แผนพัฒนารายบุคคล IDP: Individual Development Plan พัฒนาคนองค์กรพัฒนา

IDP: Individual Development Plan คือ แผนพัฒนารายบุคคล เป็นการปรับปรุงตนเอง การพัฒนา การเพิ่มทักษะความสามารถของตนเอง จากความรู้ที่มีอยู่เดิมให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น หรือจะเป็นการศึกษาหาความรู้ทักษะใหม่ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบ  การทำ IDP นอกจากจะเป็นประโยชน์เฉพาะรายบุคคลแล้ว ยังเชื่อมโยงไปยังสภาพแวดล้อมต่างๆ เริ่มจากการสร้างโอกาสให้ตนเองแล้ว  ยังสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนร่วมงานหัวหน้างาน ลูกน้อง รวมทั้งเหนือสิ่งอันใดคือ องค์กร ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมหลัก  ที่ IDP หรือแผนพัฒนารายบุคคลแต่ละคนต้องนำมาใส่ ใจ เพื่อให้การตั้งเป้าหมาย ซึ่งควรสอดคล้องกับกลยุทธ์หรือเป้าหมายขององค์กร

แผนพัฒนารายบุคคล

ลำดับขั้นในการทำ IDPแผนพัฒนารายบุคคล

1.การตั้งเป้าหมายการพัฒนาการทำ IPD แผนพัฒนารายบุคคล ต้องสอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร โดยเป้าหมาย ที่ดีต้อง SMART สามารถชี้ชัดมีลักษณะเฉพาะเจาะจง   วัดได้ทั้งในเชิงตัวเลข สามารถทำให้ประสบความสำเร็จได้ เป็นจริงได้และต้องมีกรอบระยะเวลาในการดำเนินงาน  

2.กำหนดตัวชี้วัด เพื่อวัดความสำเร็จในการแผนพัฒนารายบุคคล เช่น จำนวน % ความถี่ ประสิทธิภาพ ฯลฯ

3.Action Plan เขียนแผนในการทำ IDP ซึ่งแผนต้องประกอบไปด้วยกิจกรรมย่อยต่างๆ ซึ่งในกิจกรรมนั้นๆต้องบอกได้ว่าเมื่อลงมือทำจนแล้วเสร็จจะได้รับอะไรเป็นการตอบแทน พร้อมกับกำหนดระยะเวลาในการลงมือทำ เพื่อใช้ในการติดตามความคืบหน้าในการลงมือปฏิบัติ

4.การติดตามความคืบหน้าและการประเมิน ในการลงมือตามแผนต้องมีการติดตามเป็นระยะ เพื่อประเมินว่าในแต่ละกิจกรรมสามารถลงมือทำให้สำเร็จได้ตามแผนหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามแผนจะสามารถปรับเปลี่ยนวิธีใหม่ในการลงมือทำให้สำเร็จตามแผนงานได้ การประเมินผลลัพธ์ความสำเร็จตามเป้าหมายหรือไม่ มีสิ่งใดบ้างที่ได้เรียนรู้จากการทำแผนพัฒนารายบุคคล มีสิ่งใดบ้างที่ต้องปรับปรุงสำหรับแผนพัฒนารายบุคคลในลำดับถัดไปหรือหัวข้อถัดไป 

5.แน่นอนการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อลงมือทำ IPD แผนพัฒนารายบุคคล หัวหข้อใดข้อหนึ่งสำเร็จแล้วก็จะต้องมีการปรับปรุงพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง Continuous Improvement จัดทำ IPD แผนพัฒนารายบุคคล ลำดับถัดไปหรือหัวข้อถัดไป 

เครื่องมือในการทำ IDP:แผนพัฒนารายบุคคล จะมีหลากหลายเช่น การย้ายหน้าที่การทำงาน  การเปลี่ยนตำแหน่ง การได้รับมอบหมายงาน  การฝึกอบรม  การทำโครงการแล้วใช้เครื่องมือปรับปรุงต่างๆที่นำมาใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น 6sigma,  project Management ฯลฯ

 ข้อคิดในการทำ IDP: Individual Development Planแผนพัฒนารายบุคคล

การทำแผนพัฒนารายบุคคล ไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งเชื่อว่าทุกคนทำได้ แต่ต้องทำด้วยใจ  คนปัจจุบันผู้คนมักคิดว่าจะทำก็ต่อเมื่อได้ผลลัพธ์แบบเร่งด่วน  ซึ่งแท้จริงแล้วการลงมือทำอะไรๆ จะไม่มีเส้นทางลัดของความสำเร็จ ก่อนที่จะได้ผลลัพธ์ ต้องมีการเปลี่ยนแปลง จากใจไปสู่การลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง    เหมือนกับการลดพุงที่ต้องออกกำลังกาย กินอาหารให้ถูกต้อง แทนการกินยาลดอ้วนที่หลายๆคนชื่อชอบกัน แต่ผลลัพธ์สุดท้าย คนที่กินยาลดพุงนอกจากจะกลับมาอ้วนเหมือนเดิมแถมยังมีโรคแทรกซ้อนเพิ่ม

การลงมือทำตามแผน IDP นั้น ต้องเริ่มทันที หากรอให้พร้อมแล้วค่อยทำ แล้วเมื่อไรจะได้ทำ  ไม่มีใครรู้ทุกเรื่อง แต่ทุกเรื่องที่ทำต้องรู้ ซึ่งต้องค้นคว้าด้วยตนเอง โดยอาศัยตัวช่วยต่างๆเพื่อให้การพัฒนามันง่ายขึ้น เช่น ศึกษาจากผู้รู้ หนังสือดีๆ การเข้าฝังสัมมนา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ

IDP ต้องเริ่มทันที หากรอให้พร้อมแล้วค่อยทำ แล้วเมื่อไรจะได้ทำ ไม่มีใครรู้ทุกเรื่อง แต่ทุกเรื่องที่ทำต้องรู้ ต้องค้นคว้าด้วยตนเองโดยอาศัยตัวช่วย IDP ไม่สำเร็จทันทีเมื่อเริ่มทำ แต่จะเริ่มค่อยๆเรียนรู้จากการทำช้ำๆ เรียนรู้จากการปฎิบัติจริง   IDP เริ่มต้นจากความสำเร็จเล็กๆน้อยๆ แล้วขยายไปงานที่ยิ่งใหญ่ขึ้น ทำให้เราคิดและทำงานเป็นระบบมากขึ้น

แน่นอนการทำ IDP จะมีปัญหาเกิดขึ้น เพราะพื้นฐานทักษะประสบการณ์ของแต่คนอาจมีไม่เท่ากัน  เพียงใช้ความมุ่งมั่น การลองผิดถูกบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  แล้วความล้มเหลวเป็นบทเรียน  การทำ IDP จะรอให้พร้อมแล้วค่อยลงมือทำ เป็นไปได้ว่าเราจะไม่ได้ลงมือทำ  ต้องลงมือทำบนความไม่พร้อม แต่เราต้องเปลี่ยนทันที เริ่มต้นเรา  ใช้ความคิดบวกลบความคิดลบออกจากสมอง  หากให้ได้รับมอบหมายงานใหม่  แล้วคิดว่า งานก็เยอะอยู่แล้ว เป็นการคิดลบก็จะทำให้เราท้อแท้  การตั้งคำกับตัวเองว่า  “ทำไม”   ต้องเป็นเรา  เราก็ต้องเปลี่ยนวิธีคิด ให้คิดบวก positive thinking เช่น  การที่ผู้ใหญ่มอบหมายงานให้เรา ก็คิดว่าเราคือคนสำคัญขององค์กร เป็นคนที่มีความสามารถ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างแรงบันดาลใจ โดยใช้ความสำเร็จของการทำงาน ความภูมิใจในผลงาน เป็นกำลังใจในการปรับปรุงตัวเอง

การเปลี่ยนทันทีอย่างก้าวกระโดด Step Change ผู้คนโดยส่วนใหญ่จะเคยชินกับการทำงาน  ให้เสียคิดว่า หากทำอะไรเหมือนๆ เดิมก็เหมือนกับหุ่นยนต์  ถามว่าอยู่ได้หรือไม่  คำตอบคืออยู่ได้  เมื่อเราทำเหมือนเดิมก็จะอยู่ได้แค่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง  ต่อให้ในขณะนี้เราจะดีกว่าคนอื่น  แล้วหากคนอื่นมีการพัฒนา เขาก็จะแชงหน้าเราไป

การคิดว่าจะทำอย่างไรให้ดีกว่าเมื่อวาน จะช่วยทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น  การพัฒนา การลงมือทำ จะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นแน่นอน เพียงแค่อย่าทำให้เกิดความผิดพลาดซ้ำ ใช้ความละเอียดรอบคอบในการทำงาน ฉะนั้นอย่ากลัวการเปลี่ยนแปลง

การทำ IDP สิ่งสำคัญ ต้องเริ่มจากเป้าหมาย  แล้วมีการแชร์กันระหว่าง โรงงาน องค์กร และลูกน้อง ซึ่งแน่นอนเริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมาย 1) เป้าหมายต้องตรงกันองค์กร การทำ IPD แผนพัฒนารายบุคคล เป็นการต่อจิกซออันเดียวกันกับเป้าหมายองค์กร   องค์กรต้องมาก่อนเพราะองค์กรใหญ่กว่าเป้าหมายรายบุคคล 2) การลงมือทำงานตามเป้าหมาย ซึ่งต้องประสานงานกับคนรอบข้างและการให้ความร่วมมือ ก็จะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

              หลักการตั้งเป้าหมาย IDP: แผนพัฒนารายบุคคล เป็นความรับผิดชอบตัวเรา  เราต้องเข้าใจคำนิยามว่า IDP: คืออ การพัฒนาตนเองด้วยตนเอง เราต้องสามารถบอกกับตัวเองได้ว่า  เราคือคนหรือกลไกลขับเคลื่อนการพัฒนานี้ด้วยตนเอง   ต้องคิดเป็นขั้นเป็นตอนๆ โดยมองไปที่ผล ที่คาดว่าจะได้รับ แล้วค่อยๆมาสร้างแผนในการทำงาน เมื่ิอลงมือทำเราจะเห็นผลลัพธ์ หรือความก้าวหน้า

คำคมในการทำ IDP Individual Development Plan แผนพัฒนารายบุคคลในการทำงาน

การทำงานย่อมมีอุปสรรค ให้คิดว่าอุปสรรคเป็นเพียงตัวขวางกั้นความสำเร็จ หากเจอปัญหาขอให้กัดไม่ปล่อย  จนกว่าจะทำงานจนสำเร็จ 

 การทำอะไรๆ ก็ตาม เมื่อประสบความสำเร็จ อย่าลืม ทีมงานที่มีส่วนร่วม ทั้งเบื้องหน้า เบื้องหลัง แผนกต่างๆ 

 การพัฒนาการทำ IDP  ไม่เสมอไป  ว่าจะมีความรู้พื้นฐานในเรื่องนั้นๆ สำคัญคือต้องเรียนรู้   ขอให้เริ่มด้วยใจรัก ไม่มีลิมิต ทุกคนสามารถทำเรื่องยากๆได้          

การพัฒนาการทำ IDP  เป็นงานปรับปรุงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ให้การทำงานง่ายขึ้น ของเสียลดลง ความปลอดภัยดีขึ้น

              การพัฒนาการทำ IDP  ช่วยทำให้เกิดเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป  ได้เรียนรู้การอยู่การกิน ความคิดที่ต่างกัน  เกิดการแลกเปลี่ยนและแชร์ความรู้  การช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน

              การพัฒนาการทำ IDP  คือ การเปลี่ยนแปลงในตัวเอง กล้าแสดงออกมากขึ้น  มีความมุ่งมั่นมากขึ้น คิดว่าคนอื่นทำได้เราทำได้ 

              ปัญหาอุปสรรค การพัฒนาการทำ IDP  แม้ขาดความรู้และทักษะ พื้นฐาน  ก็เพียงแค่แก้ด้วยการศึกษาหาความรู้เพิ่ม เรียนรู้จากอินเตอร์เน็ต จากคนอื่นที่ชำนาญกว่า

              การพัฒนาการทำ IDP  ต้องมีการแบ่งเวลาและการจัดการงาน  ด้วยการผูกมัดเป้าหมาย กับงานที่ได้รับมอบหมาย 

              การแข่งขันธุรกิจในโลกปัจจุบัน เมื่อทรัพยากรมีขีดจำกัด การทำธุรกิจจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและการทำลายโลกให้น้อยที่สุด เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด

              ตัวอย่าง  IDP : individual development planแผนพัฒนารายบุคคล

การทำ 6sigma ( 6б ) มาใช้ในการปรับปรุงงาน ซึ่งมีการวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงกระบวนทำงานที่ครอบคลุมทั้งระบบ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่ได้ทำงานหรือปรับปรุงสิ่งที่ไม่สำคัญและการแก้ไขปัญหาแบบไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งมี step ดังนี้

1.  Step D: Define การค้นหาปัญหา การศึกษาข้อมูล การวิเคราะห์ การประมวลผลข้อมูล ด้วยเครื่องมือต่างๆ ด้วยหลักเชิงสถิติ

2. Step M:  Measure การจัดทำ Process Mapping เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ช่องว่างของปัญหาที่เกิดขึ้น ด้วยปัจจัยต่างๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับปัญหา เป็นการค้นหาปัจจัยนำเข้าที่ใส่เข้ากระบวนการ KPIV (Key Process Input Variable) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับผลลัพธ์หลักของกระบวนการ หรือที่เรียกว่า KPOV (Key Process Output Variable)

3: Step A: Analyze คือ การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ด้วยวิธีการเก็บข้อมูลเชิงสถิติ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาสาเหตุหรือปัจจัยที่มีนัยสำคัญของปัญหา ด้วยจะเจาะลึกลงในรายละเอียดและวิเคราะห์ครอบคลุมถึงสิ่งต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย 5M ดังนี้ 1) Man (คน) 2) Machine (เครื่องจักร) 3) Materials (วัตถุดิบ) 4) Method (วิธีการ) 5) Measure (การวัด)

4 Step I: Improve คือ การปรับปรุง โดยมุ่งเน้นไปที่ต้นเหตุของปัญหาที่สำคัญลำดับต้นๆที่ส่งผลกระทบต่อปัญหาสูงสุด แล้วค่อยแก้ไขปัญหาลำดับถัดไป โดยต้องตรวจสอบและบริหารอย่างรอบคอบ และต้องวิเคราะห์ปัญหาอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น

5. Step C: Control คือ การควบคุมและติดตามกระบวนการเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการปรับปรุง วิธีการ เครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆได้รับการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เป็นการรักษากระบวนการที่ได้เปลี่ยนแปลงให้คงอยู่ ซึ่งการพัฒนากระบวนการจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพ

โครงการพัฒนาทักษะ Leader ship สร้างภาวะผู้นำ จากการพัฒนาบทบาทของการเป็นพี่้เลี้ยง เป็นการสนับสนุนให้ลูกน้องมีความรู้มากขึ้น ด้วยการสอนงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย แผนในการสอนงาน วิธีในการสอนงาน ให้พนักงานๆเกิดการเรียนรู้กระบวนการทำงาน จนทำให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง สามารถแก้ไขปัญหาได้   ทำให้เกิดการถ่ายทอดความรู้และเพิ่มทักษะการสอนงาน ลิตภัณฑ์ ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานต่างๆ

โครงการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ Learning Organization การเกิดขึ้นของโครงการ เนื่องจากการสอนงานแบบเดิมๆ ซึ่งอาศัยประสบการณ์เดิมแบบปากต่อปาก ทักษะต่อทักษะ แต่ไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นมีความถูกต้องเพียงใด  เปลี่ยนไปเป็นการสอนงานที่มีรูปแบบ และมีเอกสารที่มีมาตรฐาน เขียนไว้อย่างชัดเจน   ทำให้พนักงานเกิดการเรียนรู้ เกิดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้คนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ฝึกคนให้เป็นผู้นำ การทำงานมีความเชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น  ทำให้หน่วยงานตนเองเกิดการพัฒนา มีการแชร์ความรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้ทุกๆคนในหน่วยงานให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนความรู้  กลายเป็นคนที่มีความสามารถหลากหลาย ทำงานแทนกันได้ multi skill

บทความที่น่าสนใจ เชื่อในตนเอง 6 เคล็ดลับที่ทำให้คุณเชื่อในพลังตนเองมากขึ้น

คลิป ความรู้ไม่มีที่สิ้นสุด https://www.youtube.com/watch?v=tOqiWKVDcTE&t=50s

You may also like...

1 Response

  1. มีนาคม 26, 2020

    viagra

    WALCOME

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *