โรคข้อเข่าเสื่อม ไม่ได้เกิดเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น เพราะคนอ่อนวัยก็เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้
โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่มักพบมากในผู้ป่วยผู้สูงอายุ หรือแม้แต่ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเรื้อรังเช่น รูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ แต่ปัจจุบันโรคข้อเข่าเสื่อมได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลง และโรคข้อเข่าเสื่อมมักเกิดขึ้นกัลป์ลักษณะอาชีพ นักกีฬา หรือจะเป็นผู้ได้รับอุบัติเหตุจากข้อเข่าก็ล้วนเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้โดยง่าย นอกนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ โดยเฉพาะผู้หญิงก็มีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าผู้ชาย อันเนื่องจากผู้ชายมีความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อมากกว่า
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเข่าเสื่อม
1 อายุเกิน 50 ปีขึ้นไป
2 เพศหญิงจะมีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้มากกว่าเนื่องจากกระดูกมีความแข็งแรงน้อยกว่า
3 ครอบครัวที่มีประวัติการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
4 การได้รับบาดเจ็บรุนแรงโดยการผ่าตัดหัวเข่า
5 โรคอ้วนหรือโรคน้ำหนักเกิน
6 การทำงานที่ต้องแบกหามเรียนนานาหรือเดินเป็นเวลานานๆ
สำหรับการดูแลตนเองเพื่อชะลอการเกิดโรคเข่าเสื่อม
ปัจจัยตั้งแต่ข้อ 4-6 สามารถหลีกเลี่ยงได้คือ การลดน้ำหนัก การดูแลตัวเองให้มีน้ำหนักอย่างเหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่บางอย่าง ที่ไปเพิ่มน้ำหนักอย่างรวดเร็วและกลายเป็นโรคอ้วนน้ำหนักเกินอันได้แก่ อาหารฟาสต์ฟู้ด นอกจากนี้ยังมีเครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์ น้ำอัดลมและการสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ไปทำร้ายกระดูก โดยไปลดปริมาณแคลเซียมในกระดูกของคนเรา รวมทั้งการดูแลตนเองเพื่อการหลีกเลี่ยงการได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง หรือไม่รุนแรงต่างๆ อันได้แก่ หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรง การเดินวิ่งที่ไม่เฉี่ยวชนกับของแข็ง ดังนั้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นควรหยุดพักการใช้ข้อเข่าหรือกรณีที่เกิดข้อเข่าได้รับบาดเจ็บจะต้อง ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนหรือแม้แต่การลดระดับความรุนแรงจากการอักเสบ ดังนั้นในกรณีที่ เจ็บหัวเข่าควรหลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมที่ได้รับ การกระทบกระเทือนจากการทำกิจกรรมเหล่านั้น
อาการของโรคข้อเสื่อม
อาการเริ่มต้น: จะมีอาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณข้อ เป็นสัญญาณเตือนให้ลดการใช้งานของข้อเข่า และให้ข้อเข่าได้พักบ้าง แต่ถ้ายังคงฝืนใช้งานต่อก็เขาก็จะบวมมากขึ้น
ระยะปานกลาง: กระดูกอ่อนเริ่มสึกกร่อน ข้อเข่าจะมีการอักเสบภายหลังจากการใช้งานกล้ามเนื้อร่วมปวดเมื่อยอ่อนแรงข้อเข่าเริ่มโค้งงอเหยียดไม่สุด
ระยะรุนแรง: เมื่อกระดูกอ่อนสุดกร่อนมากขึ้น ข้อก็จะหลวม ไม่มั่นคง ข้อหนาตัวขึ้นจากกระดูกงอก โก่งงอผิดรูป ขณะเดินต้องกางขากว้างขึ้น เพื่อเสริมความมั่นคง กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง ขณะที่ลุกจากท่านั่ง จะมีอาการปวด
การบริหารร่างกายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพข้อเข่า
วิธีที่ 1 นั่งบนเก้าอี้ ทำตัวให้ตรง ยกเท้าด้านหนึ่งเหยียดตรงไปข้างหน้า นับ 1 -10 ปล่อยเท้าลง สลับอีกข้าง ทำซ้ำประมาณ 5-10 รอบ
วิธีที่ 2 นั่งให้เท้าข้างหนึ่งวางบนเก้าอี้ แล้วใช้แรงจากขากดเข่าลง 5 ถึง 10 วินาที แล้วผ่อนคลาย สลับขาทำอีกข้างหนึ่ง
วิธีที่ 3 นั่งเก้าอี้ให้หลังพิงพนัก ยกเท้าขึ้นข้างหนึ่งขึ้น กระดกข้อเท้าขึ้นลง เกร็งค้างไว้ 5-10 วินาทีและทำซ้ำข้างละ 10 ครั้ง
วิธีที่ 4 นั่งบนเก้าอี้ นำผ้าวางไว้ใต้เท้าข้างใด ข้างหนึ่งแล้วดึงผ้าขึ้น ให้ฝ่าเท้าสูงจากพื้น 4-5 นิ้ว ดึงค้างไว้และนับ 1-10 ทำสลับข้างละ 10 ครั้ง
วิธีที่ 5 หลังพิงกำแพง โดยให้ส้นเท้าห่างจากกำแพงเล็กน้อย เคลื่อนตัวขึ้นลง ให้เข่างอประมาณ 30 องศา ทำค้างแล้วนับนับ 1-10 ทำซ้ำ 5- 10 ครั้ง