ความเชื่อผิดๆ กับการลดน้ำหนัก ที่พบบ่อยสำหรับคนอ้วนที่ต้องการมีรูปร่างสวย สลิม
ความเชื่อผิดๆ กับการลดน้ำหนัก
ปัจจุบันเทรนด์ ด้านสุขภาพ กำลังมาแรง รูปทรงและความสวยงาม ที่เน้นความผอมเพรียว สลิม จึงเกิดปรากฏการณ์มากมายอาทิเช่น คนหันมาใส่ใจสุขภาพและการออกกำลังกาย แล้วยังเกิดปรากฏทางการตลาดยุคใหม่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค นั้นคือตลาดออนไลน์ ซึ่งมีผลิตอาหารเสริม ทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมาย จำพวก ยาลดน้ำหนัก และ ยาลดความอ้วน มากมายหลากหลายยี่ห้อ
จาก จุดมุ่งหมายของสาวๆ ที่ต้องการมีรูปร่างดี นอกจากดึงดูดความสนใจจากเพศตรงข้ามแล้ว มันยังมีประโยชน์อีกมายมาย เช่น การมีทรวดทรงที่สง่างาม จะช่วยสร้างความมั่นใจให้ตนเอง เป็นจุดเริ่มต้นของการโอกาสในการทำมาหากิน เช่น การสมัครงานแล้วได้งานทำ หรือจะเป็นใบเบิกทาง ในการเข้าวงการต่างๆ ซึ่งเป็นงานมีรายได้ดีๆเช่น การรีวิวสินค้า งานแสดงหรืองานโฆษณาสินค้าต่างๆ เป็นต้น
แต่สำหรับคนที่มีน้ำหนักเกินและอยู่ในภาวะโรคอ้วน นอกจากการมีรูปร่างที่ไม่สมสัดส่วนแล้ว ความอ้วนยังเป็นต้นเหตุของโรคภัยต่างๆ มากมายอาทิเช่น โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันเลือดสูง เบาหวาน รวมทั้งโรคร้ายแรง อันได้แก่ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคหัวใจหรือโรคเส้นเลือดในสมองแตก ผลร้ายของการเป็นโรคอ้วน จึงสร้างพลังผลักดันให้คนอ้วนหลายๆคน ต้องหันมาให้ความสนในและใส่ใจด้านสุขภาพอย่างจริงจัง บางครั้งด้วยความรีบเร่งและใจร้อนต้องการลดน้ำหนัก ลดอ้วนแบบเร่งด่วน จนมีความเชื่อและวิธีการลดน้ำหนักแบบผิดๆ
นอกจากทำให้การลดน้ำหนัก ไม่เป็นไปตามเป้าหมายแล้ว ยังเกิดผลกระทบและเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากมายเช่น การลดน้ำหนักไปได้สักระยะแล้ว กลับมาอ้วนเหมือนเดิมเรียกว่า Yoyo effect, การลดน้ำหนักได้ แต่มีสุขภาพอ่อนแอหรือระบบประสาททำงานผิดปกติ กลายเป็นคนซึมเศร้า มีความกังวล เป็นต้น
ความเชื่อผิดๆ ลดน้ำหนัก มีดังนี้
1 การกินน้อยเกินไป (Low Calories Diet) เพราะการเข้าใจว่า การลดน้ำหนักต้องกินให้น้อย กินต่ำกว่าค่า BMR แต่ก่อนอื่นไปทำความเข้าใจกับค่า
BMR: Basal Metabolic Rate คือ อัตราการเผาผลาญพลังงานพื้นฐาน หรือ ปริมาณพลังงานที่ร่างกาย เราใช้ต่อวัน หากแม้ว่าจะไม่ได้ทำกิจกรรมใดๆเลยก็ตาม พูดง่ายๆคือ หากนอนทั้งวัน ร่างกายก็จะใช้พลังงานเท่านี้ เพราะจะเหลือเพียงแค่การทำงานของอวัยวะหลักๆที่เผาผลาญพลังงาน นั้นก็คือกล้ามเนื้อนั่นเอง” ค่าที่วัดได้มีหน่วยเป็น “กิโลแคลอรี่” นั้นหมายความว่าหากเรากินอาหารมากกว่าค่า BMR ก็จะทำเกิดการสะสมในร่างกาย ที่เรารู้ๆกันคือ การสะสมในรูปแบบไขมัน เราก็จะอ้วน
จึงมีคำแนะนำที่เล่าต่อๆกัน หรือการพูดกันในสังคมโซเชียลที่ผิดๆ ว่า ให้กินอาหารต่ำกว่าค่า BMR : 800 ถึง 900 กิโลแคลอรี่ต่อวัน หรือ จะเป็นความเข้าใจผิด ที่ใช้สูตรคำนวณการกินอาหาร โดยใช้ค่า BMR ที่วัดได้ แล้วลบออก 500 กิโลแคลอรี่ ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานกว่า 3 เดือนหรือไม่ก็มากกว่านั้น
หากจะให้ถามว่า การกินแบบนี้ จะสามารถลดน้ำหนักได้หรือไม่ คำตอบคือ ลดลงได้ เพราะทำให้ BMR ลดต่ำลง แต่ทว่าน้ำหนักที่ลดไปอย่างรวดเร็วนั้น จะเป็นน้ำหนักของน้ำและมวลกล้ามเนื้อที่เสียไป เพราะการกินอาหารไม่เพียงพอจะทำให้ร่างกายไปดึงน้ำที่สะสมในตามอวัยวะต่างๆและดึงพลังงานจากมวลของกล้ามเนื้อมาใช้งาน จึงทำให้กลุ่มคนที่ใช้วิธีนี้ มักจะทำให้น้ำหนักลดลงเร็วในช่วงแรก แต่หลังจากนั้นน้ำหนักก็จะไม่ลดลงอีก จึงทำให้รูปร่างดูไม่กระชับ และที่ส่งผลเสียมากกว่านั้น เพราะเมื่อกลับมากินอาหารปกติ ก็จะเกิดภาวะโยโย่เอฟเฟคได้
หากอยากลดความอ้วนด้วยวิธีลดปริมาณพลังงานจากการกินอาหารนั้น เราควรกินอาหารในหนึ่งวันให้ได้พลังงานเท่ากับ 60% ของ BMR ที่วัดได้ แต่ก็ห้ามกินอาหารที่ให้พลังงานต่ำกว่า 1200 กิโลแคลเลอรี่ เพราะถ้ากินต่ำกว่านี้ ร่างกายจะไปดึงพลังงานจากกล้ามเนื้อและสมองมาใช้งาน
2 การกินอาหารที่ไม่สมดุล in balanced Diet คือ ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ทำให้คนบางคนมักเลือก ที่จะลดอาหารบางกลุ่มโดยเด็ดขาด เช่น งดอาหารจำพวกแป้งทั้งหมดหรือ การเลือกกินแต่อาหารประเภทโปรตีนในช่วงลดน้ำหนัก
2.1 ไม่กินแป้งเลย No Carb Diet กลุ่มคนเหล่านี้มีความเชื่อว่า แป้งก็คือน้ำตาล การกินเข้าไปมากๆ จะทำให้อ้วน จึงมักจำกัดปริมาณการกินอาหาร จำพวกแป้งเช่น ในแต่ละวันกินแป้งไม่ให้เกิน 50 กรัมต่อวัน แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากร่างกายต้องการใช้พลังงาน คนในกลุ่มนี้ก็จะชดเชยพลังงาน ด้วยการกินอาหารที่มีโปรตีนหรือไขมันสูงแทน ผลที่ได้คือ เมื่อร่างกายไม่มีแป้งเป็นแหล่งพลังงาน ร่างกายจะต้องอาศัยกลไกล การใช้โคเจนที่เก็บไว้ในตับและกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานทดแทน
หลังจากนั้นก็เริ่มใช้ไขมันและโปรตีนที่สะสมไว้ ทำให้ร่างกายมีภาวะเป็นกรด และมีสารคีโตนมากขึ้น ข้อเสียคือ ทำให้ไตทำงานหนัก อารมณ์หงุดหงิดง่าย ความจำไม่ดี ภาวะคีโตนทำให้เกิดการขับน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกาย ในปริมาณมากกว่าปกติ เกิดภาวะ การเป็นตะคริวจน ถึงภาวะหัวใจเต้น ผิดจังหวะได้
2.2 กลุ่มที่กินแต่โปรตีน High Protein Diet หรือกลุ่มที่ใช้วิธีการกินโปรตีนเสริม แต่ไม่กินอาหารปกติเลย พบว่าอันตรายที่เกิดจากการไม่กินอาหารปกติเลยคือ การได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน ต้องอย่าลืมว่า อาหารจากธรรมชาติได้สร้างแร่ธาตุและวิตามินต่างๆ มากมาย ซึ่งเป็นรูปแบบที่ร่างกายสามารถดูดซึมและนำไปใช้ได้ดีที่สุด ในการกินผลิตภัณฑ์อาหารเสริม อาจไม่ได้คุณค่าทางโภชนาการที่ดี หลายครั้งอาจพบว่า ปัญหาอันเกิดขึ้นจากเรื่องนี้คือ การที่ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไปหรือน้อยเกินไปเช่นกัน
ซึ่งการบริโภคสารอาหารจำพวกโปรตีน ในขณะที่ต้องการลดน้ำหนัก ควบคู่กับการออกกำลังกายร่วมด้วยนั้น อาจจะต้องกินโปรตีนในปริมาณที่สูง ถึง 1 -3 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม อย่างไรก็ตามการกินโปรตีนในปริมาณที่สูง ต้องระมัดระวัง ค่าการทำงานของไตด้วย ซึ่งไม่ควรกินต่อเนื่องเป็นเวลานาน โดยไม่มีการตรวจเฝ้าระวัง
2.3 การใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมากเกินไป overuse Supplement โดยเฉพาะโปรตีน วิตามินบี วิตามินซี รวมสารสกัดต่างๆ การกินผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในปริมาณมากกว่า ที่แนะนำบนฉลาก เพื่อให้ได้ผลเร็ว หรือการกินแต่ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแทนอาหารปกติทุกมื้อนั้น เป็นเรื่องอันตรายมากที่สุด ซึ่งอันที่จริงแล้วผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ที่ขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยานั้น จะผ่านการตรวจสอบแล้วว่า ปลอดภัยและมีสารออกฤทธิ์ไม่เกินปริมาณที่กำหนด
แต่หากเรากินเกินขนาดที่กำหนด อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพตามมาเช่น การทำงานของตับไต อัตราการเต้นของหัวใจอาจผิดปกติได้ ยิ่งหากใครมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว การกินผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเกินขนาด มีผลร้ายแรงถึงขั้นหัวใจวายได้ เป็นต้น เพราะในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมีผลช่วยกระตุ้นการเผาผลาญและมักจะมีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น กว่าปกติ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก พญ.วรรณวิพุธ สรรพสิทธิ์วงศ์ Achieve Thailand December 2017
มีคลิป