POKA YOKE คือ ระบบหรือกลไกลต่างๆ ที่ช่วยในการป้องกันการผิดพลาด

POKA YOKE เป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการประสมคำ  2 คำ อันได้แก่คำว่า   “ POKA” (อ่านว่า โพ-คา ) แปลว่าผิดพลาดจากการพลั้งเผลอ หรือไม่ได้ตั้งใจ และคำว่า “ YOKE ” (อ่านว่า โย-เกะ) แปลว่า ป้องกัน/เชิงป้องกัน  ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า  Error Free Processing / Full Proof Proving   คือ ระบบหรือกลไกลต่างๆ ที่ช่วยในการป้องกันการผิดพลาด / ทำให้ปราศจากข้อผิดพลาด/ ไม่สามารถที่จะผิดพลาดได้/ ยากที่จะทำให้เกิดผิดพลาดได้ เรียกสั้นๆง่ายๆว่า ตัวกันโง่   ซึ่งเป็นหนึ่งแนวคิด ในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเชิงป้องกันหรือขจัดการสูญเสียที่เกิดขึ้นจาก 4 M  อันได้แก่  M:Material (วัดถุดิบ )  M:Machine (เครื่องจักร)  M: Method  (วิธีการทำงานหรือกระบวนการทำงาน)   รวมทั้งพฤติกรรมของ M:Man (คน) ที่อาจจะเผลอเรอ ขาดความเอาใจใส่ ไม่รอบคอบในสิ่งที่ทำ  มักอาจทำให้เกิดข้อบกพร่องหรือความผิดพลาดได้เสมอ  ดังนั้นPOKA-YOKE  จะถูกคิดเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา จากสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งจะป้องกันไม่ทำให้ปัญหานั้นๆเกิดขึ้นมาอีก

POKA YOKE

POKA-YOKAถูกนำไปประยุกต์ใช้กับเทคนิคและหลักปรับปรุงพัฒนาต่างๆ อาทิเช่น หลักวิธีการวิศวกรรมอุสาหการ (หลักวิธีการ IE) ในการทำไคเซ็น เพื่อการลดความสูญเปล่าจาก 3MU อันได้แก่ 

1)MUDA  มู-ดะ คือ ความสูญเปล่า  ซึ่งตรงกับความสูญเสีย 7 ประการ อันได้แก่ การผลิตมากเกินไป (Over Production) มีการกักเก็บสินค้าที่ไม่จำเป็น (Unnecessary Stock) มีการขนย้ายมากเกินไป (Transportation) มีของเสียมากหรืองานทำซ้ำมาก (Defect/Rework) กระบวนการที่ไม่มีประสิทธิผล (Non-Effective Process) มีการรอคอยระหว่างกระบวนการ (Idle) มีการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion) 

2) MURA มู-ระ คือ การสูญเสียด้านความแปรผัน ความคลาดเคลื่อน ความไม่สม่ำเสมอของกระบวนการ

3) MURI มู-ริ คือ การฝืน ทำสิ่งต่างๆ หรือ การทำอะไรไม่สมเหตุผล เช่น การที่เครื่องจักรที่มีความสามารถในการทำงานน้อยกว่า ปริมาณงานที่ป้อนเข้าไป  

จากความสูญเปล่าเหล่านั้น จะต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุง  และหนึ่งในเทคนิคการปรับปรุงที่ชาว IE นิยมนำมาประยุกต์ใช้ คือหลักการ ECRS ซึ่งประกอบด้วย

E: Eliminate (การกำจัด)  หมายถึง การพิจารณาการทำงานปัจจุบันแล้วทำการกำจัดความสูญเปล่าทั้ง 7    

C: Combine(การรวมกัน) หมายถึง การพิจารณาว่าสามารถรวมขั้นตอนการทำงานให้ลดจำนวนลงได้หรือไม่ เพราะการลดขั้นตอนการทำงานนั้นหมายถึงลดความสูญเปล่า 

  R: Rearrange (การจัดใหม่)   หมายถึง การจัดขั้นตอนการผลิตใหม่เพื่อให้ลดการเคลื่อนที่ที่ไม่จำเป็น   

S: Simplify (การทำให้ง่าย)    หมายถึง การปรับปรุงการทำงานให้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น ง่ายเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผลทำให้ประหยัดเวลา ลดความผิดพลาด ลดอุบัติเหตุ

จากหลักการทำให้ง่ายนี่แหละ จึงทำให้คำว่าPOKA-YOKE ถูกนำมาใช้เป็นหลักการพื้นฐาน โดยอาจจะออกแบบจิ๊ก (jig) หรือ fixture  บวกกับการจัดทำโปรแกรมอัตโนมัติ  เข้าช่วยในการทำงาน เพื่อให้การทำงานสะดวกและมีความแม่นยำมากขึ้น  ก็จะสามารถลดของเสียลงได้  หรืออาจจะเป็นการลดการเคลื่อนที่ที่ไม่จำเป็น จากการทำงานที่ไม่จำเป็น

POKA YOKEถูกนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานต่างๆ มากมาย อาทิเช่น งานปรับปรุงด้านความปลอดภัย งานด้านการเพิ่มผลผลิต งานด้านการลดการสูญเสีย งานปรับปรุงด้านคุณภาพ  ถึงแม้ว่าPOKA YOKE จะถูกนำไปใช้กับงานในโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆเช่น โรงงานผลิตอะไหล่รถยนต์ โรงงานผลิตมอเตอร์ไซด์ โรงงานผลิตเครื่องจักร โรงงานผลิตอาหาร โรงงานผลิตเครื่องนุ่งหุ่มรองเท้า โรงงานธุรกิจด้านประกอบรถยนต์ ฯลฯ รวมทั้งการออกแบบตัวสินค้าเครื่องจักรต่างๆ   นอกจากนี้หลักการPOKA-YOKE ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับร้านเล็กๆ อู่ซ่อมรถยนต์ มอเตอร์ไซด์  เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือแม้จะนำไปประยุกต์ใช้กับการดำรงชีวิตประจำวัน ก็สามารถทำได้

ตัวอย่าง POKA YOKE

1. JIG สำหรับประกอบ Part ต่างๆ
2. ปลั๊กไฟฟ้า (เต้ารับ -เต้าเสียบ) หรือ สายย่อยข้างในของสายไฟฟ้า ที่แบ่งออกเป็นสีต่างๆ เพื่อ ป้องกันการต่อวงจรผิด
  • สายซาร์ตแบตเตอรีของโทรศัพท์มือถือบางยี่ห้อเช่น  SUMSUNG : HAUWEI ที่มีช่องรู (Slot:สล็อต )   ซึ่งไม่สามารถเสียบสายผิดด้านได้
  • ขั่วสายโทรศัพท์ ซ่องมีตัวล็อค ซึ่งไม่สามารถสลับด้านได้

ประโยชน์ทางตรงPOKA YOKE นอกจากจะเป็นการป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำแล้ว ยังขจัดโอกาสที่จะก่อให้เกิดความผิดพลาด ลดการเคลื่อนไหวจากการทำงานผิดพลาดหรือขจัดการแก้ไขชิ้นงาน (Rework)  ลดของเสีย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  ลดต้นทุนการผลิตก็จะมีกำไรเพิ่มขึ้น   ประโยชน์ทางอ้อมPOKA YOKE  เมื่อการทำงานการใช้เครื่องมือเครื่องจักรต่างๆทำได้ง่ายขึ้น  การทำงานแบบง่ายๆก็จะลดความเมื่อยล้าจากการทำงาน จึงส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานดีขึ้น ลดโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุ ลดความเครียดจากการทำงาน  และเมื่อPOKA YOKE ลดการสูญเสียจากการผลิต จะทำให้มีการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติลดลง จึงส่งผลดีต่อโลก ภาวะโลกร้อน ลดภัยธรรรมชาติที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ช้าลงหรือมีความรุนแรงน้อยลง

คลิป พัฒนาตนเองในการทำงาน https://www.youtube.com/watch?v=hc8YBTu7vVM&t=498s

บทความที่น่าสนใจ ECRS คือตัวย่อ 4 คำ อันได้แก่ E: Eliminate, C:Combine,R:Rearrange ,S:Simplify

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *