ส่องพม่า กระแสพม่า Fever เขตเศรษฐกิจพิเศษพม่า

ได้อ่านบทความ จากนิตยาสาร EEC กับการพัฒนาประเทศไทย 4.0 แล้ว จึงอยากนำมาแชร์แบ่งปันให้คุณผู้อ่านได้อิจฉาประเทศพม่า เพราะว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษพม่า บางเขตประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จึงขอ ส่องพม่า ดังต่อไปนี้

การเจริญเติบโตเศรษฐกิจพิเศษในพม่า หลังจากที่มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ทำให้ทุกส่วนและหลายประเทศในประชาคมอาเซียนได้รับผลกระทบ จากการเชื่อมโยงเศรษฐกิจในภูมิภาค  ทำให้ทุกประเทศในอาเซียนจำเป็นต้องพัฒนาพื้นที่ทางการค้าและการลงทุน  เพื่อเป็นประตูรองรับการเชื่อมโยงต่างๆที่เกิดขึ้น โดยจะอยู่ในรูปแบบการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ  ซึ่งตามนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในหลายประเทศ ที่มีการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ เพื่อประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศอาเซียน รวมถึงการใช้ประโยชน์  ในตะเข็บชายแดนโดยเฉพาะประเทศพม่า  ที่มีการตื่นตัวในการพัฒนาเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น

หลังจากมีการเปิดประเทศโดยกำหนดให้ปี 2547 ถึง 2548 ซึ่งเป็นปีแห่งการพัฒนาประเทศ เพื่อยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศมากขึ้น พร้อมกันนี้ประเทศพม่าได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมถึงแรงงานพม่าที่มีจำนวนมาก ทำให้เป็นข้อได้เปรียบที่จะสามารถดึงดูดนักลงทุนให้หันมาลงทุนในประเทศได้เช่นกัน   หากพูดถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษในเวลานี้  คงหนีไม่พ้นนโยบายของรัฐบาลในประเทศพม่าที่ผ่านมา เพื่อช่วยกระตุ้นการลงทุนระหว่างประเทศและเพิ่มช่องทางทางการค้ามากขึ้น 

รวมถึงการลดสินค้านำเข้า โดยการเพิ่มกำลังการผลิตได้ด้วยตนเอง  นโยบายดังกล่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากต่างชาติ  ซึ่งถือได้ว่าช่วง นี้เป็นช่วงที่พม่าเนื้อหอมมากที่สุด  ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  รวมถึงการตั้งของประเทศที่เป็นยุทธศาสตร์ทางการค้าที่นักลงทุนชาวญี่ปุ่นและหลายประเทศให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และเข้ามาลงทุนในประเทศพม่าเพิ่มมากขึ้น

ซึ่งพม่าได้มีการจัดการโครงการพื้นฐานที่เศรษฐกิจพิเศษในประเทศทั้งหมด 19 แห่งด้วยกัน  แต่ที่เห็นเด่นชัดที่สุดมีทั้งหมด 3 แห่งได้แก่

เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1.5 หมื่นไร่  ตั้งอยู่ระหว่างเขต  Thanlyin และเขตเศรษฐกิจ Kyauktan ใกล้เมืองย่างกุ้ง ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุด  โดยอยู่ห่างจากเมืองย่างกุ้งไปทางตอนใต้เพียง 25 กิโลเมตร เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ประสบความสำเร็จที่สุด  โดยจะเน้นอุตสาหกรรมการผลิตเกี่ยวกับการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคภายในประเทศ 

เนื่องจากสถานที่นี้ตั้งใกล้เมืองย่างกุ้ง จึงเหมาะกับการเป็นพื้นที่ เศรษฐกิจใหม่และยังสามารถเชื่อมโยงกับปากแม่น้ำย่างกุ้ง ทำให้สะดวกต่อการคมนาคมส่วนสูงเป็นอย่างมาก รวมถึงสามารถพัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตได้เป็นอย่างดี  เนื่องจากบริเวณนั้นมีประชากรอยู่รอบข้างเป็นจำนวนมาก พร้อมกันนี้รัฐบาลพม่าได้รับเงินทุนสนับสนุนจากญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในพื้นที่เศรษฐกิจ ติละวา โดยฝั่งพม่าถือหุ้นร้อยละ 51 หรือญี่ปุ่น ร้อยละ 49 ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีความก้าวหน้ารวดเร็วกว่าพื้นที่เศรษฐกิจอื่น

 เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ครอบคลุมพื้นที่ ที่มีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ 196.5 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ที่เมืองทวาย ภาคตะนาวสีซึ่งงอยู่ทางตอนใต้ของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา  โดยมีระยะห่างจากเมืองย่างกุ้งประมาณ 600 กิโลเมตร  โดยจะเน้นที่อุตสาหกรรมเบาเช่น ประมงและแปรรูปอาหาร  ในพื้นที่ดังกล่าวยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เนื่องจากเกิดความล่าช้าในการจัดทำโครงการและติดปัญหาบางประการ

 ซึ่งหากในอนาคตโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายประสบความสำเร็จ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก  เนื่องจากมีชายแดนติดกับประเทศไทยและเป็นเส้นทางการค้าและเป็นประตูเชื่อมสู่ระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ของกลุ่มแม่น้ำโขง  ถึงแม้ว่าพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย จะมีพื้นที่ใหญ่  แต่พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวามีจุดยุทธศาสตร์ที่ดีกว่าและสามารถเป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนมากกว่า

เขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิว ครอบคลุมพื้นที่ 75 ตารางกิโลเมตร ที่เมืองเจ้าผิว รัฐยะไข่ ซึ่งเป็นจุดที่มีการค้าร่วมกับ ประเทศจีน คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2568  โดยจะเน้นอุตสาหกรรมปิโตรเคมี คลังน้ำมันและก๊าซ เชื่อมต่อกับประเทศจีน  เขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าผิวประสบความสำเร็จ จะมีประโยชน์จากจีนอย่างมหาศาล  สำหรับพื้นที่นี้จากการวิเคราะห์พบว่าประเทศจีน จะลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างเต็มที่  ซึ่งจะเป็นการแก้ไขจุดอ่อนของประเทศจีนคือ มีเส้นทางทางออกทางทะเลทางเดียวเท่านั้น

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า พื้นที่เศรษฐกิจในพม่าเป็นพื้นที่ที่หลายประเทศให้ความสนใจที่จะลงทุนและคาดว่าจะประสบความเร็จกว่าประเทศอื่นในอาเซียน เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือด้านเงินทุนจากต่างชาติ ในการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวเป็นอย่างดี ทั้งนี้หากเขตพื้นที่ดังกล่าวประสบความสำเร็จจะส่งผลดีต่อประเทศไทย ที่นโยบายจากภาครัฐได้มีการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเช่นเดียวกัน   

ทั้งนี้เขตพื้นที่ที่เศรษฐกิจ ในประเทศพม่าที่ประสบความสำเร็จที่สุดและกำลังขยายผลอย่างต่อเนื่องนั้นคือเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาเป็นโครงการที่ร่วมทุนระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นและประเทศพม่า ได้ดำเนินโครงการ โดนปี 2556 ได้ทำเฟส 1 ไปแล้ว ครอบคลุมพื้นที่กว่า 400 เฮกเตอร์หรือประมาณ 2,500 ไร่  ได้ทำสัญญาเช่ากว่า 76 โครงการจาก 16 ประเทศ อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะเข้ามาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาอาทิเช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นต้น

และในปัจจุบันกำลังจะมีโครงการขยายพื้นที่ในเฟสที่ 2 ขนาดประมาณ 500-700 แฮกเกอร์ โดยจะมีการทำโครงการเพิ่มขึ้นอีก 36 โครงการ  ตามกำหนดจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2560 และมีแผนทำเพิ่มเติมอีก 35 โครงการจะเริ่มก่อสร้างปลายปี 2560 ซึ่งหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาคือ การให้บริการแบบครบวงจร one stop service ถือเป็นความสำเร็จอย่างมากสำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาด้านยุทธศาสตร์และการทำแบบต่างๆที่เหมาะสมทางการค้า  การคมนาคมการขนส่งด้วยการตั้งอยู่ไม่ห่างจากเมืองหลวง  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การพัฒนาเขตเศรษฐกิจดังกล่าวมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและมากกว่าในเขตเศรษฐกิจพื้นที่อื่นๆ

ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดดและล้ำหน้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน  นอกจากเรื่องทำเลที่ตั้งเหลือสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากการลงทุนก็เป็นสิ่งที่สามารถเป็นแรงจูงใจให้ผู้ลงทุนเกิดความสนใจเป็นอย่างยิ่งและรัฐบาลพม่าได้ออกกฎหมายเหตุพิเศษ  โดยมีเกณฑ์ต่างๆเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ลงทุนชาวต่างชาติ  ทั้งด้านที่ดินและด้านภาษีรวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆที่จะได้รับ ซึ่งถือว่าคุ้มค่าเป็นอย่างมากและ นักลงทุนส่วนใหญ่ ยังมองว่าหากการเมืองของพม่าคงที่มากขึ้น จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของพม่า ให้ก้าวไปอย่างรวดเร็ว สวนทางกับเศรษฐกิจของโลกได้

สำหรับประเทศไทยได้เริ่มมีนโยบายพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ ระเบียงเศรษฐกิจ ที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยนักวิเคราะห์หลายท่านได้แนะนำให้นักลงทุนเข้าไปลงทุน ในพื้นที่เศรษฐกิจในพม่าและเลือกทำเลในพื้นที่ที่ติดกับทะเล เนื่องจากจะสะดวกในการขนส่งทางเรือในอนาคต

รวมถึงประเทศพม่าเป็นจุดที่อยู่ระหว่างประเทศจีนและอินเดียซึ่งถือได้ว่า  เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดีในการค้าขายอีกด้วยอย่างไร  ก็ตามหลายภาคส่วนยังคงมองว่าการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ จะต้องมีการอพยพประชาชน ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น และบางครั้งอาจจะได้รับค่าชดเชยไม่เต็มที่

 จึงอาจเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและความไม่ได้ยุติธรรมในสังคมได้ ดังนั้นการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษจะเกิดความยั่งยืนได้ ต้องพึ่งปัจจัยหลายๆอย่างควบคู่กันไป อาทิการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของประชากรในพื้นที่เขตเศรษฐกิจ การพัฒนาโครงข่ายพื้นฐานทางบกทางน้ำทางอากาศและทางเรามีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคทางการบริหารจัดการภายใต้เขตเศรษฐกิจพิเศษด้วย

เข้าใจเมียนมารู้เขารู้เราทำธุรกิจร้อยครั้งสำเร็จร้อยครั้ง ส่องพม่า ตามภาคเศรษฐกิจ ดังนี้

ภาคเกษตรกรรมที่สำคัญที่สุดด้วยทำเลที่ตั้ง ที่มีแม่น้ำสายสำคัญทำให้เมียนมาร์ มีพื้นที่เพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์แต่ด้วยเมียนม่าร์ยังขาดความรู้ด้านเทคโนโลยี ดังนั้นการลงทุนด้านการแปรรูปอาหาร จึงเปิดกว้างสำหรับนักลงทุนที่สนใจภาคเกษตร นอกจากนี้ยังมีการลงทุนการผลิตเครื่องมือเครื่องจักรทางด้านการเกษตรรวมถึงโครงการการเกษตรอุตสาหกรรมหรือเกษตรเพื่อเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจคอนแทรคฟาร์มมิ่งอีกด้วย

ภาคอุตสาหกรรมนับเป็นสัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ GDP ตามมาเป็นลำดับสอง หากมีการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมมากเท่าไหร่ก็ยิ่งกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานมากขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยรัฐบาลเมียนมามีนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงส่งเสริมการลงทุนในเขตอุตสาหกรรมและเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับไทยได้แก่เศรษฐกิจพิเศษเมียวดี ซึ่งอยู่ติดกับอำเภอแม่สอดเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายติดต่อกลับด้านบ้านพุน้ำร้อนจังหวัดกาญจนบุรีเป็นต้น

การลงทุนธุรกิจระบบโลจิสติกส์ ก็นับได้ว่าเป็นกลไกสำคัญในแง่การลดต้นทุน เพื่อการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ดังนั้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไฟฟ้าโทรคมนาคมและการขนส่ง จึงเป็นสิ่งที่เมียนมากำลังเร่งผลักดันให้เกิดความสมบูรณ์ทัดเทียมกับนานาประเทศ เพื่อรองรับการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

ขณะนี้เมียนมาเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนนสายภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมต่อกันหลายประเทศซึ่งเมนมาได้มอง หาหุ้นส่วนที่มีศักยภาพและมีความพร้อม เพื่อเข้ามาร่วมทุนพัฒนาเส้นทางรถไฟและท่าเรือขนส่งสินค้าจากการพัฒนานี้ จะเห็นได้ว่าเมียนมาร์มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาประเทศอยู่ไม่น้อย

ส่วนระดับภูมิภาคคือ นโยบายการพัฒนาระบบขนส่งโลจิสติกส์และการท่องเที่ยวในประเทศ โดยเริ่มจัดระบบโลจิสติกส์และการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวจากเมืองชั้นในของประเทศ หากใครเคยไปประเทศเมียนมาร์ก็พอจะมองเห็นว่าเริ่มจะเห็นมีรถทัวร์สภาพค่อนข้างดีให้บริการสาธารณะเพิ่มขึ้น ประกอบกับรัฐบาลเมียนมาเปิดโอกาสให้นักธุรกิจภาคเอกชนได้จดทะเบียนรถทุกชนิด เพื่อการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ระบบการท่องเที่ยวและระบบคมนาคม จึงทำให้ระบบขนส่งโลจิสติกส์ของเมียนมาร์มีรูปธรรมยิ่งขึ้น

บทความที่น่าสนใจ E-Marketing  การตลาดยุค 4.0 สามารถทำรายได้ 24 ชั่วโมงโดยไม่มีวันหยุด

 เครดิต นิตยาสาร EEC กับการพัฒนาประเทศไทย 4.0,

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *