โรคขาดสารอาหาร ปัจจัยของการขาดสาอาหาร ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ตามมา
โรคขาดสารอาหาร คือภาวะที่ระบบในร่างกายเช่นเซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะต่างๆ ขาดหรือได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จนมีผลทำให้ระบบต่างๆในร่างกายทำงานผิดปกติจนถึงขั้นร้ายแรงคือไม่ทำงานหรือในที่สุดระบบนั้นตายไป จึงเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะขาดสารอาหารตามมา โดยภาวะปกติแล้ว ร่างกายของเราจะมีระบบในการซ่อมแซม หากร่างกายมีความบกพร่องหรือได้รับบาดเจ็บเช่น โดนมีดบาดเป็นแผลระบบดูการรักษาของร่างกายก็จะทำงานโดยอัตโนมัติซ่อมแซมให้กลับมาทำงานปกติได้เหมือนเดิม แต่หากร่างกายขาดสารอาหารก็มักจะทำให้ระบบในร่างกายมีประสิทธิภาพต่ำลง ร่างกายไม่แข็งจึงเกิดโรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ปัจจัยที่ทำให้ “เรา” เสี่ยงต่อการเป็น โรคขาดสารอาหาร
พฤติกรรมและการบริโภค
-
การรับประทานประเภท อาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูป เป็นประจำ จะทำให้ร่างกายได้รับสารอย่างใดอย่างหนึ่งมากจนเกินไปเช่น ได้รับไขมันมากเกินความจำเป็นและมีเส้นใยอาหารน้อย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ฯลฯ
-
การรับประทานอาหารไม่เหมาะสมเลือกกินอาหารบางอย่างมาก แต่ไม่กินอาหารบางชนิดเลยเช่น คนไม่กินผักก็จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ไม่ครบทุกหมู่ ทำให้ขาดแร่ธาตุและวิตามิน
-
การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ตับทำหน้าในการกรองของเสียออกจากร่างกาย เมื่อดื่มแอลกอฮอล์อกจะทำให้ตับทำงานหนักขึ้นแล้วยังทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางอยางได้ เช่น วิตามิน บี1 ฯลฯ
-
การสูบบุหรี่ร่างกายของคนที่สูบบุหรี่จะมีความต้องการ วิตามิน ซี สูงกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 2 เท่า
-
มังสวิรัติผู้ที่งดบริโภคเนื้อสัตว์ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ในระยะยาวอาจขาดวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดได้ เช่น แคลเซียม สังกะสี ไอโอดีน วิตามิน บี12 และวิตามินดี
-
ดูแลหุ่น โรคนางแบบ การจำกัดอาหารต้องการควบคุมน้ำหนัก อาจทำให้ขาดสารอาหารบางชนิดได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเสริมสารอาหารบางชนิด เพื่อชดเชยสิ่งที่ขาดหายไป
-
ปกติแล้วร่างกายของคนเราจะได้รับการซ่อมแซมฟื้นฟูอีกครั้ง หลังจากที่ถูกใช้งานมาแล้ช่วงเวลากลางวัน จากการผักผ่อนอย่างเพียงพอ หากมีการพักผ่อนไม่เพียงพอหรือการใช้ร่างกายผิดธรรมชาติ เช่น คนที่ชอบนอนดึกหลังจาก 22.00 น. หรือคนที่ทำงานในช่วงเวลาที่ผิดแปลกไป จากเวลาของคนปกติทั่วไป ทำงานในช่วงกลางคืนนอนกลางวัน ทำงานเป็นกะ จะทำให้ร่างกายไม่สามารถซ่อมแซม เสริมสร้างเซลล์/ระบบต่างๆ ภายในร่างกายให้แข็งแรงได้
การประกอบอาหาร
-
วิธีการปรุงอาหารและการจัดเก็บอาหารก็มีผลต่อการขาดสารอาหาร โดยเฉพาะสารอาหารจำพวกวิตามินมักจะสูญสลายไปกับความร้อน ดังนั้นการใช้ความร้อนในการประกอบอาหารสูงจนเกินไป อาจทำลายวิตามินและสารอาหารสำคัญบางชนิดได้
วัย
-
หญิงวัยตั้งครรภ์ หรือหญิงให้นมบุตร ในภาวะนี้ร่างกายต้องการแคลเซียมมากกว่า หญิงทั่วไป นอกจากนี้ยังต้องการธาตุเหล็กและกรดโฟลิกเสริมด้วย
-
วัยผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากขึ้น ประสิทธิภาพในการดูดซึมสารอาหารต่างๆ ของร่างกายย่อมลดลง ทำให้ร่างกายขาดวิตามินและแร่ธาตุบางชนิดได้ เช่น ไบโอดีน วิตามิน บี12 แคลเซียม แมกนีเซียม ฯลฯ
-
เด็กวัยเล็กๆ ที่มักเลือกกินอาหารตามแต่ใจชอบเท่านั้น มีเด็กจำนวนไม่น้อยเลย ที่ไม่ยอมกินผักหรือเนื้อสัตว์บางชนิด จึงกลายเป็นต้นเหตุให้เด็กได้สารอาหารไม่ครบถ้วน ทำให้พัฒนาการไม่เหมาะสมกับวัย
ภาวะทางอารมณ์
-
ความเครียด การสะสมความเครียดจากการทำงานหรือปัจจัยผลกระทบต่างๆ มีผลต่อวิตามิน บี ในร่างกายลดลง ทำให้ร่างกายขาดพลังงาน เหนื่อย อ่อนเพลียง่าย จึงส่งต่อประสิทธิภาพในการทำงานลดลงได้ด้วยเช่นกัน
ความบกพร่องในร่างกาย
-
หากร่างกายมีการเจ็บป่วยเกิดขึ้น แล้วได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ จะทำให้ร่างกายได้รับการฟื้นฟูจากการเจ็บป่วยได้เร็วขึ้น ในตรงกับข้ามหากระบบในร่างกายมีความบกพร่องไม่สามารถสกัดหรือดูดซ่อมสารอาหารบางได้ก็ทำให้ร่างกายเกิดการเจ็บป่วยได้ด้วยเช่นกันเช่น คนที่เป็นโรคกล้ามเนื้อไม่มีแรงเนื่องจากร่างกายผลิตโพแทสเซียมไม่เพียงพอ
สภาพแวดล้อม
-
การปลูกพืชที่ใช้สารเคมี การเลี้ยงสัตว์ที่ใช้สารกระตุ้นต่างๆ จึงกลายเป็นสาเหตุทำให้สารอาหารบางอย่างในอาหารขาดหายไป ถึงจะมีการรับประทานอาหารที่มากขึ้น แต่ก็ไม่อาจทำให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ นอกจากนี้มลภาวะเป็นพิษ การสัมผัสควันพิษจากรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม, น้ำเน่าเสีย การน้ำดื่มไม่สะอาด, มลภาวะทางเสียง รวมถึงคลื่นสนามแม่เหล็กต่างๆ เป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ร่างกายมีการสะสมสารพิษ อันเป็นสาเหตุขั้นต้นของโรคร้ายต่างๆ ได้
จุดเปลี่ยนชีวิต
ทำให้มื้ออาหารคุณ เพื่อให้ได้สารอาหารที่มีคุณภาพและสุขภาพดี และปลอดภัยจาก โรคขาดสารอาหาร
สำหรับคนที่รักสุขภาพและนักออกกำลังกายที่รักตัวเอง คุณคงเคยอาจได้ยินคำกล่าวที่ว่า มีอาหารเช้าให้กินอย่างราชา อาหารในมื้อกลางวันให้กินอย่างเศรษฐี ส่วนอาหารเย็นนั้นให้กินอย่างยาจก แต่ไม่ว่าจะเป็นอาหารในมื้อไหนๆ คุณควรได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะสารอาหารต่างๆจะช่วยให้ชีวิตมนุษย์เติบโตและมีพัฒนาการ สามารถสืบสายพันธุ์และดำรงอยู่ได้
และที่สำคัญของสารอาหารคือ การสร้างเซลล์ใหม่ หรือการเพิ่มจำนวนเซลล์ได้มากขึ้น เพื่อทดแทนเซลล์เก่าที่ถูกทำลายไป การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนในทุกๆมื้อ ในสัดส่วนที่เหมาะสมจึงจะกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี
สารอาหารแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ใหญ่ๆ อันได้แก่
1 กลุ่มไมโครนิวเคลียส อันได้แก่คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ให้พลังงานหลักแก่ร่างกาย โดยเฉพาะโปรตีนจะเป็นโครงสร้างหลักที่มีอยู่ในทุกเซลล์และเนื้อเยื่อ ซึ่งมีความสำเป็น ต่อการเจริญเติบโตและการการสร้างและการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ รวมทั้งมีผลต่อกลไกการทำงานหลัก ในการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกาย
หากเปรียบโปรตีนในโครงสร้างของบ้าน โปรตีนเปรียบเสมือนก้อนอิฐที่ก่อตัวเป็นโครงสร้างอาคารบ้านเรือน โดยแหล่งโปรตีนสามารถสกัดได้จากเนื้อสัตว์ และโปรตีนที่สกัดได้จากถั่วเหลือง ข้าวสาลีและถั่วพี ฯลฯ และโปรตีนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและช่วยเหลือซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ จะมีกรดอะมิโนซึ่งจำเป็นต่อการนำใช้ในร่างกาย
ส่วนไขมันเปรียบเสมือนระบบไฟฟ้าและประปาภายในบ้าน ซึ่งไขมันชนิดดีที่ให้ โอเมก้า 3 จะช่วยทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันที่จำเป็น ได้อย่างสมดุลช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบต่างๆในร่างกายนั่นเอง
2 กลุ่มไมโครนิวเคลียส อันได้แก่วิตามินเกลือแร่ ซึ่งเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน แต่จำเป็นต่อร่างกาย ถึงแม้ว่าร่างกายจะต้องการในปริมาณเล็กน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้เลย โดยสารอาหารกลุ่มนี้แม้จะไม่ให้พลังงานโดยตรง แต่ก็มีบทบาทสำคัญในกระบวนการทำงานต่างๆ ของร่างกายโดย ซึ่งเกลือแร่และวิตามินก็เปรียบเสมือนปูน ซึ่งทำหน้าที่ควบคู่กับการก่ออิฐ เป็นสารอาหารที่จำเป็นและขาดไม่ได้และทำหน้าที่หลายร้อยอย่าง เพื่อช่วยทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติช่วยเสริมสร้างสุขภาพ ขั้นพื้นฐานให้แข็งแรง
3 กลุ่มไฟโตนิวเทรียนท์ เป็นสารอาหารอีกหนึ่ง เป็นกลุ่มพิเศษ ซึ่งได้รับจากผักผลไม้ที่มีผลดีต่อสุขภาพร่างกายมากมาย โดยผักผลไม้จะมีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ สร้างระบบการต่อสู้และการตอบสนอง ของภูมิคุ้มกันในร่างกาย ไฟโตนิวเทรียนท์ เปรียบเสมือนสีทาบ้านและน้ำยาเคลือบบ้าน ช่วยปกป้องบ้านจากมลพิษแสงแดด
ไฟโตนิวเทรียนท์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบสร้างการตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันและสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์ต่างๆในร่างกาย จากข้อมูลเชิงสถิติปัจจุบันพบว่าคนไทย นิยมบริโภคอาหารที่ได้สัดส่วนของสารอาหารไม่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่มักจะนิยมบริโภค อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตหรือแป้ง ไขมันเลวและอาหารที่มีน้ำตาลสูงมากเกินไป ในขณะที่การรับประทานอาหารที่ให้โปรตีนหรือเกลือแร่ผักผลไม้และไขมันดีในปริมาณที่ต่ำ และได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน จึงมีผลเสียต่อร่างกาย และกลายเป็นสาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคที่เรียกว่ากลุ่ม NPD สูงมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่ไม่ติดต่อ แต่เกิดขึ้นจากการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย โดย ดังนั้นการรับประทานอาหารโปรตีนวิตามินเกลือแร่และไฟโตนิวเทรียนท์ ให้ครบถ้วนและมีสัดส่วนที่เหมาะสม จะช่วยสร้างพื้นฐานที่ดี แก่การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง
ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก นิตยสาร ACHIVE; MARCH 2018
คลิปวีดิโอ https://www.youtube.com/channel/UCyUtWUoTWME9wkUyf_3TQLQ/