3MU คือ นิยามความสูญเสียในตำราของญี่ปุ่น MUDA, MURA และ MURI

             ถ้าหากจะพูดถึงประสิทธิภาพ  (Efficiency) คือ ความสามารถในการใช้ทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างคุ้มค่ามากน้อยเพียงใด โดยนำผลผลิตที่ได้ไปหารด้วยปัจจัยนำเข้า เปอร์เซ็นต์ยิ่งสูง นั้นแสดงว่ากระบวนการผลิตสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่ามาก การผลิตสินค้าหรือกระบวนการผลิตใดมีประสิทธิภาพดี ก็จะสามารถสร้างกำไรได้มากยิ่งขึ้น เพราะนั้นหมายความว่าต้นทุนในการผลิตต่ำ เกิดการสูญเสียน้อย (ในตำราญี่ปุ่นเรียกการสูญเสียว่า 3MU)

            เพื่อสร้างความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เราจะไปทำความรู้จักกับคำว่า “ต้นทุน” และ “ความสูญเสีย” ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิด เรื่องการลดต้นทุนว่า การลดราคาปัจจัยนำเข้าเป็นหลักเช่น การซื้อวัตถุดิบในราคาที่ถูก การจ้างแรงงานที่มีราคาถูกลง หรือซื้อเครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักรราคาถูก เป็นต้น แต่แท้จริงแล้วการลดต้นทุนหมายถึง การลดความสูญเสียนั่นเอง

3MU คือ

            ต้นทุน (Cost) หมายถึง มูลค่าของทรัพยากร ที่ใช้ในการผลิตหรือการให้บริการ อาจอยู่ในรูปของเงินสดหรือค่าใช้จ่ายในรูปแบบอื่นๆ ที่จ่ายไป  เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตหรือบริการ

            “เหตุใดจึง จำเป็นต้องตระหนักถึงความสูญเสีย” คำถามนี้ในอดีตคงไม่มีใครใส่ใจ เนื่องจากการทำธุรกิจมักไม่ค่อยมีการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรง  เพราะอุปสงค์ (demand) “ความต้องการของผู้บริโภค” มีมากกว่า  อุปทาน (Supply) “ผู้ผลิต หรือความสามารถในการผลิต” มีน้อย  หากจะพูดให้ง่ายขึ้นก็คือ  “ใครผลิตอะไรก็ขายได้”  องค์กรอยากได้กำไรมากขึ้น ก็สามารถเพิ่มราคาขายได้ หรือ หากเพิ่มยอดขายได้มาก ขึ้นองค์กรก็จะได้กำไรมากขึ้นเป็นลำดับ แต่ในปัจจุบันสภาพการแข็งขัน ทางเศรษฐกิจมีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว  การที่จะมุ่งเพิ่มยอดขายเพียงอย่างเดียว คงจะไม่เพียงพอ  ส่วนการจะเพิ่มราคาขายนั้น คงไม่ต้องคิดเพราะเป็นไปได้น้อยมากๆ  สิ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้องค์กรมีกำไรมากขึ้นและสามารถแข่งขันกับภายนอกได้นั้น คือ “การลดความสูญเสีย”  เพราะ “ความสูญเสีย” มักจะซ่อนอยู่ในกระบวนการทำงานที่ไร้ประสิทธิภาพ แล้ว ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อ “ต้นทุน”

 

         3MU คือ นิยามความสูญเสีย ในตำราของญี่ปุ่น ซึ่งได้อธิบายความสูญเสีย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ประกอบไปด้วย MUDA, MURA และ MURI สามารถอธิบายความหมายได้ดังนี้

3MU คือ

MUDA  หมายถึง ความสูญเปล่า ความสูญเสียด้านสมรรถนะ (Capacity) เช่น การซื้อเครื่องจักรอุปกรณ์ราคาสูงๆ ความสามารถเยอะๆ แต่ใช้งานได้ไม่เต็มที่ หรือมีความสามารถมากกว่า ภาระงาน (Capacity > Load) จึงมักจะสอดคล้องกับตำราความสูญเสีย 7 ประการ อันได้แก่

  1. มีการผลิตมากเกินไป (Over Production)

  2. มีการกักเก็บสินค้าที่ไม่จำเป็น (Unnecessary Stock)

  3. มีการขนย้ายมากเกินไป (Transportation)

  4. มีของเสียมากหรืองานทำซ้ำมาก (Defect/Rework)

  5. กระบวนการที่ไม่มีประสิทธิผล (Non-Effective Process)

  6. มีการรอคอยระหว่างกระบวนการ (Idle)

  7. มีการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion)

            สามารถวิเคราะห์  MUDA จาก 4M1E ได้ดังนี้ 

         คน (MAN)เช่น  คน มากกว่า งาน,  มีการเพื่อเวลางาน มากกว่า คน,  ใช้คนที่มีความสามารถมากทำงานง่าย,ความสามารถของคน  มากกว่า ลักษณะของงาน

       วัสดุวัตถุดิบ (Material)เช่น  ทิ้งของที่ยังใช้ได้, ใช้วัสดุอย่างสิ้นเปลืองอันได้แก่ น้ำมัน ไฟฟ้า ไอน้ำ น้ำ รวมทั้งการสูญเสียพลังงานต่างๆ ที่รั่วไหล

       เครื่องมือและเครื่องจักร (Machine & Equipment) เช่น   การใช้อุปกรณ์เกินกำลังสูงสุด,   มีการเดินเครื่องตัวเปล่า, ความละเอียดของเครื่องมือวัดละเอียดเกินความจำเป็น, มีเครื่องมือจับ (jig) มากเกินความจำเป็น   งานที่ควรให้เครื่องทำมีการทำด้วยมืออยู่หรือไม่ (ไม่ใช้เครื่องจักรให้เป็นประโยชน์)

      วิธีการและสิ่งแวดล้อม (Environment)เช่น  สะสางสิ่งของให้เหลือเฉพาะที่จำเป็นจริงหรือไม่, จัดวางสิ่งของให้หยิบได้ง่าย, ใช้งานง่ายหรือไม่ ,วางแผนการทำงาน มีการใช้ขั้นตอนที่ยุ่งยาก ซับซ้อน แทนที่จะใช้วิธีที่ง่ายกว่า แต่บรรลุผลลัพธ์ได้เหมือนกัน

                        MURA  หมายถึง การสูญเสีย เนื่องจากความไม่สม่ำเสมอ หรือ ความสูญเสียด้านความแปรผัน ความคลาดเคลื่อน ความไม่สม่ำเสมอใน กระบวนการ (Variation) หรือมีความสามารถไม่สม่ำเสมอ (Capacity > or < Load)

สามารถวิเคราะห์  MURA จาก 4M1E ได้ดังนี้ 

         คน  (man)เช่น ไม่มีการจัดวางตำแหน่งคนให้เหมาะสมกับงาน,   บางครั้งก็ยุ่งเกินไป บางครั้งก็ว่างงานเกินไป,  ในการปฏิบัติงานที่มีสภาพด้านหนึ่งกำลังปฏิบัติงาน และด้านหนึ่งกำลังรออยู่

       วัตถุดิบ (Material)เช่น คุณภาพ รูปทรง ชิ้นงานสำเร็จ, คุณสมบัติวัสดุเดี๋ยวดี เดี๋ยวไม่ดี โดยไม่ทราบสาเหตุ  การส่งของมีความคลาดเคลื่อน

      เครื่องมือและเครื่องจักร  (Machine & Equipment) เช่น ไม่มีความสมดุลของคนและเครื่องจักร,  มีเวลารองาน เวลาว่างเปล่า , ไม่มีการปรับความละเอียดของเครื่องมือวัดและเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ,  ไม่มีการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือจับ (Jig)

       วิธีการและสิ่งแวดล้อม (Environment) เช่น คุณภาพ และปริมาณงานไม่สม่ำเสมอ เกิดจากการวางแผน และการเตรียมงานที่ไม่ดี ไม่มีการจัดทำขั้นตอนการทำงานให้เป็นมาตรฐาน วิธีการทำงานธุรการและเอกสารต่างๆ แปรให้เป็นมาตรฐานแล้วหรือยัง

                        MURI    หมายถึง การฝืน ทำสิ่งต่างๆ หรือ การทำอะไรไม่สมเหตุผล เช่น การที่เครื่องจักรหรือที่มีความสามารถในการทำงานน้อยกว่า ปริมาณงานที่ป้อนเข้าไป หรือมีความสามารถน้อยกว่าภาระ งาน (Capacity < Load)

สามารถวิเคราะห์  MURI จาก 4M1E ได้ดังนี้ 

        คน (MAN) เช่น จำนวนคนน้อยกว่างานคน < งาน, มีการหยุดพัก การรองาน, งาน < เวลา,  คนไม่มีความรู้ ความชำนาญและประสบการณ์ตรงตามความต้องการ (ความสามารถของคน < ลักษณะของงาน)

        วัตถุดิบ (Material) เช่น คุณภาพ ความแข็งแรง และประสิทธิภาพกำหนดไว้  เกินวิสัยที่จะทำได้ การส่งมอบเร็วจนสุดวิสัย

       เครื่องมือและเครื่องจักร (Machine & Equipment เช่น ใช้อุปกรณ์ไม่เต็มกำลัง (ใช้งานไม่เต็มที่)   ความสามารถของเครื่องจักรต่ำเกินไป ความละเอียดของเครื่องมือวัดหยาบเกินไป ช่วยลดการผิดพลาดขาดการปรับตั้ง ปรับแต่งเครื่องมือจับ (jig) ให้ได้มาตรฐานอยู่ งานที่ต้องใช้แรงงานที่เสี่ยงอันตรายและงานที่ไม่ถูกสุขลักษณะเปลี่ยนเป็นใช้เครื่องจักรแทนได้หรือไม่ (ใช้เครื่องจักรน้อยเกินไป)

       วิธีการและสิ่งแวดล้อม (Environment) เช่น สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน เช่น แสงสว่าง ความร้อน เสียงรบกวน เหมาะสมดีแล้วหรือยัง เวลาฉุกเฉินรีบด่วน มีระบบหนุนช่วยจากแผนกอื่นๆ หรือไม่ ไม่มีลำดับขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน

           การขจัด 3MU คือ การลดต้นทุน  การสร้างกำไร  องค์กรที่สามารถลดต้นทุนได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะมีความสามารถในการทำกำไรได้มากขึ้น องค์กรก็จะแข็งขันกับคู่แข่งได้ มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น สามารถแบ่งปันกำไรที่ได้  ไปยังหุ้นส่วนต่างๆได้เช่น เพิ่มสวัสดิการให้พนักงาน การแบ่งกำไรให้กับผู้ถือหุ้น หรือนำกำไรที่ได้ไปขยายกิจการ องค์กรก็จะเจริญเติบโตและก้าวขึ้นไปเป็นผู้นำในการแข่งขัน

 

บทความที่น่าสนใจ  ข้อเสนอแนะ คือ ระบบและกลไกที่กระตุ้น ให้นำเสนอความคิดมาเป็นประโยชน์

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *