การบำรุงรักษาด้วยตนเอง AM :Autonomous Maintenance / Jishu HOZEN

What is AM?

AM ย่อมาจาก Autonomous Maintenance หรือ การบำรุงรักษาด้วยตนเอง  ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Jishu HOZEN   เป้นการบำรุงรักษาด้วยตนเองโดยพนักงานเดินเครื่องนั้นๆเป็นผู้รับผิดชอบ AM Pillar เป็นเสา/หลักอย่างหนึ่งของระบบ TPM (Total Productive Maintenance) ที่เรียกว่าระบบ การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม สำหรับ AM: Autonomous Maintenance นั้นมีการดำเนินการ 7 ขั้นตอน   จะได้กล่าวในลำดับถัดไป

การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1) พนักงานของฝ่ายผลิตต้องสามารถรับผิดชอบ ดูแลเครื่องจักรที่ตัวเองเป็นผู้ใช้งานและรับผิดชอบเสมอเหมือนว่าตนเป็นเจ้าของเครื่องจักรนั้น โดยพนักงานมีทักษะที่เข้าใจระบบการทำงาน รวมทั้งกลไกลการทำงานของเครื่องจักร หัวใจสำคัญคือ “ไม่มีใครเข้าใจเครื่องจักรได้ดีเท่ากับผู้ใช้เครื่องจักร”)

 2) พนักงานฝ่ายผลิตต้องทำการบำรุงเครื่องจักรขั้นพื้นฐาน เช่น อัจาระบี ขันแน่น ปรับแต่งปรับตั้งเครื่องจักรอย่างถูกวิธี (โดยที่การบำรุงเครื่องจักรนั้น จะไม่ถูกปล่อยให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายซ่อมบำรุงแต่เพียงฝ่ายเดียว)

การบำรุงรักาาด้วยตนเองมีเป้าหมาย ดังนี้

  1. เพื่อการดำรงไว้ซึ่งสภาพพื้นฐาน (basic condition): การบำรุงรักษาประจำวัน (Daily/Time-based maintenance), การทำความสะอาด (Cleaning), การหล่อลื่น (Lubrication), การขันแน่นและปรับแต่ง (Tightening) อย่างถูกต้องและถูกวิธี

2) เพื่อการตรวจสอบประจำวันโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (Daily inspection by using 5 senses)

3) เพื่อให้การปฏิบัติงานที่ถูกต้อง การปรับแต่งที่ถูกต้อง การตั้งเครื่องที่ถูกต้อง (Right operation, right adjustment, right setting)

การบำรุงรักษาด้วยตนเอง

การทำ การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (AM) 7 ขั้นตอน

การทำ AM Step 0:  เตรียมความพร้อม  Preparation  โดยมีมีวัตถุประสงค์    เพื่อเตรียมความพร้อมของคนหรือพนักงานให้มีความรู้ที่จะทำตามขั้น (Step)    มีความพร้อมด้านความปลอดภัยทั้งสถานที่และอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงจุดอันตรายต่างๆ ต้องถูกระบุให้ครบถ้วน   การเตรียมสถานที่ให้มีความพร้อม มีความเป็นระเบียบ  สามารถมองเห็นสิ่งผิดปกติได้ง่าย รวมถึงการใช้เครื่องมือ AM 4 อย่าง เพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร  ประกอบด้วย 

1) กิจกรรมบอร์ด เป็นกิจกรรมการสื่อสารกันในกลุ่มย่อยเพื่อรายงานสถานะหรือความคืบหน้าในการดำเนินกิจกรรม ซึ่งอาจจะประกอบด้วย ชื่อกลุ่ม โครงสร้างกลุ่ม, พื้นที่และเครื่องจักรที่รับผิดชอบ, คำขวัญประจำกลุ่มและการ Boom ก่อน-หลังประชุมกลุ่มย่อย, เป้าหมายประจำกลุ่มย่อย, ใบบันทึกการประชุมกลุ่มย่อย, ความคืบหน้าเช่น กราฟแสดงผลลัทธ์ตามเป้าหมาย, OEE, Downtime ที่กลุ่มเกี่ยวข้อง, แผนในการทำ AM แต่ละสัปดาห์ให้ครบทุกพื้นที่ๆรับผิดชอบ

 2) Daily Check ประกอบด้วย: การตรวจสอบ Inspection, การทำความสะอาด Cleaning, การหล่อลื่นLubrication หรือเรียกสั้นๆว่าการทำ CIL   โดย Check List ในการตรวจสอบสภาพสถานะความสมบูรณ์ของเครื่องจักร ใน Step นี้ เป็นการตรวจสอบเบื้องต้นของเครื่องจักร   ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติของพนักงานโดยทั่วไปอยู่แล้ว

3) Shop floor   Meeting การประชุมกลุ่มย่อย เป็นการพูดคุยกันภายในกลุ่ม ซึ่งจะประกอบด้วยหัวข้อดังนี้ คุยกันว่าปัญหาอะไรเป็นปัญหาเร่งด่วน ปัญหาอะไรสำคัญที่สุด แล้วถามว่าปัญหานั้นมันเกิดขึ้นได้อย่างไร, จึงคิดว่า จะทำอย่างไรที่จะทำให้ปัญหานั้นหายขาด, คิดหาแนวทางคิดถึงวิธีการแล้วลงมือทันที, หลังจากนั้นจะต้องติดตามการทำตามแผน มีการชี่บ่งจุดที่เกิดปัญหาด้วยการทำสัญญลักษณ์ให้เห็นได้อย่างชัดเจนด้วยการติดและการปลด Tag

4) OPL  (One Point Lesson) เป็นการสร้างบทเรียน/ข้อกำหนดที่จำเป็นต้องปฏิบัติ เป็นเทคนิคการถ่ายทอดวิชาการความรู้ อย่างหนึ่ง โดยให้พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ จัดทำบทเรียนนั้นๆขึ้นด้วยตนเอง แล้วผ่านการอนุมัติจากหัวหน้างาน หลังจากนั้น จึงจะนำบทเรียนนั้นไปสอนเพื่อนคนอื่นๆ ให้ปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างถูกต้อง เพื่อลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงาน

การทำ AM Step  1 :  การทำความสะอาดแบบตรวจสอบ  Inspection Cleaning มีจุดประสงค์  เพื่อทำให้เครื่องจักรต่างๆต้องถูกทำความสะอาด  และ จุดบกพร่องต่างๆต้องไม่ถูกละเลย  Step นี้   เป็นการค้นหาจุดบกพร่องต่างๆให้พบและครอบคลุมทุกพื้นที่  แล้วทำการแก้ไขจุดพกพร่อง   รวมทั้งการค้นพบแหล่งกำเนิดปัญหาและจุดยากลำบาก  โดยที่จุดบกพร่องต่างๆเหล่านั้นจะถูกเขียนลงในใบ Tag  ซึ่ง Tag สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆเช่น ประเภทที่1) Tagที่พนักงานสามารถแก้ไขได้เอง  ประเภทที่2) Tag ที่จำเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือจากช่างซ่อม และ ประเภทที่3) Tag ที่ต้องระมัดระวังซึ่งเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย   ซึ่งใน Tag นั้น จะมีการระบุประเภทของปัญหาดังนี้

 1. ข้อบกพร่องเล็กน้อย (Minor Flaws):สกปรก, ขีดข่วน, โยกเยก, หลวม, ผิดปกติ (เสียงดัง, กลิ่นไหม้, สั่น, ความดัน, กระแสไฟ), เกาะติด, อุดตันและหมักหมม ต่าง ๆ

2. พื้นฐานที่ไม่สมบูรณ์ (Unfulfilled basic): ขาดการหล่อลื่น, น้้ามันสกปรก, ระบบท่อทางหล่อลื่นผิดปกติดน้้ามันผิดชนิด, เกจวัดผิดปกติ, การขันแน่นของ Bolt & Nut ไม่ดี

3. สถานที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ (Inaccessible place): เข้าไปทำความสะอาดยาก, ตรวจเช็คยาก, หล่อลื่นยาก, มีฝาปิดไม่สะดวกในการเดินเครื่อง และปรับความดัน, อุณหภูมิ

4. แหล่งปนเปื้อน (Contamination Source): จุดที่มีการ รั่วไหล, หก, พ่น, ฟุ้งกระจาย, ล้น, เลอะเปรอะเปื้อนของผลิตภัณฑ์, น้้ามัน, วัตถุดิบ, แก๊ส, ของเหลว และเศษผงต่าง ๆ

5. แหล่งที่มีข้อบกพร่องด้านคุณภาพ (Quality defect source): สิ่งแปลกปลอม, การช็อคการกระตุก(shock) , ความชื้น,ขนาดเม็ดสาร(Grain),ความเข้มข้น,ความหนืด,การหยุดเล็กๆน้อยๆ

6. รายการที่ไม่จำเป็นและไม่เร่งด่วน (Unnecessary & Non-urgent item): ปั๊มลม, พัดลม, ท่อต่าง ๆ เครื่องมือวัดต่าง ๆ, อุปกรณ์ไฟฟ้า, Jig, Fixture, Mold, Die, อุปกรณ์แก้ไขชั่วคราว-เทปกาว, เชือก, ลวด

7. สถานที่ ที่ไม่ปลอดภัย (Unsafety place) พื้นขรุขระ, ต่างระดับ, แตกร้าว, ชื้นแชะลื่น, บันไดไม่มีราวจับผุกร่อน, แสงสว่างไม่พอ, มีสารพิษ, สายสลิงทุ่นแรงต่าง ๆ ขาด อื่นๆ

ขั้นตอนในการทำ AM Step1 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่1)การเตรียมตัวและเตรียมข้อมูล แบบของเครื่องจักร, จัดทำแผนทำความสะอาดแบบตรวจสอบ, การจัดหาเครื่องมือ, อุปกรณ์ และ Tag

ขั้นตอนที่2)การลงมือการปฏิบัติตามแผน โดยนำแผนไปทำความสะอาดทุกซอกทุกมุมพร้อม ค้นหาจุดผิดปกติและเสื่อมสภาพพร้อมทำการแก้ไข รวมทั้งต้อง ค้นหาจุดยากลำบากและ แหล่งกำเนิดปัญหาไปพร้อมๆกับการ ติดTag หน้างาน

ขั้นตอนที่3)คือผลลัพธ์ที่ได้  รายการจุดผิดปกติและเสื่อมสภาพพร้อมทำการแก้ไข, รายการจุดยากลำบาก,รายการแหล่งกำเนิดปัญหา

การทำ AM Step 2:  การกำจัดจุดยากลำบากและแหล่งกำเนิดปัญหา Eliminate Difficultly & Source of Condition มีจุดประสงค์ เพื่อ  แก้ไขแหล่งกำเนิดปัญหาและจุดยากลำบาก โดยอาศัยเครื่องมือต่างๆทางไคเซ็น (karakuri kaizen, Autonomous Kaizen) , Visual Control, การป้องกันความผิดพลาดในการทำงาน Poka-yoke หรือ Mistake Proofing เป็นการปรับการแก้ไขปัญหาต่างๆให้ไม่เกิดซ้ำ ทำให้การทำงานต่างๆง่ายขึ้น ลดการฟุ้งกระจาย ลดการสะสม

การทำ AM Step 3 :  การจัดทำมาตรฐานการบำรุงรักษาด้วยตนเองเบื้องต้น   Basic Condition Standard  มีวัตถุประสงค์ ต้องไม่ทำให้ความผิดปกติต่างๆทั้งที่เคยเกิด จะต้องไม่เกิดซ้ำ (Prevent Determinant) เป็นการรักษา Basic Condition   รักษามาตรฐาน (รักษาความสะอาดและป้องกันจุดปกพร่อง) ด้วยวิธีพื้นฐานในการตรวจสอบด้วยสัมผัสทั้ง 5 ( ตา ดูตรวจสอบ, หู ฟังเสียง, ลิ้น สัมผัสรสชาติ, จมูดสูดดม และ กายสัมผัสความรู้สึก, Simple Tool เช่น Visual Control แถบวัดสี เพื่อทำให้การตรวจสอบทำได้ง่ายขึ้น 

ข้อมูลที่นำมาใช้จัดทำมาตรฐาน          1) TPM Tag

                                                          2) ผู้เชี่ยวชาญ

                                                          3) Manual

                                                          4) ประสบการณ์

การทำ AM Step 4  :  การอบรม  ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับระบบและกลไกต่าง ๆ  ของเครื่อง   ซึ่งอาจจะรวมถึงหลักสูตรพื้นฐาน 6 Module  โดยจะอยู่ในรูปแบบการสอนเป็นทางการ การสอนหน้างาน OJT ฯลฯ   เพื่อให้พนักงานปฏิบัติได้อย่างถูกต้องถูกวิธี

การทำ AM Step 5 :  Overall Inspection Diagnostic จุดประสงค์ การตรวจสอบเชิงลึก โดยหัวข้อตรวจสอบต่างๆต้องผ่านการวิเคราะห์ เช่น การรวบข้อมูลปัญหาในอดีตที่เคยเกิดขึ้น ไปวิเคราะห์กลไกล เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาให้สาเหตุของปัญหาที่แท้จริง ซึ่งจะนำไปสู่การตรวจสอบเชิงลึก เพื่อเป็นการป้องกันปัญหา และการที่จะทำให้พนักงานมีทักษะสามารถตรวจสอบเชิงลึกได้นั้น พนักงานต้องมีความรู้ด้านนั้น ๆ   จึงจะนำไปสู่การสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมเฉพาะด้านต่างๆ ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่องไมโครมิเตอร์, การใช้เครื่อง Thermos can ของระบบไฟฟ้า, เครื่องวัดความสั่นสะเทือน Vibration Meter เป็นต้น  

การทำ AM Step 6 :  การจัดทำมาตรฐานการบำรุงรักษาด้วยตนเอง ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ใน  มาตรฐานการบำรุงรักษาด้วยตนเองเบื้องต้น ได้ถูกจัดทำขึ้นใน Step 3 แล้ว แต่ใน Step นี้ต้องมั่นใจได้ว่าเครื่องจักร จะได้รับการดูแลที่ครบถ้วนและสมบูรณ์มากที่สุด  เป้าหมายต้องการให้เครื่องจักรผลิตได้อย่างต่อเนื่องและไม่มีของเสียเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต

การทำ AM Step 7 : การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง นอกจากรักษาเครื่องจักรด้วยการบำรุงรักษาด้วยตนเองแล้ว เครื่องจักรต่างต้องต้องได้รับการพัฒนา เพื่อรักษาสภาพและเพิ่มประสิทธิภาพ เนื่องจากเครื่องจักรที่มีอายุการใช้งานมากขึ้น หากไม่ได้รับการพัฒนา   การดูแลรักษาสภาพเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้ประสิทธิภาพเครื่องจักรเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นได้  ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผน ลงมือทำ ตรวจสอบ แก้ไขทำให้เป็นมาตรฐาน ด้วยหลัก PDCA อย่างต่อเนื่อง ถึงจะทำให้การทำ AM เกิดประสิทธิสูงสุด

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *