โรคข้อเสื่อม อาการ ข้อเสื่อม เข่าเสื่อม การป้องกันโรคข้อเสื่อม

              ปรากฎการณ์โรคที่น่ากลัวสำหรับคนสูงวัย และโรคของนักกีฬาอาชีพเช่น นักวิ่ง นักฟุตบอล แล้วยังมีผลกระทบต่ออาชีพอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งหากเป็นโรคนี้แล้ว มันลดประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะต่างๆที่ใช้ในการเคลื่อนไหว จนทำให้บางคนต้องจบอาชีพหลักเหล่านนั้นไป   การเป็นโรคนี้ความสุขของการดำเนินชีวิตจะลดลง  คุณภาพชีวิตจะหายไปกับความเจ็บปวดและความทรมาน เกิดความทุกข์ทั้งกายและใจเป็นอย่างมาก  ซึ่งโรคนี้ก็คือ ” โรคข้อเสื่อม ”  โทษของการเป็นโรคข้อเสื่อมนอกจากจะสร้างความเจ็บปวดให้แก่ร่างกายแล้ว มันจะส่งพลังลบไปยังพลังจิตใจ เมื่อจิตเต็มไปด้วยพลังด้านลบมากยิ่งขึ้น ภาวะเครียดต่างๆก็จะตามมา

              โรคข้อเสื่อม ( Osteoarthritis ) หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของผิวกระดูกอ่อนของข้อและกระดูก บริเวณใกล้ข้อ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ กระดูกอ่อน ผิวข้อทั้งทางด้านรูปร่าง ทางด้านโครงสร้างทางด้านชีวะเคมี

โรคข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อม

          ที่มาของโรคข้อเสื่อมนับได้ว่าอยู่ในกลุ่มของโรคเสื่อมอีกโรคหนึ่ง ในยุคอดีตเชื่อกันว่าโรคเสื่อมของร่างกายจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ คนเรามีอายุเพิ่มสูงขึ้น ความเสื่อมสภาพของร่างกายจะทำให้เกิดโรคต่างๆได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับโรคข้อเสื่อมต่างๆ  เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น น้ำหล่อเลี้ยงไขข้อจะน้อยลง ก็จะส่งผลให้กระดูกอ่อนระหว่างข้อต่อ เกิดการเสียดสีกันมากขึ้น แล้วจะพบอาการเจ็บปวดตามข้อต่อต่างๆ โดยเฉพาะข้อต่อบริเวณที่ต้องรับน้ำหนักมากเช่น เข่า ข้อเท้า  สะโพก เป็นต้น  ข้อมูลเชิงสถิติ ปี 2553 พบว่าคนไทยเป็นโรคกระดูกและไขข้อถึง 6 ล้านคน แต่ปัญหา โรคข้อเสื่อม ต่างๆก็ใช่ว่าจะเกิดขึ้นกับคนสูงอายุเสมอไป เพราะอัตราการโรคเสื่อมของร่างกายพบได้ในคนที่อายุน้อยลง และการเกิดโรคนี้มีหลายสาเหตุด้วยกัน

 โรคข้อเสื่อม

ปัจจัยที่ทำให้เกิด โรคข้อเสื่อม

    สามารถแบ่งปัจจัยความเสี่ยงต่างๆที่เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคข้อเสื่อมออกเป็น  5 กลุ่มหลักๆ ดังต่อไปนี้

    1 . ปัจจัยด้านอายุ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น น้ำมันไขข้อและกล้ามเนื้อที่ช่วยห่อหุ้มน้ำมันไขข้อจะลดลง คนเราเมื่อมีอายุเพิ่มขึ้นการสูญเสียเซลล์ต่างๆภายในร่างกายจะมีอัตราเร่งสูงขึ้น ตรงกันข้ามกับอัตราการสร้างเซลล์ใหม่ๆจะลดลง เมื่ออัตราการทดแทนและการซ่อมแซมลดลงจึงทำให้เกิดการสูญเสีย โดยน้ำมันไขข้อลดลงมักจะเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุสูงขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

  1. พฤติกรรมการใช้ชีวิต ที่มีผลต่อการเกิดโรคข้อเสื่อม

         กินอาหารแล้วร่างกายไม่ได้รับสารอาหารครบห้าหมู่อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อไขข้อ สารอาหารที่บำรุงกล้ามเนื้อและกระดูก การที่ร่างกายขาดสารอาหารเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อการลดลงของน้ำมันไขข้อ ให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมเร็วกว่าคนที่ดูแลสุขภาพร่างกาย  ด้วยการบริโภคอาหารอย่างถูกต้อง นอกจากนี้แล้วการบริโภคอาหารบางชนิดเดิมๆ อาจทำให้ได้รับสารอาหารบางอย่างเกินความจำเป็นของร่างกาย ก็ส่งผลต่อการเสื่อมไขข้อได้เร็วขึ้นเช่นกัน

        พฤติกรรมที่ทำให้ข้อต่อต่างๆ ขาดความยืดหยุ่น ขาดการออกกำลังกายหรือการออกกำลังกายที่ผิดวิธี จะทำให้น้ำมันไขข้อเสื่อมเร็วได้เช่นกัน การไม่ออกกำลังกาย กล้ามเนื้อรอบข้อมีจำนวนไม่มาก เมื่อกล้ามเนื้อไม่เกิดความยืดหยุ่นจะทำให้ กระดูกอ่อนระหว่างข้อต่อเสียดสีกันได้ง่ายขึ้น เกิดการอักเสบบ่อยครั้ง จึงส่งผลต่อการเสียน้ำมันไขข้อได้เร็วขึ้นเช่นกัน

       พฤติกรรมที่ทำให้ข้อต่อต่างๆ รับน้ำหนักหรือมีแรงกดทับมากเกินไป การนั่งหรือการงอเข่ามากกว่า 90 องศาเป็นเวลานานๆ เช่น การนั่งพับเพียบ การนั่งขัดสมาธิ การนั่งยองๆ  การนั่งคุกเข่า เพราะการที่ข้อต่องอมากกว่า 90 องศา จะทำให้ข้อต่อบริเวณนั้นรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า ปกติถึง 8 เท่า

          พฤติกรรมการบริโภคอาหารหรือสิ่งที่ทำร้ายร่างกายอันได้แก่ การดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่จัดเป็นประจำ การดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ การดื่มชากาแฟในปริมาณที่มากเกินเช่น มากกว่า 3 แก้วต่อวัน

  1. คนที่เคยมีประวัติได้รับบาดเจ็บตามข้อต่อต่างๆ มาก่อนเช่น ได้รับอุบัติเหตุ การตกจากที่สูงหรือการเล่นกีฬาแล้วได้รับบาดเจ็บที่ข้อ ซึ่งการบาดเจ็บตามข้อต่อเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำมันไขข้อ จึงทำให้เกิดการเสียดสีกันของข้อต่อมากกว่าคนปกติ

  2. การเป็นโรคอื่นๆเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ส่งผลกระทบต่อการเสื่อมของข้อต่อได้เช่น โครงสร้างร่างกายที่ผิดปกติ ข้อเท้า ข้อเข่า เสียรูป ขาโก่ง หรือเกิดจากการอักเสบ อันเนื่องมาจากการป่วยเป็นโรคอักเสบเรื้อรังต่างๆ เช่นโรคเก๊าท์ และนอกจากนี้แล้ว ยังรวมปัจจัยที่เกี่ยวกับคนในครอบครัว เคยมีประวัติเป็นโรคข้อเสื่อม

  3. คนอ้วนหรือคนที่มีน้ำหนักตัวมาก เมื่อนำหนักตัวเพิ่ม 1 กิโลกรัม หากยืนขาข้างเดียว จะส่งผลทำให้ข้อต่อ ข้อเข่ารับน้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า  และหากก้าวเท้าไปข้างหน้า หรือการเริ่มเดิน จะทำให้ข้อต่อรับน้ำถึง 5 เท่า สำรับคนอ้วนมีความเสี่ยงเป็น โรคข้อเสื่อม มากกว่าคนน้ำหนักตัวปกติถึง 2.63 เท่า การลดน้ำหนักให้เป็นคนปกติ จะสามารถช่วยทำให้เกิดข้อเสื่อมได้ช้าลง

    อาการ ข้อเสื่อม เข่าเสื่อม มีดังนี้

ซึ่งบ่งบอกให้รู้ว่าเรามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเสื่อม ที่สามารถสังเกตุได้ด้วยตนเอง แล้วหากมีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์เฉพาะทาง

  1. มีเสียงดังในข้อ ในขณะที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายเช่น การเดิน หรือวิ่ง หรือมีอาการข้อฝืดไม่ยืดหยุ่น ยากต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย

  2. การงอหรือการเหยียดข้อบริเวณต่างๆ ทำได้ไม่สุด เมื่อยืดแบบสุดจะมีอาการตรึงและปวด

  3. เกิดการอักเสบบริเวณเข่า ปวดข้อต่อ ปวดเข่า หรือรู้สึกว่าเข่าหลวม

  4. เกิดการผิดรูปของขา ขาโก่ง เข่างอ เดินลำบาก ขณะที่เดินจะปวด

 โรคข้อเสื่อม

วิธีการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคข้อเสื่อม

       ในเมื่อคนเราทุกๆคนมีโอกาสที่จะเป็นโรคข้อเสื่อม  ซึ่งเราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร แต่เราสามารถทำให้มันเกิดขึ้นช้าได้หรือเราสามารถดูแลตนเองให้มีความแข็งแรงสมบูรณ์สูงสุดตลอดทั้งชีวิตก็ไม่อาจเป็นโรคนีเลย เทคนิคในการป้องกันก็คือการยืดเวลาการเสื่อมหรือลดการสูญเสียของน้ำเลี้ยงไขข้อให้น้อยลง เคล็ดลับการป้องกัน โรคข้อเสื่อม มีดังต่อไปนี้

  1. การรับประทานอาหารดี มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วน ครบ 5 หมู่ และมีปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยจะต้องเป็นอาหารที่มีคุณภาพ เช่น การกินโปรตีนที่มีคุณภาพดีก็ควรได้รับจากการกินอาหารที่ได้จากพืชตระกูลถั่ว เนื้อปลา การกินธัญพืชที่หลากหลายชนิด การกินไขมันที่มีประโยชน์ ต้องให้กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเช่น โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 โอเมก้า  9  ควรกินผักผลไม้ที่มีสีต่างกันให้ครบ 5 สี ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นโทษต่อร่างกาย  นอกจากนี้แล้วรูปแบบการกินอาหารก็เป็นเรื่องสำคัญเพราะจะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารบางอย่างเกินความจำเป็นเช่น การกินอาหารที่ให้แป้งและน้ำตาลอย่างรวดเร็วในปริมาณที่สูงด้วยการดื่มผลไม้ปั่นแถมยังใส่น้ำเชื่อม การกินกาแฟ ชาที่ใส่นมแล้วยังใส่น้ำตาลปริมาณมากๆ และควรงดเครื่องดื่มที่ไปทำร้ายระบบไขข้ออันได้แก่ เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ หรืออาหารประเภทที่ให้ไขมันสูง

  2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อยควรน้ำดื่มให้ได้วันละประมาณ 2 ลิตร หรือ 8 แก้วต่อวัน แต่ควรดื่มแบบค่อยๆจิบ ควรดื่มน้ำที่มีคุณภาพ ซึ่งจำเป็นต้องเลือกแหล่งน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัย หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเช่น การดื่มชา-กาแฟมากเกิน

  3. ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสียง ที่อาจจะทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมได้เร็วขึ้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นเช่น การการนั่งหรือการงอเข่ามากกว่า 90 องศาเป็นเวลานานๆเช่น การนั่งขัดสมาธิ หากต้องการฝึกสมาธิควรหาวิธีอื่นทดแทน การเดินหรือการนั่งสมาธิด้วยการนั่งเก้าอี้

  4. การออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ ควรทำให้ถูกวิธีและเหมาะสมกับวัย เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อต่อ และการยืดหยุ่นของเส้นเอ็นต่างๆ นอกจากนี้ยังช่วยป้องการข้อต่อ ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการเคลื่อนไหวร่างกาย ท่าต่างๆ การออกกำลังกายและการกินอาหารอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการสร้างกล้ามเนื้อ เพราะการมีร่างกายที่แข็งแรงและยืดหยุ่นจะช่วยลดอัตราการสูญเสียกล้ามเนื้อ  เมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น  มีการสร้างกล้ามเนื้อรอบข้อมากยิ่งขึ้น กล้ามเนื้อยืดหยุ่นดีก็จะไม่เกิดการอักเสบได้ง่าย ลดการเสียดสีกันได้ดีขึ้น

  5. ควรมีการควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมกับรูปร่างของตนเอง เพื่อไม่ทำให้ข้อต่อต่างๆ รับน้ำหนักมากจนเกินไป

  6. กรณีที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับโรคข้อเสื่อม ควรต้องดูแลตนให้ปลอดจากปัจจัยที่มีผลต่อโรคข้อเสื่อมเป็นพิเศษ และควรสร้างร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ

การรักษา โรคข้อเสื่อม

ปัจจุบันยังไม่พบการรักษารูปแบบใด ที่สามารถรักษาโรคข้อเสื่อมให้กลับมาเป็นปกติได้ ดังนั้นการรักษาโรคข้อเสื่อม จึงมีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาและขั้นตอนในการช่วยเหลือทางการแพทย์มีดังนี้

  1. ในช่วงเริ่มต้นของการรักษาโรคข้อเสื่อม เพื่อลดการอักเสบและบรรเทาอาการเจ็บปวด โดยส่วนมากแล้วแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วย ได้รู้จักวิธีการปฏิบัติตนเองให้ถูกต้อง อันได้แก่

การควบคุมน้ำหนักตัว ให้ได้สัดส่วนของคนปกติ เพราะการมีน้ำหนักตัวที่สูง จะส่งผลทำให้ข้อต่อต่างๆรับน้ำหนักมากยิ่งขึ้นและจะขยายความเจ็บปวดของโรคข้อเสื่อมตามข้อมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะบริเวณข้อเข่าและข้อสะโพก การลดน้ำหนักตัวลงได้มากกว่า 2 กิโลกรัม สามารถรับรู้ได้ว่า อาการปวดตามข้อนั้นจะลดลง

     การใช้ความเย็นประคบ เมื่อปรากฏว่า มีอาการอักเสบ และหากพบมีอาการอักเสบมากขึ้น ให้เปลี่ยนวิธีมาเป็นการประคบด้วยการใช้ความร้อนแทน

       การสร้างกล้ามเนื้อตามข้อต่างๆ ให้แข็งแรง ด้วยการบริหารร่างกาย เพราะกล้ามเนื้อสามารถช่วยรับน้ำหนัก ที่เกิดขึ้นบริเวณข้อได้เช่น การสร้างและเพิ่มปริมาณกล้ามเนื้อบริเวณเข่าและเหนือเข่าที่แข็งแรง จะสามารถลดความเจ็บปวด ขณะที่เดินได้

     การหาอุปกรณ์ช่วย เพื่อลดการรับน้ำหนักบริเวณข้อต่อเช่น การไม้เท้า หรืออุปกรณ์ช่วยเดิน เป็นการลดแรงกระแทก ระหว่างต่อข้อได้

     ค้นหาวิธีการออกกำลังที่ลดการเจ็บปวด การออกกำลังกายเป็นวิธีชะลอการเกิดโรคข้อเสื่อมได้ดี เพราะนอกจากเป็นการสร้างกล้ามเนื้อแล้วยังเป็นการลดน้ำหนักให้ได้สัดส่วนอีกด้วย วิธีการออกกำลังที่เหมาะสมของคนเป็นโรคข้อเสื่อมอีกวิธีหนึ่งคือ การออกกำลังกายในสระน้ำเช่น การเดินในน้ำ ช่วยลดการรับน้ำหนักตัวของข้อต่างๆ ช่วยส่งเสริมการเคลื่อนไหวต่างๆทำได้ดีขึ้น

  1. ช่วยชะลอการขยายตัวของโรค โดยการรักษาด้วยการใช้ยาลดอาการอักเสบ เพื่อให้การทำงานของข้อ กลับเป็นปกติหรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด

  2. เมื่อถึงขั้นที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น เป็นการป้องกันภาวะพิการและการเสียรูปร่างของข้อต่างๆ แพทย์จะวินิจฉัยถึงขั้นผ่าตัด

     ทุกคนมีโอกาสเป็น โรคข้อเสื่อม แต่คนที่ดูแลสุขภาพดี สามารถลดโอกาสเกิดโรคข้อเสื่อมได้มากกว่า คนที่ไม่ทำอะไรเลย เริ่มต้นดูแลสุขภาพกันตั้งแต่ตอนนี้ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ออกกำลังกายอย่างเสมอ รับประทานอาหารให้ได้สารอาหารที่ครบ 5 หมู่ เพื่อสุขภาพดีปลอดภัยจากโรคเสื่อมของร่างกาย

บทความที่น่าสนใจ โรคกระดูกพรุน

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *