ การประเมินผลส่วนตลาด และ การเลือกส่วนแบ่งทางการตลาด

  • การประเมินผลส่วนแบ่งทางตลาดมีปัจจัยสองอย่างที่ธุรกิจต้องคำนึงถึงคือ

    1. แรงจูงใจทั้งหมดของส่วนแบ่งทางตลาด ธุรกิจต้องพิจารณาถึงลักษณะต่างๆของแต่ละส่วนแบ่งทางตลาดว่ามีแรงจูงใจในเรื่องใดบ้าง เช่น ขนาด อัตราการเจริญเติบโต ความสามารถในการทำกำไร ความเสี่ยง นอกจำนั้นต้องดูด้วยว่าสามารถที่จะชักชวนลูกค้าในตลาดส่วนนั้นให้มาซื้อสินค้าและบิการของเราได้หรือไม่ กลุ่มป้าหมายมีมากน้อยเพียงใด มีกำลังซื้อที่เพียงพอหรือไม่

    2. วัตถุประสงค์และทรัพยากรของบริษัท ต้องทำการพิจารณาถึงการลงทุนในแต่ละส่วนแบ่งทางการตลาดว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และทรัพยากรของบริษัทหรือไม่ เพราะแม้ตลาดส่วนนั้นจะน่าสนใจหรือมีความสามารถในการทำกำไร แต่การลงทุนก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จถ้าขัดแย้งกับวัตถุประสงค์ของบริษัท

  • การเลือกส่วนการตลาด

  • การมุ่งส่วนการตลาด คือ บริษัทจะเลือกตลาดเพียงส่วนเดียว การทำเช่นนี้ จะทำให้ธุรกิจสามารถมุ่งสู่ตลาดส่วนนั้นได้เต็มที่ นอกจากนั้นยังทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินการอย่างประหยัดได้ แต่อย่างไรก็ตามจะมีความเสี่ยงสูง ถ้าตลาดส่วนนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้ง่าย

  • การเชี่ยวชาญเฉพาะบางส่วนตลาด คือ การที่บริษัทเลือกตลาดบางส่วนที่มีความดึงดูดใจหรือมีความเหมาะสมมาเป็นตลาดเป้าหมาย แต่วิธีนี้จะทำให้ธุรกิจไม่สามารถทุ่มเทให้กับแต่ละส่วนตลาดได้อย่างเต็มที่ กลยุทธ์นี้มีข้อดีคือ ถ้าตลาดใดที่มีแรงดึงดูดน้อยลงก็สามารถที่ยกเลิกได้ โดยที่ธุรกิจยังสามารถอยู่ได้โดยอาศัยตลาดส่วนอื่น

  • การเชี่ยวชาญเฉพาะผลิตภัณฑ์ เป็นรูปแบบธุรกิจที่เน้นผลิตภัณฑ์เพียงตัวเดียว และเสนอให้กับทุกกลุ่มเป้าหมาย วิธีนี้จะทำให้ธุรกิจมีชื่อเสียงจากการเป็นผู้นำด้านผลิตภัณฑ์นั้น แต่มีข้อจำกัดคือ ผลิตภัณฑ์อาจถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่

  • การครอบคลุมทุกส่วนตลาด เป็นวิธีที่ธุรกิจต้องเข้าไปตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทุกกลุ่ม และจะเข้าไปในส่วนตลาดทั้งหมดด้วยดารนำเสนอความพยายามทางการตลาดเพียงวิธีเดียวเหมือนกันหมด วิธีนี้ธุรกิจสามารถจูงใจคนทั่วไปอย่างกว้างๆและใช้วิธีการจัดจำหน่ายอย่างกว้างขวาง รวมทั้งใช้การโฆษณาผ่านสื่อมวลชนอย่างมาก

  • การตลาดที่แตกต่าง ธุรกิจจะดำเนินการในหลายๆกลุ่มตลาด และออกโปรแกรมทางการตลาดที่แตกต่างกันออกไปแต่ละกลุ่ม ธุรกิจเหล่านี้เชื่อว่าวิธีนี้ จะสามารถทำยอดขายได้สูงกว่า เนื่องจากธุรกิจต้องเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้มากกว่า

การวางตำแหน่งเพื่อการแข่งขันที่ได้เปรียบ

ตำแหน่งผลิตภัณฑ์ คือ วิธีการที่ผลิตภัณฑ์ถูกจำกัดความโดยผู้บริโภค หรือคือสถานที่ที่ผลิตภัณฑ์เข้าไปครอบครองในจิตใจของผู้บริโภคโดยการเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับการกำหนดกลยุทธ์ของส่วนผสมทางการตลาด การเปลี่ยนแปลงสถานที่จำหน่ายหรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ก็มีผลทำให้ตำแหน่งผลิตภัณฑ์เปลี่ยนไปด้วยเช่นเดียวกัน

กลยุทธ์การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์

  1. คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ เป็นการกำหนดตำแหน่งโดยนำเอาคุณลักษณะเด่นของผลิตภัณฑ์มาใช้

  2. ผลประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับ

  3. โอกาสของการใช้

  4. กลุ่มของผู้ใช้

  5. คู่แข่งขัน อาจเป็นการวางตำแหน่งที่แข่งขันกันโดยตรง หรือหลีกเลี่ยงการแข่งขัน

  6. ระดับชั้นของผลิตภัณฑ์

บทความน่าสนใจ  กลยุทธ์การแข่งขัน

คลิป เครื่องหยอดเหรียญ ลงทุนหลักหมื่น กำไรเป็นแสน https://www.youtube.com/watch?v=-evN8YoIS8E&t=101s

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *