ปัญหาการสื่อสาร พูดกันแต่เรื่องง่ายๆ แต่ทำไมเข้าใจไม่ตรงกัน

 

          การสื่อสารถือเป็นเรื่องสำคัญ หากการสื่อสารดีและมีคุณภาพ จะมีประโยชน์มากมายเช่น หากทำการค้าขาย จะทำให้การเจรจาทางการค้าการลงทุนประสบความสำเร็จ  หรือหากแม้ว่าการสื่อสารในสถานที่ทำงานมีประสิทธภาพ ก็จะทำให้การทำงานเกิดประสิทธิผล งานสำเร็จได้ตามเป้าหมาย  ตรงกันข้ามเมื่อมี  ปัญหาการสื่อสาร แม้จะพูดกันเพียงแค่สองคน แต่เมื่อสื่อสารกันคนละเรื่อง ก็ย่อมเข้าใจไม่ตรงกัน การสื่อสารเกิดความผิดพลาด บางครั้งเกิดรุนแรงจนกลายเป็นต้นเหตุของการทะเลาะวิวาท

ปัญหาการสื่อสาร

ปัญหาการสื่อสาร Cr: mwitsverdeusteenprob.blogspot.com

          หากปัญหาการสื่อสารนั้น เกิดขึ้นในสถานที่ทำงาน มีการแปลความหมาย ในการสื่อสารที่ไม่ถูกต้อง จนกลายความล้มเหลวในการทำงาน  ถึงแม้ว่า องค์ประกอบของการสื่อสารนั้น  มันดูเหมือนว่าไม่ได้ซับซ้อน บางครั้งพูดกันแต่เรื่องง่ายๆ แต่ทำไมเข้าใจไม่ตรงกัน

 

         ซึ่งปัญหาการสื่อสาร เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้กับกลุ่มคนทั่วไป หรือสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทั่งโลก เพราะถึงแม้องค์ประกอบการสื่อสารที่มีอยู่น้อยนิด แต่มันมีสิ่งรบกวนมากมายเช่น ความยากของภาษาที่ใช้ในการสื่อ อีกทั้งยังมีทัศนคติ อารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่จะทำให้การสื่อสารนั้นๆไม่ประสบความสำเร็จได้

ปัญหาการสื่อสาร

 

 ปัญหาการสื่อสาร จากการสื่อข้อความระหว่างบุคคล มีทั้งหมด 7 ประการด้วยกัน

ปัญหาการสื่อสาร

          1.มีการเปลี่ยนแปลง ในความหมายของคำ เช่น การใช้สัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งอาจแปลได้ หลากหลายความหมาย จึงเป็นไปได้ ที่แต่คนจะตีความหมายผิด ไม่ตรงตามที่ผู้สื่อต้องการ  หรือแม้แต่การพูดไม่เคลียร์ก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความหมายของคำได้เช่น คำว่า “ บุคลากรที่จำเป็น ” สมมุติ CEO ประกาศก่อนการ ลดขนาดองค์กรว่า เขาจะเก็บคนที่เป็น บุคลากรที่จำเป็นไว้  ทำให้พนักงานไม่ทราบสถานะของตน  เกิดความสบสน  ในบางครั้งแสดงรู้สึกไม่พอใจและแสดงพฤติกรรมต่างๆ เพราะน้อยคนนัก ที่จะยอมรับข้อความที่ว่า ตนเป็นบุคลากรที่ไม่จำเป็น

          ดังนั้นการสื่อนสารที่ดี ต้องลดการใช้คำย่อ สารที่ใช้สื่อต้องชัดเจน อย่าทำให้ผู้รับสารต้องคิดต่อยอดและแปลความหมาย ที่ผิดไปจากสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการสื่อ

ปัญหาการสื่อสาร

         2.การกรองข้อมูลเชิงลบ อุปสรรคของการสื่อสารขึ้นบนคือ การกรองหรือการเปลี่ยนข้อมูล เพราะเกรงว่า เจ้านายเมื่อรู้ข้อเท็จจริงแล้ว จะมีความไม่พอใจ  จึงทำให้พนักงานหลายคนทำการกรองข้อมูล ก่อนที่ส่งข้อเท็จจริงทั้งหมด  ให้กับหัวหน้าผู้บังคับบัญชาเช่น  สำหรับผู้บริหารระดับสูงมีประวัติว่า เคยทำโทษผู้ส่งข่าวร้าย เมื่อเวลาเวลาพนักงานอธิบาย ถึงรายได้ที่น้อยลง การกรองข้อมูลด้านลบก็มักจะเกิดขึ้น

         ดังนั้น การสื่อสารข้อมูลข้อเท็จจริงจะดีที่สุด เพราะนอกจากจะสร้างความน่าเชื่อถือแล้ว หัวหน้าผู้จัดการจะสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง

ปัญหาการสื่อสาร

        3.ผู้ส่งข้อมูลขาดความน่าเชื่อถือ  ถ้าผู้ส่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมาก ก็มีความเป็นไปได้มากขึ้น ที่ข้อความที่ชัดเจนจะผ่านตลอดไปยังผู้รับสารปลายทาง ในทางตรงข้าม ถ้าผู้ส่งข้อความมีความน่าเชื่อถือต่ำ หลายครั้งก็จะถูกละเลย หรือ ข้อมูลหรือสารเหล่านั้นไม่ความหมาย หรือคุณค่าของสารต่ำลง ยกตัวอย่างดังภาพ คนที่ขาดความน่าเชื่อถือไปบอกเจ้านายว่าบนภูเขามีทอง เจ้านายก็เชื่อได้เพียงว่ามีแค่เถ้าถ่าน  เปรียบเสมือนคนเลี้ยงแกะ

        ดัวนั้น ผู้ส่งสารต้องสร้างความน่าเชื่อถือ พูดในในสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริง อย่างถูกต้อง

การใช้สัญลักษณ์ผสม

        4.การใช้สัญลักษณ์ผสม  การใช้สัญลักษณ์ผสมมักกับการการสื่อสาร  มักจะทำให้การสื่อข้อความนั้นไม่ได้ผล ทำให้สารที่ส่งไปยังผู้ฟังที่แตกต่างกัน  สามารถแปลสื่อหรือข้อความที่แตกต่างกัน  ทั้งๆที่เป็นเรื่องเดียวกันตัวอย่าง เช่น บริษัทหนึ่งคุยโอ้อวด เกี่ยวกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของตน แต่สำหรับในโรงงานและในสำนักงาน บริษัทได้บอกให้พนักงาน ลดระดับคุณภาพการผลิต เพื่อลดค่าใช้จ่าย  อีกตัวอย่างหนึ่งเช่น เวลาที่เราให้ข้อมูล เกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงปรารถนา แก่บุคคลหนึ่ง แต่เราประพฤติอีกอย่างหนึ่ง นี้คือ การใช้สัญลักษณ์ผสม

        ดังนั้น การสื่อสารต้องตรงกับสิ่งที่ได้กระทำจริง

การอ้างอิง

       5.ใช้กรอบอ้างอิงที่แตกต่างกัน คนที่จะรับรู้คำพูดและแนวความคิดแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับกรอบอ้างอิงของแต่ละคน (frame of reference) ซึ่งหมายถึง มุมมองของแต่ละคน พื้นฐานความรู้ ลักษณะนิสัย ทรรศนคติและความคิด อันเกิดขึ้นจากประสบการณ์ในอดีตที่แตกต่างกัน

        ดังนั้น การใช้กรอบอ้างอิงต้องชี้ชัด มีแหล่งที่มาอย่างชัดเจน  เนื้อหาสาระที่มีทิศทางเดียวกัน

การตัดสินคุณค่า

        6.การตัดสินคุณค่า คนเราตัดสินคุณค่า ก่อนการรับข้อความ ใช้ความรู้สึกอย่างอื่นเอียงแอน จากข้อเท็จจริงหรือความหมายของสารที่คนสื่อ  ต้องการให้เข้าใจความหมายอย่างที่ตั้งใจ  จะส่งข้อความให้รับฟัง การตัดสินคุณค่า เป็นความคิดเห็นของบางสิ่งบางอย่างที่ขัดขวางการรับรู้โดยเร็วเช่น คนเราจะรับรู้ในสิ่งที่ต้องการจะอยากได้ยินเท่านั้น ส่วนที่ไม่อยากได้ยิน ก็มักจะละเลยและไม่อยากรับฟัง

       ดังนั้น การเป็นผู้รับรับฟังที่ต้องรับฟังข้อมูล ข้อเท็จอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อน ที่จะตัดสินหรือตัดสินคุณค่าของข่าวสาร

จำนวนข้อมูล

      7. การสื่อสารที่มีข้อมูลมากเกินไป เมื่อบุคคลแบกรับข้อมูล ที่เขาไม่สามารถตอบสนองกับข้อความได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ผลก็คือ ทำให้เกิดความเครียด ไม่สามารถจดจำข้อมูลได้ทั้งหมดและอาจจะถูกละเลย  ข้อมูลที่สำคัญไปก็เป็นไปได้

      ดังนั้นการสื่อสาร ต้องมีเนื้อหาที่มีความเหมาะสมกับความสามารถ ที่ผู้รับสารจะสามารถรับได้

 

ขอขอบคุณภาพ จากเว็บไซด์อินเตอร์เน็ท

บทความที่น่าสนใจ ภาษากาย เคล็ดลับเพิ่มประสิทธิภาพ การสื่อสาร ให้ประสบความสำเร็จ ในการเจรจา

วีดีโอคลิป เกิดมาทำไม https://www.youtube.com/watch?v=bGZRei9P6XE&t=328s

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *