โรคเก๊าท์ คือ โรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งที่เกิดจากภาวะกรดยูริคสูงผิดปกติ เป็นเวลานาน

        การเจ็บปวดตามข้อ นับได้ว่าเป็นสิ่งรบกวนจิตใจเป็นอย่างมาก เพราะร่างกายมีจำนวนข้อต่อต่างๆอยู่มากมายเพราะคนเราก็มักเคลื่อนไหวอยู่เสมอ   ซึ่งการเคลื่อนไหวก็ทำให้ข้อต่อต่างๆ เกิดการเคลื่อนที่ แต่การเคลื่อนที่แล้วไปกระทบข้อต่อที่ไม่ปกติ ก็มักสร้างปัญหา สร้างความเจ็บปวด บทความนี้จึงขอนำเสนอ โรคเก๊าท์

         โรคเก๊าท์ คือ โรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งที่เกิดจากภาวะกรดยูริคสูงผิดปกติ เป็นเวลานาน มีผลทำให้เกิดจุดในเลือดตกผลึกตามเนื้อเยื่อรอบข้อต่างๆ เป็นโรคที่สร้างความทุกข์ทรมาน ซึ่งพบในผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป  พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง  ส่วนผู้หญิงมักจะพบได้ในวัยหมดประจำเดือนแล้ว  ที่พบบ่อยคือ ข้อนิ้วเท้า ข้อเข่า มีภาวะกรดยูริคคั่ง เกิดจาก

    1 การสลายตัวของโปรตีนในอาหารที่รับประทานเข้าไป

    2 ผลพลอยได้จากการ จากกระบวนการสร้างโปรตีนในร่างกาย

   3 ไตมีปัญหาในการขับกรดยูริคออกจากร่างกาย

   4 การรับประทานยาเช่น ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ยารักษาเบาหวาน ทำให้เกิดกรดยูริคตกตะกอนง่ายขึ้น

    5 เกิดจากกรรมพันธุ์

โรคเก๊าท์

อาการของโรคเก๊าท์

    1 อาการเฉียบพลันคือ อาการปวดข้อกระดูกบวมแดงร้อนเคลื่อนไหวข้อจะปวดมากปวดข้อเดียว พบบ่อยที่ข้อโคนนิ้วหัวแม่ เท้าอาการปวดมากเพิ่มขึ้นในระยะเวลาอันสั้น  และเมื่อเคยเป็นที่ข้อไหนก็มักจะเป็นซ้ำที่ข้อเดิม

    2 มักจะอักเสบในช่วงเวลากลางคืนหรือหลังจากการเดินหรืออาการเกิดจากหนังออกกำลังกายมากเกินไป  จากการได้รับบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง  จากการทานอาหารที่มียูริคสูงหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

    3 โครงสร้างของกระดูกจะผิดรูปจากรูปร่างเดิมเช่น นิ้วมือคดงอ ทำให้เกิดการสูญเสียสมรรถภาพในการเคลื่อนไหว

    4 มีอาการไตวายแทรกซ้อน ในรายที่มียูริคตกผลึกในไต

   5 ถ้าเป็นชนิดเรื้อรัง พบมีปุ่มก้อนนูนรอบรอบข้อ ที่เคยเกิดการอักเสบอาจแตกเป็นแผลและมีสารเป็นก้อนสีขาวคล้ายแป้งทะลักออกมา

โรคเก๊าท์

หลักการปฏิบัติตนของผู้ป่วยโรคเก๊าท์

ควรรักษาทันทีที่มีอาการยิ่งรักษาช้าก็ยิ่งหายช้า

1 การลดความปวด ด้วย

1.1 การทานยาแก้ข้ออักเสบทันที เป็นยาที่แพทย์เคยสั่งให้จากการปวดครั้งก่อน

1.2 ไปพบแพทย์ในวันรุ่งขึ้น ไม่ควรซื้อยามาทานเอง เพราะอาจทำให้มีอาการเรื้อรังและหายช้า

1.3 ห้ามนวดหรือใช้ยาใดใด ถ้าบริเวณข้อที่อักเสบ

1.4 ควรใช้ความเย็นประคบ แต่ไม่ควรเกินครั้งละ 20 นาที

2 การป้องกันโรคแทรกซ้อนและการหายช้า

2.1 ได้ตรวจรักษาทันทีที่เริ่มเจ็บข้อ

2.2 ควรระวังอย่าให้เป็นโรคเกาต์เรื้อรัง

2.3 ระวังผิวหนังและแผลอักเสบ

 3 การป้องกันการกลับมาเป็นใหม่

3.1 ลดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ หลีกเลี่ยงการได้รับบาดเจ็บเช่น เท้าแพลง ควรออกกำลังกายตามที่แพทย์แนะนำ

3.2 ทานยาป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดอาการของโรคกลับมาภายใต้การดูแลของแพทย์

 3.3 โรคเก๊าท์สามารถหายขาดได้ ถ้ารักษาตั้งแต่เริ่มต้น

3.4 ดื่มน้ำให้เพียงพอ ในแต่ละวันประมาณ 6-8 แก้วโดยประมาณ

4 ควรพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายเป็นประจำ

4.1 เจาะเลือดเพื่อตรวจดูระดับกรดยูริคและทานยาตามที่แพทย์สั่ง

5 ตรวจหาโรคอื่นที่มีความสำคัญ

 5.1 ภาวะไขมันในเลือดสูงโรคเบาหวานโรคความดันโลหิต

โรคเก๊าท์

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับคนเป็นโรคเก๊าท์

1 เหล้าเบียร์เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด

2 เครื่องในสัตว์ทุกชนิดทุกส่วน

3 ไข่ปลา ไข่ปู

4 หน่อไม้ สะเดา สะตอ กระถิน ชะอม

5 ปลาดุกปลาอินทรีย์ ปลากระป๋อง

 6 สัตว์ปีกทุกชนิด

7 ถั่วแดงถั่วดำถั่วเหลืองน้ำเต้าหู้เต้าหู้

8 ถั่วเขียว ถั่วงอก

9 ปลาหมึกหอย

บทความที่น่าสนใจ

ปวดกล้ามเนื้อ อาการไม่รุนแรง เรื้อรังแถมยังสร้างความรำคาญให้กับคนวัยทำงาน

ออกกําลังกาย ตอนไหนดีที่สุด เพื่อให้ร่างกายได้รับประโยชน์สูงสุด

ขอขอบคุณข้อมูลจากแผ่นพับ จากโรงพยาบาลเอกชล

 

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *