การพัฒนาบุคลิกภาพของตนเอง ในการทำงาน ให้ประสบความสำเร็จ
พัฒนาบุคลิกภาพ หมายถึงการปรับปรุงตนเองให้ดีมากขึ้น มีเสน่ห์ มีทัศนคติที่เป็นบวกต่อชีวิต มีใบหน้าที่ยิ้มแย้มหรือดูแล้วเป็นคนที่มีความสุข ทั้งที่ทำงาน เรื่องส่วนตัว ที่บ้านและการไปแสดงตัวตามที่ต่างๆ
เคยสังเกตกันหรือไม่ว่า ทำไมคนบางคนเป็นคนเงียบๆ ในขณะที่คนอื่น เป็นคนที่ส่งเสียงดังและก้าวร้าว จึงทำให้บุคลิกในแต่ละแบบเหมาะสมกับงานเฉพาะอย่าง หากเราพูดถึง บุคลิกภาพ ไม่ได้หมายความว่า บุคคลนั้นจะต้องมีเสน่ห์ มีทัศนคติที่เป็นบวกต่อชีวิต มีใบหน้าที่ยิ้มแย้ม หรือดูแล้วเป็นคนที่มีความสุข ในเวทีการประกวด Miss America นักจิตวิทยาได้พูดถึง บุคลิกภาพ หมายถึง แนวความคิดที่เป็นพลวัต (dynamic concept) ที่อธิบายทางด้านจิตวิทยาว่าเป็นการพัฒนาของผู้คนทั้งหมด มากกว่าที่จะมองเป็นส่วนบุคคล
Gordon Allport ได้อธิบายความหมายของ บุคลิกภาพว่า เป็น “พลวัตในระบบจิตวิทยา องค์ประกอบของแต่ละคนที่เป็นตัวกำหนด ในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม” หรือในที่นี้เราอาจมองบุคลิกภาพว่า เป็นวิธีมองภาพรวมทั้งหมดของเอกบุคคล ที่มีความสัมพันธ์และมีปฏิสัมพันธ์ต่อคนอื่น
ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพ
ผลจากการวิจัย บุคลิกภาพ ของบุคคลเป็นผลมาจาก พันธุกรรมและจากสิ่งแวดล้อม บุคลิกภาพถูกกำหนดตั้งแต่เกิด เป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ของคนกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่มีคำตอบตัดสินได้ว่าเป็นขาวหรือดำ บุคลิกภาพดูเหมือนว่า จะเป็นผลจากอิทธิพลทั้ง 2 อย่าง แต่ปัจจุบันยังพบว่ามีปัจจัยที่ 3 คือ สถานการณ์ ดังนั้น บุคลิกภาพ ของคนถูกพิจารณาได้ว่า เกิดจากพันธุกรรมและปัจจัยทางสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นการปรับตัวตามเงื่อนไข ให้เขากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้
Heredity (พันธุกรรม) เป็นปัจจัยที่กำหนดบุคลิกภาพ เช่น ลักษณะทางกายภาพ ที่ดึงดูดความสนใจเช่น ใบหน้า เพศ อารมณ์ นิสัยใจคอ กล้ามเนื้อ ระดับพลังงาน และจังหวะของชีวิต (biological rhythms) ซึ่งถูกถ่ายทอดโดยพ่อแม่ ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า บุคลิกภาพของคนถูกกำหนดโดย โครงสร้างโมเลกุลโดยยีนส์ ที่อยู่ภายในโครโมโซม
มีงานวิจัยบอกว่า พันธุกรรมเป็นปัจจัยสำคัญ ในการกำหนดบุคลิกภาพของแต่ละคน
1) พันธุกรรม มีส่วนในการแสดงพฤติกรรมและอารมณ์ของคน นิสัยใจคอ
2) จากการศึกษาเด็กฝาแฝดแท้ 100 คู่ ที่ถูกแยกกันเลี้ยงตั้งแต่เกิด ผลจากการศึกษาพบว่า ถ้าหากพันธุกรรมไม่มีผลในการกำหนดบุคลิกภาพ เราก็น่าจะพบความเหมือนกันน้อยมาก ระหว่างแฝด แต่นักวิจัยกลับพบว่า มีอะไรหลายอย่างที่ยังเหมือนๆ กัน เช่น ฝาแฝดคู่หนึ่ง ถูกแยกจากกันเป็นเวลา 39 ปี และถูกเลี้ยงให้เติบโตขึ้น โดยมีระยะทางห่างกันถึง 45 ไมล์ ผลปรากฏว่า มีอะไรหลายอย่างที่คู่แฝดยังคงมีบุคคลิกภาพที่เหมือนกัน เช่น ขับรถรุ่นเดียวกัน สีเดียวกัน สูบบุหรี่ยี่ห้อเดียวกัน เลี้ยงสุนัขโดยใช้ชื่อเดียวกัน เป็นต้น
3) การสำรวจความพึงพอใจในงาน ท่ามกลางสถานการณ์ต่างๆ ผลศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ ได้สนับสนุนแนวคิดด้านพันธุกรรม ความพอใจในงาน จะมีอยู่คงที่เป็นเวลานาน ถึงแม้ว่า จะมีการเปลี่ยนนายจ้างหรืออาชีพ ความพอใจในงาน ก็ยังคงมีอยู่ตลอดช่วงชีวิต ซึ่งผลการวิจัยนี้ สอดคล้องกับสิ่งที่เราคาดหวังว่า ความพอใจถูกกำหนดโดยบางสิ่งบางอย่างภายในตัวบุคคลมากกว่า ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก
ถ้าลักษณะทางบุคลิกภาพ ถูกกำหนดโดยพันธุกรรมอย่างสมบูรณ์ ก็มักจะถูกติดตัวมาแต่เกิด และประสบการณ์จะมากแค่ไหน ก็ไม่สามารถเปลี่ยนได้ เช่น ถ้าเราเป็นคนที่ง่ายๆ Easygoing เหมือนวัยเด็กๆ ก็เป็นผลมาจากยีนส์ และจะเป็นไปไม่ได้ ที่จะเปลี่ยนลักษณะเช่นนี้ แต่ลักษณะบุคลิกภาพไม่ได้ถูกกำหนดโดยพันธุกรรมได้อย่างสมบูรณ์
สภาพแวดล้อม (Environment) วัฒนธรรมในการเลี้ยงดู ประสบการณ์ เช่น ความสัมพันธ์ในระหว่างครอบครัว เพื่อน และกลุ่มสังคม และอิทธิพลอื่นๆ เช่น ในอเมริกาตอนเหนือ จะมีวัฒนธรรมในเรื่องความขยัน ความสำเร็จ การแข่งขัน ความมีอิสระ ซึ่งถูกปลูกฝังโดยผ่านทางหนังสือ ระบบโรงเรียน ครอบครัวและเพื่อน คนอเมริกาตอนเหนือก็จะมีความทะเยอทะยานและก้าวร้าว เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ถูกเลี้ยงมาในวัฒนธรรม ที่ให้เข้ากับคนอื่นได้ มีความร่วมมือและความสำคัญของครอบครัวมีมากกว่า การทำงานและอาชีพ
สถานการณ์ (Situation) เป็นปัจจัยที่ 3 ซึ่งมีผลต่อพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อบุคลิกภาพ ถึงแม้ว่าคนจะมีบุคลิกภาพที่มั่นคงและคงเส้นคงวา อาจเปลี่ยนแปลงได้ในสถานการณ์ต่างกัน เพราะฉะนั้น เราไม่ควรมองแบบอย่างพฤติกรรมเพียงรูปแบบเดียว
Personality Traits (ลักษณะของบุคลิกภาพ)
เป็นลักษณะบุคลิกภาพที่มีอยู่ในคนมานาน ซึ่งสามารถอธิบายพฤติกรรมต่างๆ ของคน ตามลักษณะบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน 16 ประการคือ
-
Reserved (ไม่ค่อยเปิดตัว) – Outgoing (เปิดเผย)
-
Less intelligent (ฉลาดน้อย) – More intelligent (ฉลาดมาก)
-
Affected by feelings (อารมณ์อ่อนไหว) – Emotionally stable (ไม่สะทกสะท้าน)
-
Submissive (ยอมตาม) – Dominant (เป็นใหญ่)
-
Serious (เอาจริงเอาจัง) – Happy-go-lucky (เสี่ยงดวง)
-
Expedient (สุรุ่ยสุร่าย) – Conscientious (รอบคอบ)
-
Timid (ขี้อาย) – Venturesome (ชอบแสวงหาสิ่งแปลกใหม่)
-
Tough-minded (จิตใจหนักแน่น) – Sensitive (อ่อนไหวง่าย)
-
Trusting (ไว้ใจคน) – Suspicious (ขี้สงสัย ระแวง)
-
Forthright (เถรตรง) – Shrewd (คดเคี้ยว หลักแหลม)
-
Practical (ปฏิบัติจริง) – Imaginative (ช่างฝัน)
-
Self-assured (เชื่อมั่นในตนเอง) – Apprehensive (ไม่เชื่อมั่น)
-
Conservative (อนุรักษ์) – Experimenting (ชอบทดลอง)
-
Group-dependent (อิงกลุ่มตลอด) – Self-sufficient (เชื่อมั่นตนเอง)
-
Uncontrolled (ไม่อยู่ในบังคับ) – Controlled (อยู่ในบังคับ)
-
Relaxed (สบายๆ) – Tense (เครียด)
รูปแบบบุคลิกภาพที่กำหนดมิติบุคลิกภาพ 5 แบบคือ
-
บุคลิกภาพชอบสังคม พูดเก่ง ยึดมั่น
-
บุคลิกภาพชอบโอนอ่อนผ่อนตาม ร่วมมือ ไว้วางใจ
-
บุคลิกภาพที่มีความรับผิดชอบ เชื่อถือได้ ยืนหยัด และมุ่งผลสัมฤทธิ์
-
บุคลิกภาพสงบเงียบ กระตือรือร้น ปลอดภัย ซึ่งตรงข้ามกับประหม่า หดหู่ และรู้สึกไม่ปลอดภัย
-
บุคลิกภาพที่มีจินตนาการสูงและเปิดรับสถานการณ์
ดังนั้นจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น จึงเอาไว้ในการเลือกที่จะ พัฒนาบุคลิกภาพ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเองให้ดีมากขึ้น ด้วยวิธีสร้างสภาพแวดล้อมให้ตนเองกลายเป็นคนใหม่ได้ ควรเลือกบุคลิกภาพที่เป็นบวกในการเปลี่ยนตนเองเป็นคนใหม่ เปิดเผย ฉลาด มีความอดทน มีความเป็นผู้นำ มุ่งมั่น รอบคอบ ชอบค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ มีจิตใจหนักแน่น จริงใจเป็นที่ไว้ใจของคนอื่นได้ ชื่อสัตย์ ลงมือทำจริง เชื่อมั่นในตนเอง เปิดโอกาสให้ตนเองได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ในกฎระเบียบกฎเกณฑ์ และมีความยืดหยุ่นสามารถรับมือได้กับสิ่งที่เป็นบวกหรือเป็นลบ
บทความที่น่าสนใจ พัฒนาการทํางาน พัฒนาตนเอง เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าในอาชีพ
คลิปการพัฒนาตนเองในการทำงาน https://www.youtube.com/watch?v=hc8YBTu7vVM&t=348s