พลังงานจากขยะ พลังงานที่ยั่งยืน

Besterlife .com ได้อ่านบทความดีๆ แล้วขอนำมาแชร์ ให้คนไทยได้รู้ค่าตื่น พลังงานจากขยะ การจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานในประเทศ แล้วรู้สึกว่าทำไมประเทศของเรายังขาดการจัดการขยะอย่างเป็นรูปประธรรม ผมคิดว่าประชาชนส่วนใหญ่พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการคัดแยกขยะ

หากมีกฏระเบียบข้อบังคับ และหากภาครัฐให้ความจริงจังในด้านนี้อาจจะต้องมี โมเดล ที่มีศักยภาพให้เป็นตัวอย่างสักหนึ่ง สถานที่ ตำบล ชุมชน โดยนำรูปแบบจากประเทศต่างๆที่พัฒนาแล้วนำมาประยุกต์ใช้ ใครอยากเห็นอนาคตประเทศไทยเดินตามเรามาดังนี้

เครดิต สิงคโปร์ ประเทศพัฒนาแล้วหนึ่งเดียวในอาเซียน royalequipment.co.th

ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศพัฒนาแล้วหนึ่งเดียวในอาเซียน ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจศูนย์กลางการท่องเที่ยวและเป็นตัวอย่างของประเทศที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่น้อยคนนักที่จะทราบเรื่องราวของประเทศสิงคโปร์ในด้านของสิ่งแวดล้อมและพลังงาน  ท่านอาจรู้เพียงว่าสิงคโปร์มีความเข้มงวดในด้านการรักษาความสะอาดอาทิเช่น ห้ามทิ้งขยะ ห้ามถ่มน้ำลายบนท้องถนนและห้ามเคี้ยวหมากฝรั่งเป็นต้น

อันที่จริงแล้วสิงคโปร์นั้นมีเรื่องราวด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่น่าสนใจไม่แพ้ประเทศอื่นๆในอาเซียนก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต พลังงานจากขยะ ที่มีการกำกับดูแล มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าอย่างเป็นธรรมและเท่าที่ท่านคาดไม่ถึงก็คือ

การวิจัยพัฒนา fuel Cell สู่เชิงพาณิชย์ ในที่นี้คณะกรรมการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ (สปท.)  เยือนสิงคโปร์ โดยได้รับความร่วมมือจากอีกอัครราชทูตไทยณสิงคโปร์และกลุ่มปตท. จำกัด (มหาชน)


เครดิต สิงคโปร์ ประเทศพัฒนาแล้วหนึ่งเดียวในอาเซียน royalequipment.co.th

อันดับแรกได้มี โอกาสเยี่ยมชมหน่วยงานกำกับกิจการไฟฟ้าของประเทศสิงคโปร์ (EMA:  Energy market of Authority of Singapore ) หากเปรียบเทียบกับเมืองไทยก็คือ สกพ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน) หรือ Regulator นั้นเอง  EMA มีหน้าที่ไม่ต่างจาก Regulator ของไทยมากนัก แต่วิธีการทำงานของ EMA  เป็นแบบเชิงรุก กล้าตัดสินใจ

หน้าที่หลักพอสรุปได้มี 3 ด้านดังนี้

1 ดูแลระบบไฟฟ้าและจัดหาให้เพียงพอ ( Power System operator )

2 กำกับดูแลผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้ารวมทั้งก๊าซธรรมชาติ (Industry Regulator)

3 พัฒนาระบบพลังงานรวมทั้งการวิจัยและพัฒนา (Industrial Development)


เครดิต สิงคโปร์ ประเทศพัฒนาแล้วหนึ่งเดียวในอาเซียน royalequipment.co.th

ประเทศสิงคโปร์มีระบบสายส่งหลัก Power Grid แยกจากผู้ผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าโดยภาครัฐเป็นผู้ควบคุมดูแลสายส่งไฟฟ้า ส่วนโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้าของสิงคโปร์นั้น จะมีผู้ผลิตไฟฟ้า Power Plant ขายไฟฟ้าผ่านตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า Wholesale Electrical City market :WEM  โดยมีบริษัทตลาดพลังงาน Energy market Company เป็นผู้ควบคุมการซื้อขายพลังงานผ่านระบบไฟฟ้าหลัก Power Grid

ซึ่งดำเนินการโดย SP Power Grid และ SP Service ให้บริการในรูปแบบ Monopoly  โดยผู้ซื้อพลังงาน Retailers and SPS จะซื้อพลังงานไฟฟ้าในตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าผ่านระบบขนส่งไฟฟ้าแนวหลัก  แล้วนำไปจ่ายต่อให้ลูกค้า  ซึ่งบริษัทที่มี สัดส่วนการขายพลังงานมากที่สุดคือ บริษัท SP service โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าตามบ้านเรือน นอกจากนี้ บริษัท SP service  ยังเป็นหน่วยงานให้บริการเก็บใบแจ้งหนี้และโอนย้ายระหว่าง Retailers  อีกด้วย


เครดิต สิงคโปร์ ประเทศพัฒนาแล้วหนึ่งเดียวในอาเซียน royalequipment.co.th

อันดับที่ 2 การเข้าเยี่ยมชมเซมาเกา Semakau ซึ่งเป็น Waste Treatment/ Landfill Island ของสำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสิงคโปร์ National environment Agency : NEA เป็นเกาะกลางทะเลที่สร้างขึ้นโดยการนำเถ้าหนัก จากการเผาขยะมาถมเป็นเกาะ Landfill ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของประเทศสิงคโปร์หากโครงการแล้วเสร็จจะมีพื้นที่ถึง 2200 ไร่สามารถเป็นที่ทิ้งเถ้าหนักจากเตาเผาขยะได้ถึง 28 ลูกบาศก์เมตร เนื่องจากขยะของประเทศสิงคโปร์มีการคัดแยกตั้งแต่ต้นทางจึงสามารถนำเข้าเตาเผาตรง เพื่อกำจัดขยะและผลิตไฟฟ้าแต่มุ่งเน้นการกำจัดรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ส่วนพลังงานไฟฟ้าเป็นผลพลอยได้


เครดิต สิงคโปร์ ประเทศพัฒนาแล้วหนึ่งเดียวในอาเซียน royalequipment.co.th

สถานที่ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งคือ Hydrogen fuel Power Plant หรือที่เราเรียกว่า โรงไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งได้แบ่งเซลล์เชื้อเพลิงเป็น 4 ชนิดดังนี้

เครดิต สิงคโปร์ ประเทศพัฒนาแล้วหนึ่งเดียวในอาเซียน royalequipment.co.th

เครดิต สิงคโปร์ ประเทศพัฒนาแล้วหนึ่งเดียวในอาเซียน royalequipment.co.th

1 TEM (Polymer Electrolyte membrane) – fuel Cell Power Plant with Co-Production of Oil โรงไฟฟ้าชนิดเซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งให้ผลผลิตทั้งพลังงานไฟฟ้าและน้ำมันดิบ โดยกระบวนการผลิตไฟฟ้าจะไม่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา

หลักการคือการนำ Biomass มาแปลงเป็น Biomass Reformer เพื่อให้ได้ตัวเร่งปฏิกิริยา catalyst มาเป็นตัวกระตุ้นในการแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำและเกิดสารออกซิไดซ์คะตะลิสต์ Oxidized Catalyst ซึ่งเป็นตัวช่วยในการผลิต syngas ออกมาสกัดเป็นน้ำมันดิบต่อไป

2 Hybrid fuel Cell Power Plant with Gas Fire Power Generation โรงไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงซึ่งให้ผลผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยกระบวนการผลิตไฟฟ้าจะไม่มีการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา

หลักการคือการนำไบโอแมสมาแปลงเป็น biomass รีฟอร์เมอร์ เพื่อให้ตัวเร่งปฏิกิริยาหรือคะตะลิสต์มาเป็นตัวกระตุ้นในการแยกไฮโดรเจนออกจากน้ำ เอกสาร excitatory ซึ่งเป็นตัวช่วยในการผลิตสินค้าออกมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้อีกทางหนึ่ง

3 PEM fuel Cell Power Plant with Gas-Fired Power Generation โรงไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงซึ่งได้ผลผลิตทั้งพลังงานไฟฟ้าและสารเคมีบริสุทธิ์ โดยกระบวนการผลิตไฟฟ้าจะใช้น้ำร่วมกับตัวเร่งเชื้อเพลิง มาแยกไฮโดรเจนแล้วนำสาร Oxidized Catalyst มาผ่านกระบวนการทางเคมี เพื่อสกัดเป็นผลผลิตสารเคมีบริสุทธิ์ต่อไป

4 PEM fuel Cell Power Plant with RTE Supplied Generation โรงไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงซึ่งให้ผลผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยไม่มีการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา โดยกระบวนการผลิตไฟฟ้าจะใช้เชื้อเพลิง RTE มาแยกไฮโดรเจนผ่าน PEM fuel Cell Generator เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าต่อไป

หากจะกล่าวโดยสรุปแล้วความแตกต่างของประเทศสิงคโปร์กับประเทศไทย พลังงานขยะ ในด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานสรุปได้ดังนี้

1 ด้านไฟฟ้าประเทศสิงคโปร์สามารถแยกสายส่ง Power Grid ออกจากผู้ผลิตและผู้จำหน่ายไฟฟ้า เพื่อให้เกิดความคล่องตัว

2 การจัดการขยะมุ้งเน้นการจัดการขยะไม่มุ่งเน้นการผลิตไฟฟ้าอัตราค่ากำจัดสูง  ส่วนไทยค่ากำจัดต่ำกว่าแต่ค่าจำหน่ายไฟฟ้าสูงซึ่งแต่ละรูปแบบจะเหมาะกับเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ

3 ด้านสิ่งแวดล้อมสิงคโปร์ไม่เน้นการทำ EIA/ EHIA แต่เน้นระบบที่ปลอดภัยและประชาชนยอมรับ  มีการตรวจติดตามอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ  ส่วนประเทศไทยเข้มงวดในด้าน EIA/ EHIA  และระเบียบบังคับต่างๆมากมายในช่วงขออนุญาต แต่ยังขาดการตรวจติดตามที่มีประสิทธิภาพ

แน่นอนที่สุดค่า ไฟฟ้าและพลังงานต่างๆในประเทศสิงคโปร์นั้นสูงกว่าประเทศไทย แต่เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ประชากรแล้ว อาจจะกล่าวได้ว่าถูกกว่าประเทศไทย  สำหรับประเทศไทยการจัดการพลังงาน  อำนาจและหน้าที่กระจายอยู่หลายกระทรวง

หลายหน่วยงาน กรอบการทำงานจึงไม่ชัดเจนและไม่เกิดการทำงานเชิงรุกขาดนวัตกรรม ดังนั้นหน่วยงานรัฐจึงควรเดินหน้าทำงานตามแบบก็ตัดสินใจเมืองไทยจะได้ไปที่ 4.0 ดังที่หวังเอาไว้

เครดิต พิชัย ถิ่นสันติสุข ประธานกิติมาศักดิ์กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุสาหกรรมแห่งประเทศไทย

บทความที่น่าสนใจ รถยนต์ไฟฟ้า Electrical vehicle : EV ในอนาคตของประเทศไทย

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *