อ้วน ที่อันตรายน้อยกว่า โรคอ้วน ซึ่งคนผอมก็เป็นได้ แล้วรู้ได้อย่างไร ?

              ตอนที่ 1     คำว่า อ้วน มีใครหลายๆคนพยายามสรรหาคำกำจัดความมาใช้แทน เพื่อกลบเกลื่อนหรือให้ดูดีขึ้นเช่น อวบ ท้วม ผอมระยะสุดท้าย แต่ต่อให้พูดแบบไหน ก็อ้วนอยู่ดี  หรือหากมีใครมาทักว่าเราอ้วนจะรู้สึกไม่เป็นมิตรขึ้นมาทันที จะรู้ได้อย่างไรว่า อ้วน หรือเป็นเพราะแค่เรามีลักษณะรูปร่างโครงสร้างของร่างกายที่ใหญ่โตที่ดูเหมือนว่าอ้วนเท่านั้น หรือตนเองเป็น โรคอ้วน

โรคอ้วน

รู้ได้อย่างไรว่าเป็น โรคอ้วน

รู้ได้อย่างไรว่า อ้วน เขาใช้เกณฑ์อะไรมาวัดหรือการตัดสินกัน

       คำว่าเกณฑ์นั้นหมายถึง มาตรฐานที่ทำให้คนส่วนใหญ่ยอมรับได้แบบสนิทใจ  โดยเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งแยกคำว่า อ้วนในปัจจุบันนั้น มีมาตรฐานซึ่งอันเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกอยู่ 3  รูปแบบด้วยกันคือ

       1. ค่าดัชนีมวลกาย ( Body Mass Index :BMI) เป็นค่าบ่งบอกสัดส่วนที่เหมาะสมของน้ำหนักต่อส่วนสูง นอกจากนี้แล้วเกณฑ์นี้ยังมีประโยชน์มาก เพราะเกณฑ์นี้สามารถนำข้อมูลเชิงสถิติ เพื่อชี้บ่งว่าสถานะรูปร่างของเราในปัจจุบันนั้น มีความเสี่ยงต่อการก่อเกิดโรคเสื่อมต่างๆ อันมีต้นเหตุมาจากความอ้วนได้  เช่นข้อมูลเชิงสถิติใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความอ้วนกับอัตราการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคเสื่อมอันได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นต้น

โดยดัชนี BMI สามารถคำนวณได้จาก = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)/ ส่วนสูง (เมตร)2

      ยกตัวอย่าง สมมติถ้าเราหนัก 64 กิโลกรัม และมีส่วนสูง 1.66 เมตร BMI ฺ= 64/(1.66×1.66) = 23.22 ลองคำนวณ BMI ของคุณเองสิครับ…..อิๆๆ

   พอเราได้ค่า BMI แล้ว ต้องนำค่าที่ได้ไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ค่าดัชนีมวลกาย BMI  มาตรฐาน เพื่อบ่งชี้ว่าตัวเรากำลังตกอยู่ในสภาวะใด เป็นคนผอมไป ปกติหรืออ้วนแล้ว ซึ่งองค์การอานามัยโลก ได้กำหนดเกณฑ์สำหรับการวิเคราะห์ให้เหมาะสมกับคนที่มีรูปร่างและโครงสร้างร่างกายใหญ่-เล็กแตกต่างกัน ดังนั้นคนที่มีโครงสร้างต่างกันจะต้องใช้เกณฑ์ที่ต่างกัน โดยแบ่ง BMI ออกเป็น 2 เกณฑ์หรือ 2 กลุ่มด้วยกันคือ สำหรับกลุ่มชาว อเมริกา-ยุโรป และ เกณฑ์สำหรับคนคนเอเชีย ซึ่งเป็นการศึกษาและรวมข้อมูลจากประเทศ จีน ฮ่องกงและอีกหลายๆประเทศในแถบเอเชีย เพื่อบ่งบอกสถานภาพความอ้วน ให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ภายใต้การตกลงของ International Obesity Task Force (IOTF) ดังนี้

โรคอ้วน

        2. รูปแบบที่สองเหมาะสำหรับคนที่ไม่ค่อยถนัดเรื่องคำนวณ ด้วยการวัดรอบเอว ซึ่งเราต้องยืนตัวให้ตรงปลายเท้าห่างกันประมาณ 10 เซ็นติเมตร แล้วเอาสายวัดขนาดร่างกายเรา 2 ส่วนด้วยกันคือ  1 ) การวัดบริเวณเอวผ่านสะดือขนานกับผิวโลก  2) วัดที่สะโพกบริเวณที่ยื่นออกมามากที่สุด หลังจากนั้นนำค่าที่วัดได้จากเอว ไปหารด้วยค่าที่วัดได้จากสะโพก แล้วนำไปเปรียบเทียบเกณฑ์บ่งบอกว่าอ้วนหรือไม่  สำหรับคุณผู้ชายหากค่าที่ได้มากกว่า 0.8 แสดงว่า อ้วน และสำหรับคุณผู้หญิงค่าที่ได้มากกว่า 0.95 ก็แสดงว่าคุณอ้วนเช่นเดียวกัน

         3. การวัดแบบ ดี เอ็นเอ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยม เพราะเป็นเทคโนโลยีใหม่จากต่างประเทศ ซึ่งมีข้อดี โดยจะทำให้เรารู้ได้ว่า ร่างกายมีความต้องการพลังจากสารอาหารมากน้อยเพียงใด เพื่อใช้เป็นข้อมูล ในการหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ให้พลังงานสูงหรือบริโภคอาหารมากเกินความจำเป็น จึงช่วยให้เราสามารถควบคุมปริมาณการกินอาหารได้ รู้ว่าตนเองควรกินอาหารประเภทใดได้บ้างและควรกินอาหารในปริมาณเท่าไหร่  ถึงจะไม่อ้วน  แต่สำหรับประเทศไทยยังคงมีอุปกรณ์นี้ไม่กี่สถานที่เท่านั้น

รู้ได้อย่างไรว่าเป็น โรคอ้วน

  คำนิยามของคำว่าอ้วนและคนเป็นโรคอ้วน

      คำว่าอ้วน หมายถึง การที่ร่างกายมีรูปร่างที่ไม่เหมาะสมกับสัดส่วน ซึ่งก็ยังเป็นอันตรายน้อยกว่า การเป็นโรคอ้วน และคนอ้วนทุกคนก็ไม่ได้ตกอยู่ภายใต้สภาวะของโรคอ้วนกันทุกๆคน และที่สำคัญไม่ใช่เฉพาะคนอ้วนอย่างเดียวเท่านั้นที่มีโอกาสเป็นโรคอ้วนได้ เพราะคนที่มีร่างกายอยู่ในสัดส่วนที่ปกติก็สามารถรถเป็นโรคอ้วนได้ เพราะว่า

   โรคอ้วน หมายถึง การที่ร่างกายมีเปอร์เซ็นต์การสะสมไขมันที่สูงกว่าปกติ ซึ่งการวัดน้ำหนักตัวเกินเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถยืนยันได้ 100 %ว่าเป็นโรคอ้วน และสำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวปกติก็อาจจะมีปริมาณไขมันในร่างกายที่สูงกว่าปกติได้  เพราะไขมันในร่างกายนั้น ไม่สามารถวัดได้ด้วยเครื่องชั่งน้ำหนักธรรมดา แล้วสามารถคำนวณหรือบอกเป็นเปอร์เซ็นต์ไขมันได้ และไขมันในตัวเราเองก็ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และที่พิเศษกว่านั้นคนที่มีรูปร่างผอมบางคน ที่นิยมบริโภคอาหารประเภทไขมันสูงก็อาจเป็นโรคอ้วนได้เช่นกัน

    แล้วมีเครื่องมือวัดชนิดใดบ้าง ที่สามารถบ่งบอกปริมาณไขมันในร่างกายได้

   1. การวัดไขมันด้วยการวิเคราะห์ผลแล็บทางการแพทย์ ซึ่งสามารถตรวจปริมาณไขมันในเลือดได้  โดยไขมันแบ่งออกเป็น  คลอเรสเตอรอล LDL: Low  Density Lipoprotein cholesterol ซึ่งเป็นไขมันชนิดไม่ดี(ไขมันเลว) และ HDL: High  Density Lipoprotein เป็นไขมันดีและทำหน้าที่ ป้องกันไม่ให้ไขมันไม่ดี LDL ไปสะสมในหลอดเลือดแดง  เกณฑ์พิจารณาไขมันในเลือด ให้นำ LDL หารด้วย HDL ถ้าหากค่าที่คำนวณได้มากกว่า 2 แสดงว่า อ้วน เป็นโรคอ้วนมีไขมันในร่างกายสูง

    2. วิธีการวัดปริมาณไขมัน จากความต้านทานกระแสไฟฟ้าในร่างกาย หลักการทำงานคือ กระแสไฟฟ้าจะสามารถไหลผ่านของเหลวที่อยู่ตามกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อ ที่ปราศจากไขมันได้ดี แต่สามารถไหลผ่านได้น้อยหรือไม่สามารถไหลผ่านในไขมันได้  เกิดเป็นความต้านทานในร่างกาย จึงสามารถทำให้เรารู้ได้ว่า มีการสะสมไขมันในร่างกายมากน้อยเพียงใด

โรคอ้วน

เราสามารถแบ่งคนที่เป็น โรคอ้วน ตามลักษณะการสะสมไขมันได้เป็น 2 แบบคือ

     1. การสะสมไขมันที่บริเวณท้องในปริมาณมาก จึงทำให้ร่างกายมีลักษณะรูปร่างคล้าย “แอปเปิ้ล” การสะสมไขมันประเภทนี้ จะเป็นอันตรายมากกว่าแบบที่2  เพราะฐานไม่แข็งแรง ซึ่งจะมีโอกาสทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมาได้ง่ายกว่า เพราะขาและข้อต่อต่างๆจะรับน้ำหนักมากกว่า เมื่อมีเคลื่อนไหวร่างกาย ก็จะทำให้ข้อต่อต่างๆรับนำหนักมากกว่าที่มันจะมีความสามารถรับได้ และอาจก่อให้เกิดการอักเสบบริเวณข้อต่างๆได้สูงขึ้น

      2.การสะสมไขมันที่ส่วนล่างของร่างกาย โดยไขมันมีการสะสมไว้ ตามบริเวณสะโพกและต้นขา จึงทำให้มีลักษณะคล้าย”ลูกแพร์”  ซึ่งจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงโดยส่วนใหญ่ เพราะเป็นไปตามลักษณะรูปร่างของผู้หญิง

โรคอ้วน

ความเสี่ยงสำหรับคนเป็น โรคอ้วน

          อาจจะมีคำถามจากคนอ้วนหลายๆท่านว่า  อ้วน แล้วไง คนอื่นๆรู้ไหมว่า กว่าที่จะอ้วนต้อและมีรูปร่างสมบูรณ์ได้ขนาดนี้ต้องลงทุนไปเท่าไร  คนอ้วนก็จะรู้สึกภูมิใจนิดๆ ว่ามันเป็นเรื่องของคนมีอันจะกิน 555

           แล้วหากจะให้คนอ้วนมาลดความอ้วนละก็ เรื่องอะไรจะลดความอ้วน เพราะมันเป็นเรื่องที่ยากลำบากและต้องครุ่นคิดหลายๆอย่าง อาทิเช่น ถึงอ้วนก็ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน  แต่คนอ้วนและคนที่เป็นโรคอ้วนนั้น  ควรหันมาใส่ใจรูปร่างและการสะสมไขมันในร่างกายมากขึ้นดีกว่า  เพราะการเป็นโรคอ้วน จะกลายเป็นคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย  จากข้อมูลเชิงสถิติพบว่า

  • คนเป็นโรคอ้วน 10 คน จะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน 8 คน

  • คนเป็นโรคอ้วน 3 คน จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็ง 1 คน

  • คนเป็นโรคอ้วน 4 คน จะมีโอกาสเป็น หลอดเลือดสมองตีบหรือหลอดเลือดสมองแตก 1 คน

  • คนเป็นโรคอ้วน 3 คน จะมีโอกาสเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี 1 คน

  • คนเป็นโรคอ้วน 5 คน จะมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูง 3 คน

  • คนเป็นโรคอ้วน 5 คน จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจ 2  คน

  • คนเป็นโรคอ้วน 5 คน จะมีโอกาสเป็นโรคเกาต์ 2 คน

         เมื่อโรคอ้วนมีความเสี่ยงมากกมาย อยากลดความอ้วนและการสะสมไขมันในร่างกายควรทำอย่างไร

   การลดความอ้วนมีหลายวิธีและวิธีกำลังเป็นที่สนใจสำหรับคนสมัยนี้คือ ต้องเป็นวิธีง่ายๆและลดน้ำหนักได้รวดเร็วนั้นคือ การใช้ยาลดความอ้วน และการอดอาหาร ซึ่งเป็นการลดอ้วนที่ผิดวิธี เพราะจะทำให้เกิดผลเสียตามมาอีกมากมาย ส่วนคนที่ลดความอ้วนด้วยการกินยาลดความอ้วนนั้น จะไม่ทำให้เกิดความหิวและไม่กินข้าว ก็จะทำให้อวัยวะที่ต้องการอาหารมากที่สุด นั้นคือสมอง ซึ่งปกติแล้วสมองต้องการน้ำตาลจากแป้ง เพื่อให้เซลล์สมองได้รับพลังงานที่เพียงพอ และหากสมองได้รับพลังงานไม่เพียงพอ ก็จะทำให้สมองเสื่อม  ดังนั้นควรใส่ใจต่อสุขภาพและโดยวิธีลดน้ำหนักอย่างถูกวิธีเบื้องต้นมีดังนี้

   1.กินเท่าที่ร่างกายต้องการ การลดปริมาณอาหารลง แต่ยังได้รับสารอาหารที่ครบ 5 หมู่และใได้รับพลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยจะต้องไม่น้อยไปกว่าความต้องการพลังงานอย่างน้อย 1,200 กิโลแคลเลอรี่

     2.การลดการสะสมไขมัน ควรกินอาหารให้ครบทุกมื้อ โดยเฉพาะคาร์โบไฮเดรต ในมื้อเช้าและไม่ควรกินอาหารเช้าเกินเวลา 9.00 น. เพราะถ้าเซลล์สมองได้พลังงานที่เพียงพอก็จะทำให้สมองตื่นตัวและทำงานได้ดี

     3.ไม่ควรกินอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่นน้ำอัดลม น้ำหวาน กาแฟที่ใส่นมและน้ำตาลเยอะๆ

     4.ควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลา ตามนาฬิกาชีวิต ไม่ควรกินอาหารดึกจนเกินไป สำหรับมื้อเย็นไม่ควรกินอาหารเกิน 19.00น.

    5. เรียนรู้วิธีการลดน้ำหนักอย่างถูกวิธี และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อและเพิ่มประสิทธิภาพในการเผาผลาญไขมัน สามารถเรียนรู้การลดอ้วนให้หุ่นดีได้ในบทต่อไป

    6. มีคำถามฝากให้ชวนคิด สำหรับคนอยากลดความอ้วน รู้สึกอย่างไรกับคำถามต่อไปนี้ กินเท่าที่ใจต้องการ  หรือ จะกินเท่าที่ร่างกายต้องการ

อ่านต่อ:  ตอนที่ 2 วิธีลดอ้วนอย่างถูกวิธีและไม่ทำให้กลับมาอ้วนเหมือนเดิม ลดอ้วนโดยไม่เกิด โยโย่เอฟเฟค ( YOYO effect )

You may also like...

1 Response

  1. เมษายน 16, 2020

    viagra

    WALCOME

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *