ของเล่นภูมิปัญญาไทย ของเล่นไทยพื้นบ้าน ของเล่นโบราณ ทําเอง

 

      เมื่อย้อนไปสมัยอตีดสัก 50 ปี สำหรับเด็กท้องถิ่น คงมีโอกาสได้เล่นของเล่นสนุกๆ จากคนเฒ่า-คนแก่ พ่อ-แม่หรือปู่-ย่า ตา-ยาย ซึ่งมักจะประดิษฐิ์ของเล่น โดยอาศัยภูมิปัญญาชาวบ้าน ด้วยการสังเกตกลไกลทางธรรมชาติและการประยุกต์วัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่นมาทำเป็นของเล่นให้เด็กๆ

ของเล่นภูมิปัญญาไทย

ของเล่นภูมิปัญญาไทย

      ของเล่นภูมิปัญญาไทย คือของเล่นสำหรับเด็กไทย แบบไทย ไทย ที่ช่วยส่งเสริมทักษะทางร่างกายและสติปัญญา ช่วยทำให้เด็กมีพัฒนาการเหมาะสมกับวัย สร้างความแข็งแรงของร่างกาย ทำให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการทำของเล่นด้วยตนเอง เป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้แก่เด็กๆ ฝึกให้เด็ก คิดริเริ่มสร้างสรรค์  ตลอดจนทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้วิธีการประยุกต์ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น หรือสิ่งที่เหลือใช้มาดัดแปลงทำเป็นของเล่นได้ เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านไทย

       ประโยชน์ที่ได้จากของเล่นทำจากวัตถุดิบธรรมชาติ จะไม่เป็นอันตราย ซึ่งตรงกันข้ามกับของเล่นในปัจจุบัน โดยส่วนใหญ่ล้วนประดิษฐ์ขึ้นจากการสกัดและการสังเคราะห์ของสารเคมี ซึ่งอาจจะมีส่วนผสมของวัตถุดิบบางอย่างที่เป็นอันตราย เพราะเมื่อเด็กสัมผัส อมหรือเคี้ยวของเล่น  อาจจะทำให้เด็ก ได้รับสารเคมีปนเปื้อนเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกายได้ ทำให้เด็กไม่สบาย หรือสารเคมีบางอย่างเป็นอันตรายต่อเด็ก อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

       ของเล่นภูมิปัญญาไทย จะเกิดประโยชน์มากขึ้น ถ้าได้รับการส่งเสริมอย่างเป็นรูปธรรม มีระบบ มีการพัฒนา และมีการสอดแทรกหลักทางวิชาการเช่น การใช้สูตรคำนวณทางคณิตซึ่งคิดออกเป็นเชิงตัวเลขได้ หรือการอธิบายด้วยหลักทางวิทยาศาสตร์ จะทำให้เด็กรู้สึกสนุกไปพร้อมๆกับการเรียนรู้  ฝึกให้เด็กๆคิดอย่างเป็นระบบ มีแบบแผน นอกจากนี้ ของเล่นภูมิปัญญาไทย บางอย่างช่วยทำให้เด็กได้ฝึกเรียนรู้  ถึงวิถีการดำรงชีวิต  เป็นความรู้ในการพึงพาตนเอง รู้วิธีการสร้างเครื่องมือทำมาหากินเช่น รู้วิธีการสร้างเครื่องมือล่าสัตว์ มีจินตนาการมีเป้าหมายด้านอาชีพที่อยากจะเป็น ช่วยทำให้เด็กสามารถเอาชีวิตรอดในสังคมได้

 

       ของเล่นภูมิปัญญาไทย เป็นการประดิษฐ์ของเล่นขึ้นตามวัฒนธรรมประเพณี ค่านิยมและภูมิปัญญาไทย มีดังต่อไปนี้

ของเล่นภูมิปัญญาไทยปืนก้านกล้วย

     1. ปืนก้านกล้วย เป็นการนำเอาก้านกล้วย หลังจากที่ผู้ใหญ่หั่นเอาใบกล้วยออก เพื่อนำไปใช้ในการห่ออาหาร ทำขนม หลังจากนั้นส่วนที่ทิ้งคือก้านกล้วย  ก็จะนำไปทำเป็นของเล่นให้กับเด็กๆได้วิ่งเล่น ได้สนุกสนาน และจะได้ไม่รบกวนผู้ใหญ่ทำงาน  เช่น การทำปืนก้านกล้วย  วิธีการทำปืนก้านกล้วยคือ การเฉือนตรงสันก้านกล้วยให้ยาวประมาณ 2 นิ้ว แล้วหักขึ้น ทำเป็นนกสับ  เพื่อปืนลั่นเป็นเสียงได้  ซึ่งจะทำนกสับหลายๆอัน เพื่อให้ยิงปืนได้หลายๆ นัด  วิธีการเล่นก็ไม่ยาก เพียงแค่ใช้ฝ่ามือแบแล้วปัดให้ส่วนที่หักขึ้นล้มลงไปแนบกับก้านกล้วย จะยิงให้หมดทุก หรือยิงครั้งละนัดก็ได้  จะเกิดเสียงดังแปล๊บๆๆ ราวกับปืนลั่น

ของเล่นภูมิปัญญาไทยปืนลูกคอม

   2. ปืนลูกคอม ลูกคอมเป็นผลไม้ป่ายืนต้นชนิดหนึ่ง โดยผลจะสุก ก็จะตกอยู่ในฤดูเกี่ยวข้าวนาปี ผลสุกจะมีสีดำสามารถกินได้  วิธีการกินลูกคอมคือ เคี้ยวแล้วดูดกินน้ำหวาน รสชาติจะเปรี้ยวอมหวาน ส่วนลูกดิบ จะนำมาทำเป็นลูกกระสุนของปืนลูกคอม

     ขั้นตอนในการทำปืนลูกคอมคือ ตัดไม้ไผ่ลำเล็กๆ ลำประมาณหัวแม่มือ ให้มีรูข้างใน กว้างประมาณแท่งดินสอ ทำการตัดส่วนปลายปล้องไม้ไผ่ทิ้งและตัดส่วนต้นลำปล้อง ให้เหลือประมาณ 3 ข้อนิ้วมือ หลังจากนั้นทำการเหลาไม้ไผ่ เพื่อทำเป็นแส้ปืน สวมอัดกับส่วนต้นของลำปล้อง แล้วนำแส้ปืนไปเทียบกับปลายลำปล้อง โดยให้แส้ปืนสั้นกว่าปลายลำกล้องเท่ากับขนาดของลูกคอม

     วิธีการยิงปืนลูกคอม ทำการอัดลูกคอมลูกแรกเข้าไปในลำกล้อง แล้วใช้แส้ปืนดันลูกคอมให้ไปอยู่ส่วนปลายของลำกล้อง ทำการอัดลูกคอมที่ 2 เข้าไป แล้วใช้แส้ปืนดันลูกคอม  มันก็จะเกิดแรงดัน  หลังจากนั้นเราจะทำการกระแทกแส้ปืนแรงๆ มันก็จะดันลูกคอมส่วนปลายพุ่งไปยังเป้าที่เล็งไว้ เหมือนกับการยิงปืนและมีเสียงดังปั้ง

ของเล่นภูมิปัญญาไทย

    3. ปลาทางมะพร้าวและนาฬิกาทางมะพร้าว เป็นการประยุกต์ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นและทักษะการจักสาน ในการทำของเล่นให้กับเด็กๆ  ทำให้เด็กได้เรียนรู้งานจักรสาน ที่มีลวดลายประยุกต์ ที่เหล่าบรรพบุรุษไทยสังเกตได้จากธรรมชาติเช่น การทำรังของนกกระจาบ การจักรสานสามารรถช่วยเพิ่มความแข็งแรงทนทานให้กับสิ่งที่ประดิษฐิ์  การจักสานอยู่ในวิถีการดำรงชีวิต เพราะการจักสานเป็นพื้นฐานของการสร้างเครื่องมือทำมาหากินของคนยุคอดีตเช่น การสานไซดักปลา การสานกระด้ง  การสอนเด็กๆให้รู้วิธีการจักรสานเริ่มได้จากสิ่งง่ายๆ  ซึ่งพวกเขาสามารถทได้ด้วยตนเอง  แล้วจะทำให้เด็กๆสามารถต่อยอดไปหาสิ่งที่ยากขึ้นไปเรื่อยๆ จนสามารถนำความรู้ไปใช้ สร้างเครื่องจักรสานสำหรับการดำเนินชีวิตได้

ของเล่นภูมิปัญญาไทย

    4. การทำว่าว วิธีการทำว่าว เริ่มจากนำไม้ไผ่มาเหลาทำเป็นโครงว่าว ซึ่งโครงสร้างของว่าวจะทำเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น รูปร่างคล้ายนก และที่นิยมกันมากสำหรับคนไทยคือ ว่าวรูปจุฬา หลังจากนั้นนำเชือกไหมเบ็ดหรือเชือกไนล่อนผูกโครงสร้างให้ติดกัน แล้วนำเชือกที่เหลือผูกเป็นเชือกสำหรับเชิด หลังจากนั้นนำหนังสือพิมพ์หรือกระดาษสำหรับทำว่าว มาติดทากาวแล้วนำไปติดกับโครงไม้ไผ่ หลังจากนั้นทำหางว่าวเพื่อการถ่วงดุล

       ประโยชน์ว่าวของเล่นนอก จากจะสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังเป็นของเล่นที่สามารถพัฒนาทักษะด้านร่างกาย เพราะสามารถสร้างความแข็งแรงจากการวิ่งเล่น และวิธีคิดเชิงระบบเป็น เพราะได้เรียนรู้ลำดับการทำงานจาการลงมือทำว่าว  ถึงว่าวจะไม่ใช่ของเล่นภูมิปัญญาไทย โดยกำเนิดแต่ ก็อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน

ของเล่นภูมิปัญญาไทย

    5. การทำเลื่อยตัดไม้ (ของเล่น) วิธีการทำ นำฝาจีบสำหรับปิดฝาขวดน้ำอัดลมหรือขวดแก้วเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ทำการทุบด้วยฆ้อนให้แบนแล้วเจาะรู 2 รู โดยให้แต่ละรูห่างจากเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร หลังจากนั้นใช้เชือกไหมเบ็ดหรือไนลอนร้อยผ่านรูทั้ง 2 ให้ยาวประมาณ 1 ฟุต ทำการมัดหัวท้าย 

       วิธีการเล่น จับใบเลื่อย(ฝาจีบ)ให้อยูตรงกลางของเชือก แล้วทำการแกว่งเชือกให้เป็นเกลียว จากนั้นทำการดึงเชือกให้ตึงและปล่อยเชือกให้หดตัว สลับไปมา แล้วนำไปตัดปลายหญ้าอ่อน รับรองได้ว่าขาดได้โดยง่าย แต่ในระหว่างที่เด็กเล่นนั้น ควรแนะนำให้เด็กๆรู้ถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น

      ประโยชน์จากการทำเลื่อยตัดไม้ของเล่น เป็นการฝึกทักษะการวางแผนให้แก่เด็ก ฝึกให้เด็กๆรู้จักการใช้เครื่องมือช่าง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถนำเอาอุปกรณ์เหลือใช้มาทำเป็นของเล่นได้

ของเล่นภูมิปัญญาไทย

    6. หนังสติ๊กยิงเป้า วิธีทำ ค้นหาไม้สามง่ามที่อยู่ตามป่า ทำการเหลาด้านปลายของไม้สำหรับยึดกับยางสติ๊ก อีกด้านหนึ่งของยางสติ๊กผูกติดกับหนังเทียมสำหรับใส่ลูกหนังสติ๊ก

      วิธีการยิงหนังสติ๊ก หาก้อนหินขนาดพอเหมาะเท่าหัวแม่มือ ใส่เข้าไปในเบ้าของหนังเทียม แล้วใช้มือจับรวบกับก้อนหินไว้ ใช้มืออีกข้างหนึ่งจับด้ามหนังสติ๊ก  จากนั้นยืดหนังสติ๊กให้ตึง ทำการเล็งหนังสติ๊กไปยังเป้าหมาย หลังจากนั้นปล่อยมือด้านที่จับหนังเทียม โดยจะไม่ปล่อยมือด้านที่จับด้ามหนังสติ๊กเอาไว้

     ปัจจุบันยังพอได้เห็นการใช้หนังสติ๊ก โดยเฉพาะชนบทที่ได้จัดกิจกรรมการอนุรักษ์ป่าไม้ ในท้องถิ่นของตนเองเช่น การส่งเสริมให้ใช้หนังสติกยิงลูกของต้นยางนาออกไปให้ไกลๆ เพื่อทำการขยายต้นไม้ในพื้นที่ป่าให้มากขึ้น

      ประโยชน์ของการทำหนังสติ๊กสำหรับเด็กเล่น ทำให้เด็กรู้จักการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 รู้จักการวางแผน รู้จักการคาดคะเน การกะระยะ และเป็นการฝึกการใช้สมาธิ ให้จิตนิ่งหรือการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ของเล่นภูมิปัญญาไทย

     7.  การทำโทรศัพท์กระป๋อง วิธีทำ นำกระป๋องนมข้นหวานไปเจาะเปิดฝา ให้หลุดออกจากตัวกระป๋อง หลังจากนั้นทำการเจาะก้นกระป๋องโดยใช้ตะปูตอก ทำเหมือนกันให้ได้ 2 กระป๋อง แล้วหาเชือกไหมเบ็ดยาวประมาณ 3 เมตร ร้อยผ่านรูก้นกระป๋อง แล้วผูกปลายเชือกให้เป็นปม ป้องกันไม่ให้เชือกหลุดออกจากกระป๋อง

      วิธีการเล่นคล้ายๆ กับการรับ-ส่งโทรศัพท์  ใช้คนเล่น 2 คน โดยให้หนึ่งคนเป็นฝ่ายพูด และอีกคนเป็นฝ่ายรับ คนพูดจะพูดใส่กระป๋อง เพื่อให้เสียงผ่านสายไปยังคนรับ คนรับจะใช้กระป๋องครอบหู เพื่อฟังอีกฝ่ายหนึ่งพูด ในยุคอดีตการเรียนการสอนเรื่องเสียงตามสาย ยังได้รับความนิยมจากอาจารย์หรือคุณครู เพื่อให้เด็กนักเรียนสามารถเข้าใจเรื่องเสียงตามสาย 

      ประโยชน์ในการทำโทรศัพท์กระป๋อง ทำให้เด็กเรียนรู้ หลักการทำงานของเสียงตามสาย ทำให้เด็กรู้จักประยุกต์ของใช้ที่ทิ้งแล้วให้เกิดประโยชน์ รู้จักการใช้เครื่องมือช่าง

ของเล่นภูมิปัญญาไทย

       8.  ของเล่นที่เกิดขึ้น จาการเกษตรและการเครื่องมือทำมาหากิน

       ในบางครั้ง ของเล่นภูมิปัญญาไทย ก็ใช่ว่าจะได้ประโยชน์เฉพาะการสร้างความสนุกสนานเท่านั้น ยังมีสิ่งประดิษฐิ์อื่นๆอีกมากมาย  ที่เป็นการถ่ายทอดความเป็นเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของคนไทย การประดิษฐิ์คิดค้นเครื่องมือทำมาหากินบางอย่างในยุคอดีต สามารถนำไปพัฒนาต่อยอด  ให้มีความทันสมัยกับสังคมโลกที่เปลี่ยนไปได้ การคิดของเล่นให้เด็กบางอย่างในอดีตมีหลักแนวคิดดี มีการสอดแทรกความรู้ และวิถีการดำรงชีพให้เด็กๆ  เพื่อให้เด็กๆได้เรียนรู้ทักษะจำเป็นต่าง ก่อนที่จะกลายเป็นผู้ใหญ่  เพราะเมื่อเด็กที่เติบโตขึ้นพวกเขาจะสามารถเอาตัวรอดในสังคมที่ตนเองอาศัยอยู่ได้

      ตัวอย่างของเล่นของด็กในชนบท

     การทำเบ็ดตกปลา การนำไม้ไผ่ในป่ามาตัดเป็นท่อ แล้วทำการฝ่าไม้ออกเป็นซีกๆ หลังจากนั้นทำการเหลาเป็นคันเบ็ด ด้านปลายจะทำให้อ่อนๆ เพื่อลดแรงกระซากในขณะที่ปลากินเยื่อ เพราะหากปลาดึงเบ็ดแรงเกินไป จะทำให้ปลาหลุดได้ง่าย หลังจากนั้นใช้เชือกเบ็ดร้อยเบ็ด ผูกเงื่อนมัดเบ็ด หลังจากนั้นนำปลายเชือกอีกด้านหนึ่งไปผูกกับปลายคันเบ็ดที่ทำขึ้น

     ยังมีตัวอย่างของเล่นที่ควบคู่ไปกับการดำรงชีวิตสำหรับเด็กพื้นบ้าน เด็กบ้านนอกบ้านนา อีกมากมายเช่น การทำที่ดักหนูนา การทำไซ การทำแร้วดักนก แร้วดักหนูนา แร้วดักกระต่าย

       ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ของเล่นพื้นบ้านเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาในแต่ละท้องถิ่น นอกจากนี้ยังมีของเล่นที่ใช้ในการประกอบอาชีพเช่น ไม้จับกังสำหรับการนวดข้าว  ไม้หาบต้นกล้า ซึ่งของเล่นเหล่านนี้เหมาะกับเด็กที่กำลังเจริญเติบโตเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ซึ่งเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้จากภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น จากพ่อ-แม่สู่ลูก จากลูกก็ถ่ายทอดไปสู่รุ่นถัดไป จึงทำให้ศิลปะวัฒนธรรม ประเพณี ของเล่นภูมิปัญญาไทย ต่างๆ ไม่หายไปจากสังคมไทย มีความมั่นคง มั่งคั่งและยังยืน

บทความน่าสนใจ การละเล่นไทย

ชีวิตเด็กบ้านนอกhttps://www.youtube.com/watch?v=przS1Q3tO2E

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *