ปวดกล้ามเนื้อ อาการไม่รุนแรง เรื้อรังแถมยังสร้างความรำคาญให้กับคนวัยทำงาน

          ปวดกล้ามเนื้อ การปวดกล้ามเนื้อมักพบบ่อยอ โดยส่วนมากแล้วพบกับคนที่กำลังอยู่ในวัยทำงาน การปวดกล้ามเนื้อจะแสดงอาการของโรคมากมาย อันได้แก่ปวดหัว  ปวดชายโครง ปวดต้นคอ ปวดสะบัก  ปวดเอว ปวดน่อง ปวดสะโพก ปวดเท้า เมื่อยหรือเป็นตะคริวเป็นต้น  หากไม่รักษาหรือมีการรักษาถูกวิธี อาการเหล่านี้มักจะเป็นอาการที่เรื้อรัง  และทั้งนี้อาการดังกล่าว ก็เป็นสาเหตุของกระบวนการของกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังคด โดยกระดูกสันหลังเสื่อมนั้นเป็นอันตรายถึงการเป็นอัมพาตได้

ปวดกล้ามเนื้อ

         สาเหตุของการปวดกล้ามเนื้อ  เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อให้ทำงานหนักมากเกินไป หรือแม้แต่การฉีกขาดของใยกล้ามเนื้อเล็กน้อย แล้วทำให้มีการรั่วไหลของสารกระตุ้น ให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อในบริเวณนั้นๆ  มีการขาดเลือดและมีของเสียคั่งค้างในกล้ามเนื้อ   ซึ่งมันจะไปกระตุ้นระบบประสาท เกิดกลไกลให้กล้ามเนื้อเกร็งมากขึ้น  จนมีอาการปวดและอาจรุนแรงกระจายไปทั่ว โดยสาเหตุปัจจัยที่คนวัยทำงานมีอาการ ปวดกล้ามเนื้อ  อันเกิดจากพฤติกรรมและลักษณะการทำงานเดิมซ้ำๆเป็นเวลานานๆ โดยกลุ่มวัยในอาชีพดังนี้ที่ควรระวัง

       1.คนงานในกระบวนการผลิตที่ต้อง นั่งนาน ยืนนาน

       2.แน่นอนพนักงานออฟฟิศเช่น สาวๆบัญชี พนักงานเสมียนหรือแอดมิน (Admin)

       3.พนักงานธนาคาร เจ้าหน้าที่นั่งนับเงินเป็นเวลานาน

       4.คนขับรถ จะเป็นรถสิบล้อ รถโดยสารทั่วไปหรือรถเมล์ของรัฐ

       5.หรือจะเป็นพนักงานบนเครื่องจักรที่ต้องนั่งขันเครน หรือจะเป็นนักบินก็มีความเสี่ยง

       6.แม้แต่จะเป็นครูอาจารย์ หมอ พยาบาลที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นเวลานาน

       7. ยังมีอาชีพอื่นๆ อีกมากมายที่ยังคงใช้กล้ามเนื้อ เกินกำลังความสามารถของมัน

ทุกๆอาชีพก็มีโอกาสมีอาการปวดกล้ามเนื้อ  ได้เช่นกัน หากใช้ร่างกายใช้กล้ามเนื้อไม่สมดล การให้กล้ามเนื้อทำงานหนักมากจนเกินไป

ปวดกล้ามเนื้อ

อาการปวดกล้ามเนื้อ

       มีทั้งแบบปวดเฉพาะที่จุดปวดหรือปวดแบบลุกลามไปยังกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ อาจปวดลึกๆ ปวดร้าวไปที่อื่นอาทิเช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง  อาการนอนไม่หลับ ปวดเกร็งจะเป็นตะคริว  โดยการแสดงอาการของการอาการปวดกล้ามเนื้อ มีดังนี้

  1.  เวลาปวดอาจเป็นเวลาทำงานหรือเวลาพัก

  2. ความรุนแรงมีตั้งแต่เมื่อยล้าไปจนถึงปวดทรมาน รู้สึกปวดแสบร้อนเป็นตะคริว บางรายมีอาการชามือและขา เนื่องจากกล้ามเนื้อหนีบเส้นประสาท

  3. ความผิดปกติของโครงสร้างร่างกายเช่น ไหล่สูงต่ำไม่เท่ากัน หลังบ่าตกเป็นต้น

  4. ส่งผลถึงระบบประสาทเช่น เหงื่อออก เวียนหัว น้ำตาไหล คัดจมูก น้ำลายมาก ปวดศีรษะเวียนศีรษะกังวลซึมเศร้า

  5. จุด ปวดมี 2 แบบคือจุดปวดที่มีอาการและจุดปวดแสงโดยจะแสดงอาการ เมื่อถูกกระตุ้น

การักษาปวดกล้ามเนื้อ

   1.การฉีดยาที่จุดตรวจ เป็นการรักษาที่ง่ายและสามารถทำซ้ำได้ แต่ต้องรักษาให้กล้ามเนื้อโดยรอบนั้นหาย เพราะหากฉีดยาไม่ตรงจุดอาการปวดอาจเพิ่มมากขึ้น

   2.การพ่นสเปรย์เพื่อให้ความเย็นบนกล้ามเนื้อตามด้วยการยืดกล้ามเนื้อ

   3.การรักษาด้วยความร้อนการประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อนแช่ในอ่างน้ำอุ่นและเครื่องมือแพทย์ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัวและหลอดเลือดใหม่ ไหลเวียนได้ดีขึ้น

   4. การนวดมีการนวดแบบกดจุด ด้วยการยึดคลายเส้น เพื่อลดอาการขัดเข็มขัดยอกของกล้ามเนื้อ

   5.การรักษาด้วยไฟฟ้า มีแบบทั้งการกระตุ้นกล้ามเนื้อและการกระตุ้นประสาท ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้ร่วมกับการฝังเข็ม  ซึ่งการฝังเข็มสามารถรักษาอาการเจ็บปวดและซ่อมแซมในส่วนต่างๆ ของร่างกายให้เป็นปกติได้

   6. การใช้ยา  ยาแก้ปวดยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้อักเสบ ยานวดเป็นต้น

   7. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมท่าทางการทำงานต่างๆ หาอุปกรณ์ที่เหมาะสม ช่วย  การทำงานหนักซ้ำซ้ำต้องมีเวลาพักและได้ ยืดเส้นบ้าง

   8.การบริหารและการฟื้นฟูสมรรถภาพกล้ามเนื้อด้วยการออกกำลังกายโดยการบริหารร่างกายและสามารถช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้

การบริหารร่างกายแบบง่ายๆ เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ

    แบ่งการบริหารกล้ามเนื้อแขนและคอ

ปวดกล้ามเนื้อ

       1.ท่าบริหารไหล่ : ท่าเตรียม ยืนและศีรษะตรง ใช้มือทั้งสองประสานกันให้อยู่บนเหนือศรีษะ หันฝ่ามือขึ้น แล้ว เหยียดแขนขึ้นข้างบนให้สุด และเอนไปข้างหลัง หลังจากนั้นค้างไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วจึงกลับสู่ท่าเตรียมผ่อนคลายและทำซ้ำ 5 รอบ

      2.ท่าบริหารต้นแขน : ท่าเตรียม ยืนหรือนั่งตัวตรง ตั้งศีรษะให้ตรง แล้วใช้มือประสานกันข้างหน้าในระดับไหล่ แล้วหันฝ่ามือออกข้างหน้า หลังจากนั้น เหยียดแขนไปข้างหน้า ในระดับไหล่จนสุดแขน แล้วก้มศรีษะค้างไว้ ประมาณ 10 วินาที แล้วจึงกลับสู่ท่าเตรียม  ผ่อนคลายและทำซ้ำ 5 รอบ

    3. ท่าบริหารสะบัก : ท่าเตรียม ยืนหรือนั่ง ทำตัวให้ตรง ตั้งศีรษะตรง ใช้มือทั้งสองประสานกันข้างหลัง  หันฝ่ามือออกจากลำตัว เหยียดแขนให้ตรง หลังจากนั้น ยกแขนขึ้นให้สุด เท่าที่สามารถจะทำได้ ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วจึงกลับสู่ท่าเตรียม ผ่อนคลายและทำซ้ำ 5 รอบ

 

การบริหารลำตัว –หลัง- ขา

ปวดกล้ามเนื้อ

    4. ท่ายืดท้องแขน ยกแขนขึ้น : ท่าเตรียม งอข้อศอกด้านใดด้านหนึงไปด้านหลัง หลังจากนั้นใช้แขนและมือฝั่งตรงข้ามดึงข้อศอกไปด้านหลังให้ตึงสูงสดุ ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วจึงกลับสู่ท่าเตรียม ผ่อนคลายและทำซ้ำ 5 รอบ

    5. ท่ายืดกล้ามเนื้อสะบักเหยียดแขนไขว้ไปฝั่งตรงข้าม ใช้แขนอีกข้างงอศอกล็อคและออกแรงดึงไปฝั่งตรงข้ามค้างไว้ประมาณ 10 วินาที ผ่อนคลายและทำซ้ำทำซ้ำ 5 รอบ

     6. ท่ายืดกล้ามเนื้อบ่าเอียงศีรษะไปด้านข้างใช้มือข้างเดียวกับที่เอียงไปช่วยดึงศีรษะไป มืออีกข้างจับขอบเก้าอี้ ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที ผ่อนคลายและทำซ้ำ 5 รอบ

      การบริหารและการฟื้นฟูสภาพของกล้ามเนื้อ  นั้นเป็นการดูแลและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ  เนื่องจากกล้ามเนื้อ จะมีความยืดหยุ่นผ่อนคลาย และเป็นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง  โอกาสที่จะกลับมาปวดเมื่อยก็น้อยลง อาการปวดกล้ามเนื้อ จะหายเองได้ด้วยตัวเองเพื่อตัวเราเอง

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

www. s-spinehospital.com

โรงพยาบาล 2 www. aikchol.com

www. Health-th.com

 

บทความที่น่าสนใจ น้ำมันเลียงผา สรรพคุณช่วยประสานกระดูก ต่อกระดูก แก้ฟกช้ำ ประสานแผล

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *