เลซิติน คือกรดไขมัน ที่เรียกว่าฟอสโฟลิพิด ประโยชน์ บำรุงสมอง ย่อยไขมัน
ในชีวิตประจำวันของเราทุกคนคงเคยสัมผัสกับการล้างไขมันจากจาน ภาชนะบรรจุอาหารต่างๆ หรือ แม้แต่การล้างไขมันบนผิวหนังร่างกายของเราให้ออก มันดูเหมือนว่าค่อนข้างยากลำบากใช่ไหมละครับ เพราะน้ำมันมีความหนาแน่นต่ำ สามารถลอยน้ำได้และรวมตัวกับของเหลวอย่างอื่นได้ยาก จึงเป็นปัญหาสำหรับคุณแม่บ้าน แต่ก็ยังดีเพราะในปัจจุบันมีนวัฒกรรมต่างๆที่ช่วยทำให้เรื่องเหล่านี้ทำได้ง่ายยิ่งขึ้น แล้วพวกเราเคยสังสัยกันบ้างไหมว่า การที่เรารับประทานอาหารจำพวกไขมันเข้าไปแล้ว ร่างกายของเรามีกระบวนการในการย่อยสลายไขมันเหล่านี้ได้อย่างไร เมื่อรับประทานอาหารประเภทไขมันเข้าสู่ร่างกาย สมองจะสั่งการให้ตับอ่อนทำงานและปล่อยน้ำดีออกมา ซึ่งในน้ำดีนั้นจะมีกรดไขมันชนิดหนึ่งเรียกว่า เลซิติน
เลซิติน กับการสลายไขมันในร่างกาย
หน้าที่ของ เลซิติล คือย่อยไขมัน สลายไขมันและลดไขมันในร่างกาย กลไกลในการลดไขมัน แล้วถูกกำจัดออกโดยผ่านการทำหน้าที่ของหลอดเลือด แต่ถ้าหากเรารับประทานไขมันมากเกินไป จะทำให้ตับทำงานหนัก และเมื่อตับทำงานหนัก มันก็จะทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงทำให้เกิดภาวะไขมันหลงเหลืออยู่ในระบบของหลอดเลือด เมื่อมีไขมันในเลือดและเกาะตัวอยู่ตามผนังของหลอดเลือดสูง ก็จะกลายเป็นปัญหาและเป็นที่มาของการเกิดโรคเสื่อมต่างๆ NCD อันได้แก่ โรคสมองเสื่อม โรคเส้นเลือดในสมองตีบ
เลซิตินคืออะไร
แล้วเลซิติน คืออะไร มันทำหน้าที่อะไร เลซิติน คือ สารประกอบที่มีความซับซ้อน ซึ่งจัดว่าเป็นไขมันหรือกรดไขมัน ที่เรียกว่า ฟอสโฟลิพิด ซึ่งมีลักษณะเป็นสารอิมัลซิไฟเออร์หรือตัวทำละลาย โดยทำให้น้ำมันและน้ำสามารถละลายและรวมตัวเข้ากันได้ดียิ่งขึ้น เลซิตินจึงทำหน้าที่เป็นสารย่อยสลายไขมัน
เลซิติน (Lecithin) เป็นสารประกอบระหว่างกรดไขมันจำเป็นจำพวก ฟอสฟอรัส และวิตามินบี 2 ตัว อันได้ได้แก่ โคลีน (Choline) และอินอสซิทอล (Inositol) เมื่อนำเลือดไปตรวจสอบเราสามารถพบเลซิตินได้ทุกส่วนของร่างกาย เพราะเลซิตินเป็นส่วนประกอบหนึ่งของ ” เยื่อหุ้มเซลล์ ” แต่เราจะพบเลซิตินในปริมาณมากเป็นพิเศษในบริเวณ “สมอง” โดยมีปริมาณถึง 30% ของปริมาณเลซิตินในร่างกาย เลซิตินจึงมีความจำเป็นต่อขบวนการต่างๆ ภายในเซลล์ ช่วยให้เซลล์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของ เลชิติน
-
ทำหน้าที่ ลดไขมัน ช่วยละลายไขมัน
-
มีประโยชน์ต่อสมอง แล้วมันมีผลต่อระบบสมองได้อย่างไรมาดูกัน เพราะเลซิตินทำหน้าที่เป็นสารตั้งต้น ของสารสื่อประสาทเชิงบวก ทำให้สมองทำงานได้ดี แล้วสารสื่อประสาทเชิงบวกเป็นอย่างไร สังเกตได้จากการที่เราตื่นนอนตอนเช้าแล้วรู้สึกสดชื่น กะปรี้กะเปร่า นอกจากนี้แล้วสารสื่อประสาทเชิงบวก ยังสามารถช่วยทำให้เรานอนหลับสนิท นอนหลับได้ดี เรียกว่า ฮอร์โมน เมลาโทนินซึ่งเป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสารท ช่วยบำรุงสมอง และยังช่วยทำให้การสื่อสารกันของฮอร์โมน เซโรโทนิน ทำงานได้ดี ซึ่งเซโรโทนิน เป็นฮอร์โมนแห่งความสุข
-
เลซิตินสามารถบำรุงสมอง เสริมความจำและป้องกันความจำเสื่อม ซึ่งเลซิติน (Lecithin) ประกอบด้วย โคลีน (Choline) ซึ่งเป็นสารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยนำไปใช้เพื่อเป็นสารตั้งต้นในการสร้างสารสื่อประสาท (Neurotransmitters) ที่เรียกว่า อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) ช่วยในการส่งข้อมูลระหว่างเซลล์สมองแต่ละเซลล์ และระหว่างสมองกับการสั่งงาน ไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และยังทำหน้าที่ในการถ่ายทอดความรู้สึก เพื่อให้สมองสั่งการให้แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ได้ตามความต้อง
ประโยชน์ของเลซิติลที่เกี่ยวกับการบำรุงสมอง จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการบำบัดรักษาโรคทางสมองต่าง ๆเช่น โรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นโรคที่พบได้มากในสังคมคนสูงอายุ ซึ่งสามารถสังเกตุได้ง่ายคือ คนป่วยจะแสดงอาการมือสั่น การเดินการเคลื่อนไหวผิดปกติ การควบคุมและการใช้กล้ามเนื้อลำบาก, และยังช่วยในการบำบัดโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคความจำเสื่อม มักพบมากในคนสูงอายุเช่นกัน โดยจะแสดงอาการเป็นคนที่หลงลืมได้ง่ายๆ เช่นจำบ้านของตนเองไม่ได้ จำชื่อคนไม่ได้
ซึ่งเราก็คงแอบสงสัยว่าหากเป็นโรคทางสมองดังที่กล่าวมา ที่มีสาเหตุจากเซลล์ประสาท ขาด Acetylcholine ก็ยังสามารถพึ่งเลซิติน (Lecithin) ในการรักษาเพื่อช่วยฟื้นฟูความจำได้ดีขึ้น แต่ต้องขอบอกตรงนี้ว่า เลซิตินสามารถช่วยความจำให้ดีขึ้นได้ แต่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่ง และต้องอาศัยเทคนิค ในการเพิ่มความจำในรูปแบบอื่น ๆ ช่วยอีกทางหนึ่งด้วย เพื่อช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพในการจำที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป
-
เลซิติน บำรุงตับ สารสำคัญอีกหนึ่งอย่างที่พบในเลซิตินคือ สารฟอสฟาทิดิลโคลีน (Phosphatidylcholine) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ตับ ลดการทำลายเซลล์ในตับ ฟอสฟาทิดิลโคลีนมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันสารเคมีจากการกินยา แอลกอฮอล์ สารเคมี สารพิษต่าง ๆ ที่ไปมีส่วนในการทำลายตับ
สารฟอสฟาทิดิลโคลี ยังช่วยบำรุงซ่อมแซมและชะลอการสะสมไขมันในตับได้อีกด้วย เลซิตินสามารถลดความเสี่ยง ภาสะการเกิดไขมันพอกตับได้ เนื่องจาก โคลีน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเลซิติน มีผลต่ออัตราการเร่งการเผาผลาญไขมันที่ตับได้ ช่วยทำให้ไขมันถูกนำไปใช้ในการเผาผลาญเป็นพลังงานได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้เลซิติน Lecithin ยังช่วยในการลดปริมาณคอเลสเตอรอล ที่เป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดการอักเสบของตับ จนในที่สุดแล้วก็อาจจะกลายเป็นโรคตับแข็งได้
-
เลซิติน ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ จึงเป็นการป้องกันโรคสมองและโรคหัวใจขาดเลือดได้ คอเลสเตอรอล มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับไขมัน ซึ่งไม่ละลายในน้ำ จึงไม่ละลายในน้ำเลือดด้วยเช่นกัน นอกจากนี้คอเลสเตอรอลมันจะจับตัวกันเป็นก้อน และตกตะกอนอยู่ตามผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดหลอดเลือดอุดตัน และเกิดโรคสมองและหัวใจขาดเลือดได้ในที่สุด
จากคุณสมบัติของ เลซิตินLecithin ที่ช่วยในการสลายไขมัน จึงสามารถสลายคอเลสเตอรอลให้รวมตัวเข้ากับน้ำเลือดได้ดีขึ้น เมื่อคอเลสเตอรอลถูกสลาย จึงไม่จับตัวเป็นก้อนแล้วไปเกาะตามผนังหลอดเลือดที่เป็นต้นเหตุของหลอดเลือดอุดตัน นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ระบบไหลเวียนเลือดทำได้ดีขึ้น
-
เลซิตินช่วยลดการดูดซึมของลำใส้ใหญ่และช่วยเพิ่มความแข็งแรงของระบบขับถ่าย คอเลสเตอรอลก็สามารถขับออกทางอุจจาระ ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้เลซิตินยังช่วยเพิ่มสัดส่วนของไขมัน HDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดี ให้มีมากขึ้น และเลซิตินยังมีหน้าที่นำพาไขมันที่สะสมและอุดตันตามผนังเส้นเลือด กลับไปทำลายที่ตับอีกด้วย
-
ประโยชน์อื่นๆของเลซิติน Lecithin คือ สามารถป้องกันการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้ เนื่องจากเลซิตินช่วยป้องกัน การตกตะกอนของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด จึงป้องกันการจับตัวกันของไขมันเป็นก้อนนิ่วได้
เลซิตินยังช่วยทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันได้ดี แล้วยังช่วยให้ร่างกายสามารถนำวิตามินไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิตามินที่ละลายในไขมันเช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค
ช่วยควบคุมน้ำหนักของร่างกายเพราะ เลซิตินจะช่วยให้ไขมันสลายและกระจายตัวเป็นอนุภาคเล็ก ๆ จึงช่วยทำให้ร่างกายสามารถเผาผลาญไขมันเหล่านี้ได้ดีขึ้น
ช่วยในการขจัดไขมันที่หลงเหลือและลดการตกตะกอนของไขมันในตับ หากมีไขมันตกตะกอนอยู่ที่ตับ จะส่งผลทำให้ท้องอืด ท้องแน่น จุกเสียด
ภาวะรับประทานเลซิตินมากจนเกินไป
แม้ว่าเลซิติน จะมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย แต่การรับประทานเลซิตินที่มากเกินไป ก็อาจเกิดอาการข้างเคียงได้เช่น คลื่นไส้ อาเจียน น้ำลายหลั่งออกมาก เบื่ออาหาร เหงื่อออกมาก เป็นต้น
เมื่อร่างกายตกอยู่ในสภาวะขาดเลซิตินแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับระบบสมอง
เมื่อร่างกายขาดเลซิตินจะทำให้ร่างกายผลิตสารสื่อประสาทเชิงลบ เคยไหมเวลาที่ตื่นนอนแล้วอารมณ์ไม่ดี ไม่สบายตัว หรือ ขับรถตอนเที่ยงแล้วอ่อนล้า เพราะสมองจะดึงเลชิตินจากเยื่อหุ้มเชลล์ไปใช้งาน เคยไหมเวลาทำงานเครียดแล้วเราจะล้าๆ เพราะสมองดึงพลังงานจากเยื่อหุ้มสมองที่มีเลชิตินของสมองออกมาใช้เช่นกัน
เลซิติน พบในอาหารประเภทใดบ้าง
อาหารที่พบว่ามีเลซิตินได้แก่ ข้าว แป้ง ถั่วลิสง ถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง จมูกข้าวสาลี นมสด ชีส เนย ไข่ เนื้อวัว เลซิตินจะมีมากในไข่แดง แต่ไข่แดงก็มักจะมีคอเลสเตอรอลสูงด้วย
ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเข้ามาช่วย ทำให้เราได้รับเลซิตินได้อย่างพอมากยิ่งขึ้น โดยเลซิตินสามารถสกัดได้จากถั่วเหลือง เนื่องจากถั่งเหลืองมีไขมันไม่อิ่มตัวสูง และปราศจากไขมันจำพวกคอเลสเตอรอล โดยถั่วเหลืองประมาณ 1 กิโลกรัมจะให้เลซิติน 1 กรัม
การสกัดเลซิตินจากถั่วเหลือง มี 2 รูปแบบ โดยแบ่งตามลักษณะของวัตถุดิบที่นำมาใช้
วิธีที่ 1 เป็นการสกัดจากถัวเหลือง 100 % โดยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก เพราะต้องซื้อถั่วเหลืองในปริมาณมากและมีราคาแพง จึงทำให้มีต้นทุนสูง และต้องจำหน่ายในราคาค่อนข้างแพงไม่อาจจะแข่งขันในท้องตลาดทั่วไปได้
วิธีที่ 2 เป็นวิธีสกัดจากกากถั่วเหลือง ที่ผ่านกระบวนการสกัดน้ำมันแล้ว เพราะสามารถสกัดเลซิตินได้เหมือนกัน จึงเป็นวิธีที่นิยม จึงช่วยทำให้มีราคาที่ถูกกว่าวิธีที่ 1
การเลือกซื้ออาหารเสริม เลซิติน ต้องเลือกสิ่งที่ปลอดภัยและมีคุณสมบัติเหมาะสมกับราคา โดยสามารถพิจารณาได้จากสิ่งต่อไปนี้
-
ให้พิจารณาถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบ การเพาะปลูกวัดถุดิบเช่น การปลูกถั่วเหลืองแบบเกษตรอินทร์ ที่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลงหรือยาปราบศัตรูพืช ซึ่งเราสามารถรู้เบื้องต้นได้ โดยสังเกตปริมาณ FOS ที่ระบุไว้ข้างบรรจุภัณฑ์ เพราะถ้าหากเป็น เลชิติน ที่มี FOS น้อยก็เป็นสัญญาณหนึ่ง ที่บ่งบอกว่าวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตเลชิตินนั้น มีการใช้สารเคมี เพราะสารเคมีมักจะทำลาย FOS
-
ให้พิจารณาถึงพันธุ์ของถั่วเหลือง ต้องไม่ใช้เลซิตินที่สกัดมาจากถั่วเหลือที่มีการตกแต่งพันธุกรรม
-
เทียบราคากับผู้ผลิตรายอื่นๆ ให้หลากหลายยี่ห้อเพราะจะช่วยทำให้เราได้ของที่มีคุณภาพเหมาะสมกับราคาหรือของถูกแต่ดี
บทความที่น่าสนใจ สุขภาพดีสุมบูรณ์สูงสุด