E-Marketing  การตลาดยุค 4.0 สามารถทำรายได้ 24 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด

 

เทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ ถือได้ว่าก้าวไปไกลมาก อีกทั้งยังสามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆได้อย่างมากมาย ดังเช่น ระบบ Internet ที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งกับทั้งตัวบุคคล และองค์การธุรกิจ การทำ E-Marketing ก็ถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่นำเอาเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้ในการทำการตลาด ด้วยข้อดีที่ทั้งไม่ต้องลงทุนสูง และ สามารถเข้าถึงบุคคลหรือลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามแม้จะมีข้อดี แต่ข้อเสียก็มีด้วยเช่นกัน แต่องค์การธุรกิจเหล่านั้นก็มักที่จะหาระบบต่างๆที่จะนำมาช่วยในการจัดการแก้ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเพื่อที่จะสามารถให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ ระบบ RSS ถือเป็นอีกระบบหนึ่งที่นำมาประยุกต์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหลายอย่างที่องค์การธุรกิจต้องเผชิญจากการทำ E-Marketing ซึ่งจะช่วยให้การทำการตลาดอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากประโยชน์ที่องค์การธุรกิจจะได้รับก็ยังส่งผลดีต่อ end user อีกด้วย

e marketing คือ

e marketing คือ

e marketing คือ

            คำว่า E- Marketing ย่อมาจาก Electronic Marketing หรือ ” การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ “ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือในการดำเนินกิจการทางการตลาดกับกลุ่มเป้าหมาย เป็นกิจกรรมที่เป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง และกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถติดต่อกับผู้บริโภคได้ทั่วโลกและตลอดเวลา

 

จากความหมายข้างต้น สามารถแยกย่อยออกมาได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้

  1. Electronic Tools E-Marketing

จะต้อง เป็นการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการทำการตลาด ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

  1. Niche Market

เป็นการดำเนินกิจการทางการตลาดกับกลุ่มเป้าหมาย และกลุ่มเป้าหมายที่ว่านั้นจะต้องเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง เช่น บริษัท กขค ทำธุรกิจขายเพลงป็อปของไทย ต้องการขยายตลาดโดยเจาะลูกค้าที่ชอบเพลงประเภทนี้และมีพฤติกรรมที่ชอบดาวน์โหลดเพลงบนเน็ต จึงจัดทำเว็บไซด์ที่เกี่ยวกับเพลงป็อป และให้ลูกค้าที่เป็นสมาชิกสามารถโหลดเพลงตัวอย่างไปฟังพร้อมข้อเสนอพิเศษต่างๆ เป็นต้น

  1. 2- Way Communication

เป็นกิจกรรมที่มีการสื่อสารแบบ 2 ทาง หมายถึง กิจกรรมมีการเสนอและตอบสนอง เช่น เมื่อมีการส่ง SMS หรือ ไป โหลดริงโทนจาก Website โดยลูกค้า Server ของผู้ขายก็จะส่ง ริงโทนเข้าไปที่โทรศัพท์มือถือของลูกค้าที่ส่ง SMS ท่านนั้น หรือในกรณีของการดาวน์โหลดเพลงจากอินเตอร์เน็ตก็ถือว่าเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทางเช่นกัน

  1. Global Communication

ตามความหมายข้างต้นเราพอบอกได้ว่า กิจกรรมทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์จะต้องสามารถติดต่อกับลูกค้า หรือ กลุ่มเป้าหมายได้ทั่วโลก ซึ่งฟังดูแล้วอาจจะขัดกับลักษณะของ Niche Market ในข้อสองแต่จริง ๆแล้วคำว่าสื่อสารได้ทั่วโลกในที่นี้หมายถึง การสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงได้ทั่วโลก

  1. 24 hrs/ 7 days

การตลาดอิเล็กทรอนิกส์จะต้องสามารถที่ติดต่อกับผู้บริโภคได้ตลอด 24 ชม. ทุกวัน กล่าวคือ ทุกวันทุกเวลานั่นเอง

  1. ไม่มีวันหยุด

( เว้นแต่เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์นั้นจะอยู่ในภาวะที่ใช้การไม่ได้ )ในทุกวันนี้ หากเราพูดถึง E – Marketing เราก็จะมักนึกถึงอินเตอร์เน็ตก่อนเป็นอันดับแรก เพราะเป็นเครื่องมือที่เราเห็นได้ชัดว่าเข้าหลักทั้ง 5 ข้อมากที่สุด ซึ่งการทำการตลาดผ่านอินเตอร์เน็ตนั้น เราเรียกว่า “Online Marketing ” และ Online Marketing ที่เราพบเห็นกันบ่อยๆได้แก่
• E-mail Marketing
•Web banner หรือ Online Advertising อื่นๆ เช่น Text link Ads, Google Adsense
•Search engine Marketing หรือ การทำการตลาดผ่านเสิร์ชเอ็นจิ้น
•Viral marketing
•Web blogs
•Really Simple Syndication( RSS)
•Discussion boards หรือ Webboard

แต่อย่างไรก็ดี ยังมีสื่ออื่นๆอีกที่เราอาจจะไม่ได้นึกถึงเช่น Mobile (Phone ) Marketing , TV On Demand หรือ IPTV( ทีวีที่ดูผ่านบรอดแบรนด์ ) เป็นต้น ซึ่งในอนาคต สิ่งเหล่านี้จะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตลาดอิเล็กทรอนิกส์

E-Mail Marketing

ในปัจจุบันนี้ E-Mail Marketing หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ถือได้ว่าเป็นช่องทางการทำการตลาดที่มีความสำคัญอย่างมาก และถือเป็นกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยมจากหลายๆองค์การ เนื่องมาจากความมีศักยภาพในหลายๆด้าน

สำหรับแนวทางในการทำตลาดผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มีดังนี้

  1. การทำตลาดและการโฆษณาขายสินค้า (Marketing and Advertising)

การทำตลาดลักษณะนี้จะเห็นได้มากที่สุด คือการโฆษณาขายสินค้ามีหลากหลายชนิดผ่านมาทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีตั้งแต่ขาย Note Book Computer, โทรศัพท์มือถือ, สินเชื่อบัตรเครดิต, เครื่องสำอาง , ขายบ้านที่ดิน, รถยนต์, การทำงานผ่านอินเตอร์เน็ต (Work at home), การเรียนทางไกลผ่านระบบออนไลน์ หรือแม้กระทั่งการรับซื้อของเก่า เป็นต้น กลยุทธ์วิธีหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ คือ การให้เป็นผู้แทน (Affiliate) ซึ่งผู้แทนจะได้ค่านายหน้าจากการขายสินค้า ส่วนการประชาสัมพันธ์เว็บไซต์ ส่วนใหญ่เป็นเว็บไซต์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ SMEs, สินค้า OTOP หรือธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อต้องการให้เว็บไซต์ของตนเป็นที่รู้จัก วิธีนี้ค่อนข้างได้ผล เพราะผู้ที่ได้รับจดหมาย สามารถคลิกเข้าไปเปิดดูเว็บไซต์ได้ทันที

  1. 2. การใช้โปรแกรมสืบค้นหาข้อมูล (Search Engine Optimization)

หมายถึง การใช้โปรแกรมสืบค้นหาข้อมูลเข้ามาช่วยในการทำตลาด เมื่อพัฒนาเว็บไซต์ขึ้นมาแล้ว ก็ใช้วิธีพิมพ์คำหลักที่เกี่ยวข้องกับสินค้าของตนลงไปบนเว็บไซต์ search Engine เช่น Google, Yahoo, MSN, Altavista เป็นต้น เพื่อให้คำที่เกี่ยวข้องกับหมวดสินค้าของตนไปปรากฏอยู่บนหน้าแรกของตารางการค้นหา (List Hit) ตัวอย่างคำที่พิมพ์ลงไป เช่น Thai Silk, Thai Handycraft, Bangkok Handycraft, Thai Handmade, OTOP 5 Star, Thailand SMEs เป็นต้น มีรายงานว่า มีผู้ใช้งานอยู่บนอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์ยอดนิยมเหล่านี้กว่า 800 ล้านคน ใน 225 ประเทศทั่วโลก และมี e-Mail มากกว่า 10 ล้าน e-Mail Address

  1. 3. การขายสารสนเทศ (Sale Information)

มีสารสนเทศหลายประเภทที่มีผู้ต้องการซื้อ เพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจ คือสารสนเทศสำหรับประมวลผลรายการธุรกิจ (Transaction Processing System), สารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System) และสารสนเทศสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหาร (Decision Support System) บริษัทแรกในสหรัฐอเมริกาที่ทำการขายสารสนเทศ คือ Sarah Morris Enterprise สำหรับสารสนเทศที่นิยมขายกันมากอีกชนิดหนึ่งคือการขายอีเมล์ (Sale e-Mail) หมายถึง การรวบรวมเอา e-Mail Address ของลูกค้าที่มีการลงทะเบียนไว้ตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อขอรับ e-Mail Address ฟรีบ้าง, เพื่อรับจดหมายข่าว หรือเพื่อซื้อสินค้า เช่น ตามเว็บไซต์ yahoo.com, hotmail.com เป็นต้น และนำมาเสนอขายให้กับผู้ที่สนใจ

 

สาเหตุที่ทำให้ E-Mail Marketing เป็นที่แพร่หลายอย่างมากในปัจจุบันได้แก่

  1. เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อชนิดอื่นอย่างเช่น การโฆษณาทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ การส่งทางไปรษณีย์ หรือการจัดพิมพ์ทำเป็นจดหมายข่าว เป็นต้น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มีค่าใช้จ่ายถูกกว่ามาก และเมื่อเทียบกับการทำ direct mail แล้วจะถูกกว่าถึง 10 เท่า

  2. จากการทดสอบมาก่อนหน้านี้แล้ว ปรากฏว่า การทำตลาดผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจาก การทำตลาดทางออนไลน์ ซึ่งเป็นอันดับ 1

  3. การส่งโฆษณาไปทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ได้ข้อมูลหรือสารสนเทศอย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาในการส่งเพียง 2-3 วินาที หรือเพียง 1 นาทีเท่านั้น ทำให้เกิดการประหยัดเวลา และสามารถไปทำกิจกรรมอย่างอื่นได้

  4. สามารถติดตามดูได้ง่าย เพราะข้อความที่ส่งไป อาจสังเกตได้จาก การสะท้อนส่งกลับคืนมา, การสมัครเป็นสมาชิก, การยกเลิกการเป็นสมาชิก, การเปิดอ่าน, การคลิกเข้ามาชม เป็นต้น ทำให้ทราบความเคลื่อนไหวของลูกค้า และด้วยการมีเครื่องมือวัดความเคลื่อนไหวเหล่านี้ ว่าเป็นไปในทางลบหรือในทางบวก สามารถนำไปเป็นประโยชน์ในการทำตลาด และขายสินค้าได้

  5. การส่งโฆษณาทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถทำให้ส่งโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจได้เป็นจำนวนมาก

SPAM หรือ อีเมล์ขยะ

อย่างไรก็ตาม  แม้การทำการตลาดด้วย E-Mail Marketing นั้นจะมีข้อดีมากมาย และด้วยความที่เป็นช่องทางการทำการตลาดที่มีต้นทุนต่ำ จึงทำให้มีการใช้  E-Mail Marketing กันอย่างแพร่หลาย   แต่ในที่นี้ก็มีผลเสียเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน

โดยปกติกิจวัตรประจำวันของคนส่วนมากที่มักผูกติดอยู่กับเทคโนโลยี การล็อกอินเข้าสู่เมล์บ็อกซ์ถือเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องกระทำเกือบเป็นอย่างแรก เพื่อมองหาอีเมล์ฉบับสำคัญที่ถูกส่งมา แต่หลายครั้งที่ผู้ใช้อีเมล์จะพบว่า เพียงข้ามคืนกลับมีอีเมล์จากคนที่ไม่รู้จักและเนื้อหาที่ไม่ต้องการ หลากหลายและซ้ำซากเหล่านั้นอัดแน่นอยู่ในอีเมล์ที่มีพื้นที่จำกัด

ซึ่งอีเมล์ที่เราไม่ต้องการเหล่านี้ได้รับคำจำกัดความจากผู้รับว่า “สแปม” (SPAM) ซึ่งมักจะถูกกำจัดออกจากระบบเสมอไม่ว่าจะได้เปิดดูเนื้อหาภายในหรือไม่ก็ตาม แต่สำหรับผู้ประกอบการอีเมล์เล่านี้ไม่ใช่แสปม แต่ถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญอย่างหนึ่งในโลกการค้าอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ในการแจ้งข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของผลิตภัณฑ์และบริการให้แก่ลูกค้าเก่าทราบ รวมถึงการขยายฐานลูกค้าใหม่

ดังนั้นในการทำการตลาดโดย E-Mail Marketing นั้นถ้าผู้ประกอบการนำไปใช้อย่างผิดวิธี ก็อาจจะกลายเป็นอุปสรรคสำหรับธุรกิจได้ เพราะอีเมล์ขยะ หรือ Spam นั้นจะก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ที่ได้รับ ซึ่งไม่เพียงอัตราการตอบกลับจะต่ำแล้ว ยังส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือของธุรกิจ ในสายตาของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอีกด้วย

ซึ่งหากมีการพูดกันปากต่อปากถึงความรำคาญต่อการส่ง Spam ที่ได้รับจากธุรกิจของใครก็ตาม ย่อมเกิดความเสียหายแน่นอน โดยกรณีที่เลวร้ายสุด หากคนที่ได้รับการร้องเรียนต่อการรับ Spam ที่ไม่พึงปรารถนา อาจจะทำให้ธุรกิจเราถูกระงับการใช้อินเทอร์เน็ตหรือ Server จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตก็เป็นได้

ดังนั้นข้อพึงระวังที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับการใช้ E-mail Marketing คือการใช้รายชื่ออีเมล์แอดเดรสที่เช่ามาเพราะไม่ว่าจะมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้แต่ก็คือการส่งอีเมล์ไปหา โดยที่ไม่ได้รับการเห็นชอบจากเจ้าของอีเมล์แอดเดรส และไม่ได้หมายความว่าการที่คนจะเปิดอีเมล์ที่ได้รับจากบริษัท ก จะเต็มใจที่จะได้รับอีเมล์จากบริษัท ข

เราจึงควรเก็บรายชื่ออีเมล์แอดเดรสของลูกค้าที่มีอยู่ให้ลับสุดยอดและอย่าเปิดเผยออกไป ยกเว้นว่าลูกค้าแจ้งว่าพร้อมที่จะยอมรับจากอีเมล์จากพันธมิตรทางธุรกิจของเราด้วย แม้จะเป็นเช่นนั้นก็ตาม ต้องระวังที่จะให้รายชื่ออีเมล์ของลูกค้าเราให้กับพันธมิตรทางธุรกิจ

ที่สำคัญคือ ทำทุกอย่างให้ง่ายเข้าไว้ เพราะหากต้องการที่จะทำการตลาดด้วยเทคโนโลยีได้ผลแล้ว ควรสร้างข้อความที่เป็น Text แบบง่าย ๆ พร้อมกับ Web link เพื่อไม่ต้องให้ลูกค้าต้องเสียเวลา Download ไฟล์ แต่ลูกค้าสามารถใช้ Web link เข้ามาดูรายละเอียดใน Website ของเราที่ออกแบบไว้อย่างสวยงาม

ส่วนข้อควรปฏิบัติสำหรับการใช้ E-mail Marketing ที่ถูกจังหวะคือ ให้ลูกค้าเป็นฝ่ายเลือกเองว่าจะให้อีเมล์แอดเดรสกับใคร และอนุญาตให้ใส่ไว้ในรายชื่อกลุ่มลูกค้าที่บริษัทใดหรือธุรกิจใดจะส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปหาที่สำคัญ ต้องลูกค้าต้องให้อีเมล์แอดเดรสกับบริษัทนั้น ๆ โดยตรง

อย่างไรก็ตาม เราสามารถจัดเก็บรายชื่ออีเมล์แอดเดรสผ่าน Website ของบริษัทได้ หรือจากการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อแบบพบปะกันโดยตรงหรือผ่านเอกสาร ในทุกสถานการณ์ควรที่จะขอให้ลูกค้าที่มาเยี่ยมชมบริษัท หรือโชว์รูม หรือร้าน กรอกรายละเอียดพร้อมอีเมล์แอดเดรส และทำเครื่องหมายลงในช่องเพื่อยืนยันว่า ยินยอมให้เราส่งอีเมล์ข้อมูลจากบริษัทไปได้

ขณะเดียวกัน ก็ต้องเปิดทางให้ลูกค้าขอถอนรายชื่อออกจากรายชื่ออีเมล์แอดเดรสที่เราส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นประจำได้ ดังนั้น จึงควรที่ตรวจสอบรายชื่ออยู่เสมอ เพื่อตัดรายชื่อลูกค้าออกจากกลุ่ม หากไม่ต้องการรับอีเมล์จากเราอีกต่อไป แม้จะเป็นเรื่องปลีกย่อย แต่ก็ถือได้ว่ามีผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัทในสายตาลูกค้าว่าตอบสนองต่อความต้องการของเราเร็วหรือช้าเพียงใด รวมถึงควรติดต่อกับลูกค้าสม่ำเสมอแต่อย่าถี่เกินไป

สิ่งที่ควรคำนึงถึงเสมอคือ ควรส่งอีเมล์เมื่อเรามีข้อมูลสำคัญที่ต้องแจ้งลูกค้าจริง ๆ เพราะไม่เช่นนั้น การส่งไปถี่ ๆ จะทำให้ลูกค้าไม่สนใจอีเมล์ที่ได้รับ หรืออาจจะเปิดอีเมล์เพียงครึ่งหนึ่งของที่ส่งไป ขณะที่อีกครึ่งหนึ่งอาจจะลบทิ้ง ทั้ง ๆ ที่เป็นข้อความหรือข้อมูลที่เราต้องการให้เปิดดูก็ได้ และหากเป็นไปได้ควรแจ้งให้ลูกค้ารู้ล่วงหน้าว่าเราจะส่งอีเมล์บ่อยครั้งแค่ไหนและข้อมูลที่จะไปเป็นข้อมูลประเภทใด

ข้อสำคัญอีกประการคือ ควรแบ่งการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าให้ลงตัว ด้วยจุดดีของการใช้ E-mail Marketing คือสามารถแยกแยะกลุ่มลูกค้าได้ง่ายจากอีเมล์ที่มี ตัวอย่างเช่น อีเมล์ที่จะส่งให้ลูกค้าประจำที่ใช้บริการหรือซื้อสินค้าของเรามานานจัดเป็น Loyal Customer ควรจะแตกต่างจากอีเมล์ที่จะส่งให้กับลูกค้าที่นาน ๆ จะซื้อสินค้าจากเราที

รวมถึงข้อมูลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่จะส่งให้กลุ่มเป้าหมายต้องตรงไปตรงมามากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ลูกค้าที่ได้รับเมล์นี้เต็มใจที่จะเปิดอ่าน ตัวอย่างเช่น โค้ดพิเศษผ่านอีเมล์แก่ลูกค้ากลุ่มแรก ๆ เพื่อให้ใช้โค้ดนี้ มาเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้าครั้งต่อไป หรืออาจจะให้สิทธิในการจองซื้อสินค้าพิเศษที่มีจำนวนจำกัดก่อนคนอื่น และทำความรู้จักลูกค้าให้มากขึ้นเท่าที่จะทำได้รวมทั้งติดต่อกับลูกค้าโดยตรง

อย่างไรก็ตาม การทำการตลาดผ่าน E-mail Marketing ต้องสอดคล้องกับภาพลักษณ์บริษัทด้วย ทั้งนี้ เมื่ออีเมล์เป็นช่องทางติดต่อสื่อสารที่แตกต่างจากการพิมพ์จดหมาย ดังนั้น จึงต้องแน่ใจว่าสื่ออีเมล์ไปได้ด้วยดีกับสื่อการตลาดด้านอื่นและไม่มีผลเสียต่อภาพลักษณ์บริษัท

นอกจากนี้ อย่าลืมใส่ชื่อบริษัทลงในอีเมล์ทุกครั้งที่ส่ง เพราะการส่งอีเมล์ผ่านแอดเดรสของ ISP หรือผ่านอีเมล์ของเว็บไซต์อื่น อาจสร้างความสับสนให้แก่ลูกค้าและทำให้ลูกค้ามองว่าบริษัทว่าไม่เป็นมืออาชีพพอ ดังนั้น อาจจะต้องยอมจ่ายค่าธรรมเนียมบางอย่างเพื่อขอสร้างอีเมล์แอดเดรสเฉพาะสำหรับธุรกิจของเราเอง

เช่นเดียวกับกลยุทธ์การตลาดอื่น ๆ ที่ต้องมีการติดตามผลและการวัดความสำเร็จจากการใช้ E-mail Marketing ดังนั้น จึงควรที่จะตรวจสอบผลการตอบรับของลูกค้าจากแต่ละอีเมล์ที่ส่งไป เพื่อดูว่าอย่างไหนใช้ได้ผล และอย่างใดให้ไม่ได้ผล

           ในการใช้ E-mail Marketing อาจจะพบว่ามีลูกค้ากลุ่มหนึ่งที่ชอบติดต่อผ่านอีเมล์ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น จะช่วยให้เราลดการพึ่งพาการทำการตลาดผ่านสิ่งพิมพ์กับกลุ่มนี้ได้ ในทางตรงข้ามอาจจะพบว่าไม่มีใครตอบสนองต่อ E-mail Marketing เลย

ดังนั้น จึงเป็นช่วงที่ต้องทบทวนข้อมูลหรือข้อความที่ส่งไป หรืออาจจะถึงขั้นทุ่มเทหรือข้อความที่ส่งไป หรืออาจจะถึงขั้นทุ่มเทเวลาและทรัพยากรให้กับช่องทางการตลาดอื่นที่มีประสิทธิภาพมากกว่า

นอกจากนี้ การประเมินผลว่าอะไรได้ผลหรือไม่ได้ผลอย่างไรนั้น จะช่วยให้เราสามารถใช้ช่องทางการตลาดที่มีไม่ต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหากนำมาใช้อย่างเหมาะสม E-mail Marketing ก็จะเป็นเทคนิคที่ดีที่สุดในการรักษาการติดต่อสื่อสารกับฐานลูกค้าและให้ผลลัพธ์สูงสุดจากการทำการตลาดที่มีต้นทุนต่ำสุด

Really Simple Syndication (RSS)

      Rss หรือ Really Simple Syndication ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ธุรกิจสามารถที่จะนำมาใช้และช่วยจัดการในการทำ E-Marketing ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดการเกี่ยวกับ Spam หรือ อีเมล์ขยะ ทีส่งผลเสียอย่างมากต่อธุรกิจ ทั้งในด้านผลกำไรที่ลดลง รวมถึงภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือขององค์การอีกด้วย

ปัญหาของการทำการตลาดบนอินเตอร์เน็ต หรือ E-Marketing ที่ธุรกิจต้องเผชิญอย่างหนึ่ง คือ เราสามารถที่จะมั่นใจได้หรือไม่ว่า เนื้อหา สาระต่างๆที่เราส่งผ่าน อีเมล์นั้นจะถึงมือผู้รับเป้าหมาย ?

เนื้อหาสาระต่างๆส่วนมากที่เราส่งไปทางอินเตอร์เน็ตนั้นมักจะไม่ถึงมือผู้รับ เนื่องจากการที่ ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการทางอินเตอร์เน็ตมักมีการใช้ เครื่องมือที่จะคัดกรองข้อมูลต่างๆ ก็โดยเฉพาะ เมล์ขยะ หรือแม้แต่ถ้าข้อมูลนั้นถึงมือผู้รับก็ตามแต่ส่วนมากก็ยังไม่ค่อยที่จะเปิดอ่าน เพราะแม้จะมีการกรองข้อมูลก่อนแล้ว แต่การไหลเข้าของข้อมูลเหล่านั้นก็มีมากจนไม่สามารถที่จะควบคุมได้ ทำให้ผู้รับปลายทางเกิดความกลัวและไม่เชื่อในเนื้อหาต่างๆที่ถูกส่งมาทางอีเมล์อีกต่อไป

มีบริษัทแห่งหนึ่งได้ทำการสำรวจและทำรายงานออกมาพบว่า อัตราการทำการตลาดโดยการส่ง E-mail นั้นเพิ่มขึ้นเป็น 89.3% ในขณะที่อัตราการเปิดอีเมล์อ่านนั้นมีค่าเฉลี่ยที่ 34.3%  อัตราการเปิดเพื่อดูเนื้อหาเต็มอยู่ที่ประมาณ 8.3% ในขณะที่การเปิดดูและซื้อสินค้ามีการเติบโตอยู่ที่ 4.2%   ดังนั้นหมายความว่ากว่าครึ่งของอีเมล์ที่คุณส่งไปนั้นไม่ถึงมือผู้รับปลายทาง ซึ่งทำให้คุณต้องเสียโอกาสในการที่จะขายและโอกาสในการที่จะสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าถึง 50% ในกรณีนี้ข้อมูลข่าวสารหรือข้อมูลอัพเดทต่างๆ ที่คุณตองการส่งให้กับลูกค้าก็จะต้องสูญหายไปด้วย ซึ่งนี่จะมีผลอย่างยิ่งต่อยอดขายและการบริการลูกค้าหลังการขาย ในกรณีถ้าคิดเป็นจำนวนรายได้ หมายความว่าธุรกิจของคุณจะต้องสูญเสียรายได้จำนวนมหาสารเลยทีเดียว

E-Marketing

          ในอดีตที่ผ่านมา สมัยที่อินเตอร์เน็ต ยังมีใช้งานกันในกลุ่มคนที่ไม่มาก การเข้าถึงข่าวสารต่างๆ เป็นไปอย่างไม่ยากเย็นนัก เมื่อเวลาผ่านไปอินเตอร์เน็ต เริ่มมีบทบาทมากขึ้น กลุ่มคนที่ ใช้งานเริ่มมีมากขึ้น เนื้อหาเริ่มมีมากขึ้น จึงมีแนวคิดที่จะมีศูนย์กลางเพื่อรวบรวมที่อยู่ของข้อมูลต่างๆอย่างเป็นระบบ และมีระเบียบ ดังนั้นการเข้าถึงข้อมูล จึงใช้การ Browse หรือ การเปิดดูข้อมูลต่างๆ โดยการเลือกเปิดดูทีละหน้า ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลที่เป็นระดับชั้น อย่างเป็นระบบ เช่น Yahoo ,  Sanook เป็นต้น แต่เวลาผ่านไป เมื่อข้อมูล มีมากจน ผู้ที่ค้นหาข้อมูล ยังไม่ทราบว่าข้อมูล ที่ตนสนใจนั้น อยู่ที่ใดกันแน่ ระบบ Search  Engine จึงเข้ามาแทนที่ ด้วยวิธีการเข้าถึงข้อมูล ที่ใช้ Key word กับข้อกำหนดต่างๆ  ระบบจะนำไปผ่านการคำนวณที่ซับซ้อน และ ให้ผลลัพธ์ ที่ต้องการเป็น  URL ออกมาทันทันทีโดยไม่ต้อง เปิดดูไปเรื่อยๆตามหัวข้อให้เสียเวลา  ระบบนี้จึงเป็นที่นิยมกันมากขึ้นเรื่อย เช่น Google เป็น

และเมื่อดูถึงพฤติกรรมของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต หรือ Internet User นั้นไม่ได้แค่ Search เพื่อดูข้อมูลผ่านๆเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ยังมีคนอยู่จำนวนมากที่เข้า Site เดิม ๆ บ่อย ๆ หรือสนใจในบางหัวข้อของ web เท่านั้น การ Browse หรือ Search จึงไม่สามารถตอบโจทย์ การใช้งานได้โดยตรง จึงมีบุคคลเริ่มแนวคิดการใช้งาน ข้อมูลในรูปแบบใหม่ เรียกว่า ‘RSS’

RSS มีจุดเริ่มต้นมาจากนาย Dave Winer แห่ง UserLand Software  เพื่อใช้ใน Blog ของตัวเขาเอง ต่อมา Dan Libby แห่ง Netscape ได้เขียนมาตรฐานตัวแรกของ RSS โดย ย่อมาจาก RDF Site Summary หรือ RSS version 0.9 ในปี 1999 และภายในปีเดียวกันนั้น ได้ออกมาตรฐานตัวใหม่ออกมา โดยเรียกว่า RSS ย่อมาจาก Rich Site Summary หรือ RSS version 0.91 ต่อมาภายหลัง ได้มีการนำ ข้อดีของ ทั้งสอง แนวคิดมารวมกันเป็น RSS Version 1.0 โดย กลุ่ม นักพัฒนาที่เรียกว่า RSS-DEV ออกมาสู่โลก Internet ในปี 2000 ต่อมา Winner ได้ออก RSS version 0.92 ออมาในปี 2002 และเป็นที่รู้จักจนเป็น มาตรฐานต่อมา จนถึงปัจจุบัน โดย ย่อมาจาก Really Simple Syndication หรือ RSS Version 2.0

RSS คือ XML ประเภทหนึ่ง ใช้กันมากในการส่งเนื้อหาข่าวสารต่างๆให้กับ Internet User ผ่านทาง RSS Reader หรือ Web Browser ซึ่งหลายตัว ก็เริ่มมีการรองรับเทคโนโลยีนี้ เช่น Firefox ,IE เป็นต้น สิ่งที่ต่างออกไปอย่างชัดเจนในแง่ของผู้ใช้ก็คือ เราสามารถอ่านข้อมูล ของ Site หลายแห่งด้วยรูปแบบเดียวกัน โดยมีการเรียงลำดับเวลาด้วย นั้นหมายความว่า เราสามารถอ่านข้อมูล แค่บางอย่างที่เราสนใจจาก Site นั้น โดยไม่จำเป็นจะต้องเข้าหน้าแรก และค่อย ๆ เปิดไปจนกว่าจะเจอสิ่งที่ต้องการ เป็นแนวคิดในการ Push ข่าวสารข้อมูลจากที่ต่าง ๆ มายังผู้ใช้โดยไม่จำเป็นต้องกดอะไรเลย

ทางด้านเนื้อหาที่ต้องการจะส่งด้วย RSS นั้น เจ้าของข้อมูลต้องทำการจัดเรียงข้อมูล ด้วย Tools บางอย่าง ให้อยู่ในรูปแบบ ของ RSS Format ซึ่งอาจทำเองหรือใช้บริการจาก tools ประเภท RSS Generator ก็ได้ ส่วน Site ที่มีการใช้งาน RSS ตอนนี้ก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการข่าว เช่น CNN เป็นต้น หรือถูกใช้โดยตัวกลางระหว่างเนื้อข้อมูล กับผู้ใช้ เช่น Google ก็มีการนำเอา RSS มาใช้แล้ว Site ที่มีการใช้งาน RSS จะมีการทำ Link  ไปยัง RSS File โดยตรงโดยจะมี สัญลักษณ์ XML ( <!–[endif]–>) หรือ RSS ( <!–[if !vml]–><!–[endif]–>RSS)  สีส้มอยู่ในหมวด นั้นเราสามารถ นำ URL ไปใส่ใน RSS reader โดยตรงได้ทันที

ตัวอย่างโครงสร้างการทำงานของระบบ RSS

 

โครงสร้างการทำงานของ RSS
ในการดึงหัวข้อข่าวไปแสดงนั้นจะต้องมีอยู่สามฝั่งคือฝั่งผู้ให้บริการดึงข่าว และฝั่งผู้สร้างเว็บไซต์ใช้ทั่วไปที่ต้องการดึงข่าวไปแสดงในไซต์ตัวเอง และฝั่งผู้ใช้ทั่วไป เรามาดูรูปประกอบกัน

E-Marketing

จากรูปแบ่งได้ 3 ส่วนคือ
1. ฝั่งผู้ให้บริการ RSS ในที่นี้สมมุติชื่อว่า RSS Server
มีการเก็บข้อมูลต่างๆ ลงฐานข้อมูลโดยแยกข่าวออกเป็นหมวดๆ เสร็จแล้วเขียนโครงสร้าง RSS ด้วย XML เพื่อให้ผู้ทำเว็บเข้ามาดึงหัวข้อข่าว สุดท้ายก็บอกลิงค์ไฟล์ที่ให้บริการ RSS

2. ฝั่งผู้ทำเว็บไซต์

ทำการหาไซต์ที่เปิดบริการ RSS Feeds โดยทั่วไปเว็บที่ให้บริการ RSS จะมีรูปสัญลักษณ์ RSS หรือ XML ให้ทำการคัดลอกโครงสร้างไฟล์จาก RSS Server ที่เขาให้บริการอยู่มาใส่ในเว็บตัวเองอาจใช้วิธีการเขียนเอง หรือใช้สริปต์สำเร็จรูปใน Blog หรือ CMS เช่น PostNuke, PHP-Nuke (ปกติจะเป็นนามสกุล .rdf, .xml, .php, .pl, .aspx)

  1. ฝั่งผู้ใช้ทั่วไปไม่ต้องทำอะไรแค่เข้าไปในเว็บไซต์ที่ต้องการ แล้วคลิกเลือกหัวข้อข่าวที่ต้องการอ่าน

ข้อดีของ RSS

RSS ช่วยลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์ โดยเฉพาะกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ขณะที่ผู้สร้างไม่ต้องเสียเวลาทำหน้าเพจแสดงข่าว ซึ่งต้องทำทุกครั้งเมื่อต้องการเพิ่มข่าว โดย RSS จะดึงข่าวมาอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลในเว็บไซต์เป็นศูนย์กลางมากขึ้น

 

จุดเด่นของ RSS

คือ ผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อดูว่ามีข้อมูลอัพเดทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัพเดทไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาอัพเดทใหม่บนเว็บไซต์ไม่ครบถ้วน รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับข่าวสารอัพเดทใหม่ได้โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์

การประยุกต์ใช้งาน RSS ในรูปแบบต่าง ๆ ในปัจจุบัน มีหลากหลายมากขึ้น นอกจากข่าวแล้ว ยังมีรูปแบบอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกหลายแบบ เช่น  Podcast และ RSS on Mobile

Podcast คือการประยุกต์ใช้งาน RSS เข้ากับเสียง โดยไม่จำกัดว่าเสียงอะไร เช่น รายการข่าว, เพลง  หรือ รายการวิทยุต่างๆ ลงมาเป็น  file  เช่น  MP3 WMA หรือรูปแบบอื่นๆ และใช้ RSS ในการส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้บริการ ประโยชน์ที่ได้รับมีมากมายเช่น  สามารถฟังรายการ ทีวี วิทยุ ผ่านทางเครื่องเล่น Mp3 ที่มีขายอยู่มากมาย หรือใครก็ตามสามารถจัดรายการของตัวเอง และเผยแพร่ด้วย Podcast ผ่าน Internet หรือประยุกต์ใช้เป็น Blog ที่มีเสียงด้วย เป็นต้น

            RSS on Mobile ด้วยข้อจำกัดของหน้าจอและความเร็วของเครือข่าย การใช้งาน Site ต่างๆ บน Mobile จะอาจจะต้องมีการทำ Website ใหม่ด้วยข้อมูลเดิมเพื่อให้เหมาะสมกับขนาด หน้าจอของ Mobile แต่เมื่อเรานำ RSS มาใช้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือเราไม่จำเป็นที่จะต้องทำ layout ของข้อมูลใหม่ สามารถส่ง RSS ไปยัง Mobile ได้ทันที และยังประหยัดการใช้งานเครือข่าย เพิ่มความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลอีกด้วย

ประโยชน์ของระบบ RSS ต่อองค์การธุรกิจและการทำ e marketing คือ อะไร

  1. RSS  ช่วยในการประหยัดเวลา เนื่องจากไม่ต้องคอยสร้างเพจหรือลิงค์ใหม่ เพราะเพียงแต่แก้ไขข้อมูล RSS ในเว็บไซต์ ข้อมูลเว็บไซต์ที่มีอยู่ก็จะเปลี่ยนแปลงไปเองโดยอัตโนมัติ เช่น สมมติมี Website ของร้านค้าอยู่  6 ร้าน    หากเราได้ทำข้อมูลสินค้าไว้เป็น  RSS    พนักงานของร้านทั้ง 6 ร้าน    ก็ไม่ต้องคอยเช็คหรือแก้ไขราคา  หรือสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสินค้า   เพียงแต่แก้ไขข้อมูล RSS  ก็จะทำให้ข้อมูล Website ทั้ง    6   ร้านเปลี่ยนแปลงไปเหมือน ๆ กันโดยอัตโนมัติ เช่นเดียวกับผู้รับปลายทางก็จะได้รับข้อมูลอัพเดททันทีเช่นกัน

  2. Website ที่มีการใช้ RSS   จะสะดวกในการค้นหา เพราะว่า  Goolgle  จะเก็บรวบรวม Website ที่เป็น RSS   เอาไว้    ทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาได้ง่ายขึ้น    ซึ่งจะส่งผลทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆที่ต้องการๆได้อย่างรวดเร็ว และทำให้องค์การธุรกิจเป็นที่รู้จักได้มากยิ่งขึ้นเพราะเพียงแค่พิมพ์หัวข้อ  ผู้ใช้ก็สามารถที่จะดูรายละเอียดของข้อมูลใน Website ต้นฉบับได้เลย

  3. RSS จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับข่าวสารอัพเดทใหม่ได้ โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา   เพราะ Website แต่ละแห่งจะมีความถี่ในการอัพเดทไม่เท่ากัน   ระบบ RSS ก็จะช่วยให้ผู้ใช้เกิดความสะดวกมากขึ้น เพราะผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตาม Website ต่าง ๆ   เพื่อดูว่ามีข้อมูลอัพเดทใหม่หรือไม่    ดังนั้นการที่มี RSS  จะสามารถดึงข้อมูลจาก Website ต่าง ๆ  ที่มีการบริการ RSS  ได้โดยตรง และทันที   ซึ่งจะเหมาะกับธุรกิจแบบออนไลน์  เพราะธุรกิจแบบออนไลน์จะมีการอัพเดทสินค้าอยู่บ่อย ๆ

  4. RSS   เป็นการเพิ่มโอกาสทางการขายมากขึ้น เพราะเมื่อธุรกิจทางออนไลน์มี  RSS  ก็จะทำให้ผู้ใช้บริการเจอ Website ของธุรกิจที่มี RSS    เป็นอันดับแรก ๆ   ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางการตลาด       ทำให้มีโอกาสมากว่าคู่แข่งที่ใช้ระบบออนไลน์แต่ไม่ใช้ระบบ RSS

  5. สามารถนำเอา RSS  เป็นเครื่องมือทางการตลาดในการนำเสนอข้อมูลล่าสุดส่งถึงคอมพิวเตอร์ของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วโดยอาจเป็นรายการสินค้าตัวใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าเป็นต้น เพราะเมื่อมีการนำระบบส่งข้อมูล RSS มาใช้จะทำให้ธุรกิจสามารถมั่นใจได้ 100% ว่าข้อมูลต่างๆนั้นจะไปถึงมือผู้รับปลายทางอย่างแน่นอน โดยไม่ถูกรบกวนโดยระบบ Spam

  1. การนำเอารูปแบบของ Podcasting , Videocasting หรือ รูปแบบอื่นๆเข้ามาประยุกต์ใช้กับระบบ RSS ทำให้การข้อความและเนื้อหาต่างๆถูกนำเสนอ โดยเพิ่มความน่าสนใจมากขึ้นด้วย ทั้ง ภาพและเสียง ถือเป็นการสร้างความน่าดึงดูดใจ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสร้างมูลค่าเพิ่มกับสินค้าและบริการ

 

สรุป

                e marketing คือ  ระบบ RSS ถือเป็นบริการใหม่บนเว็บที่น่าใช้งาน เหมาะสำหรับสร้างเป็นศูนย์กลางข้อมูลออนไลน์ ในปัจจุบันถือได้ว่าเริ่มมีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งระบบนี้ถือได้ว่าก่อให้เกิดประโยชน์ให้ทั้งการองค์การธุรกิจของการที่สามารถแน่ใจได้ว่าเนื้อหาต่างๆนั้นจะไปถึงมือผู้รับปลายทางแน่นอน ทำให้องค์การสามารถที่จะติดต่อสื่อสารและบริการลูกค้าได้ดีขึ้น  และในส่วนของผู้ใช้งาน คือการไม่ต้องเกิดความรำคาญกับ อีเมล์ขยะ และสามารถที่จะรับข้อมูลอัพเดทต่างๆได้ตลอดเวลา นอกจากนั้นการที่ระบบ RSS เป็นรูปแบบของ XML ที่สามารถนำไปต่อยอดเพื่อ ที่จะใช้งานได้กับ ทั้งMobile หรือ PDA  ได้ทำให้เกิดช่องทางในการสื่อสารและช่องทางการทำธุรกิจใหม่ๆขึ้นมาอีก ในอนาคต

แหล่งอ้างอิง :

  • บทความเรื่อง “การตลาดทางอีเมล์ (E-mail Marketing) : เขียนโดย Gaspard”

  • บทความเรื่อง “ต่างมุมมองกับอีเมล์มาเก็ตติ้ง : เขียนโดย ktmgroup”

  • บทความเรื่อง “E-Marketing การตลาดอิเล็กทรอนิกส์: ที่มา http://www.thinkandclick.com”

  • บทความเรื่อง “กลยุทธ์การทำตลาดยุคใหม่ กับ E-Mail Marketing : ที่มา รายการ e-life e-business ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท.”

  • บทความ “ประโยชน์ของระบบส่งข้อมูล RSS ที่มีต่อตัวคุณและธุรกิจ : เขียนโดย EB-xxx”

  • บทความ “Next generation of access information RSS : เขียนโดย Tanid Piriyapokanon”

  • บทความ “The Business Case for RSS : เขียนโดย Rok Hrastnik, MarketingStudies.net”

  • บทความ “RSS Marketing : ที่มา http://rssdiary.marketingstudies.net/”

บทความน่าสนใจ การตลาดกับชีวิตประจําวัน ข้อคิดการจัดการการตลาดยุคใหม่

คลิปข้อคิดก่อนซื้อรถ https://www.youtube.com/watch?v=cmd5MKP3KM8&t=309s

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *