โอเมก้า 3 (Omega-3) คืออะไร มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร?

            โอเมก้า 3 (Omega-3) กับสุขภาพร่างกาย ในอดีตเราเชื่อกันว่าโรคต่างๆจะเกิดขึ้น ก็เมื่อเรามีอายุมากขึ้น เพราะเมื่อเราแก่ตัวอวัยวะต่างๆในร่างกายก็จะเสื่อมสภาพลงตามอายุการใช้งานที่มากขึ้น เซลล์แก่ชรา ผิวหนังเหี่ยวย่น ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง ความยืดหยุ่นและระบบซ่อมแซมการสึกหรอ จนทำให้การฟื้นฟูสภาพทำได้ช้าลง เมื่อระบบภูมิคุ้มกันต่างๆลดลง จึงทำให้เชื้อโรคต่างๆสามารถแพร่กระจายไปตามอวัยวะต่างๆได้ง่ายขึ้น

            แต่ไม่น่าเชื่อเลยว่า ปัจจุบันไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว เพราะโรคเสื่อมต่างๆเช่น ความดัน โรคหัวใจ มักเกิดขึ้นได้กับกลุ่มคนที่มีอายุน้อยลง ซึ่งต้นเหตุของปัจจัยที่เกี่ยวข้องนั้น เกิดขึ้นจากระบบหลอดเลือด เพราะหลอดเลือดเป็นตัวเชื่อมโยง ที่นำน้ำ สารอาหาร ฮอร์โมนและแร่ธาตุต่างๆ ส่งไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆตามอวัยวะในร่างกาย

           ดังนั้นถ้าหากระบบหลอดเลือดดี ผิวผนังหลอดเลือดเรียบมีความยืดหยุ่น อวัยวะต่างๆก็จะได้รับอาหารที่เราบริโภคเข้าไปครบถ้วน ก็จะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง  ตรงกันข้ามหากหลอดเลือดมีปัญหา มันก็จะกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายอ่อนแอและเกิดโรคต่างๆได้ง่ายขึ้น  แล้วถ้าหากปัญหาระบบหลอดเลือดเกิดขึ้นกับอวัยวะที่สำคัญๆ โดยเฉพาะสมองและหัวใจ นั้นหมายถึงการจบชีวิต

            ดังนั้นจึงควรหันมาใส่ใจต่อระบบหลอดเลือดกันให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งต่อไปนี้เราจะไปทำความรู้จักสารอาหารที่สำคัญต่อระบบหลอดเลือด ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์อย่างมากต่อระบบหลอดเลือด เพราะมันช่วยให้ผิวผนังหลอดเลือดเรียบ แข็งแรงและมีความยืดหยุ่น  เราเรียกกรดไขมันชนิดนั้นว่า โอเมก้า 3  (Omega-3 fatty acids)

โอเมก้า 3

โอเมก้า 3 ประโยชน์ ช่วยป้องกันโรค

สาเหตุและการเกิดปัญหาของระบบหลอดเลือด

  1. ผนังระหว่างหลอดยึดติดกันไม่ดี  โดยโครงสร้างของหลอดเลือดมี 3 ชั้นด้วยกัน แบ่งอกเป็นชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน  ซึ่งในระหว่างชั้นนั้น จะมีกาวเป็นตัวเชื่อมเพื่อทำให้ผนังของหลอดเลือดยึดติด  เราเรียกชื่อกาวนั้นว่า “คอลลาเจน”  ถ้าร่างกายขาดคอลลาเจนก็จะทำให้ผนังหลอดเลือดยึดติดกันไม่ดี เมื่อผนังหลอดเลือดแต่ละชั้นห่างกัน ผลที่เกิดขึ้นตามก็คือ ขนาดของหลอดเลือดชั้นในจะเล็กลง จนกลายเป็นเส้นเลือดตีบ ก็จะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น

  2. ผนังหลอดเลือดได้รับบาดเจ็บ  เมื่อมีอะไรบางอย่างไปทำให้ผิวด้านในของหลอดเลือดได้รับบาดเจ็บหรือฉีกขาด หลังจากนั้นร่างกาย จะมีระบบการซ่อมแซม ซึ่งลักษณะการซ่อมแซมของเส้นเลือดก็เหมือนกับการ ปะ ชุน เสื้อผ้าที่ขาด ผิวหลอดเลือดก็จะไม่เรียบและเกิดการแข็งตัวคล้ายๆ กับการมีตระกรันไปเกาะ ทำให้รูของหลอดเลือดเล็กลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆไม่ดี เซลล์ต่างๆตามอวัยวะในร่างกายก็จะทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และให้หัวใจทำงานหนักขึ้น

  3. หลอดเลือดอักเสบ ปกติรูปแบบการอักเสบที่เกิดขึ้นกับร่างกายของคนเรา มีให้เห็นอยู่สองลักษณะด้วยกัน คือ การอักเสบภายนอกเช่น โดนมีดบาดเราก็เจ็บซึ่งสามารถมองเห็นลักษณะของบาดแผลและสามารถรักษาได้ง่าย  ส่วนอีกหนึ่งลักษณะคือ เกิดการอักเสบภายใน อย่างการเป็นฝีมีหนอง   ซึ่งลักษณะการอักเสบของหลอดเลือดก็มีลักษณะคล้ายๆกับอวัยวะต่างๆของเรา  เกิดการอักเสบได้เช่นกัน   โดยงานวิจัยของ ดร.อลัน ไรอัน พบว่า โรคหัวใจไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากไขมันและคอเลสเตอรอลสูง  แต่มันมีความสอดคล้องกับการอักเสบของหลอดเลือด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดเกิดการอักเสบนั้นเป็นเพราะ การกินไขมันเลว ของหวาน  แป้งและน้ำตาลมากเกินความจำเป็นของร่างกาย

เมื่อหลอดเลือดมีปัญหาจะทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ดังนี้

         โรคเกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจ หัวใจทำงานหนัก หัวใจวายเฉียบพลัน

         โรคเกี่ยวกับสมองได้แก่ หลอดเลือดสมองตีบ หลอดเลือดสมองอักเสษ โดยโรคที่เกิดขึ้นตามมาคือโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ (Brain stroke) ซึ่งกลุ่มโรคเหล่านี้กำลังอยู่ในช่วงเฝ้าระวัง ของกระทรวงสาธารณสุขของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าโรคหลอดเลือดเป็นโรคไม่ติดต่อ  แต่มีจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆ มักมีต้นเหตุมาจากปัญหาหลอดเลือด  ซึ่งมีอัตราการตายเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โอเมก้า 3

กรดไขมัน โอเมก้า 3 กับโรคหลอดเลือดมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

      ไขมันหรือกรดไขมันนับได้ว่าเป็น 1 ในสารอาหาร 5 หมู่ที่จำเป็นต่อร่างกาย  แต่กรดไขมันบางชนิดก็มีโทษต่อร่างกาย เป็นสาเหตุทำให้หลอดเลือดได้รับบาดเจ็บได้เช่นกัน ซึ่งไขมันที่เราบริโภคเข้าไปมี 2 ประเภทคือ

1.ไขมันที่ทำให้เกิดการอักเสบ  อันได้แก่ไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล โดยได้รับจากการกินเนื้อสัตว์บก และการบริโภคน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหาร ” เรื่องน่ารู้ ”  น้ำมันพืชมักจะเติมแต่งสารบางอย่าง เพื่อกันหืน แต่ถ้ายังอยู่ในขวดจะไม่เป็นไร แต่เมื่อนำมันไปผ่านความร้อน ที่เกินร้อยองศาจะเป็นอันตราย โดยเฉพาะการใช้น้ำมันซ้ำๆ ก็จะทำให้น้ำมันนั้นกลายเป็นไขมันทรานต์ และนอกจากนี้แล้ว  ยังมีไตรกลีเซอไรด์ที่สร้างจากตับ ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เส้นเลือดเกิดการอักเสบได้เช่นกัน

2. กรดไขมันที่ลดการอักเสบหรือกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง  อันได้แก่ ” โอเมก้า 3 ” มีชื่อเรียกทางสามัญอีกอย่างหนึ่งว่า กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิก EPA(Eicosapentaenoic acid) & กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิก DHA (Docosahexaenoic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันที่ได้จากสัตว์เช่นกัน กรดไขมันชนิดดีนี้ ร่างกายสามารถขาดได้ โดยไม่มีผลกระทบแต่อย่างไรต่อร่างกาย  แต่ก็เป็นกรดไขมันที่มีความจำเป็น เพราะมีประโยชน์มาก

 ประโยชน์ของ โอเมก้า 3 มีดังนี้

  1. ช่วยทำให้หลอดเลือดแข็งแรง ยืดหยุ่น ถึงระดับหลอดเลือดฝอย ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแข็งตัว ลดการบาดเจ็บและลดการอักเสบภายในหลอดเลือด

  2. ช่วยทำให้เซลล์แข็งแรง เซลล์ซึ่งสิ่งที่เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในร่างกาย หากเซลล์ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ ก็จะทำให้เซลล์แข็งแรง เมื่อเซลล์แข็งแรงสมบูรณ์ก็จะทำให้อวัยวะต่างๆในร่างกายแข็งแรง

  3. ช่วยให้น้ำเลือดไม่ข้น ไม่หนืด ละลายลิ่มเลือด เมื่อความหนืดของเลือดลดลง ก็จะทำให้การสูบฉีดเลือดทำได้ดี แรงดันในหลอดเลือดลดลง จึงช่วยลดการทำงานของหัวใจ เมื่อหัวใจทำงานลดลง ปัญหาอันเกี่ยวกับโรคหัวใจก็จะน้อยลง

  4. ลดอัตราการเกิดโรคเสื่อม เมื่อหลอดเลือดแข็งแรง ก็สามารถยืดเวลาของการเกิดโรคเสื่อมต่างๆได้ช้าลง เช่นโรคมะเร็ง เบาหวานเป็นต้น

  5. ช่วยทำให้ผิวของเส้นเลือดเรียบขึ้น จึงทำให้เลือดฝอยทำงานได้ดี ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้ดี

  6. ช่วยกำจัดและลดปริมาณไขมันอิ่มตัว โอเมก้า 3จึงสามารถช่วยลดไขมันในช่องท้อง และไขมันสะสมตามส่วนต่างๆของร่างกายได้

  7. ลดอัตราการเกิดโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ลดการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอักเสบที่เป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์ โรคอัมพาต

  8. ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย จากการปรับสมดุลฮอร์โมน เมื่อสารสื่อประสาทต่างๆ ที่ถูกส่งผ่านไปกับน้ำเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้การหลั่งฮอร์โมนไปยังส่วนต่างๆ ทำงานได้ดีขึ้น

  9. ช่วยกำจัดไขมันเลว ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ ที่สะสมในร่างกายได้ น้ำมันปลาสามารถลดระดับของไตรกลีเซอไรด์ลงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงกว่า น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันดอกคำฝอย ผู้ชายที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง เมื่อให้กินน้ำมันปลาประมาณ 18 ออนซ์ต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลง และระดับเอชดีแอลโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น

  10. คนที่มีความเครียดอยู่เสมอ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า ร่างกายขาด DHA ในปริมาณที่เหมาะสม กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิก จะเข้าไปเสริมสร้างการเจริญเติบโต ปลายประสาทของเซลล์สมอง ซึ่งทำหน้าที่ ถ่ายทอดสัญญาณและส่งผ่านข้อมูล ระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น การรับประทานอาหารแล้วได้สารอาหาร DHA จำนวนมากอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ความเครียดจะลดลงและ สมองทำงานได้ดียิ่งขึ้น

  11. ผู้สูงอายุมักจะเกิดภาวะ สมองเสื่อม  เป็นอัลไซเมอร์ได้ง่ายกว่าคนในวัยอื่นๆทั่วไป แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เกิดจากสาเหตุอะไร  จากการทดลองที่ประเทศญี่ปุ่น ด้วยการให้กรด DHA โดโคซาเฮ็กซาอีโนอิก  แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์  พบว่าประสิทธิภาพความสามารถในการคำนวณและความสามารถในการตัดสินใจดีขึ้น และผลจากการทดลองกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ DHA เป็นเวลา 6 เดือน จะมีอาการที่ดีขึ้น มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ DHA อย่างเห็นได้ชัด

  12. นอกจากนี้สถาบันวิจัยนานาชาติพบว่า DHA ยังช่วยพัฒนาเซลล์สมองของเด็ก พัฒนาระบบจอประสาทตา ส่งผลดีต่อระบบฮอร์โมนต่างๆ ของหญิงตั้งครรภ์ให้ทำงานสัมพันธ์กัน เมื่อร่างกายแม่ทำงานได้ดี ก็จะช่วยทำให้ทารกมีพัฒนาการที่สมบูรณ์ขึ้น มีการเจริญเติบโตได้ดี

  13.  โอเมกา 3  (Omega3) ช่วยทำให้ระบบประสาทและสมองทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ป้องกันโรคความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ และกระตุ้นการสร้างสารเคมีซีโรโทนินในสมอง ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการซึมเศร้า

โอเมก้า 3

แหล่งอาหารที่ให้กรดไขมันดีหรือ โอเมก้า 3 มีดังนี้

          เมื่อรู้ว่าโอเมก้า 3 ส่งผลดีต่อการเกิดโรคเสื่อมและสามารถลดโรคอันเกิดจากหลอดเลือดเสื่อมได้ ดังนั้นหลายคนคงอยากรู้ว่า จะหาโอเมก้า 3 (Omega3) ได้จากการกินอาหารประเภทใดบ้าง  โอเมก้า 3ชนิดดีมีอยู่มากในสัตว์ทะเลโดยเฉพาะปลาทะเลน้ำลึก เพราะไม่มีสารพิษอย่างอื่นตกค้าง นอกจากนี้ยังมีใน ไข่ ปลาน้ำจืดบางชนิด ถั่ว และผักบางชนิด

        ซึ่งข้อมูลงานวิจัยด้านอาหาร ของสำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระบุว่า คนไทยมีความเข้าใจผิดว่า กรดไขมันโอเมก้า 3 มี เฉพาะในปลาทะเล แต่ความจริงแล้ว ปลาน้ำจืดก็มีโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาบางชนิดมีโอเมก้า 3 สูงกว่าปลาทะเล โดยเปรียบเทียบในปริมาณ 100 กรัมเท่ากัน จะพบว่าปลาสวยเนื้อขาว มีโอเมก้า 3 สูงถึง 2,570 มิลลิกรัม ปลาช่อนมีโอเมก้า 3 ถึง 870 มิลลิกรัม  แต่ ขณะที่ปลาแซลมอนมีโอเมก้า 3 ประมาณ 1,000-1,700 มิลลิกรัม และปลากะพงขาวมีโอเมก้า 3 เพียงประมาณ 310 มิลลิกรัม เท่านั้น

       ” นายสง่า ดามาพงษ์ นายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย กล่าวไว้ว่า “อาหารทะเลแปลกๆ หรือปลาราคาแพงๆ จากเมืองนอกไม่ได้มี คุณค่าทางอาหารดี ไปกว่า อาหารทะเลสดๆของไทย เช่นเดี่ยวกับ การบริโภคอาหารเพื่อให้กรดไขมันโอเมก้า 3  ที่ช่วยบำรุงร่างกายนั้น ก็สามารถพบได้ใน ปลาช่อน ปลาทู หรือปลาเกือบทุกชนิด เพราะฉะนั้น ควรกินปลาให้ได้ทุกวัน หรืออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 มื้อ และเพื่อความปลอดภัย ไม่ควรกินอาหารชนิดเดียวกันซ้ำๆ ควรกินอาหารหลากหลายชนิด เพื่อร่างกายจะได้ประโยชน์จากสารอาหารหลายๆ ประเภท และได้สารอาหารที่ครบห้าหมู่ และมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

ปริมาณที่แนะในการรับประทานโอเมก้า 3

          ในประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานใดที่ออกมาแนะนำปริมาณในการปริโภคกรดไขมันโอเมก้า 3 DHA แต่มีแสดงอย่างชัดเจนและรับรองโดยสถาบัน EFSA: European Food Safety Authority ของยุโรปแนะนำให้ทาน 250 มิลลิกรัมต่อวัน แสดงให้เห็นว่าโอเมก้า 3 ได้รับการยอมรับแล้วว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย มีประโยชน์ต่อสมองและหัวใจ

บทความที่น่าสนใจ ประโยชน์วิตามินซี vitC

You may also like...

1 Response

  1. เมษายน 22, 2020

    buy viagra

    WALCOME

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *